คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงการคลังรายงานการนำเข้าสินค้าฟุ่มเฟือยไตรมาสที่ 2 และ 3 ปีงบประมาณ 2549 ดังนี้
รายงานการนำเข้าสินค้าฟุ่มเฟือยในไตรมาส 2 ของปีงบประมาณ 2549 (ม.ค.-มี.ค. 2549)
1. สินค้าฟุ่มเฟือยทั้ง 17 กลุ่มสินค้า มีมูลค่านำเข้ารวม 253.540 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของ ปีงบประมาณ 2548 22.089 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือร้อยละ 9.54
2. มูลค่าการนำเข้าสินค้าฟุ่มเฟือยทั้ง 17 กลุ่ม เมื่อเปรียบเทียบกับมูลค่านำเข้ารวมของสินค้าทุกชนิดในไตรมาส 2 ของปีงบประมาณ 2549 แล้ว (29,964.995 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) มูลค่านำเข้าสินค้าฟุ่มเฟือยทั้ง 17 กลุ่ม มีสัดส่วนคิดเป็นร้อยละ 0.85 ของมูลค่านำเข้ารวม
3. เมื่อเปรียบเทียบมูลค่านำเข้าสินค้าฟุ่มเฟือยในช่วงไตรมาส 2 ของปีงบประมาณ 2549 กับช่วงเดียวกันของปีงบประมาณ 2548 ปรากฏว่ามีมูลค่านำเข้าเพิ่มขึ้นจำนวน 15 รายการ ตั้งแต่ร้อยละ 2.64 ถึง 57.88 และมี 2 รายการ ที่มีมูลค่านำเข้าลดลงร้อยละ 5.95 ถึง 43.43
4. สินค้าฟุ่มเฟือยที่มีมูลค่านำเข้าสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่
4.1 น้ำหอมและเครื่องสำอาง มีมูลค่านำเข้า 42.328 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลง 2.677 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือร้อยละ 5.95
4.2 สุราต่างประเทศ มีมูลค่านำเข้า 37.746 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 2.082 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือร้อยละ 5.84
4.3 นาฬิกาและอุปกรณ์ มีมูลค่านำเข้า 32.655 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 3.759 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือร้อยละ 13.01
5. สินค้าฟุ่มเฟือยในไตรมาส 2 ของปีงบประมาณ 2549 มีอัตราการนำเข้าเพิ่มขึ้น 15 รายการ เมื่อเปรียบเทียบ (ในสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ) กับช่วงเดียวกันของปีงบประมาณ 2548 โดยสินค้าฟุ่มเฟือยที่มีมูลค่านำเข้าเพิ่มขึ้นสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ 1 ) สูท เสื้อ กระโปรงฯ 2 ) ดอกไม้ 3 ) เครื่องประดับที่ทำด้วยคริสตัล 4 ) กล้องถ่ายรูปและอุปกรณ์ 5 ) แว่นตา มีอัตราการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 57.88, 50.92, 42.98, 26.65 และ 21.36 ตามลำดับ
6. สินค้าฟุ่มเฟือยในปีงบประมาณ 2549 (ต.ค. 48-มี.ค. 49) มีมูลค่านำเข้ารวม 518.503 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีงบประมาณ 2548 พบว่ามีมูลค่าเพิ่มขึ้น 30.369 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือร้อยละ 6.22
7. สินค้าฟุ่มเฟือยที่มีมูลค่านำเข้าสูงสุด 3 อันดับแรก ของไตรมาส 1-2 ของปีงบประมาณ 2549 (ต.ค. 48 - มี.ค. 49) ได้แก่
7.1 น้ำหอมและเครื่องสำอาง มีมูลค่านำเข้า 84.811 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลง 1.111 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือร้อยละ 1.29
7.2 สุราต่างประเทศ มีมูลค่านำเข้า 78.140 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 3.183 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือร้อยละ 4.25
7.3 นาฬิกาและอุปกรณ์ มีมูลค่านำเข้า 74.835 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 2.246 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือร้อยละ 3.09
8. ในปีงบประมาณ 2549 (ต.ค. 48-มี.ค. 49) สินค้าฟุ่มเฟือยจำนวน 13 รายการ มีอัตราการนำเข้าเพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีงบประมาณ 2548 (ตามมูลค่านำเข้าในสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ) โดยสินค้าฟุ่มเฟือยที่มีมูลค่านำเข้าเพิ่มขึ้นสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ 1) สูท เสื้อ กระโปรงฯ 2) ดอกไม้ 3) ไฟแช็คและอุปกรณ์ 4) กระเป๋าหลังและเข็มขัดหนัง 5) แว่นตามีอัตราการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 66.72, 44.49, 42.57, 2.071 และ 20.91 ตามลำดับ
รายงานการนำเข้าสินค้าฟุ่มเฟือยในไตรมาส 3 ของปีงบประมาณ 2549 (เม.ย.-มิ.ย. 2549)
1. สินค้าฟุ่มเฟือยทั้ง 17 กลุ่มสินค้า มีมูลค่านำเข้ารวม 253.258 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของ ปีงบประมาณ 2548 30.71 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือร้อยละ 13.80
2. มูลค่าการนำเข้าสินค้าฟุ่มเฟือยทั้ง 17 กลุ่ม เมื่อเปรียบเทียบกับมูลค่านำเข้ารวมของสินค้าทุกชนิดในไตรมาส 3 ของปีงบประมาณ 2549 แล้ว (32,622.302 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) มูลค่านำเข้าสินค้าฟุ่มเฟือยทั้ง 17 กลุ่ม มีสัดส่วนคิดเป็นร้อยละ 0.78 ของมูลค่านำเข้ารวม
3. เมื่อเปรียบเทียบมูลค่านำเข้าสินค้าฟุ่มเฟือยในสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐในช่วงไตรมาส 3 ของปีงบประมาณ 2549 กับช่วงเดียวกันของปีงบประมาณ 2548 ปรากฏว่ามีมูลค่านำเข้าเพิ่มขึ้นจำนวน 16 รายการ ตั้งแต่ ร้อยละ 0.92 ถึง 73.59 และมี 1 รายการ ที่มีมูลค่านำเข้าลดลงร้อยละ 37.64
4. สินค้าฟุ่มเฟือยที่มีมูลค่านำเข้าสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่
4.1 น้ำหอมและเครื่องสำอาง มีมูลค่านำเข้า 43.722 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 0.520 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือร้อยละ 1.21
4.2 สุราต่างประเทศ มีมูลค่านำเข้า 34.118 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 11.713 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือร้อยละ 52.28
4.3 นาฬิกาและอุปกรณ์ มีมูลค่านำเข้า 29.799 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 0.270 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือร้อยละ 0.92
5. สินค้าฟุ่มเฟือยในไตรมาส 3 ของปีงบประมาณ 2549 มีอัตราการนำเข้าเพิ่มขึ้น 16 รายการ เมื่อเปรียบเทียบ (ในสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ) กับช่วงเดียวกันของปีงบประมาณ 2548 โดยสินค้าฟุ่มเฟือยที่มีมูลค่านำเข้าเพิ่มขึ้นสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ 1) สูท เสื้อ กระโปรงฯ 2) สุราต่างประเทศ 3) เครื่องประดับที่ทำด้วยคริสตัล 4) เครื่องแก้วชนิดใช้บนโต๊ะอาหารฯ 5) ดอกไม้ มีอัตราการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 73.59, 52.28, 45.98, 44.45 และ 42.42 ตามลำดับ
6. สินค้าฟุ่มเฟือยในปีงบประมาณ 2549 (ต.ค. 48-มิ.ย. 49) มีมูลค่านำเข้ารวม 772.308 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีงบประมาณ 2548 พบว่ามีมูลค่าเพิ่มขึ้น 59.071 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือร้อยละ 8.28
7. สินค้าฟุ่มเฟือยที่มีมูลค่านำเข้าสูงสุด 3 อันดับแรก ของไตรมาส 1-3 ของปีงบประมาณ 2549 (ต.ค.48 - มิ.ย.49) ได้แก่
7.1 น้ำหอมและเครื่องสำอาง มีมูลค่านำเข้า 128.533 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลง 0.590 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือร้อยละ 0.46
7.2 สุราต่างประเทศ มีมูลค่านำเข้า 112.259 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 14.896 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือร้อยละ 15.30
7.3 นาฬิกาและอุปกรณ์ มีมูลค่านำเข้า 104.634 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 2.516 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือร้อยละ 2.46
8. ในปีงบประมาณ 2549 (ต.ค. 48-มิ.ย. 49) สินค้าฟุ่มเฟือยจำนวน 13 รายการ มีอัตราการนำเข้า เพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีงบประมาณ 2548 (ตามมูลค่านำเข้าในสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ) โดยสินค้าฟุ่มเฟือยที่มีมูลค่านำเข้าเพิ่มขึ้นสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ 1) สูท เสื้อ กระโปรงฯ 2) ดอกไม้ 3) เครื่องแก้วชนิดใช้บนโต๊ะอาหารฯ 4) ไฟแช็คและอุปกรณ์ 5) กระเป๋าหนังและเข็มขัดหนัง มีอัตราการนำเข้า เพิ่มขึ้นร้อยละ 68.96, 43.81, 29.87, 28.55 และ 23.00 ตามลำดับ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 5 กันยายน 2549--จบ--
รายงานการนำเข้าสินค้าฟุ่มเฟือยในไตรมาส 2 ของปีงบประมาณ 2549 (ม.ค.-มี.ค. 2549)
1. สินค้าฟุ่มเฟือยทั้ง 17 กลุ่มสินค้า มีมูลค่านำเข้ารวม 253.540 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของ ปีงบประมาณ 2548 22.089 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือร้อยละ 9.54
2. มูลค่าการนำเข้าสินค้าฟุ่มเฟือยทั้ง 17 กลุ่ม เมื่อเปรียบเทียบกับมูลค่านำเข้ารวมของสินค้าทุกชนิดในไตรมาส 2 ของปีงบประมาณ 2549 แล้ว (29,964.995 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) มูลค่านำเข้าสินค้าฟุ่มเฟือยทั้ง 17 กลุ่ม มีสัดส่วนคิดเป็นร้อยละ 0.85 ของมูลค่านำเข้ารวม
3. เมื่อเปรียบเทียบมูลค่านำเข้าสินค้าฟุ่มเฟือยในช่วงไตรมาส 2 ของปีงบประมาณ 2549 กับช่วงเดียวกันของปีงบประมาณ 2548 ปรากฏว่ามีมูลค่านำเข้าเพิ่มขึ้นจำนวน 15 รายการ ตั้งแต่ร้อยละ 2.64 ถึง 57.88 และมี 2 รายการ ที่มีมูลค่านำเข้าลดลงร้อยละ 5.95 ถึง 43.43
4. สินค้าฟุ่มเฟือยที่มีมูลค่านำเข้าสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่
4.1 น้ำหอมและเครื่องสำอาง มีมูลค่านำเข้า 42.328 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลง 2.677 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือร้อยละ 5.95
4.2 สุราต่างประเทศ มีมูลค่านำเข้า 37.746 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 2.082 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือร้อยละ 5.84
4.3 นาฬิกาและอุปกรณ์ มีมูลค่านำเข้า 32.655 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 3.759 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือร้อยละ 13.01
5. สินค้าฟุ่มเฟือยในไตรมาส 2 ของปีงบประมาณ 2549 มีอัตราการนำเข้าเพิ่มขึ้น 15 รายการ เมื่อเปรียบเทียบ (ในสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ) กับช่วงเดียวกันของปีงบประมาณ 2548 โดยสินค้าฟุ่มเฟือยที่มีมูลค่านำเข้าเพิ่มขึ้นสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ 1 ) สูท เสื้อ กระโปรงฯ 2 ) ดอกไม้ 3 ) เครื่องประดับที่ทำด้วยคริสตัล 4 ) กล้องถ่ายรูปและอุปกรณ์ 5 ) แว่นตา มีอัตราการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 57.88, 50.92, 42.98, 26.65 และ 21.36 ตามลำดับ
6. สินค้าฟุ่มเฟือยในปีงบประมาณ 2549 (ต.ค. 48-มี.ค. 49) มีมูลค่านำเข้ารวม 518.503 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีงบประมาณ 2548 พบว่ามีมูลค่าเพิ่มขึ้น 30.369 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือร้อยละ 6.22
7. สินค้าฟุ่มเฟือยที่มีมูลค่านำเข้าสูงสุด 3 อันดับแรก ของไตรมาส 1-2 ของปีงบประมาณ 2549 (ต.ค. 48 - มี.ค. 49) ได้แก่
7.1 น้ำหอมและเครื่องสำอาง มีมูลค่านำเข้า 84.811 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลง 1.111 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือร้อยละ 1.29
7.2 สุราต่างประเทศ มีมูลค่านำเข้า 78.140 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 3.183 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือร้อยละ 4.25
7.3 นาฬิกาและอุปกรณ์ มีมูลค่านำเข้า 74.835 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 2.246 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือร้อยละ 3.09
8. ในปีงบประมาณ 2549 (ต.ค. 48-มี.ค. 49) สินค้าฟุ่มเฟือยจำนวน 13 รายการ มีอัตราการนำเข้าเพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีงบประมาณ 2548 (ตามมูลค่านำเข้าในสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ) โดยสินค้าฟุ่มเฟือยที่มีมูลค่านำเข้าเพิ่มขึ้นสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ 1) สูท เสื้อ กระโปรงฯ 2) ดอกไม้ 3) ไฟแช็คและอุปกรณ์ 4) กระเป๋าหลังและเข็มขัดหนัง 5) แว่นตามีอัตราการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 66.72, 44.49, 42.57, 2.071 และ 20.91 ตามลำดับ
รายงานการนำเข้าสินค้าฟุ่มเฟือยในไตรมาส 3 ของปีงบประมาณ 2549 (เม.ย.-มิ.ย. 2549)
1. สินค้าฟุ่มเฟือยทั้ง 17 กลุ่มสินค้า มีมูลค่านำเข้ารวม 253.258 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของ ปีงบประมาณ 2548 30.71 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือร้อยละ 13.80
2. มูลค่าการนำเข้าสินค้าฟุ่มเฟือยทั้ง 17 กลุ่ม เมื่อเปรียบเทียบกับมูลค่านำเข้ารวมของสินค้าทุกชนิดในไตรมาส 3 ของปีงบประมาณ 2549 แล้ว (32,622.302 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) มูลค่านำเข้าสินค้าฟุ่มเฟือยทั้ง 17 กลุ่ม มีสัดส่วนคิดเป็นร้อยละ 0.78 ของมูลค่านำเข้ารวม
3. เมื่อเปรียบเทียบมูลค่านำเข้าสินค้าฟุ่มเฟือยในสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐในช่วงไตรมาส 3 ของปีงบประมาณ 2549 กับช่วงเดียวกันของปีงบประมาณ 2548 ปรากฏว่ามีมูลค่านำเข้าเพิ่มขึ้นจำนวน 16 รายการ ตั้งแต่ ร้อยละ 0.92 ถึง 73.59 และมี 1 รายการ ที่มีมูลค่านำเข้าลดลงร้อยละ 37.64
4. สินค้าฟุ่มเฟือยที่มีมูลค่านำเข้าสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่
4.1 น้ำหอมและเครื่องสำอาง มีมูลค่านำเข้า 43.722 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 0.520 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือร้อยละ 1.21
4.2 สุราต่างประเทศ มีมูลค่านำเข้า 34.118 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 11.713 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือร้อยละ 52.28
4.3 นาฬิกาและอุปกรณ์ มีมูลค่านำเข้า 29.799 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 0.270 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือร้อยละ 0.92
5. สินค้าฟุ่มเฟือยในไตรมาส 3 ของปีงบประมาณ 2549 มีอัตราการนำเข้าเพิ่มขึ้น 16 รายการ เมื่อเปรียบเทียบ (ในสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ) กับช่วงเดียวกันของปีงบประมาณ 2548 โดยสินค้าฟุ่มเฟือยที่มีมูลค่านำเข้าเพิ่มขึ้นสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ 1) สูท เสื้อ กระโปรงฯ 2) สุราต่างประเทศ 3) เครื่องประดับที่ทำด้วยคริสตัล 4) เครื่องแก้วชนิดใช้บนโต๊ะอาหารฯ 5) ดอกไม้ มีอัตราการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 73.59, 52.28, 45.98, 44.45 และ 42.42 ตามลำดับ
6. สินค้าฟุ่มเฟือยในปีงบประมาณ 2549 (ต.ค. 48-มิ.ย. 49) มีมูลค่านำเข้ารวม 772.308 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีงบประมาณ 2548 พบว่ามีมูลค่าเพิ่มขึ้น 59.071 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือร้อยละ 8.28
7. สินค้าฟุ่มเฟือยที่มีมูลค่านำเข้าสูงสุด 3 อันดับแรก ของไตรมาส 1-3 ของปีงบประมาณ 2549 (ต.ค.48 - มิ.ย.49) ได้แก่
7.1 น้ำหอมและเครื่องสำอาง มีมูลค่านำเข้า 128.533 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลง 0.590 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือร้อยละ 0.46
7.2 สุราต่างประเทศ มีมูลค่านำเข้า 112.259 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 14.896 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือร้อยละ 15.30
7.3 นาฬิกาและอุปกรณ์ มีมูลค่านำเข้า 104.634 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 2.516 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือร้อยละ 2.46
8. ในปีงบประมาณ 2549 (ต.ค. 48-มิ.ย. 49) สินค้าฟุ่มเฟือยจำนวน 13 รายการ มีอัตราการนำเข้า เพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีงบประมาณ 2548 (ตามมูลค่านำเข้าในสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ) โดยสินค้าฟุ่มเฟือยที่มีมูลค่านำเข้าเพิ่มขึ้นสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ 1) สูท เสื้อ กระโปรงฯ 2) ดอกไม้ 3) เครื่องแก้วชนิดใช้บนโต๊ะอาหารฯ 4) ไฟแช็คและอุปกรณ์ 5) กระเป๋าหนังและเข็มขัดหนัง มีอัตราการนำเข้า เพิ่มขึ้นร้อยละ 68.96, 43.81, 29.87, 28.55 และ 23.00 ตามลำดับ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 5 กันยายน 2549--จบ--