คณะรัฐมนตรีเห็นชอบร่างอนุสัญญาเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนไทย-ชิลี ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และอนุมัติให้กระทรวงการต่างประเทศรับไปดำเนินการทางการทูตและตามแบบพิธีของกฎหมายภายใน เพื่อให้อนุสัญญาฯ มีผลบังคับใช้ต่อไป โดยสาระสำคัญของอนุสัญญาดังกล่าวฯ มีดังนี้
1. ขอบข่ายของอนุสัญญาฯ จะใช้กับผู้มีถิ่นที่อยู่ประเทศไทย หรือประเทศชิลี หรือทั้งสองประเทศ และจะใช้บังคับกับภาษีเก็บจากฐานเงินได้และผลได้จากทุน
2. วิธีขจัดภาษีซ้อน ประเทศคู่สัญญาจะยอมให้ผู้มีถิ่นที่อยู่ของตนนำภาษีที่เสียไว้แล้วจากประเทศหนึ่งมาหักออกจากภาษีที่ต้องชำระในประเทศตนเท่าจำนวนภาษีที่ได้ชำระไว้จริง แต่ต้องไม่เกินกว่าจำนวนภาษีที่คำนวณได้ในประเทศตน นอกจากนี้อนุสัญญาฯ ยังได้กำหนดให้มีมาตรการ Tax Sparing Credit ด้วย กล่าวคือ กรณีการได้รับยกเว้นหรือลดหย่อนภาษีตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520 ในประเทศไทย ประเทศชิลีจะยอมให้นำจำนวนภาษีที่ได้รับยกเว้นหรือลดหย่อนดังกล่าวไปถือเป็นเครดิตภาษีได้ด้วย โดยให้มีผลใช้บังคับในระยะเวลา 10 ปี และอาจสามารถขยายระยะเวลาดังกล่าว โดยความตกลงร่วมกันระหว่างเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจของทั้งสองฝ่ายต่อไป
3. การเก็บภาษีจากกำไรธุรกิจ ประเทศที่มีการจ่ายเงินได้จะเก็บภาษีจากผู้รับเงินได้ซึ่งเป็นวิสาหกิจของอีกประเทศหนึ่งได้ต่อเมื่อวิสาหกิจนั้นดำเนินธุรกิจผ่านสถานประกอบการถาวรในประเทศที่มีการจ่ายเงินได้นั้น
4. การเก็บภาษีจากการขนส่งทางเรือและทางอากาศ ประเทศแหล่งเงินได้จะให้การยกเว้นเฉพาะภาษีเงินได้สำหรับการขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ ส่วนการเดินเรือจะลดภาษีเงินได้ลงกึ่งหนึ่ง
5. การเก็บภาษีจากทรัพย์สินประเภททุน กรณีเงินปันผล ดอกเบี้ยและค่าสิทธิ จะมีการจำกัดอัตราภาษีในประเทศผู้จ่ายเงินได้ โดยไม่ให้เก็บเกินกว่าอัตราภาษีตามที่อนุสัญญาฯ กำหนดไว้ กรณีค่าเช่าอสังหาริมทรัพย์ และผลได้จากการจำหน่ายอสังหาริมทรัพย์และสังหาริมทรัพย์ของสถานประกอบการถาวร ให้ประเทศที่ทรัพย์สินตั้งอยู่ยังคงมีสิทธิเก็บภาษีได้ เว้นแต่ผลจากการจำหน่ายเรือและอากาศยานที่ใช้ในการขนส่งระหว่างประเทศ ให้เก็บภาษีได้เฉพาะในประเทศที่ผู้จำหน่ายมีถิ่นที่อยู่ ส่วนผลได้จากการขายหุ้นให้ประเทศแหล่งเงินได้ยังคงสิทธิในการจัดเก็บภาษีได้
6. การเก็บภาษีจากเงินเดือน ค่าจ้าง หรือค่าตอบแทนจากการจ้างแรงงาน การให้บริการส่วนบุคคล ครู และนักวิจัย หากมีการให้บริการในประเทศใดให้ประเทศนั้นมีสิทธิเก็บภาษีได้ แต่อาจได้รับการยกเว้นภาษีตามเงื่อนไขที่อนุสัญญาฯ กำหนดไว้
7. บทบัญญัติพิเศษอื่น ๆ เช่น คำนิยามทั่วไป การไม่เลือกปฏิบัติ วิธีการเพื่อความตกลงร่วมกัน การแลกเปลี่ยนข้อสนเทศ มีการบัญญัติขึ้นเพื่อให้การใช้บังคับอนุสัญญาฯ เป็นไปด้วยความเรียบร้อย ไม่เกิดการเลือกปฏิบัติระหว่างคนชาติ และได้มีการประสานงานเพื่อประโยชน์ในการบริหารจัดเก็บภาษีของประเทศคู่สัญญา
8. การเริ่มใช้และการเลิกใช้อนุสัญญาฯ เมื่อประเทศคู่สัญญาได้ดำเนินการตามแบบพิธีที่มีอยู่ตามกฎหมายภายในของตนในอันที่จะให้อนุสัญญาฯ มีผลบังคับ และได้แจ้งโดยวิธีทางการทูตให้ประเทศคู่สัญญาของตนทราบซึ่งกันและกันถึงการดำเนินการดังกล่าวแล้ว อนุสัญญาฯ จึงจะมีผลบังคับใช้ ในส่วนของภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายนั้น จะใช้บังคับกับเงินได้ที่ได้รับในหนังสือหลังจากวันแรกของเดือนมกราคมถัดจากปีซึ่งอนุสัญญาฯ มีผลใช้บังคับและในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเงินได้อื่น ๆ นั้น อนุสัญญาฯ จะมีผลใช้บังคับสำหรับภาษีที่เรียกเก็บในปีภาษีหรือรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มต้นในหรือหลังจากวันแรกของเดือนมกราคมถัดจากปีที่อนุสัญญาฯ มีผลใช้บังคับ
สำหรับการเลิกใช้นั้น ประเทศคู่สัญญาสามารถแจ้งการเลิกใช้ด้วยวิธีทางการทูตภายหลังที่อนุสัญญาฯ นี้มีผลบังคับมาแล้ว 5 ปี โดยแจ้งภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ และจะมีผลเลิกใช้กับเงินได้ที่เกิดขึ้นในปีภาษีถัดไป
9. กรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ ได้ให้ความเห็นชอบต่ออนุสัญญาฯ แล้ว และอนุสัญญาฯ จะมีผลบังคับได้ต่อเมื่อได้มีการลงนามอย่างเป็นทางการ และได้มีการแลกเปลี่ยนหนังสือระหว่างกัน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 29 สิงหาคม 2549--จบ--
1. ขอบข่ายของอนุสัญญาฯ จะใช้กับผู้มีถิ่นที่อยู่ประเทศไทย หรือประเทศชิลี หรือทั้งสองประเทศ และจะใช้บังคับกับภาษีเก็บจากฐานเงินได้และผลได้จากทุน
2. วิธีขจัดภาษีซ้อน ประเทศคู่สัญญาจะยอมให้ผู้มีถิ่นที่อยู่ของตนนำภาษีที่เสียไว้แล้วจากประเทศหนึ่งมาหักออกจากภาษีที่ต้องชำระในประเทศตนเท่าจำนวนภาษีที่ได้ชำระไว้จริง แต่ต้องไม่เกินกว่าจำนวนภาษีที่คำนวณได้ในประเทศตน นอกจากนี้อนุสัญญาฯ ยังได้กำหนดให้มีมาตรการ Tax Sparing Credit ด้วย กล่าวคือ กรณีการได้รับยกเว้นหรือลดหย่อนภาษีตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520 ในประเทศไทย ประเทศชิลีจะยอมให้นำจำนวนภาษีที่ได้รับยกเว้นหรือลดหย่อนดังกล่าวไปถือเป็นเครดิตภาษีได้ด้วย โดยให้มีผลใช้บังคับในระยะเวลา 10 ปี และอาจสามารถขยายระยะเวลาดังกล่าว โดยความตกลงร่วมกันระหว่างเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจของทั้งสองฝ่ายต่อไป
3. การเก็บภาษีจากกำไรธุรกิจ ประเทศที่มีการจ่ายเงินได้จะเก็บภาษีจากผู้รับเงินได้ซึ่งเป็นวิสาหกิจของอีกประเทศหนึ่งได้ต่อเมื่อวิสาหกิจนั้นดำเนินธุรกิจผ่านสถานประกอบการถาวรในประเทศที่มีการจ่ายเงินได้นั้น
4. การเก็บภาษีจากการขนส่งทางเรือและทางอากาศ ประเทศแหล่งเงินได้จะให้การยกเว้นเฉพาะภาษีเงินได้สำหรับการขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ ส่วนการเดินเรือจะลดภาษีเงินได้ลงกึ่งหนึ่ง
5. การเก็บภาษีจากทรัพย์สินประเภททุน กรณีเงินปันผล ดอกเบี้ยและค่าสิทธิ จะมีการจำกัดอัตราภาษีในประเทศผู้จ่ายเงินได้ โดยไม่ให้เก็บเกินกว่าอัตราภาษีตามที่อนุสัญญาฯ กำหนดไว้ กรณีค่าเช่าอสังหาริมทรัพย์ และผลได้จากการจำหน่ายอสังหาริมทรัพย์และสังหาริมทรัพย์ของสถานประกอบการถาวร ให้ประเทศที่ทรัพย์สินตั้งอยู่ยังคงมีสิทธิเก็บภาษีได้ เว้นแต่ผลจากการจำหน่ายเรือและอากาศยานที่ใช้ในการขนส่งระหว่างประเทศ ให้เก็บภาษีได้เฉพาะในประเทศที่ผู้จำหน่ายมีถิ่นที่อยู่ ส่วนผลได้จากการขายหุ้นให้ประเทศแหล่งเงินได้ยังคงสิทธิในการจัดเก็บภาษีได้
6. การเก็บภาษีจากเงินเดือน ค่าจ้าง หรือค่าตอบแทนจากการจ้างแรงงาน การให้บริการส่วนบุคคล ครู และนักวิจัย หากมีการให้บริการในประเทศใดให้ประเทศนั้นมีสิทธิเก็บภาษีได้ แต่อาจได้รับการยกเว้นภาษีตามเงื่อนไขที่อนุสัญญาฯ กำหนดไว้
7. บทบัญญัติพิเศษอื่น ๆ เช่น คำนิยามทั่วไป การไม่เลือกปฏิบัติ วิธีการเพื่อความตกลงร่วมกัน การแลกเปลี่ยนข้อสนเทศ มีการบัญญัติขึ้นเพื่อให้การใช้บังคับอนุสัญญาฯ เป็นไปด้วยความเรียบร้อย ไม่เกิดการเลือกปฏิบัติระหว่างคนชาติ และได้มีการประสานงานเพื่อประโยชน์ในการบริหารจัดเก็บภาษีของประเทศคู่สัญญา
8. การเริ่มใช้และการเลิกใช้อนุสัญญาฯ เมื่อประเทศคู่สัญญาได้ดำเนินการตามแบบพิธีที่มีอยู่ตามกฎหมายภายในของตนในอันที่จะให้อนุสัญญาฯ มีผลบังคับ และได้แจ้งโดยวิธีทางการทูตให้ประเทศคู่สัญญาของตนทราบซึ่งกันและกันถึงการดำเนินการดังกล่าวแล้ว อนุสัญญาฯ จึงจะมีผลบังคับใช้ ในส่วนของภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายนั้น จะใช้บังคับกับเงินได้ที่ได้รับในหนังสือหลังจากวันแรกของเดือนมกราคมถัดจากปีซึ่งอนุสัญญาฯ มีผลใช้บังคับและในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเงินได้อื่น ๆ นั้น อนุสัญญาฯ จะมีผลใช้บังคับสำหรับภาษีที่เรียกเก็บในปีภาษีหรือรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มต้นในหรือหลังจากวันแรกของเดือนมกราคมถัดจากปีที่อนุสัญญาฯ มีผลใช้บังคับ
สำหรับการเลิกใช้นั้น ประเทศคู่สัญญาสามารถแจ้งการเลิกใช้ด้วยวิธีทางการทูตภายหลังที่อนุสัญญาฯ นี้มีผลบังคับมาแล้ว 5 ปี โดยแจ้งภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ และจะมีผลเลิกใช้กับเงินได้ที่เกิดขึ้นในปีภาษีถัดไป
9. กรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ ได้ให้ความเห็นชอบต่ออนุสัญญาฯ แล้ว และอนุสัญญาฯ จะมีผลบังคับได้ต่อเมื่อได้มีการลงนามอย่างเป็นทางการ และได้มีการแลกเปลี่ยนหนังสือระหว่างกัน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 29 สิงหาคม 2549--จบ--