คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการให้ปรับเพิ่มเงินสงเคราะห์เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ จากเดิมคนละ 300 บาท ต่อเดือนเป็นคนละ 500 บาทต่อเดือน ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ
ทั้งนี้ กระทรวงมหาดไทยรายงานว่า เงินสงเคราะห์เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุที่ได้รับจำนวน 300 บาทต่อคนต่อเดือน ตามมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 29 พฤษภาคม 2544 ไม่สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจและสภาพค่าครองชีพในปัจจุบัน จึงขออนุมัติหลักการปรับเพิ่มเงินสงเคราะห์เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ จากเดิมคนละ 300 บาทต่อเดือน เป็นคนละ 500 บาท ต่อเดือน โดยมีเหตุผลดังนี้
1. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้ปรับหลักเกณฑ์เส้นความยากจนจากเดิม 922 บาทต่อคนต่อเดือน เป็น 1,243 บาทต่อคนต่อเดือน เพื่อให้สอดคล้องกับสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน ประกอบกับค่าครองชีพของประชาชนชาวไทยอยู่ในระดับอัตราที่สูงและมีแนวโน้มที่จะสูงขึ้นไปอีกอย่างต่อเนื่องเงินสงเคราะห์เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุที่รัฐจัดสรรให้ในอัตราคนละ 300 บาทต่อเดือนจึงไม่เพียงพอแก่การยังชีพ
2. เงินเบี้ยยังชีพประเภทอื่น เช่น เบี้ยยังชีพคนพิการและเบี้ยยังชีพผู้ป่วยเอดส์ ปัจจุบันได้รับคนละ 500 บาทต่อเดือน จึงเห็นควรปรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุเพิ่มเป็นอัตราเดียวกันทุกประเภท คือ 500 บาทต่อคนต่อเดือน
3. ผลงานวิจัยของคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้มีการศึกษาแนวทางการจ่ายเงินสงเคราะห์เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ โดยเห็นว่าจำนวนเงินที่เหมาะสมควรเป็นคนละ 500 บาทต่อเดือน นอกจากนี้ ยังพบว่าปัญหาหลักที่สำคัญของผู้สูงอายุไทย คือปัญหาเศรษฐกิจ ได้แก่ รายได้น้อยและไม่มีรายได้ ต้องเผชิญกับภาวะยากไร้ ยิ่งมีอายุมากขึ้นรายได้ก็ลดลงมาก โดยแหล่งรายได้หลักของผู้สูงอายุคือบุตร ปัญหารองลงมาคือ ปัญหาด้านสุขภาพอนามัย มีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคข้อเสื่อม ฯลฯ จากสภาพปัญหาดังกล่าว เงินสงเคราะห์เบี้ยยังชีพที่รัฐจ่ายให้อัตราเดือนละ 300 บาท จึงเห็นว่าไม่เพียงพอแก่การยังชีพ ประกอบกับนโยบายรัฐบาลที่แถลงต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ด้านนโยบายสังคมเรื่องการสร้างความเข้มแข็งของชุมชนท้องถิ่นและประชาคมที่กำหนดให้ “สามารถจัดการตนเองเกี่ยวกับความเป็นอยู่ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม การปกครอง และการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ตลอดจนสิทธิชุมชน โดยส่งเสริมบทบาทของครอบครัว ชุมชน องค์กรอาสาสมัครภาคธุรกิจ สถาบันศาสนา สถาบันการศึกษา รวมทั้งการป้องกันและแก้ไขปัญหาสังคม ปัญหายาเสพติดอย่างจริงจังและต่อเนื่อง การดูแลเด็กและเยาวชน คนพิการ คนสูงอายุ และผู้ด้อยโอกาส การสนับสนุนสิทธิสตรี ตลอดจนความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน”
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 12 ธันวาคม 2549--จบ--
ทั้งนี้ กระทรวงมหาดไทยรายงานว่า เงินสงเคราะห์เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุที่ได้รับจำนวน 300 บาทต่อคนต่อเดือน ตามมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 29 พฤษภาคม 2544 ไม่สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจและสภาพค่าครองชีพในปัจจุบัน จึงขออนุมัติหลักการปรับเพิ่มเงินสงเคราะห์เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ จากเดิมคนละ 300 บาทต่อเดือน เป็นคนละ 500 บาท ต่อเดือน โดยมีเหตุผลดังนี้
1. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้ปรับหลักเกณฑ์เส้นความยากจนจากเดิม 922 บาทต่อคนต่อเดือน เป็น 1,243 บาทต่อคนต่อเดือน เพื่อให้สอดคล้องกับสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน ประกอบกับค่าครองชีพของประชาชนชาวไทยอยู่ในระดับอัตราที่สูงและมีแนวโน้มที่จะสูงขึ้นไปอีกอย่างต่อเนื่องเงินสงเคราะห์เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุที่รัฐจัดสรรให้ในอัตราคนละ 300 บาทต่อเดือนจึงไม่เพียงพอแก่การยังชีพ
2. เงินเบี้ยยังชีพประเภทอื่น เช่น เบี้ยยังชีพคนพิการและเบี้ยยังชีพผู้ป่วยเอดส์ ปัจจุบันได้รับคนละ 500 บาทต่อเดือน จึงเห็นควรปรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุเพิ่มเป็นอัตราเดียวกันทุกประเภท คือ 500 บาทต่อคนต่อเดือน
3. ผลงานวิจัยของคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้มีการศึกษาแนวทางการจ่ายเงินสงเคราะห์เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ โดยเห็นว่าจำนวนเงินที่เหมาะสมควรเป็นคนละ 500 บาทต่อเดือน นอกจากนี้ ยังพบว่าปัญหาหลักที่สำคัญของผู้สูงอายุไทย คือปัญหาเศรษฐกิจ ได้แก่ รายได้น้อยและไม่มีรายได้ ต้องเผชิญกับภาวะยากไร้ ยิ่งมีอายุมากขึ้นรายได้ก็ลดลงมาก โดยแหล่งรายได้หลักของผู้สูงอายุคือบุตร ปัญหารองลงมาคือ ปัญหาด้านสุขภาพอนามัย มีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคข้อเสื่อม ฯลฯ จากสภาพปัญหาดังกล่าว เงินสงเคราะห์เบี้ยยังชีพที่รัฐจ่ายให้อัตราเดือนละ 300 บาท จึงเห็นว่าไม่เพียงพอแก่การยังชีพ ประกอบกับนโยบายรัฐบาลที่แถลงต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ด้านนโยบายสังคมเรื่องการสร้างความเข้มแข็งของชุมชนท้องถิ่นและประชาคมที่กำหนดให้ “สามารถจัดการตนเองเกี่ยวกับความเป็นอยู่ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม การปกครอง และการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ตลอดจนสิทธิชุมชน โดยส่งเสริมบทบาทของครอบครัว ชุมชน องค์กรอาสาสมัครภาคธุรกิจ สถาบันศาสนา สถาบันการศึกษา รวมทั้งการป้องกันและแก้ไขปัญหาสังคม ปัญหายาเสพติดอย่างจริงจังและต่อเนื่อง การดูแลเด็กและเยาวชน คนพิการ คนสูงอายุ และผู้ด้อยโอกาส การสนับสนุนสิทธิสตรี ตลอดจนความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน”
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 12 ธันวาคม 2549--จบ--