คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่คณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 7 (ฝ่ายกฎหมาย ฯ) ซึ่งมี รองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) เป็นประธานกรรมการฯ ในคราวประชุม ครั้งที่ 11/2548 วันที่ 9 พฤศจิกายน 2548 ที่อนุมัติหลักการร่างระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติในการใช้สิทธิเบิกเงินค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. .... โดยให้กระทรวงการคลังรับร่างระเบียบฯ ไปแก้ไขเพิ่มเติมตามประเด็นอภิปรายของคณะกรรมการกลั่นกรองฯ และให้รับความเห็นของสำนักงาน ก.พ. สำนักงาน ก.พ.ร. และสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ไปดำเนินการด้วย และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณาแล้วดำเนินการต่อไปได้
ทั้งนี้ กระทรวงการคลังชี้แจงว่า สมควรปรับปรุงแก้ไขระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติในการใช้สิทธิเบิกเงินค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. 2530 เพื่อให้สอดคล้องกับพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. 2547 ที่ใช้บังคับในปัจจุบัน จึงได้เสนอร่างระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติในการใช้สิทธิเบิกเงินค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. ... ที่ได้ปรับปรุงแก้ไขให้เป็นไปตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 7 (ฝ่ายกฎหมาย) แล้ว โดยมีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขปรับปรุงระเบียบให้มีความชัดเจน สะดวก คล่องตัว และลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน รวมทั้งปรับปรุงให้สอดคล้องกับพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. 2547 ดังนี้
1. ในกรณีส่วนราชการไม่สามารถถือปฏิบัติตามหมวด 2 แห่งระเบียบนี้ได้ (การเบิกจ่ายค่าเช่าบ้านข้าราชการ) ให้อยู่ในดุลพินิจของปลัดกระทรวงที่ส่วนราชการเจ้าของงบประมาณนั้นสังกัดหรือหัวหน้าส่วนราชการที่ไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวงหรือทบวงที่จะพิจารณาวินิจฉัยได้ตามความเหมาะสม โดยคำนึงถึงความประหยัดและประโยชน์ของทางราชการ
2. กำหนดให้ทายาทของข้าราชการผู้มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านเป็นผู้ยื่นขอรับเงินค่าเช่าบ้าน กรณีผู้มีสิทธิตาย และให้ข้าราชการที่ลาออกหรือเกษียณอายุราชการเป็นผู้ยื่นขอรับเงินค่าเช่าบ้าน
3. ให้ข้าราชการที่กู้เงินและซื้อบ้านในระหว่างสมรสและปรากฎชื่อคู่สมรสแต่เพียงผู้เดียวในสัญญากู้ สัญญาซื้อขาย และโฉนดที่ดิน สามารถนำหลักฐานการผ่อนชำระเงินกู้ดังกล่าวมาเบิกค่าเช่าบ้านได้ โดยไม่ต้องเพิ่มชื่อเสียก่อน
4. กำหนดวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการเบิกค่าเช่าบ้านย้อนหลังกรณีที่ศาลปกครองได้มีคำพิพากษาให้มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านย้อนหลัง โดยให้นำใบเสร็จรับเงินและสำเนาคำพิพากษาศาลปกครองเป็นหลักฐานประกอบการยื่นแบบขอรับเงินค่าเช่าบ้าน แทนการตรวจสอบข้อเท็จจริง
5. ให้ข้าราชการผู้มีสิทธิเบิกค่าเช่าบ้านสามารถรับรองการใช้สิทธิของตนเองในแบบขอเบิกเงินค่าเช่าบ้านรายเดือนได้ เพื่อเป็นการลดภาระผู้บังคับบัญชาที่จะต้องรับรองในแบบขอเบิกค่าเช่าบ้านรายเดือน
6. ท้องที่ใกล้เคียงกับท้องที่ที่ตั้งสำนักงานเดิม ซึ่งไม่มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการตามมาตรา 8 แห่งพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. 2547 ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) กรณีสำนักงานได้ย้ายที่ตั้งสำนักงานจากกรุงเทพมหานครไปในจังหวัดใกล้เคียงนั้นจะต้องมีเขตท้องที่ใกล้เคียงหรือติดต่อกันและมีรถยนต์โดยสารขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพให้บริการ ตามบัญชีรายชื่อท้องที่ใกล้เคียงที่แนบท้ายระเบียบนี้
(2) กรณีสำนักงานได้ย้ายที่ตั้งสำนักงานภายในจังหวัดเดียวกับหรือระหว่างนั้นจะต้องมีเขตท้องที่ติดต่อกันและมียานพาหนะประจำทางให้บริการ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 11 เมษายน 2549--จบ--
ทั้งนี้ กระทรวงการคลังชี้แจงว่า สมควรปรับปรุงแก้ไขระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติในการใช้สิทธิเบิกเงินค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. 2530 เพื่อให้สอดคล้องกับพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. 2547 ที่ใช้บังคับในปัจจุบัน จึงได้เสนอร่างระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติในการใช้สิทธิเบิกเงินค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. ... ที่ได้ปรับปรุงแก้ไขให้เป็นไปตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 7 (ฝ่ายกฎหมาย) แล้ว โดยมีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขปรับปรุงระเบียบให้มีความชัดเจน สะดวก คล่องตัว และลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน รวมทั้งปรับปรุงให้สอดคล้องกับพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. 2547 ดังนี้
1. ในกรณีส่วนราชการไม่สามารถถือปฏิบัติตามหมวด 2 แห่งระเบียบนี้ได้ (การเบิกจ่ายค่าเช่าบ้านข้าราชการ) ให้อยู่ในดุลพินิจของปลัดกระทรวงที่ส่วนราชการเจ้าของงบประมาณนั้นสังกัดหรือหัวหน้าส่วนราชการที่ไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวงหรือทบวงที่จะพิจารณาวินิจฉัยได้ตามความเหมาะสม โดยคำนึงถึงความประหยัดและประโยชน์ของทางราชการ
2. กำหนดให้ทายาทของข้าราชการผู้มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านเป็นผู้ยื่นขอรับเงินค่าเช่าบ้าน กรณีผู้มีสิทธิตาย และให้ข้าราชการที่ลาออกหรือเกษียณอายุราชการเป็นผู้ยื่นขอรับเงินค่าเช่าบ้าน
3. ให้ข้าราชการที่กู้เงินและซื้อบ้านในระหว่างสมรสและปรากฎชื่อคู่สมรสแต่เพียงผู้เดียวในสัญญากู้ สัญญาซื้อขาย และโฉนดที่ดิน สามารถนำหลักฐานการผ่อนชำระเงินกู้ดังกล่าวมาเบิกค่าเช่าบ้านได้ โดยไม่ต้องเพิ่มชื่อเสียก่อน
4. กำหนดวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการเบิกค่าเช่าบ้านย้อนหลังกรณีที่ศาลปกครองได้มีคำพิพากษาให้มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านย้อนหลัง โดยให้นำใบเสร็จรับเงินและสำเนาคำพิพากษาศาลปกครองเป็นหลักฐานประกอบการยื่นแบบขอรับเงินค่าเช่าบ้าน แทนการตรวจสอบข้อเท็จจริง
5. ให้ข้าราชการผู้มีสิทธิเบิกค่าเช่าบ้านสามารถรับรองการใช้สิทธิของตนเองในแบบขอเบิกเงินค่าเช่าบ้านรายเดือนได้ เพื่อเป็นการลดภาระผู้บังคับบัญชาที่จะต้องรับรองในแบบขอเบิกค่าเช่าบ้านรายเดือน
6. ท้องที่ใกล้เคียงกับท้องที่ที่ตั้งสำนักงานเดิม ซึ่งไม่มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการตามมาตรา 8 แห่งพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. 2547 ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) กรณีสำนักงานได้ย้ายที่ตั้งสำนักงานจากกรุงเทพมหานครไปในจังหวัดใกล้เคียงนั้นจะต้องมีเขตท้องที่ใกล้เคียงหรือติดต่อกันและมีรถยนต์โดยสารขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพให้บริการ ตามบัญชีรายชื่อท้องที่ใกล้เคียงที่แนบท้ายระเบียบนี้
(2) กรณีสำนักงานได้ย้ายที่ตั้งสำนักงานภายในจังหวัดเดียวกับหรือระหว่างนั้นจะต้องมีเขตท้องที่ติดต่อกันและมียานพาหนะประจำทางให้บริการ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 11 เมษายน 2549--จบ--