คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานการติดตามและประเมินผล FTA ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ ดังนี้
1 การค้าระหว่างประเทศและการใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษี ในปี 2552 (ม.ค.-มิ.ย.)
1.1 การส่งออกรวมและการส่งออกภายใต้ FTA ปี 2552 (ม.ค.-มิ.ย.) ระหว่างไทยกับประเทศคู่เจรจา FTA 5 ประเทศ ส่งออกมูลค่า 17,975.0 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 21.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และส่งออกภายใต้ FTA มูลค่า 6,022.1 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นสัดส่วนต่อการส่งออกรวมร้อยละ 33.5
ประเทศ ส่งออกรวม การส่งออกภายใต้ FTA (ล้านเหรียญสหรัฐ) (ล้านเหรียญสหรัฐ) ปี 2551 ปี 2552 %เปลี่ยนแปลง ปี 2551 ปี 2552 % สัดส่วน มค.-มิย.) (มค.-มิย.) (มค.-มิย.) (มค.-มิย.) การใช้สิทธิ ออสเตรเลีย 3,831.60 3,565.40 -6.9 2,360.40 1,833.00 51.4 นิวซีแลนด์ 391 227.7 -41.8 - - - อินเดีย 229.1 197.2 -13.9 234.5 153.6 77.9 จีน 8,395.60 6,863.20 -18.3 995.3 1,602.00 23.3 ญี่ปุ่น 9,990.90 7,121.50 -28.7 2,332.40 2,433.50 34.2 รวม 5 ประเทศ 22,838.20 17,975.00 -21.3 5,922.60 6,022.10 33.5 หมายเหตุ : นิวซีแลนด์ ไม่มีสถิติการใช้ประโยชน์ เนื่องจากกระทรวงพาณิชย์ไม่ต้องออกหนังสือรับรอง
อินเดีย เฉพาะสินค้าเร่งลดภาษี จำนวน 82 รายการ
1.2 การส่งออกภายใต้ FTA มีสัดส่วนการใช้สิทธิมากหรือน้อยเนื่องจาก
ประเทศ รายการ ออสเตรเลีย การส่งออกภายใต้ FTA มีสัดส่วนการใช้สิทธิมาก เนื่องจากไทยใช้สิทธิในการส่งออก รถยนต์และส่วนประกอบโดยเฉพาะ
รถปิกอัพไปออสเตรเลียเพิ่มขึ้นกว่าเดิมมากเมื่อเทียบกับก่อนทำ FTA
นิวซีแลนด์ ไม่มีสถิติการใช้ประโยชน์ เนื่องจากกระทรวงพาณิชย์ไม่ต้องออกหนังสือรับรอง อินเดีย การส่งออกภายใต้ FTA มีสัดส่วนการใช้สิทธิมาก เนื่องจากภาษีนำเข้าปกติของอินเดียอยู่ในระดับสูงระหว่างร้อยละ 5-10 จีน การส่งออกภายใต้ FTA มีสัดส่วนการใช้สิทธิไม่มาก เนื่องจาก
1) สินค้าสำคัญที่ไทยส่งออกไปจีนภาษีเป็น 0% อยู่แล้ว เช่น สินค้าเครื่องจักรกล/ไฟฟ้าและอุปกรณ์
2) มีสินค้าบางรายการส่งไปจีนโดยผ่านบริษัทในฮ่องกง ญี่ปุ่น ไต้หวันก่อน เช่น กล้องถ่ายรูป ชุดชั้นใน
ญี่ปุ่น การส่งออกภายใต้ FTA มีสัดส่วนการใช้สิทธิไม่มาก เนื่องจากส่วนใหญ่ภาษีนำเข้าปกติของญี่ปุ่นลดเป็น 0 แล้ว ประมาณ
ร้อยละ 75 ของรายการสินค้าทั้งหมด
1.3 การนำเข้ารวมและการนำเข้าภายใต้ FTAในปี 2552 (ม.ค.-มิ.ย.) ระหว่างไทยกับประเทศคู่เจรจา FTA 5 ประเทศ นำเข้ามูลค่า 19,165.2 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 35.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และนำเข้าภายใต้ FTA มูลค่า 1,613.8 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นสัดส่วนต่อการนำเข้ารวมร้อยละ 8.4
รายการ นำเข้ารวม การนำเข้าภายใต้ FTA (ล้านเหรียญสหรัฐ) (ล้านเหรียญสหรัฐ) ปี 2551 ปี 2552 %เปลี่ยนแปลง ปี 2551 ปี 2552 % สัดส่วน (ม.ค.-มิ.ย.) (ม.ค.-มิ.ย.) (ม.ค.-มิ.ย.) (ม.ค.-มิ.ย.) การใช้สิทธิ ออสเตรเลีย 2,470.80 1,671.50 -32.3 271.9 193.4 11.6 นิวซีแลนด์ 423.5 144.3 -65.9 143.2 71.5 49.5 อินเดีย 96.8 49.2 -49.2 24.4 29.1 59.1 จีน 10,029.00 7,218.20 -28 74.2 606.6 8.4 ญี่ปุ่น 16,587.50 10,082.00 -39.2 735.7 713.2 7.1 รวม 5 ประเทศ 29,607.60 19,165.20 -35.3 1,249.40 1,613.80 8.4 หมายเหตุ : อินเดีย เฉพาะสินค้าเร่งลดภาษี จำนวน 82 รายการ
1.4 การนำเข้าภายใต้ FTA มีสัดส่วนการใช้สิทธิมากหรือน้อยเนื่องจาก
ประเทศ รายการ ออสเตรเลีย การนำเข้าภายใต้ FTA มีสัดส่วนการใช้สิทธิน้อย เนื่องจากมีการทยอยลดภาษีซึ่งจนถึงปัจจุบันยังลดภาษีไม่มาก และสินค้า
ที่นำเข้ามาจากออสเตรเลียส่วนใหญ่เป็นวัตถุดิบซึ่งภาษีนำเข้าปกติมีอัตราที่ต่ำอยู่แล้ว
นิวซีแลนด์ การนำเข้าภายใต้ FTA มีสัดส่วนการใช้สิทธิมาก เนื่องจากส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 40 เป็นการนำเข้านมและผลิตภัณฑ์นม
ซึ่งไทยมีความต้องการนำมาใช้ในประเทศ
อินเดีย การนำเข้าภายใต้ FTA มีสัดส่วนการใช้สิทธิมาก เนื่องจากภาษีนำเข้าปกติของสินค้าบางชนิดอยู่ในระดับสูง เช่น ส่วนประกอบ
และอุปกรณ์ประกอบของยานยนต์ องุ่นสด
จีน การนำเข้าภายใต้ FTA มีสัดส่วนการใช้สิทธิน้อย เนื่องจากสินค้านำเข้าสำคัญของไทยลดภาษีเป็นศูนย์แล้ว เช่น เครื่อง
คอมพิวเตอร์ อิเล็กทรอนิกส์
ญี่ปุ่น การนำเข้าภายใต้ FTA มีสัดส่วนการใช้สิทธิน้อย เนื่องจากญี่ปุ่นได้ย้ายฐานการผลิตมายังไทยในหลายอุตสาหกรรม เช่น
รถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ เหล็กและผลิตภัณฑ์ ส่งผลให้มีการนำเข้าโดยตรงจากญี่ปุ่นไม่มากนัก
2. การลงทุนโดยตรงในไทยจากประเทศคู่เจรจา FTA ในปี 2552 (ม.ค.-มิ.ย.) ที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนจาก 5 ประเทศ มูลค่ารวม 11,400 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 25.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากเกิดวิกฤตเศรษฐกิจโลก และปัญหาการเมืองในไทย ต่างชาติจึงได้ชะลอการลงทุน ยกเว้นอินเดีย เพิ่มขึ้นมากเนื่องจากได้มีการยื่นขอโครงการขนาดใหญ่ในกิจการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากพลังงานลม เงินลงทุน 2,390 ล้านบาท
ประเทศ ปี 2551 (ม.ค.-มิ.ย.) ปี 2552 (ม.ค.-มิ.ย.) % เปลี่ยนแปลง โครงการ มูลค่า โครงการ มูลค่า โครงการ มูลค่า
(จำนวน) (ล้านบาท) (จำนวน) (ล้านบาท)
ออสเตรเลีย 7 1,018 1 51 -85.7 -95 นิวซีแลนด์ 2 396 0 0 -100 -100 อินเดีย 5 212 4 2,509 -20 1,083.50 จีน 4 67 3 55 -25 -17.9 ญี่ปุ่น 90 13,594 56 8,785 -37.8 -35.4 รวม 5 ประเทศ 108 15,287 64 11,400 -40.7 -25.4
3. เรื่องที่ต้องดำเนินการต่อ
ประเทศ เรื่องที่ต้องดำเนินการ ไทย-ออสเตรเลีย 1) การเจรจาเปิดตลาดการค้าบริการเพิ่มเติม
2) การเจรจาเรื่องนโยบายการแข่งขันและการจัดซื้อโดยรัฐ
3) การทบทวนสินค้าที่มีมาตรการปกป้องพิเศษ
4) เรื่องที่ทั้งสองฝ่ายเห็นชอบร่วมกัน
ไทย-นิวซีแลนด์ 1) การเจรจาเปิดตลาดการค้าบริการ
2) การทบทวนสินค้าที่มีมาตรการปกป้องพิเศษ
3) การเจรจาเรื่องการจัดซื้อโดยรัฐ
4) เรื่องที่ทั้งสองฝ่ายเห็นชอบร่วมกัน
ไทย-อินเดีย 1) เจรจาเปิดเสรีการค้าบริการและการลงทุน
2) เจรจาเปิดตลาดรายการสินค้าส่วนที่เหลือ
อาเซียน-จีน 1) การเจรจาเปิดตลาดการค้าบริการเพิ่มเติม
2) การทบทวนความตกลงการค้าสินค้า
ไทย-ญี่ปุ่น 1) การเจรจาเพื่อผ่อนคลายข้อจำกัดต่างๆ ที่เป็นอุปสรรคต่อการเข้าสู่ตลาด
2) การเจรจาเปิดตลาดการค้าบริการเพิ่มเติม
3) การเจรจาเรื่องการเคลื่อนย้ายบุคคลธรรมดา
4. ปัญหา/อุปสรรค
ประเทศ ปัญหา/อุปสรรค ไทย-อินเดีย 1) อินเดียเปลี่ยนแปลงท่าทีในการเจรจาหลายครั้ง ทำให้ต้องทบทวนท่าทีการเจรจาบ่อยครั้ง ส่งผลให้การเจรจายืดเยื้อ
2) อินเดียไม่ต้องการผูกพันการเปิดตลาดอย่างมาก ทำให้มีสินค้าที่ไม่นำมาลดภาษีซึ่งเป็นสินค้าส่งออกของไทยหลายรายการ
อาเซียน-จีน การซื้อขายระหว่างไทยกับจีนจำนวนมากดำเนินการผ่านประเทศที่สาม ซึ่งขณะนี้อาเซียนและจีนกำลังอยู่ในระหว่างการ
ดำเนินการเพื่อให้สินค้าที่ซื้อขายผ่านประเทศที่สาม สามารถใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีได้ และสามารถเจรจาตกลงในเบื้องต้น
ได้แล้ว คาดว่าจะมีผลบังคับใช้ประมาณกลางปี 2553
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 22 กันยายน 2552 --จบ--