คณะรัฐมนตรีพิจารณาการจัดการปัญหามลพิษทางเสียงจากสนามบินสุวรรณภูมิ ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ แล้วมีมติอนุมัติดังนี้
1. ให้บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ดำเนินการดังต่อไปนี้
(1) เจรจาซื้อที่ดินและสิ่งปลูกสร้างหรือจ่ายค่าชดเชยเพื่อปรับปรุงสิ่งปลูกสร้าง หากไม่ประสงค์จะขายแก่ผู้ได้รับผลกระทบจากมลพิษทางเสียงที่อยู่ในพื้นที่แนวเส้นเสียง NEF 30-40 โดยให้ผู้ได้รับผลกระทบสามารถพิจารณาเลือกได้
(2) เจรจาซื้อที่ดินและสิ่งปลูกสร้างหรือจ่ายค่าชดเชยเพื่อปรับปรุงสิ่งปลูกสร้าง หากไม่ประสงค์จะขาย แก่ผู้ได้รับผลกระทบจากมลพิษทางเสียงที่อยู่ในพื้นที่แนวเส้นเสียง NEF มากกว่า 40 และที่อยู่ระหว่าง 30-40 ที่สร้างแล้วและได้รับการอนุญาตให้สร้างจนถึงปี 2549
(3) เจรจาซื้อที่ดินและสิ่งปลูกสร้างหรือจ่ายค่าชดเชยเพื่อปรับปรุงสิ่งปลูกสร้าง หากไม่ประสงค์จะขาย แก่ผู้ได้รับผลกระทบจากมลพิษทางเสียงที่อยู่ในพื้นที่แนวเส้นเสียง NEF มากกว่า 40 ที่เกิดจากสถานการณ์การบินที่เกิดขึ้นจริง เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2549 (เที่ยวบินสูงสุด 46 เที่ยว/ชั่วโมง) โดยทันที
(4) ในกรณีที่ผู้ได้รับผลกระทบจากมลพิษทางเสียงที่ต้องการจะขายที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง แต่ไม่สามารถที่จะหาพื้นที่ที่จะโยกย้ายไปอยู่ใหม่ได้ ให้บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ประสานงานกับการเคหะแห่งชาติ เพื่อจัดหาพื้นที่ที่จะรองรับการโยกย้าย เช่น เมืองใหม่บางพลี ซึ่งปัจจุบันยังมีที่ว่างเปล่าเพียงพอ
(5) รับผิดชอบดูแลพื้นที่ที่มีการซื้อที่ดินและสิ่งปลูกสร้างไปแล้ว เพื่อไม่ให้มีการย้อนกลับเข้ามาอยู่ใหม่ และไม่ให้มีผู้บุกรุกเข้าไปใช้ประโยชน์โดยไม่ได้รับอนุญาต
(6) ดำเนินการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ในกรณีที่จะมีการเพิ่มทางวิ่งที่ 3 และ 4 โดยเร่งด่วน โดยเฉพาะการประเมินพื้นที่ที่มีความเสี่ยงที่จะได้รับผลกระทบจากมลพิษทางเสียงจากสนามบินสุวรรณภูมิ
2. ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ร่วมกับบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ดำเนินการต่อไป ดังนี้
(1) ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมดำเนินการประเมินผลกระทบจากมลพิษทางเสียงที่เกิดขึ้นจากสนามบินสุวรรณภูมิ เมื่อมีการใช้ทางวิ่งที่ 1 และ 2 เต็มศักยภาพ (เที่ยวบินสูงสุด 76 เที่ยว/ชั่วโมง) ภายใน 1 สัปดาห์
(2) ให้บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ดำเนินการสำรวจสิ่งปลูกสร้างในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบที่เพิ่มขึ้นจากสถานการณ์การบินที่เกิดขึ้นจริง เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2549 (เที่ยวบินสูงสุด 46 เที่ยว/ชั่วโมง) ภายใน 1 เดือน หลังจากที่ได้รับผลการประเมินจากกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตามข้อ 2 (1) เพื่อทำการเจรจาซื้อที่ดินและสิ่งปลูกสร้างหรือจ่ายค่าชดเชยเพื่อปรับปรุงสิ่งปลูกสร้าง หากไม่ประสงค์จะขาย ต่อไป
3. ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมพิจารณาแนวทางในการออกกฏระเบียบเพื่อควบคุมประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดิน เพื่อไม่ให้มีการสร้างสิ่งปลูกสร้างใหม่ที่มีความอ่อนไหวต่อมลพิษทางเสียงในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงที่จะได้รับผลกระทบจากมลพิษทางเสียงจากสนามบินสุวรรณภูมิทั้งในปัจจุบันและในอนาคตเมื่อมีการขยายศักยภาพของสนามบินสุวรรณภูมิให้สามารถรองรับผู้โดยสารได้ 100 ล้านคน และเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 21 พฤศจิกายน 2549--จบ--
1. ให้บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ดำเนินการดังต่อไปนี้
(1) เจรจาซื้อที่ดินและสิ่งปลูกสร้างหรือจ่ายค่าชดเชยเพื่อปรับปรุงสิ่งปลูกสร้าง หากไม่ประสงค์จะขายแก่ผู้ได้รับผลกระทบจากมลพิษทางเสียงที่อยู่ในพื้นที่แนวเส้นเสียง NEF 30-40 โดยให้ผู้ได้รับผลกระทบสามารถพิจารณาเลือกได้
(2) เจรจาซื้อที่ดินและสิ่งปลูกสร้างหรือจ่ายค่าชดเชยเพื่อปรับปรุงสิ่งปลูกสร้าง หากไม่ประสงค์จะขาย แก่ผู้ได้รับผลกระทบจากมลพิษทางเสียงที่อยู่ในพื้นที่แนวเส้นเสียง NEF มากกว่า 40 และที่อยู่ระหว่าง 30-40 ที่สร้างแล้วและได้รับการอนุญาตให้สร้างจนถึงปี 2549
(3) เจรจาซื้อที่ดินและสิ่งปลูกสร้างหรือจ่ายค่าชดเชยเพื่อปรับปรุงสิ่งปลูกสร้าง หากไม่ประสงค์จะขาย แก่ผู้ได้รับผลกระทบจากมลพิษทางเสียงที่อยู่ในพื้นที่แนวเส้นเสียง NEF มากกว่า 40 ที่เกิดจากสถานการณ์การบินที่เกิดขึ้นจริง เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2549 (เที่ยวบินสูงสุด 46 เที่ยว/ชั่วโมง) โดยทันที
(4) ในกรณีที่ผู้ได้รับผลกระทบจากมลพิษทางเสียงที่ต้องการจะขายที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง แต่ไม่สามารถที่จะหาพื้นที่ที่จะโยกย้ายไปอยู่ใหม่ได้ ให้บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ประสานงานกับการเคหะแห่งชาติ เพื่อจัดหาพื้นที่ที่จะรองรับการโยกย้าย เช่น เมืองใหม่บางพลี ซึ่งปัจจุบันยังมีที่ว่างเปล่าเพียงพอ
(5) รับผิดชอบดูแลพื้นที่ที่มีการซื้อที่ดินและสิ่งปลูกสร้างไปแล้ว เพื่อไม่ให้มีการย้อนกลับเข้ามาอยู่ใหม่ และไม่ให้มีผู้บุกรุกเข้าไปใช้ประโยชน์โดยไม่ได้รับอนุญาต
(6) ดำเนินการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ในกรณีที่จะมีการเพิ่มทางวิ่งที่ 3 และ 4 โดยเร่งด่วน โดยเฉพาะการประเมินพื้นที่ที่มีความเสี่ยงที่จะได้รับผลกระทบจากมลพิษทางเสียงจากสนามบินสุวรรณภูมิ
2. ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ร่วมกับบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ดำเนินการต่อไป ดังนี้
(1) ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมดำเนินการประเมินผลกระทบจากมลพิษทางเสียงที่เกิดขึ้นจากสนามบินสุวรรณภูมิ เมื่อมีการใช้ทางวิ่งที่ 1 และ 2 เต็มศักยภาพ (เที่ยวบินสูงสุด 76 เที่ยว/ชั่วโมง) ภายใน 1 สัปดาห์
(2) ให้บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ดำเนินการสำรวจสิ่งปลูกสร้างในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบที่เพิ่มขึ้นจากสถานการณ์การบินที่เกิดขึ้นจริง เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2549 (เที่ยวบินสูงสุด 46 เที่ยว/ชั่วโมง) ภายใน 1 เดือน หลังจากที่ได้รับผลการประเมินจากกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตามข้อ 2 (1) เพื่อทำการเจรจาซื้อที่ดินและสิ่งปลูกสร้างหรือจ่ายค่าชดเชยเพื่อปรับปรุงสิ่งปลูกสร้าง หากไม่ประสงค์จะขาย ต่อไป
3. ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมพิจารณาแนวทางในการออกกฏระเบียบเพื่อควบคุมประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดิน เพื่อไม่ให้มีการสร้างสิ่งปลูกสร้างใหม่ที่มีความอ่อนไหวต่อมลพิษทางเสียงในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงที่จะได้รับผลกระทบจากมลพิษทางเสียงจากสนามบินสุวรรณภูมิทั้งในปัจจุบันและในอนาคตเมื่อมีการขยายศักยภาพของสนามบินสุวรรณภูมิให้สามารถรองรับผู้โดยสารได้ 100 ล้านคน และเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 21 พฤศจิกายน 2549--จบ--