คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงคมนาคมรายงานความเสียหาย ผลการดำเนินงานในการแก้ไขและ
ให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย สรุปได้ดังนี้
1. ถนน
1.1 กรมทางหลวง
1.1.1 ความเสียหายที่เกิดจากอุทกภัยรวม 53 จังหวัด จำนวน 286 สายทาง 757 แห่ง(ปัจจุบันการจราจรผ่านไม่ได้ 31 แห่ง) มูลค่าความเสียหายทั้งสิ้น 1,735 ล้านบาท (งบประมาณซ่อมแซมให้การจราจรผ่านได้ 85 ล้านบาท และงบประมาณซ่อมแซมให้กลับคืนสู่สภาพเดิม 1,650 ล้านบาท) ซึ่งกรมทางหลวงได้ให้เจ้าหน้าที่เข้าไปตรวจสอบความเสียหายที่เกิดขึ้นจริงในพื้นที่ และกำหนดกรอบระยะเวลาในการดำเนินงาน คือ ซ่อมแซมให้การจราจรผ่านได้ ภายใน 30 วัน และซ่อมแซมให้กลับคือสู่สภาพเดิม ภายใน 90 วัน
1.1.2 กรมทางหลวงได้จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการกรณีเกิดภัยพิบัติทั้งสิ้น 120 แห่งและจัดเตรียมป้ายจราจร หลักนำทาง กระสอบทราย แผงคอนกรีตเพื่อกั้นน้ำ (Concrete Barrier) และชิ้นส่วนสะพานเบลี่ย์สำหรับใช้ในกรณีฉุกเฉิน เพื่อให้การจราจรผ่านได้ สำหรับสายทางที่ยังมีน้ำยังท่วมอยู่กรมทางหลวงได้ติดตั้งป้ายจราจรให้ใช้เส้นทางเลี่ยง ติดตั้งสัญญาณไฟพร้อมจัดรถตรวจทาง วางกระสอบทรายทำแนวเขตขอบถนน และทำคันดินกั้นน้ำ และสูบน้ำออก นอกจากนี้ ได้จัดส่งเจ้าหน้าที่พร้อมเครื่องจักร วัสดุอุปกรณ์ ยานพาหนะ เครื่องอุปโภคบริโภคให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยด้วย
1.2 กรมทางหลวงชนบท
1.2.1 ความเสียหายที่เกิดจากอุทกภัยรวม 57 จังหวัด จำนวน 496 สายทาง(ปัจจุบันการจราจรผ่านไม่ได้ 12 สายทาง) ซึ่งความเสียหายที่จะต้องใช้งบประมาณในการฟื้นฟูมีจำนวน 47 จังหวัด รวม 226 โครงการ งบประมาณ 1,257.72 ล้านบาท โดยจะใช้จ่ายจากงบประมาณปี 2550 จำนวน 105 โครงการ งบประมาณ 799.00 ล้านบาท และขอรับการสนับสนุนงบประมาณเพิ่มเติม จำนวน 121 โครงการ งบประมาณ 458.72 ล้านบาท ส่วนกิจกรรมในการซ่อมแซมความเสียหายประกอบด้วย
- การซ่อมถนน 467.588 กม.
- ก่อสร้าง/ต่อเติมสะพาน 1,337 เมตร
- ก่อสร้างท่อลอดเหลี่ยม 102 แห่ง
- ก่อสร้างป้องกันการกัดเซาะ 49 แห่ง
1.2.2 กรมทางหลวงชนบทได้จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือ 3 ระดับ คือหน่วยปฏิบัติการส่วนหน้า (ทางหลวงชนบทจังหวัด) ศูนย์ปฎิบัติการส่วนหน้า (สำนักทางหลวงชนบท 12 เขต) และศูนย์อำนวยการส่วนกลาง (กรมทางหลวงชนบท) ซึ่งได้ให้ความช่วยเหลือประชาชนและหน่วยงานอื่นในเบื้องต้น โดยติดตั้งเครื่องสูบน้ำ เสริมกระสอบทราย เสริมคันดิน แจกจ่ายถุงยังชีพและสิ่งของและขนย้ายสิ่งของจำเป็น
2. เส้นทางรถไฟ
การรถไฟแห่งประเทศไทยมีความเสียหายเกิดจากอุทกภัยที่จะต้องดำเนินการ 6 กิจกรรม งบประมาณ 300.02 ล้านบาท ประกอบด้วย
- แก้ไขปัญหาอุทกภัยช่วงสถานีอุตรดิตถ์ — สถานีห้วยไร่ (4 งาน) จังหวัดอุตรดิตถ์และจังหวัดแพร่ งบประมาณ 118.27 ล้านบาท
- จัดหาดินและหิน และซ่อมทาง ที่ กม.693/1-2 และ กม.713/4-715/12 จังหวัดลำพูน งบประมาณ 21.10 ล้านบาท
- เสริมความมั่นคงทางลาดรถไฟ กม.545/8-11 จังหวัดแพร่ งบประมาณ 2.10 ล้านบาท
- เสริมความมั่นคงคันทางและเปิดช่องระบายน้ำ กม.511/13-513/16 จังหวัดแพร่ 8.15 ล้านบาท และ ที่ กม.661-663 และ กม.666-668 จังหวัดลำปาง งบประมาณ 20 ล้านบาท
- ก่อสร้างสะพานและช่องเปิดน้ำ กม.564/14-565/8 และ กม.568/18-19 จังหวัดแพร่ งบประมาณ 15.40 ล้านบาท
- ก่อสร้างสะพานและฝายน้ำล้นเสริมดินลาดคันทางรถไฟพร้อมขยายบ่าทางรถไฟจังหวัดนครสวรรค์ พิจิตร และพิษณุโลก งบประมาณ 115.00 ล้านบาท นอกจากนี้ ยังมีความเสียหายของขบวนรถไฟและเสาสัญญาณ 52.33 ล้านบาท และเงินช่วยเหลือพนักงาน ที่ประสบอุทกภัย 13 ล้านบาท รวมงบประมาณทั้งสิ้น 365.35 ล้านบาท
3. การขุดลอกแม่น้ำและบูรณะเขื่อนป้องกันตลิ่งพัง
กรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี ได้เข้าไปสำรวจใบเบื้องต้น พบว่า แม่น้ำลำคลองมีการตื้นเขิน และมีเศษวัสดุต่าง ๆ ซึ่งจะได้ดำเนินการขุดลอกต่อไป โดยใช้งบประมาณประจำปี 2550 (กรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี ดำเนินการเอง 87.72 ล้านบาท และจ้างเหมาเอกชนขุดลอก 138.31 ล้านบาท ส่วนจากบูรณะเขื่อนป้องกันตลิ่งพังในแม่น้ำและฟื้นฟูตลิ่งที่ถูกกัดเซาะจากอุทกภัย จะได้ดำเนินการสำรวจและออกแบบภายหลังน้ำลด
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 28 พฤศจิกายน 2549--จบ--
ให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย สรุปได้ดังนี้
1. ถนน
1.1 กรมทางหลวง
1.1.1 ความเสียหายที่เกิดจากอุทกภัยรวม 53 จังหวัด จำนวน 286 สายทาง 757 แห่ง(ปัจจุบันการจราจรผ่านไม่ได้ 31 แห่ง) มูลค่าความเสียหายทั้งสิ้น 1,735 ล้านบาท (งบประมาณซ่อมแซมให้การจราจรผ่านได้ 85 ล้านบาท และงบประมาณซ่อมแซมให้กลับคืนสู่สภาพเดิม 1,650 ล้านบาท) ซึ่งกรมทางหลวงได้ให้เจ้าหน้าที่เข้าไปตรวจสอบความเสียหายที่เกิดขึ้นจริงในพื้นที่ และกำหนดกรอบระยะเวลาในการดำเนินงาน คือ ซ่อมแซมให้การจราจรผ่านได้ ภายใน 30 วัน และซ่อมแซมให้กลับคือสู่สภาพเดิม ภายใน 90 วัน
1.1.2 กรมทางหลวงได้จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการกรณีเกิดภัยพิบัติทั้งสิ้น 120 แห่งและจัดเตรียมป้ายจราจร หลักนำทาง กระสอบทราย แผงคอนกรีตเพื่อกั้นน้ำ (Concrete Barrier) และชิ้นส่วนสะพานเบลี่ย์สำหรับใช้ในกรณีฉุกเฉิน เพื่อให้การจราจรผ่านได้ สำหรับสายทางที่ยังมีน้ำยังท่วมอยู่กรมทางหลวงได้ติดตั้งป้ายจราจรให้ใช้เส้นทางเลี่ยง ติดตั้งสัญญาณไฟพร้อมจัดรถตรวจทาง วางกระสอบทรายทำแนวเขตขอบถนน และทำคันดินกั้นน้ำ และสูบน้ำออก นอกจากนี้ ได้จัดส่งเจ้าหน้าที่พร้อมเครื่องจักร วัสดุอุปกรณ์ ยานพาหนะ เครื่องอุปโภคบริโภคให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยด้วย
1.2 กรมทางหลวงชนบท
1.2.1 ความเสียหายที่เกิดจากอุทกภัยรวม 57 จังหวัด จำนวน 496 สายทาง(ปัจจุบันการจราจรผ่านไม่ได้ 12 สายทาง) ซึ่งความเสียหายที่จะต้องใช้งบประมาณในการฟื้นฟูมีจำนวน 47 จังหวัด รวม 226 โครงการ งบประมาณ 1,257.72 ล้านบาท โดยจะใช้จ่ายจากงบประมาณปี 2550 จำนวน 105 โครงการ งบประมาณ 799.00 ล้านบาท และขอรับการสนับสนุนงบประมาณเพิ่มเติม จำนวน 121 โครงการ งบประมาณ 458.72 ล้านบาท ส่วนกิจกรรมในการซ่อมแซมความเสียหายประกอบด้วย
- การซ่อมถนน 467.588 กม.
- ก่อสร้าง/ต่อเติมสะพาน 1,337 เมตร
- ก่อสร้างท่อลอดเหลี่ยม 102 แห่ง
- ก่อสร้างป้องกันการกัดเซาะ 49 แห่ง
1.2.2 กรมทางหลวงชนบทได้จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือ 3 ระดับ คือหน่วยปฏิบัติการส่วนหน้า (ทางหลวงชนบทจังหวัด) ศูนย์ปฎิบัติการส่วนหน้า (สำนักทางหลวงชนบท 12 เขต) และศูนย์อำนวยการส่วนกลาง (กรมทางหลวงชนบท) ซึ่งได้ให้ความช่วยเหลือประชาชนและหน่วยงานอื่นในเบื้องต้น โดยติดตั้งเครื่องสูบน้ำ เสริมกระสอบทราย เสริมคันดิน แจกจ่ายถุงยังชีพและสิ่งของและขนย้ายสิ่งของจำเป็น
2. เส้นทางรถไฟ
การรถไฟแห่งประเทศไทยมีความเสียหายเกิดจากอุทกภัยที่จะต้องดำเนินการ 6 กิจกรรม งบประมาณ 300.02 ล้านบาท ประกอบด้วย
- แก้ไขปัญหาอุทกภัยช่วงสถานีอุตรดิตถ์ — สถานีห้วยไร่ (4 งาน) จังหวัดอุตรดิตถ์และจังหวัดแพร่ งบประมาณ 118.27 ล้านบาท
- จัดหาดินและหิน และซ่อมทาง ที่ กม.693/1-2 และ กม.713/4-715/12 จังหวัดลำพูน งบประมาณ 21.10 ล้านบาท
- เสริมความมั่นคงทางลาดรถไฟ กม.545/8-11 จังหวัดแพร่ งบประมาณ 2.10 ล้านบาท
- เสริมความมั่นคงคันทางและเปิดช่องระบายน้ำ กม.511/13-513/16 จังหวัดแพร่ 8.15 ล้านบาท และ ที่ กม.661-663 และ กม.666-668 จังหวัดลำปาง งบประมาณ 20 ล้านบาท
- ก่อสร้างสะพานและช่องเปิดน้ำ กม.564/14-565/8 และ กม.568/18-19 จังหวัดแพร่ งบประมาณ 15.40 ล้านบาท
- ก่อสร้างสะพานและฝายน้ำล้นเสริมดินลาดคันทางรถไฟพร้อมขยายบ่าทางรถไฟจังหวัดนครสวรรค์ พิจิตร และพิษณุโลก งบประมาณ 115.00 ล้านบาท นอกจากนี้ ยังมีความเสียหายของขบวนรถไฟและเสาสัญญาณ 52.33 ล้านบาท และเงินช่วยเหลือพนักงาน ที่ประสบอุทกภัย 13 ล้านบาท รวมงบประมาณทั้งสิ้น 365.35 ล้านบาท
3. การขุดลอกแม่น้ำและบูรณะเขื่อนป้องกันตลิ่งพัง
กรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี ได้เข้าไปสำรวจใบเบื้องต้น พบว่า แม่น้ำลำคลองมีการตื้นเขิน และมีเศษวัสดุต่าง ๆ ซึ่งจะได้ดำเนินการขุดลอกต่อไป โดยใช้งบประมาณประจำปี 2550 (กรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี ดำเนินการเอง 87.72 ล้านบาท และจ้างเหมาเอกชนขุดลอก 138.31 ล้านบาท ส่วนจากบูรณะเขื่อนป้องกันตลิ่งพังในแม่น้ำและฟื้นฟูตลิ่งที่ถูกกัดเซาะจากอุทกภัย จะได้ดำเนินการสำรวจและออกแบบภายหลังน้ำลด
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 28 พฤศจิกายน 2549--จบ--