คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีรายงานผลการประชุมเพื่อสร้างความเห็นพ้องในการตรวจราชการแนวใหม่ตามหลักธรรมาภิบาล เมื่อวันศุกร์ที่ 1 ธันวาคม 2549 โดยมีรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์) เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุม ซึ่งที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบร่วมกันระหว่างผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรีและผู้ตรวจราชการกระทรวงต่อการตรวจราชการแนวใหม่ตามหลักธรรมาภิบาลดังนี้
1) การลงนามในคำรับรองการปฏิบัติราชการร่วมกันในปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 ระหว่างผู้ตรวจราชการ สำนักนายกรัฐมนตรีและผู้ตรวจราชการกระทรวง ภายในเดือนธันวาคม 2549 ทั้งในมิติประสิทธิผล มิติประสิทธิภาพ มิติคุณภาพการบริการ และมิติการพัฒนาองค์กร โดยร่วมกันกำหนดตัวชี้วัดผลสำเร็จของการดำเนินการ โครงการพัฒนาระบบการตรวจราชการแบบบูรณาการ สู่การปฏิบัติและค่าเป้าหมายตามแผนยุทธศาสตร์การตรวจราชการเชิงรุก โดยเล็งเป้าไปที่แผนงาน/โครงการของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ ที่มีความเสี่ยงตามหลักธรรมาภิบาลสูง
2) การให้ข้อเสนอแนะแก่หน่วยรับตรวจ โดยเน้นไปที่การลดความเสี่ยงตามหลักธรรมาภิบาลแก่หน่วยรับตรวจ ให้เป็นองค์กรที่เก่ง (High Performance Organization) และดี (Highly Ethical Organization) และเปิดโอกาสให้ภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการตรวจราชการให้คำแนะนำและเป็นเครือข่ายในการส่งสัญญาณเตือนภัยล่วงหน้าเกี่ยวกับเรื่องคุณธรรม จริยธรรม ในระดับบุคคล และเสริมสร้างหลักธรรมาภิบาลในระดับองค์กร
3) ตามนัยระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการตรวจราชการ พ.ศ. 2548 ข้อ 5 “หน่วยงานของรัฐ หมายความว่า ... (3) รัฐวิสาหกิจ...” รัฐวิสาหกิจ จึงถือเป็นหน่วยรับตรวจด้วย ดังนั้น เพื่อผลักดันให้เกิดการปฏิบัติงานตรวจรัฐวิสาหกิจในฐานะหน่วยงานของรัฐอย่างเป็นรูปธรรม ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรีและผู้ตรวจราชการกระทรวง จะผนึกกำลังกันและผลักดันให้เกิดความคืบหน้าในการตรวจผลการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจเป็นครั้งแรกในปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 โดยได้กำหนดตรวจติดตามกรณีการดำเนินงานของ บริษัท ไทยแลนด์ พริวิเลจ การ์ด จำกัด เป็นโครงการนำร่อง และมีการแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจราชการแบบบูรณาการผลการดำเนินงานรัฐวิสาหกิจตามหลักการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี
4) การรายงานผลการตรวจราชการรายไตรมาสและรายปี ซึ่งจะต้องมีการพิจารณาจัดทำรายงานผลร่วมกันระหว่างผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรีและผู้ตรวจราชการกระทรวง โดยมีการประเมินผลสำเร็จในการลดความเสี่ยงตามหลักธรรมมาภิบาลของแผนงาน/ โครงการ ตลอดจนประเมินผลสำเร็จของหน่วยรับตรวจในการนำหลักคุณธรรม จริยธรรม และหลักธรรมาภิบาลมาปฏิบัติเสนอต่อคณะกรรมการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ และคณะรัฐมนตรี
5) การเผยแพร่รายงานผลการตรวจราชการประจำปีต่อสาธารณชน
6) การเสริมสร้างให้เกิดการตระหนักในคุณค่าและภารกิจที่สำคัญของตำแหน่งผู้ตรวจราชการ ซึ่งเป็นตำแหน่งที่ทรงเกียรติและศักดิ์ศรี และความสำคัญของงานตรวจราชการต่อการขับเคลื่อนนโยบายของรัฐบาลให้บรรลุผลสัมฤทธิ์ โดยกำหนดคุณสมบัติและสร้างมาตรฐานในการกลั่นกรอง คัดสรร บุคคลที่จะเข้ามาดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการ รวมทั้งส่งเสริมให้ผู้ตรวจราชการมีความเจริญก้าวหน้าในระบบราชการ
7) ให้ส่วนราชการทั้งในส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตลอดจนรัฐวิสาหกิจดำเนินการวิเคราะห์ และประเมินความเสี่ยงตามหลักธรรมาภิบาล โดยถือเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการวางแผนยุทธศาสตร์ และคัดเลือกแผนงาน / โครงการ ที่มีดัชนีความเสี่ยงตามหลักธรรมาภิบาลสูง 5 โครงการ เสนอต่อกระทรวงต้นสังกัด และสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ภายในวันที่ 15 ธันวาคม 2549
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 26 ธันวาคม 2549--จบ--
1) การลงนามในคำรับรองการปฏิบัติราชการร่วมกันในปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 ระหว่างผู้ตรวจราชการ สำนักนายกรัฐมนตรีและผู้ตรวจราชการกระทรวง ภายในเดือนธันวาคม 2549 ทั้งในมิติประสิทธิผล มิติประสิทธิภาพ มิติคุณภาพการบริการ และมิติการพัฒนาองค์กร โดยร่วมกันกำหนดตัวชี้วัดผลสำเร็จของการดำเนินการ โครงการพัฒนาระบบการตรวจราชการแบบบูรณาการ สู่การปฏิบัติและค่าเป้าหมายตามแผนยุทธศาสตร์การตรวจราชการเชิงรุก โดยเล็งเป้าไปที่แผนงาน/โครงการของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ ที่มีความเสี่ยงตามหลักธรรมาภิบาลสูง
2) การให้ข้อเสนอแนะแก่หน่วยรับตรวจ โดยเน้นไปที่การลดความเสี่ยงตามหลักธรรมาภิบาลแก่หน่วยรับตรวจ ให้เป็นองค์กรที่เก่ง (High Performance Organization) และดี (Highly Ethical Organization) และเปิดโอกาสให้ภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการตรวจราชการให้คำแนะนำและเป็นเครือข่ายในการส่งสัญญาณเตือนภัยล่วงหน้าเกี่ยวกับเรื่องคุณธรรม จริยธรรม ในระดับบุคคล และเสริมสร้างหลักธรรมาภิบาลในระดับองค์กร
3) ตามนัยระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการตรวจราชการ พ.ศ. 2548 ข้อ 5 “หน่วยงานของรัฐ หมายความว่า ... (3) รัฐวิสาหกิจ...” รัฐวิสาหกิจ จึงถือเป็นหน่วยรับตรวจด้วย ดังนั้น เพื่อผลักดันให้เกิดการปฏิบัติงานตรวจรัฐวิสาหกิจในฐานะหน่วยงานของรัฐอย่างเป็นรูปธรรม ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรีและผู้ตรวจราชการกระทรวง จะผนึกกำลังกันและผลักดันให้เกิดความคืบหน้าในการตรวจผลการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจเป็นครั้งแรกในปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 โดยได้กำหนดตรวจติดตามกรณีการดำเนินงานของ บริษัท ไทยแลนด์ พริวิเลจ การ์ด จำกัด เป็นโครงการนำร่อง และมีการแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจราชการแบบบูรณาการผลการดำเนินงานรัฐวิสาหกิจตามหลักการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี
4) การรายงานผลการตรวจราชการรายไตรมาสและรายปี ซึ่งจะต้องมีการพิจารณาจัดทำรายงานผลร่วมกันระหว่างผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรีและผู้ตรวจราชการกระทรวง โดยมีการประเมินผลสำเร็จในการลดความเสี่ยงตามหลักธรรมมาภิบาลของแผนงาน/ โครงการ ตลอดจนประเมินผลสำเร็จของหน่วยรับตรวจในการนำหลักคุณธรรม จริยธรรม และหลักธรรมาภิบาลมาปฏิบัติเสนอต่อคณะกรรมการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ และคณะรัฐมนตรี
5) การเผยแพร่รายงานผลการตรวจราชการประจำปีต่อสาธารณชน
6) การเสริมสร้างให้เกิดการตระหนักในคุณค่าและภารกิจที่สำคัญของตำแหน่งผู้ตรวจราชการ ซึ่งเป็นตำแหน่งที่ทรงเกียรติและศักดิ์ศรี และความสำคัญของงานตรวจราชการต่อการขับเคลื่อนนโยบายของรัฐบาลให้บรรลุผลสัมฤทธิ์ โดยกำหนดคุณสมบัติและสร้างมาตรฐานในการกลั่นกรอง คัดสรร บุคคลที่จะเข้ามาดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการ รวมทั้งส่งเสริมให้ผู้ตรวจราชการมีความเจริญก้าวหน้าในระบบราชการ
7) ให้ส่วนราชการทั้งในส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตลอดจนรัฐวิสาหกิจดำเนินการวิเคราะห์ และประเมินความเสี่ยงตามหลักธรรมาภิบาล โดยถือเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการวางแผนยุทธศาสตร์ และคัดเลือกแผนงาน / โครงการ ที่มีดัชนีความเสี่ยงตามหลักธรรมาภิบาลสูง 5 โครงการ เสนอต่อกระทรวงต้นสังกัด และสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ภายในวันที่ 15 ธันวาคม 2549
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 26 ธันวาคม 2549--จบ--