สรุปสถานการณ์ภัยธรรมชาติในช่วงฤดูฝน ครั้งที่ 11

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday September 23, 2009 14:46 —มติคณะรัฐมนตรี

คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สรุปสถานการณ์ภัยธรรมชาติในช่วงฤดูฝน ครั้งที่ 11 ณ วันที่ 21 กันยายน 2552 ประกอบด้วย สถานการณ์อุทกภัย ผลกระทบด้านการเกษตร การให้ความช่วยเหลือ และสถานการณ์น้ำสรุปได้ดังนี้

สถานการณ์ภัยพิบัติด้านการเกษตร

1. อุทกภัย

จังหวัดเพชรบูรณ์ เกิดฝนที่ตกต่อเนื่องในพื้นที่ จ.เพชรบูรณ์ ตั้งแต่วันที่ 15 — 18 ก.ย. 2552 โดยเฉพาะในเขตอ.เขาค้อ ส่งผลให้มีน้ำไหลล้นทำนบดิน ซึ่งก่อสร้างโดยกองทัพบก เมื่อปี 2525 มีลักษณะเป็นสระเก็บน้ำความจุประมาณ 20,000 ลูกบาศก์เมตร เพื่อเก็บกักน้ำไว้ใช้สำหรับใช้ในการอุปโภคบริโภค ได้รับความเสียหาย เนื่องจากเกิดน้ำกัดเซาะทำนบดินขาดกว้างประมาณ 10 เมตร ทำให้มีน้ำไหลลงมารวมกับน้ำที่อ่างเก็บน้ำทุ่งสมอ 1 และอ่างเก็บน้ำทุ่งสมอ 2 ที่อยู่ทางตอนล่าง และไหลผ่านชุมชนในเขต ต.ทุ่งสมอ ต.เขาค้อ อ.เขาค้อ ก่อนไหลลงสู่อ่างเก็บน้ำบ้านใจทน ที่อยู่ในความดูแลขององค์การบริหารส่วนตำบลริมสีม่วง เกิดน้ำไหลล้นทำนบดินเมื่อวันที่ 18 ก.ย. 52 สูงประมาณ 50 เซนติเมตร ก่อนไหลลงสู่ลำห้วยธรรมชาติ ซึ่งปริมาณน้ำในลำห้วยดังกล่าว ไม่ได้เอ่อล้นเข้าท่วมพื้นที่ชุมชนหรือพื้นที่การเกษตรที่อยู่ทางตอนล่าง

จากการตรวจสอบสภาพพื้นที่ พบว่า พื้นที่การเกษตรและบ้านเรือนราษฎรไม่ได้รับความเสียหาย เนื่องจากชุมชนส่วนใหญ่ รวมทั้ง พื้นที่การเกษตรอยู่บนพื้นที่สูง ในวันที่ 19 ก.ย. 52 สถานการณ์น้ำได้เข้าสู่ภาวะปกติแล้ว

จังหวัดศรีสะเกษ เมี่อวันที่ 10-12 ก.ย. 52 เกิดฝนตกหนักต่อเนื่องทำให้ระดับน้ำในลุ่มน้ำห้วยทา ลุ่มน้ำห้วยขยูง ลุ่มน้ำห้วยทับทัน และลุ่มน้ำห้วยสำราญ เอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่การเกษตรและบ้านเรือนราษฎรในพื้นที่ลุ่มต่ำริมตลิ่ง จำนวน 7 อำเภอ ได้แก่ อำเภอขุนหาญ ขุขันธ์ ภูสิงห์ อุทุมพรพิสัย ห้วยทับทัน ปรางค์กู่ และอำเภอเมือง หากไม่มีฝนตกเพิ่มเติม คาดว่าสถานการณ์จะเข้าสู่ภาวะปกติภายใน 2-3 วัน เกษตรกรได้รับผลกระทบ 11,258 ราย พื้นที่คาดว่าจะเสียหาย 90,395 ไร่ แบ่งเป็น ข้าว 84,532 ไร่ พืชไร่ 4,148 ไร่ และพืชสวน 1,715 ไร่

จังหวัดอุบลราชธานี เมื่อวันที่ 12 ก.ย. 52 น้ำจากแม่น้ำมูลเอ่อล้นตลิ่งไหลเข้าท่วมพื้นที่เขตเทศบาลเมืองวารินชำราบ จำนวน 5 ชุมชน หากไม่มีฝนตกเพิ่มเติม สถานการณ์จะเข้าสู่ภาวะปกติภายใน 5-6 วัน

จังหวัดชัยภูมิ เมื่อวันที่ 15-17 ก.ย. 52 เกิดฝนตกต่อเนื่องทำให้เกิดน้ำป่าไหลหลากจากเทือกเขาภูแลนคา และล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่เขตเทศบาลเมืองชัยภูมิ สถานการณ์เข้าสู่ภาวะปกติวันที่20 ก.ย. 52

จังหวัดลำปาง เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2552 เวลาประมาณ 06.00 น. เกิดฝนตกหนักต่อเนื่องจากแม่น้ำเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่การเกษตรและบ้านเรือนในอำเภอเมืองปาน ตำบลทุ่งกว๋าว และน้ำจากลำน้ำแม่ค่อมเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่การเกษตรและบ้านเรือนในอำเภอเมือง ตำบลบ้านค่า สถานการณ์เข้าสู่ภาวะปกติแล้ว

จังหวัดแพร่ เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2552 เกิดน้ำป่าไหลหลากในพื้นที่อำเภอลอง ตำบลเวียงต้า อำเภอเด่นชัย ตำบลห้วยไร่ ตำบลเด่นชัย ตำบลแม่จั๊ว ตำบลไทรย้อย และตำบลปอป่าหวาย และอำเภอเมืองฝนตกหนักที่ตำบลป่าแมต และตำบลวังธง อำเภอเมือง และน้ำล้นอาคารทางระบายน้ำของอ่างเก็บน้ำห้วยผาคำ ทำให้เกิดน้ำท่วมในเขต ตำบลป่าแมต สถานการณ์ได้เข้าสู่สภาวะปกติแล้ว

จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2552 เนื่องจากฝนตกหนักในพื้นที่บ้านแม่ทา อำเภอแม่ออน ทำให้เกิดน้ำป่าไหลหลากจากเทือกเขาลงมาสู่แม่น้ำแม่ทาและยังไหลลงสู่ห้วยโปงกาง จนระดับน้ำเอ่อล้นเข้าท่วมพื้นที่การเกษตรนาข้าว ในพื้นที่ตำบลแม่ทา อำเภอแม่ออน สถานการณ์ได้เข้าสู่ภาวะปกติแล้ว

จังหวัดน่าน เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2552 เวลา 03.00 น. เกิดน้ำป่าไหลหลากในพื้นที่ตำบลปัว อำเภอปัว สถานการณ์ได้เข้าสู่ภาวะปกติแล้ว เกษตรกรได้รับผลกระทบ 582 ราย พื้นที่คาดว่าจะเสียหาย 3,662 ไร่ แบ่งเป็น ข้าว 941 ไร่ พืชไร่ 2,721 ไร่

จังหวัดพังงา เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2552 เกิดฝนตกหนักต่อเนื่องทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันในพื้นที่อำเภอท้ายเหมือง 2 ตำบล ได้แก่ ตำบลลำภี และตำบลทุ่งมะพร้าว ระดับน้ำสูงประมาณ 0.50-1.00 ม. สถานการณ์ได้เข้าสู่ภาวะปกติแล้ว เกษตรกรได้รับผลกระทบ 78 ราย พื้นที่คาดว่าจะเสียหาย 45 ไร่ แบ่งเป็น พืชไร่ 45 ไร่

ผลกระทบด้านการเกษตร

1. อุทกภัย (ช่วงวันที่ 1-17 กันยายน 2552 ณ วันที่ 17 กันยายน 2552)

พื้นที่ประสบอุทกภัยด้านการเกษตรรวมทั้งสิ้น 8 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ น่าน เพชรบูรณ์ ลำปาง อุทัยธานี ยโสธร ศรีสะเกษ และพังงา ดังนี้

ด้านพืช 6 จังหวัด เกษตรกรประสบภัย 13,138 ราย พื้นที่คาดว่าจะเสียหาย 102,504 ไร่ แบ่งเป็น ข้าว 93,851 ไร่ พืชไร่ 6,913 ไร่ และพืชสวน 1,740 ไร่

ด้านประมง 3 จังหวัด เกษตรกรประสบภัย 478 ราย พื้นที่ประสบภัย 486 บ่อ คิดเป็นพื้นที่ 261 ไร่

ด้านปศุสัตว์ 2 จังหวัด เกษตรกรประสบภัย 207 ราย สัตว์ได้รับผลกระทบ 36,991 ตัว แบ่งเป็น โค-กระบือ 5,639 ตัว สุกร-แพะ-แกะ 646 ตัว และสัตว์ปีก 30,706 ตัว

การช่วยเหลือเบื้องต้น

1. สนับสนุนเครื่องสูบและเครื่องผลักดันน้ำเพื่อช่วยเหลือไปแล้ว ดังนี้

เครื่องสูบน้ำ 12 จังหวัด จำนวน 95 เครื่อง ได้แก่ จังหวัดมหาสารคาม(1) อุดรธานี (1) นครราชสีมา(1) ร้อยเอ็ด(1)ชัยภูมิ(6) นนทบุรี(4) พระนครศรีอยุธยา(10) สมุทรสาคร(5) สุพรรณบุรี (47) ลพบุรี (10) อ่างทอง(6) และระนอง(3)

เครื่องผลักดันน้ำ 3 จังหวัด จำนวน 37 เครื่อง ได้แก่ จังหวัดนครราชสีมา(19) กรุงเทพมหานคร(3) สุพรรณบุรี (15)

2. สนับสนุนพืชอาหารสัตว์ 1,423 กิโลกรัม แร่ธาตุและเวชภัณฑ์ 100 ชุด และดูแลสุขภาพสัตว์ 1,255 ตัว

2. ฝนทิ้งช่วง (ช่วงวันที่ 1 — 31 สิงหาคม2552)

พื้นที่ประสบภัยด้านการเกษตร 9 จังหวัด 23 อำเภอ 68 ตำบล ได้แก่ จังหวัดนครสวรรค์ เพชรบูรณ์ พะเยา พิจิตร พิษณุโลก แพร่ ลำปาง จันทบุรี และสุพรรณบุรี

เกษตรกรได้รับผลกระทบ 42,909 ราย พื้นที่คาดว่าจะเสียหาย 716,083 ไร่ แยกเป็น ข้าว 498,657 ไร่ พืชไร่ 213,973 ไร่ และพืชสวน 3,453 ไร่ (ข้อมูล ณ 11 กันยายน 2552)

การช่วยเหลือ สำนักฝนหลวงและการบินเกษตร ได้ตั้งศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวง จำนวน 8 ศูนย์ (8 หน่วยปฏิบัติการ และ 6 ฐานเติมสาร) ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ พิษณุโลก ลพบุรี ขอนแก่น นครราชสีมา สระแก้ว อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และสุราษฎร์ธานี และฐานเติมสารฝนหลวง ได้แก่ จังหวัดตาก กาญจนบุรี นครสวรรค์ อุบลราชธานี ระยอง และนครศรีธรรมราช ขึ้นปฏิบัติการในรอบสัปดาห์ (ช่วงวันที่ 11 — 17 กันยายน 2552) จำนวน 248 เที่ยวบิน ปริมาณน้ำฝนวัดได้ 0.1 -144.7 มม. มีฝนตกในพื้นที่ 56 จังหวัด

สถานการณ์น้ำ

1. สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่

สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั่วประเทศ (21 กันยายน 2552) มีปริมาตรน้ำในอ่างฯ ทั้งหมด 48,320 ล้านลบ.ม. หรือคิดเป็นร้อยละ 70 ของความจุอ่างฯ ทั้งหมด น้อยกว่าปี 2551 (51,215 ล้าน ลบ.ม.) จำนวน 2,895 ล้านลบ.ม. ปริมาตรน้ำใช้การได้ 24,964 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 36 ของความจุอ่างฯ สามารถรับน้ำได้อีก 21,108 ล้านลบ.ม.

อ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพล จังหวัดตาก และอ่างเก็บน้ำเขื่อนสิริกิติ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ มีปริมาตรน้ำในอ่างฯ ทั้งหมด 6,857 และ 5,622 ล้านลบ.ม.ตามลำดับ หรือคิดเป็นร้อยละ 51 และ 59 ของความจุอ่างฯทั้งหมด ตามลำดับโดยมีปริมาตรน้ำทั้งสองอ่างฯ รวมกัน จำนวน 12,479 ล้านลบ.ม. สามารถรับน้ำได้อีก 10,493 ล้านลบ.ม.

อ่างเก็บน้ำเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จังหวัดลพบุรี มีปริมาตรน้ำในอ่างฯ 590 ล้าน ลบ.ม. หรือคิดเป็นร้อยละ 61 ของความจุอ่างฯทั้งหมด สามารถรับน้ำได้อีก 370 ล้าน ลบ.ม.

อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่อยู่ในเกณฑ์น้ำน้อยกว่าร้อยละ 30 ของความจุอ่างฯ จำนวน 3 อ่างฯ ดังนี้

อ่างเก็บน้ำ      ปริมาตรน้ำในอ่างฯ        ปริมาตรน้ำใช้การได้     ปริมาตรน้ำไหลลงอ่างฯ      ปริมาณน้ำระบาย    ปริมาณน้ำ
              ปริมาตร   %ความจุ       ปริมาตร   %ความจุ     วันนี้       เมื่อวานนี้      วันนี้    เมื่อวาน    รับได้อีก
แม่กวง             41       15           25       10    1.24          1.85     0.03      0.03       222
ลำพระเพลิง         30       27           29       27    0.95          0.77     0.86      0.86        80
ทับเสลา            40       25           32       20    0.24          0.04     0.00      0.00       120

อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่อยู่ในเกณฑ์น้ำน้อยกว่าร้อยละ 80 ของความจุอ่างฯ จำนวน 3 อ่างฯ ดังนี้

อ่างเก็บน้ำ      ปริมาตรน้ำในอ่างฯ        ปริมาตรน้ำใช้การได้     ปริมาตรน้ำไหลลงอ่างฯ      ปริมาณน้ำระบาย      ปริมาณน้ำ
              ปริมาตร   %ความจุ       ปริมาตร   %ความจุ     วันนี้       เมื่อวานนี้      วันนี้    เมื่อวาน    รับได้อีกศรีนครินทร์        15,167       85        4,902       28   24.88         28.31     4.94     12.18       2,578
วชิราลงกรณ์      7,683       87        4,671       53   21.50         28.09    17.03     20.03       1,177
รัชชประภา       4,910       87        3,558       63    3.73          9.20     6.67      3.75         729

2. สภาพน้ำท่า

ภาคเหนือ

แม่น้ำปิง สภาพน้ำในลำน้ำ พบว่า ด้านเหนือเขื่อนภูมิพล จังหวัดตาก ปริมาณน้ำในลำน้ำส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์น้ำน้อยและจากท้ายเขื่อนภูมิพลลงมาปริมาณน้ำส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์ปกติ

แม่น้ำวัง สภาพน้ำในลำน้ำ พบว่า ด้านเหนือเขื่อนกิ่วลม จังหวัดลำปาง ปริมาณน้ำในลำน้ำส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์น้ำน้อยและจากท้ายเขื่อนกิ่วลมลงมาปริมาณน้ำส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์ปกติ

แม่น้ำยม สภาพน้ำในลำส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์น้ำน้อย

แม่น้ำน่าน สภาพน้ำในลำน้ำ พบว่า ด้านเหนือเขื่อนสิริกิติ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ ปริมาณน้ำในลำน้ำส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์น้ำน้อยและจากท้ายเขื่อนสิริกิติ์ลงมาปริมาณน้ำส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์ปกติ

ภาคกลาง

แม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณจังหวัดนครสวรรค์ ชัยนาท อยู่ในเกณฑ์ปกติ

แม่น้ำป่าสัก สภาพน้ำในลำน้ำ พบว่า ด้านเหนือเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จังหวัดลพบุรี ปริมาณน้ำในลำน้ำส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์น้ำน้อยและจากท้ายเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ลงมาปริมาณน้ำส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์ปกติ

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

แม่น้ำชี สภาพน้ำในลำน้ำส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์น้ำปกติ

แม่น้ำมูล สภาพน้ำในลำน้ำส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์น้ำปกติ ท้ายแม่น้ำมูลอยู่ในเกณฑ์น้ำมาก

ภาคตะวันออก

แม่น้ำปราจีนบุรี สภาพน้ำในลำน้ำส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์น้ำน้อย

ภาคใต้

แม่น้ำท่าตะเภา สภาพน้ำในลำน้ำอยู่ในเกณฑ์น้ำน้อย

แม่น้ำปัตตานี สภาพน้ำในลำน้ำอยู่ในเกณฑ์น้ำน้อย

แม่น้ำตะกั่วป่า สภาพน้ำในลำน้ำอยู่ในเกณฑ์น้ำน้อย

--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 22 กันยายน 2552 --จบ--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ