คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) รายงานการเผยแพร่ตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ไตรมาสที่ 4/2548 และแนวโน้มเศรษฐกิจปี 2549เมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2549 สรุปดังนี้
1. ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ในไตรมาสที่ 4 ปี 2548 มีอัตราการขยายตัวที่ร้อยละ 4.7 โดยมีปัจจัยสำคัญซึ่งทำให้เกิดการชะลอตัวลงจากไตรมาสที่ 3 ดังนี้
1.1 ปัจจัยของราคาน้ำมันที่สูงขึ้นต่อเนื่องทำให้ผลกระทบต่อราคาสินค้าและอัตราเงินเฟ้อมากขึ้นตามลำดับ (โดยราคาน้ำมันดิบดูไบเฉลี่ยในไตรมาสที่สามเท่ากับ 55.4 และต่อเนื่องเป็นบาเรนละ 52.9 ในช่วงเดือนตุลาคม — ธันวาคม)
1.2 อัตราเงินเฟ้อจึงสูงขึ้นมากถึงร้อยละ 6.0 ในไตรมาสที่ 4 ซึ่งสูงกว่าร้อยละ 5.6 ในไตรมาสที่ 3
1.3 เพื่อดูแลเสถียรภาพของเศรษฐกิจในไตรมาสสุดท้าย คณะกรรมการนโยบายการเงินได้ปรับขึ้น 2 ครั้งรวม 0.75 % หลังจากที่ปรับไปแล้ว 0.75% ในไตรมาสที่สาม และทำให้ธนาคารพาณิชย์ปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยทั้งเงินฝากและเงินกู้สูงตามมากขึ้น เช่น ธนาคารพาณิชย์ใหญ่ 5 แห่งปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือนขึ้นเป็นร้อยละ 2.22 (จากระดับเฉลี่ยระดับ 1.63 ในไตรมาสที่สาม) ในด้านเงินกู้ MLR ก็ถูกปรับเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 6.45 (ระดับร้อยละ 6.0 ในไตรมาสที่สาม) ดังนั้น จึงเห็นได้ว่าดอกเบี้ยสูงขึ้นชัดเจน และแม้ว่าจะหักอัตราเงินเฟ้อออกแล้วอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงก็ยังสูงขึ้น ประชาชนจึงปรับพฤติกรรมการใช้จ่ายกันมากขึ้นและมีแรงจูงใจที่จะเก็บออม
1.4 การบริโภคภาคเอกชนจึงชะลอตัวลงจากที่ขยายตัวร้อยละ 4.5 ในไตรมาสที่สาม เป็นร้อยละ 4.0 ในไตรมาสที่ 4 และการลงทุนภาคเอกชนที่เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 9.3 ต่ำกว่าที่ขยายตัวร้อยละ 11.6 ในไตรมาสที่สาม
1.5 การส่งออกที่ชะลอตัวลงเหลือเพียงร้อยละ 11.7 จากที่ขยายตัวสูงสุดในไตรมาสที่ 3 ร้อยละ 22.7
1.6 ในด้านการผลิตการขยายตัวของภาคเกษตรที่ติดลบร้อยละ 0.2 แต่รายได้ภาคการเกษตรยังขยายตัวร้อยละ 30.9 จากอานิสงส์ของราคาสินค้าเกษตรที่เพิ่มขึ้นมาก
1.7 การผลิตสินค้าอุตสาหกรรมชะลอลงเล็กน้อยเช่นกัน โดยขยายตัวร้อยละ 6.0 ต่ำกว่าร้อยละ 6.4 ซึ่งสอดคล้องกับสถานการณ์ด้านการใช้จ่ายที่ชะลอลงทั้งการใช้จ่ายภายในประเทศและการส่งออก
2. มีการปรับดัชนีในหลายหมวด รวมทั้งตัวเลขที่สำคัญหลายครั้งในปี 2548 ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งในด้านปริมาณและระดับราคา
ตัวเลขทางด้านสินค้าและวัตถุดิบคงคลังมีการเปลี่ยนแปลง เนื่องจากมีการเก็งกำไร และกักตุนสินค้าในช่วงต้นปี เนื่องจากการผกผันของราคาน้ำมันและอัตราแลกเปลี่ยนในช่วงไตรมาสที่ 1 และไตรมาสที่ 2
3. กล่าวโดยรวม จะเห็นว่าในช่วงปี 2548 นั้น มีปัจจัยและเหตุการณ์ที่มีผลต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ คือ
3.1 ปัจจัยด้านราคาน้ำมัน โดยที่ราคาเพิ่มขึ้นจากเฉลี่ย 33.65 ดอลลาร์ สรอ. ในปี 2547 เป็น 49.30 ดอลลาร์ สรอ. ในปี 2548 ซึ่งเพิ่มขึ้นมากถึง 46.5%
3.2 ปัจจัยด้านภัยธรรมชาติ ทั้งภัยแล้งในช่วงครึ่งแรกของปี น้ำท่วมในไตรมาสที่สี่ ไข้หวัดนกและสึนามิ
3.3 ปัจจัยทางด้านการขาดดุลการค้าจำนวน 8,118 ล้านดอลลาร์ สรอ. และขาดดุลบัญชีเดินสะพัด 5,864 ล้านดอลลาร์ สรอ. ในช่วงครึ่งแรกของปี ก่อนที่จะปรับตัวดีขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี
3.4 อัตราเงินเฟ้อ และนโยบายด้านการเงิน ของอัตราดอกเบี้ยขาขึ้น
3.5 ปัจจัยความไม่สงบใน 3 จังหวัดภาคใต้
ซึ่งจากการดำเนินการของมาตรการเศรษฐกิจทั้งสิ้น สามารถทำให้อัตราขยายตัวทางเศรษฐกิจฟื้นตัวได้จากไตรมาสที่ 1 ที่อัตราการขยายตัวร้อยละ 3.2 และปรับตัวดีขึ้นโดยลำดับ ทำให้อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 4.5 ตลอดทั้งปี 2548
4. แนวโน้มเศรษฐกิจปี 2549 สศช. ขอปรับลดประมาณการเศรษฐกิจที่ได้แถลงไว้เดิมเมื่อเดือนธันวาคม 2548 ที่ 4.7 —5.7 เป็น 4.5 — 5.5 โดย สศช.
ปัจจัยลบที่อาจมีผลกระทบ
1) ราคาน้ำมันของโลก ยังคงมีแนวโน้มที่เพิ่มสูงขึ้นจากประมาณการเดิมที่ 50-55 ดอลลาร์ สรอ. (โดยมีค่ากลางที่ 52 ดอลลาร์ สรอ.) เป็น 55-58 ดอลลาร์ สรอ.
2) ปัญหาทางด้านการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก ที่อาจชะลอตัวลงจากประมาณการเมื่อต้นปีที่ร้อยละ 3.4 เนื่องจากปัญหาข้อขัดแย้งทางการค้าของ สหรัฐ-จีน และการขาดดุลแฝดของสหรัฐฯ รวมทั้งการชะลอตัวของเศรษฐกิจในยุโรปและจีน
3) แรงกดดันทางด้านอัตราเงินเฟ้อ ที่มีผลกระทบต่อนโยบายทางการเงินและวินัยทางการคลังที่ทำให้แนวโน้มของการปรับอัตราดอกเบี้ยขาขึ้น
4) ปัจจัยทางด้านการตัดสินใจของภาคเอกชน และนักลงทุนต่างชาติต่อสภาพเหตุการณ์ทางด้านการเมืองของประเทศไทย ซึ่ง สศช. ประมาณการว่าน่าจะเป็นเหตุการณ์ระยะสั้น และสามารถคลี่คลายได้ในระยะไม่เกินกลางปี 2549
ในด้านปัจจัยที่เป็นบวกของปี 2549
1) มีการดำเนินนโยบายด้านประหยัดพลังงานและพลังงานทางเลือก มีผลต่อเนื่องเช่นเดียวกับปี 2548
2) การส่งออกและบริหารการนำเข้า ยังมีแนวโน้มของการขยายตัวในลักษณะเดียวกับปี 2548
3) การท่องเที่ยวฟื้นตัวและขยายตัวในทิศทางเดียวกับไตรมาสที่ 4 ของปี 2548 และมีมาตรการในการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยเน้นการเพิ่มมูลค่ามากกว่าปริมาณ
4) ภาคเกษตรเริ่มฟื้นตัว มีการขยายตัวด้านปริมาณการผลิต ควบคู่ไปกับการแปรรูปสินค้าเพื่อเพิ่มมูลค่าของสินค้าเกษตร และโครงการพลังงานทางเลือก (Biofuel) เป็นไปตามเป้าหมาย
5) การลงทุนของรัฐวิสาหกิจ และการใช้จ่ายงบประมาณของรัฐเป็นไปตามแผนงาน รวมทั้งการเบิกจ่ายตามโครงการต่าง ๆ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจรากหญ้า เป็นไปตามกรอบของงบประมาณที่ได้ตั้งไว้
จากการวิเคราะห์ปัจจัยบวกและลบจากแบบจำลองของ สศช. ประมาณการว่าโอกาสที่เศรษฐกิจของไทยในปี 2549 มีความเป็นไปได้ที่จะขยายตัวในอัตราร้อยละ 4.5 - 5.5 ถึงร้อยละ 81
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 7 มีนาคม 2549--จบ--
1. ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ในไตรมาสที่ 4 ปี 2548 มีอัตราการขยายตัวที่ร้อยละ 4.7 โดยมีปัจจัยสำคัญซึ่งทำให้เกิดการชะลอตัวลงจากไตรมาสที่ 3 ดังนี้
1.1 ปัจจัยของราคาน้ำมันที่สูงขึ้นต่อเนื่องทำให้ผลกระทบต่อราคาสินค้าและอัตราเงินเฟ้อมากขึ้นตามลำดับ (โดยราคาน้ำมันดิบดูไบเฉลี่ยในไตรมาสที่สามเท่ากับ 55.4 และต่อเนื่องเป็นบาเรนละ 52.9 ในช่วงเดือนตุลาคม — ธันวาคม)
1.2 อัตราเงินเฟ้อจึงสูงขึ้นมากถึงร้อยละ 6.0 ในไตรมาสที่ 4 ซึ่งสูงกว่าร้อยละ 5.6 ในไตรมาสที่ 3
1.3 เพื่อดูแลเสถียรภาพของเศรษฐกิจในไตรมาสสุดท้าย คณะกรรมการนโยบายการเงินได้ปรับขึ้น 2 ครั้งรวม 0.75 % หลังจากที่ปรับไปแล้ว 0.75% ในไตรมาสที่สาม และทำให้ธนาคารพาณิชย์ปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยทั้งเงินฝากและเงินกู้สูงตามมากขึ้น เช่น ธนาคารพาณิชย์ใหญ่ 5 แห่งปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือนขึ้นเป็นร้อยละ 2.22 (จากระดับเฉลี่ยระดับ 1.63 ในไตรมาสที่สาม) ในด้านเงินกู้ MLR ก็ถูกปรับเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 6.45 (ระดับร้อยละ 6.0 ในไตรมาสที่สาม) ดังนั้น จึงเห็นได้ว่าดอกเบี้ยสูงขึ้นชัดเจน และแม้ว่าจะหักอัตราเงินเฟ้อออกแล้วอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงก็ยังสูงขึ้น ประชาชนจึงปรับพฤติกรรมการใช้จ่ายกันมากขึ้นและมีแรงจูงใจที่จะเก็บออม
1.4 การบริโภคภาคเอกชนจึงชะลอตัวลงจากที่ขยายตัวร้อยละ 4.5 ในไตรมาสที่สาม เป็นร้อยละ 4.0 ในไตรมาสที่ 4 และการลงทุนภาคเอกชนที่เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 9.3 ต่ำกว่าที่ขยายตัวร้อยละ 11.6 ในไตรมาสที่สาม
1.5 การส่งออกที่ชะลอตัวลงเหลือเพียงร้อยละ 11.7 จากที่ขยายตัวสูงสุดในไตรมาสที่ 3 ร้อยละ 22.7
1.6 ในด้านการผลิตการขยายตัวของภาคเกษตรที่ติดลบร้อยละ 0.2 แต่รายได้ภาคการเกษตรยังขยายตัวร้อยละ 30.9 จากอานิสงส์ของราคาสินค้าเกษตรที่เพิ่มขึ้นมาก
1.7 การผลิตสินค้าอุตสาหกรรมชะลอลงเล็กน้อยเช่นกัน โดยขยายตัวร้อยละ 6.0 ต่ำกว่าร้อยละ 6.4 ซึ่งสอดคล้องกับสถานการณ์ด้านการใช้จ่ายที่ชะลอลงทั้งการใช้จ่ายภายในประเทศและการส่งออก
2. มีการปรับดัชนีในหลายหมวด รวมทั้งตัวเลขที่สำคัญหลายครั้งในปี 2548 ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งในด้านปริมาณและระดับราคา
ตัวเลขทางด้านสินค้าและวัตถุดิบคงคลังมีการเปลี่ยนแปลง เนื่องจากมีการเก็งกำไร และกักตุนสินค้าในช่วงต้นปี เนื่องจากการผกผันของราคาน้ำมันและอัตราแลกเปลี่ยนในช่วงไตรมาสที่ 1 และไตรมาสที่ 2
3. กล่าวโดยรวม จะเห็นว่าในช่วงปี 2548 นั้น มีปัจจัยและเหตุการณ์ที่มีผลต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ คือ
3.1 ปัจจัยด้านราคาน้ำมัน โดยที่ราคาเพิ่มขึ้นจากเฉลี่ย 33.65 ดอลลาร์ สรอ. ในปี 2547 เป็น 49.30 ดอลลาร์ สรอ. ในปี 2548 ซึ่งเพิ่มขึ้นมากถึง 46.5%
3.2 ปัจจัยด้านภัยธรรมชาติ ทั้งภัยแล้งในช่วงครึ่งแรกของปี น้ำท่วมในไตรมาสที่สี่ ไข้หวัดนกและสึนามิ
3.3 ปัจจัยทางด้านการขาดดุลการค้าจำนวน 8,118 ล้านดอลลาร์ สรอ. และขาดดุลบัญชีเดินสะพัด 5,864 ล้านดอลลาร์ สรอ. ในช่วงครึ่งแรกของปี ก่อนที่จะปรับตัวดีขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี
3.4 อัตราเงินเฟ้อ และนโยบายด้านการเงิน ของอัตราดอกเบี้ยขาขึ้น
3.5 ปัจจัยความไม่สงบใน 3 จังหวัดภาคใต้
ซึ่งจากการดำเนินการของมาตรการเศรษฐกิจทั้งสิ้น สามารถทำให้อัตราขยายตัวทางเศรษฐกิจฟื้นตัวได้จากไตรมาสที่ 1 ที่อัตราการขยายตัวร้อยละ 3.2 และปรับตัวดีขึ้นโดยลำดับ ทำให้อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 4.5 ตลอดทั้งปี 2548
4. แนวโน้มเศรษฐกิจปี 2549 สศช. ขอปรับลดประมาณการเศรษฐกิจที่ได้แถลงไว้เดิมเมื่อเดือนธันวาคม 2548 ที่ 4.7 —5.7 เป็น 4.5 — 5.5 โดย สศช.
ปัจจัยลบที่อาจมีผลกระทบ
1) ราคาน้ำมันของโลก ยังคงมีแนวโน้มที่เพิ่มสูงขึ้นจากประมาณการเดิมที่ 50-55 ดอลลาร์ สรอ. (โดยมีค่ากลางที่ 52 ดอลลาร์ สรอ.) เป็น 55-58 ดอลลาร์ สรอ.
2) ปัญหาทางด้านการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก ที่อาจชะลอตัวลงจากประมาณการเมื่อต้นปีที่ร้อยละ 3.4 เนื่องจากปัญหาข้อขัดแย้งทางการค้าของ สหรัฐ-จีน และการขาดดุลแฝดของสหรัฐฯ รวมทั้งการชะลอตัวของเศรษฐกิจในยุโรปและจีน
3) แรงกดดันทางด้านอัตราเงินเฟ้อ ที่มีผลกระทบต่อนโยบายทางการเงินและวินัยทางการคลังที่ทำให้แนวโน้มของการปรับอัตราดอกเบี้ยขาขึ้น
4) ปัจจัยทางด้านการตัดสินใจของภาคเอกชน และนักลงทุนต่างชาติต่อสภาพเหตุการณ์ทางด้านการเมืองของประเทศไทย ซึ่ง สศช. ประมาณการว่าน่าจะเป็นเหตุการณ์ระยะสั้น และสามารถคลี่คลายได้ในระยะไม่เกินกลางปี 2549
ในด้านปัจจัยที่เป็นบวกของปี 2549
1) มีการดำเนินนโยบายด้านประหยัดพลังงานและพลังงานทางเลือก มีผลต่อเนื่องเช่นเดียวกับปี 2548
2) การส่งออกและบริหารการนำเข้า ยังมีแนวโน้มของการขยายตัวในลักษณะเดียวกับปี 2548
3) การท่องเที่ยวฟื้นตัวและขยายตัวในทิศทางเดียวกับไตรมาสที่ 4 ของปี 2548 และมีมาตรการในการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยเน้นการเพิ่มมูลค่ามากกว่าปริมาณ
4) ภาคเกษตรเริ่มฟื้นตัว มีการขยายตัวด้านปริมาณการผลิต ควบคู่ไปกับการแปรรูปสินค้าเพื่อเพิ่มมูลค่าของสินค้าเกษตร และโครงการพลังงานทางเลือก (Biofuel) เป็นไปตามเป้าหมาย
5) การลงทุนของรัฐวิสาหกิจ และการใช้จ่ายงบประมาณของรัฐเป็นไปตามแผนงาน รวมทั้งการเบิกจ่ายตามโครงการต่าง ๆ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจรากหญ้า เป็นไปตามกรอบของงบประมาณที่ได้ตั้งไว้
จากการวิเคราะห์ปัจจัยบวกและลบจากแบบจำลองของ สศช. ประมาณการว่าโอกาสที่เศรษฐกิจของไทยในปี 2549 มีความเป็นไปได้ที่จะขยายตัวในอัตราร้อยละ 4.5 - 5.5 ถึงร้อยละ 81
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 7 มีนาคม 2549--จบ--