แท็ก
กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
อิเล็กทรอนิกส์
รัฐธรรมนูญ
กฤษฎีกา
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเสนอ โดยให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีแก้ไขบทอาศัยอำนาจของร่างพระราชกฤษฎีกาในเรื่องนี้ให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549 และให้นำขึ้นทูลเกล้าถวายฯ เพื่อประกาศใช้บังคับเป็นกฎหมายต่อไป
ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ พ.ศ. .... มีสาระสำคัญดังนี้
1. กำหนดลักษณะของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่หน่วยงานของรัฐต้องจัดให้มีในการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ และกำหนดลักษณะของระบบเอกสารในกรณีที่หน่วยงานของรัฐจัดทำกระบวนการพิจารณาทางปกครองโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์
2. กำหนดให้หน่วยงานของรัฐต้องจัดทำแนวนโยบายและแนวปฏิบัติในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศ และในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลตามที่กำหนด
3. การจัดทำแนวนโยบายและแนวปฏิบัติให้หน่วยงานของรัฐจัดทำเป็นประกาศ และต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการหรือหน่วยงานที่คณะกรรมการมอบหมาย
4. กรณีหน่วยงานของรัฐแห่งใดมีการปฏิบัติตามกฎหมายที่แตกต่างเป็นการเฉพาะ กำหนดให้หน่วยงานของรัฐแห่งนั้นอาจเพิ่มเติมรายละเอียดการปฏิบัติงานตามกฎหมายที่แตกต่างได้โดยออกเป็นระเบียบ โดยคำนึงถึงความถูกต้อง ครบถ้วน ความน่าเชื่อถือ ความพร้อมใช้งาน และความมั่นคงปลอดภัยของระบบและข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
5. การทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐตามพระราชกฤษฎีกานี้ไม่มีผลเป็นการยกเว้นกฎหมายหรือหลักเกณฑ์และวิธีการที่กฎหมายในเรื่องนั้นกำหนดไว้
6. กำหนดให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 24 ตุลาคม 2549--จบ--
ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ พ.ศ. .... มีสาระสำคัญดังนี้
1. กำหนดลักษณะของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่หน่วยงานของรัฐต้องจัดให้มีในการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ และกำหนดลักษณะของระบบเอกสารในกรณีที่หน่วยงานของรัฐจัดทำกระบวนการพิจารณาทางปกครองโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์
2. กำหนดให้หน่วยงานของรัฐต้องจัดทำแนวนโยบายและแนวปฏิบัติในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศ และในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลตามที่กำหนด
3. การจัดทำแนวนโยบายและแนวปฏิบัติให้หน่วยงานของรัฐจัดทำเป็นประกาศ และต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการหรือหน่วยงานที่คณะกรรมการมอบหมาย
4. กรณีหน่วยงานของรัฐแห่งใดมีการปฏิบัติตามกฎหมายที่แตกต่างเป็นการเฉพาะ กำหนดให้หน่วยงานของรัฐแห่งนั้นอาจเพิ่มเติมรายละเอียดการปฏิบัติงานตามกฎหมายที่แตกต่างได้โดยออกเป็นระเบียบ โดยคำนึงถึงความถูกต้อง ครบถ้วน ความน่าเชื่อถือ ความพร้อมใช้งาน และความมั่นคงปลอดภัยของระบบและข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
5. การทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐตามพระราชกฤษฎีกานี้ไม่มีผลเป็นการยกเว้นกฎหมายหรือหลักเกณฑ์และวิธีการที่กฎหมายในเรื่องนั้นกำหนดไว้
6. กำหนดให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 24 ตุลาคม 2549--จบ--