คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงมหาดไทย โดยสำนักเลขาธิการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย สรุปความเสียหายจากอุทกภัยโคลนถล่มภาคเหนือและการให้ความช่วยเหลือ (ครั้งที่ 2) ดังนี้
1. สรุปสถานการณ์อุทกภัย 5 จังหวัดภาคเหนือ (ระหว่างวันที่ 22 พ.ค.49 - 5 มิ.ย.49)
1.1 พื้นที่ประสบภัย รวม 5 จังหวัด 26 อำเภอ 1 กิ่งฯ 165 ตำบล 1,119 หมู่บ้าน ได้แก่ จังหวัดอุตรดิตถ์ สุโขทัย แพร่ ลำปาง และน่าน
1.2 ความเสียหาย
1) ผู้เสียชีวิต 83 คน จังหวัดอุตรดิตถ์ 71 คน (ลับแล 23 คน ท่าปลา 25 คน เมือง 23 คน) จังหวัดสุโขทัย 7 คน (ศรีสัชนาลัย 6 คน ศรีสำโรง 1 คน) และจังหวัดแพร่ 5 คน (เมือง) สูญหาย 33 คน จังหวัดอุตรดิตถ์ 32 คน (ลับแล 4 คน ท่าปลา 28 คน) และจังหวัดสุโขทัย 1 คน (ศรีสัชนาลัย) ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 319,589 คน 101,475 ครัวเรือน อพยพ 11,601 คน
2) บ้านเรือนเสียหายทั้งหลัง 674 หลัง (จ.อุตรดิตถ์ 447 หลัง จ.แพร่ 137 หลัง จ.สุโขทัย 89 หลัง และ จ.น่าน 1 หลัง) บ้านเรือนเสียหายบางส่วน 2,772 หลัง (จ.อุตรดิตถ์ 2,270 หลัง จ.สุโขทัย 156 หลัง จ.แพร่ 336 หลัง และ จ.น่าน 10 หลัง)
3) ด้านทรัพย์สิน ถนน 968 สาย สะพาน 134 แห่ง พื้นที่การเกษตร 481,830 ไร่ วัด/โรงเรียน/สถานที่ราชการ 242 แห่ง พนังกั้นน้ำ 15 แห่ง ท่อระบายน้ำ 282 แห่ง ทำนบ/ฝาย/เหมือง 197 แห่ง บ่อปลา 4,795 บ่อ ปศุสัตว์ 76,611 ตัว สัตว์ปีก 260,148 ตัว
1.3 มูลค่าความเสียหาย เบื้องต้น ประมาณ 308,615,331.- บาท (ไม่รวมความเสียหายบ้านเรือนและทรัพย์สินของราษฎร)
2. สถานการณ์ปัจจุบัน
2.1 พื้นที่สถานการณ์อุทกภัยคลี่คลายแล้ว 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดแพร่ ลำปาง น่าน และอุตรดิตถ์
2.2 พื้นที่ที่ยังคงมีสถานการณ์ ได้แก่ จังหวัดสุโขทัย ในพื้นที่อำเภอกงไกรลาศ โดยน้ำได้เอ่อล้นเข้าท่วมในพื้นที่การเกษตรทุกตำบล รวม 11 ตำบล 102 หมู่บ้าน โดยเฉพาะบริเวณริมแม่น้ำยม ระดับน้ำสูงประมาณ 0.70 เมตร เนื่องจากเป็นพื้นที่รับน้ำจากอำเภอเมือง ขณะนี้ระดับน้ำทรงตัว
3. ผลการปฏิบัติงานค้นหาผู้สูญหายบริเวณปากน้ำลี อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์
3.1 เมื่อวันที่ 3 มิ.ย.49 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช) ได้เดินทางไปประชุมและอำนวยการค้นหาผู้สูญหายร่วมกับผู้ว่าราชการจังหวัดอุตรดิตถ์ และชุดค้นหาทางน้ำของกองทัพเรือ ตำรวจน้ำ เจ้าหน้าที่กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรมชลประทาน และกรมการขนส่งทางน้ำฯ ณ บริเวณปากน้ำลี อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์
3.2 กำลังพล ชุดค้นหาทางน้ำของกองทัพเรือและ ตำรวจน้ำ เจ้าหน้าที่กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรมชลประทาน กรมการขนส่งทางน้ำ เจ้าหน้าที่ทหาร ตำรวจตระเวนชายแดน ฝ่ายปกครอง สาธารณสุข ออป. อบต.นางพญา อาสาสมัคร ราษฎรบริเวณใกล้เคียง รวม 140 คน ร่วมค้นหาผู้สูญหาย โดยมอบให้ พ.ท.ยงยุทธ เหล่าเขตกาล ผบ.ม.พัน 7 เป็นหัวหน้าชุด
3.3 เครื่องจักรกลที่ใช้ปฏิบัติงาน
1) กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย สนับสนุนรถแบ็คโฮ 2 คัน รถแทรกเตอร์ 1 คัน เรือท้องแบนพร้อมเครื่องยนต์ 1 ลำ
2) กรมชลประทาน สนับสนุนเรือขุด 2 ลำ
3) กรมประมง สนับสนุนเรือเร็ว 2 ลำ
4) กรมการขนส่งทางน้ำ และพาณิชยนาวี สนับสนุนเรือขุด 1 ลำ
5) อำเภอท่าปลา สนับสนุนเรือหางยาวจำนวน 14 ลำ
6) กองทัพเรือและตำรวจน้ำ สนับสนุนนักประดาน้ำพร้อมอุปกรณ์
7) ออป. สนับสนุนแพขนานยนต์ จำนวน 1 ลำ
3.4 วิธีการดำเนินการ
1) ใช้แพขนานยนต์ และเรือเร็วดึง/ดัน เศษกองไม้ให้ใกล้ตลิ่ง
2) ใช้รถแบ็คโฮตักเศษไม้ให้กระจายตัว
3) ใช้นักประดาน้ำค้นหาศพใต้เศษซากไม้
3.5 ผลการดำเนินงาน เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2549 พบศพเพิ่มเติม จำนวน 3 ศพ เป็นหญิง 2 ศพ ชาย 1 ศพ และได้ดำเนินการค้นหาอย่างต่อเนื่อง สำหรับวันที่ 5 มิถุนายน 2549 ยังไม่พบศพ
4. สิ่งของพระราชทาน
4.1 วันที่ 31 พฤษภาคม 2549 สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมารทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายา ในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมารเสด็จแทนพระองค์ไปทรงเยี่ยมราษฎรผู้ประสบภัยที่โรงเรียนบ้านน้ำต๊ะ อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ และเสด็จเยี่ยมผู้ป่วยจากอุทกภัย ณ โรงพยาบาลอุตรดิตถ์ อำเภอเมืองฯ จังหวัดอุตรดิตถ์ พร้อมประทานถุงยังชีพพระราชทานแก่ราษฎรผู้ประสบภัยด้วย
4.2 วันที่ 1 มิถุนายน 2549 ผู้แทนพระองค์ในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายา และ พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริวัณณวรีนารีรัตน์ ได้นำสิ่งของพระราชทาน ถุงยังชีพ จำนวน 3,000 ชุด มอบให้กับผู้ว่าราชการจังหวัดสุโขทัย เพื่อนำไปช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยต่อไป
4.3 วันที่ 3 มิถุนายน 2549 สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร และพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายา ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ พล.อ.อ.สถิตย์พงษ์ สุขวิมล ราชเลขานุการในพระองค์ฯ มอบถุงยังชีพพระราชทานแก่ราษฎรผู้ประสบอุทกภัย ณ สำนักงานเทศบาลตำบลช่อแฮ อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ จำนวน 2,000 ชุด
4.4 วันที่ 3 มิถุนายน 2549 พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริวัณณวรีนารีรัตน์ โปรดให้ผู้แทนพระองค์มอบถุงยังชีพพระราชทาน จำนวน 1,000 ชุด แก่ราษฎรผู้ประสบอุทกภัย ณ หอประชุม อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่
4.5 วันที่ 30 พ.ค. 2549 พระเจ้าหลานเธอพระองค์เจ้าสิริวัณณวรีนารีรัตน์โปรดให้ผู้แทนพระองค์ มอบถุงยังชีพพระราชทาน จำนวน 1,000 ชุด ไปมอบให้ผู้ว่าราชการจังหวัดอุตรดิตถ์ เพื่อมอบให้แก่ราษฎรผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่ต่อไป
4.6 วันที่ 1-3 มิถุนายน 2549 พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์ เสด็จทรงเยี่ยมราษฎรผู้ประสบภัยในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ พร้อมประทานถุงยังชีพพระราชทานแก่ราษฎรผู้ประสบอุทกภัย
5. การตรวจเยี่ยมของรัฐมนตรี
เมื่อวันที่ 3 มิ.ย. 2549 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช) ได้เดินทางไปประชุมและอำนวยการค้นหาผู้สูญหายร่วมกับผู้ว่าราชการจังหวัดอุตรดิตถ์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจากนั้นได้เดินทางไปเยี่ยมผู้ประสบภัยที่ บ้านน้ำต๊ะ อำเภอท่าปลา พร้อมมอบถุงยังชีพแก่ผู้ประสบภัย จำนวน 150 ชุด และได้เดินทางไปเยี่ยมผู้ประสบภัยที่ตำบลหัวดง อำเภอลับแลและได้มอบถุงยังชีพ จำนวน 200 ชุด รวมทั้งได้ตรวจเยี่ยมชุดปฏิบัติงานซ่อมแซมถนนของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และหน่วยทหาร ที่ปฏิบัติงานในตำบลแม่พูล
6. สถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่จังหวัดพิษณุโลก
เนื่องจากน้ำในแม่น้ำยมจากจังหวัดสุโขทัย ได้ไหลลงมาในพื้นที่อำเภอบางระกำทำให้ระดับน้ำในแม่น้ำยมสูงขึ้น แล้วได้ไหลเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎรพื้นที่ตำบลชุมแสงสงคราม หมู่ที่ 1 ตำบลคุยม่วง หมู่ที่ 7 และตำบลท่านางงาม หมู่ที่ 2 รวม 3 ตำบล 150 ครัวเรือน 470 คน ระดับน้ำสูงประมาณ 0.40 เมตร และท่วมพื้นที่ทางการเกษตรในพื้นที่ตำบลชุมแสงสงคราม ตำบลคุยม่วง ตำบลท่านางงาม และตำบลบางระกำ รวม 4 ตำบล 15 หมู่บ้าน นาข้าวเสียหาย 35,433 ไร่ พืชไร่ 16 ไร่ พืชส่วน 3 ไร่ รวมทั้งสิ้น 35,452 ไร่ ถนน 24 สาย
สำหรับน้ำในคลองเมฆ ซึ่งไหลมาจากเขตติดต่อจังหวัดสุโขทัยมีระดับน้ำสูงขึ้น ทำให้มีน้ำท่วมขังในพื้นที่ ตำบลวังวน ตำบลหนองแขม ตำบลท่าช้าง อำเภอพรหมพิราม ระดับน้ำสูงประมาณ 0.20-0.40 เมตร กรมชลประทาน ฯ ได้พร่องน้ำไว้สำหรับรอรับสถานการณ์ในส่วนนี้ไว้แล้ว ซึ่งจะทำให้ระดับน้ำในจังหวัดพิษณุโลก เริ่มลดระดับลง
การให้ความช่วยเหลือ
- สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดพิษณุโลก ได้จัดส่งเรือท้องแบน จำนวน 3 ลำ ให้การช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ที่ประสบอุทกภัยกรมชลประทานได้สนับสนุนเครื่องมือเพื่อให้ความช่วยเหลือ และแก้ไขปัญหาน้ำท่วม ในพื้นที่ภาคเหนือในจังหวัดต่าง ๆ ดังนี้ เครื่องสูบน้ำ 101 เครื่อง รถบรรทุก/บรรทุกน้ำ 15 คัน รถแบ็คโฮ 2 คัน รถเครน 1 คัน รถเกรด 1 คัน และรถแทรกเตอร์ 2 คัน
7. สถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่จังหวัดพิจิตร
เนื่องจากน้ำป่าไหลบ่ามาจากจังหวัดเพชรบูรณ์แล้วไหลลงสู่แม่น้ำน่านไม่ทัน ทำให้ไหลเข้าท่วมพื้นที่ทางการเกษตรในพื้นที่ ตำบลหอไกร, บางไผ่ และเนินมะกอก ของอำเภอมูลนาก จำนวน 9,000 ไร่ ในขณะนี้ระดับน้ำ เริ่มลดเนื่องจากโครงการชลประทาน ได้เปิดประตูระบายน้ำเพื่อระบายน้ำอีกทางหนึ่งด้วย
สำหรับน้ำที่ท่วมพื้นที่ทางการเกษตรในพื้นที่ตำบลรังนก, อำเภอสามง่าม และตำบลวังจิก อำเภอโพธิ์ประทับช้าง จำนวน 5,000 ไร่ นั้น สาเหตุเนื่องจากน้ำในแม่น้ำยมได้ล้นตลิ่งฝั่งขวา และมีปริมาณน้ำฝนที่ตกในเขตอำเภอไทรงาม, ลานกระบือ จังหวัดกำแพงเพชร ได้ไหลลงมาสมทบ
การให้ความช่วยเหลือ
- โครงการชลประทานจังหวัดพิจิตรได้เร่งระดมสูบน้ำออกจากพื้นที่ที่มีน้ำท่วมขัง โดยนำเครื่องสูบน้ำ จำนวน 177 เครื่อง เร่งระบายน้ำออกอย่างต่อเนื่องแล้ว
8. การเตรียมการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัยในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (พลอากาศเอกคงศักดิ์ วันทนา) ได้ประชุมชี้แจงนโยบายและแนวทางดำเนินการเตรียมการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัยในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาเมื่อวันจันทร์ที่ 5 มิถุนายน 2549 เวลา 10.00 น. ณ ห้องประชุมศาลากลางจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วยรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายสมชาย สุนทรวัฒน์) ปลัดกระทรวงมหาดไทย รองปลัดกระทรวงมหาดไทย(หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านสาธารณภัยและผังเมือง) อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (นายอนุชา โมกขะเวส) ผู้ว่าราชการจังหวัดในภาคกลาง 15 จังหวัดและผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ผู้แทนส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กรมชลประทาน กรมอุตุนิยมวิทยา การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค การไฟฟ้านครหลวง การประปาส่วนภูมิภาค การประปานครหลวง กรมอุทกศาสตร์ และผู้แทนศูนย์บรรเทาสาธารณภัยของเหล่าทัพและสำนักงานตำรวจแห่งชาติ สรุปได้ดังนี้
1) ที่ประชุมได้รับทราบการเตรียมรับสถานการณ์อุทกภัยของจังหวัดในลุ่มน้ำเจ้าพระยา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีการเตรียมความพร้อม โดยได้จัดตั้งศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจระดับจังหวัดและอำเภอ จัดทำแผนเฉพาะกิจฯพร้อมกับจัดเตรียมเครื่องมืออุปกรณ์ในการช่วยเหลือประชาชนแล้ว
2) สถานการณ์น้ำในปัจจุบัน ( วันที่ 4 มิถุนายน 2549) มีปริมาณน้ำไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยา จังหวัดชัยนาท 1,066 ลบ.ม./วินาที และจะลดลง ซึ่งจะไม่มีผลกระทบทำให้เกิดปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่ลุ่มเจ้าพระยาตอนล่างแต่อย่างใด (เกิน 2,500 ลบ.ม./วินาที มีผลกระทบต่อจังหวัดในลุ่มเจ้าพระยาและกรุงเทพมหานคร)
3) ในช่วงปลายฤดูฝน ( กันยายน-ตุลาคม 2549) อาจมีฝนมากและอาจมีน้ำเหนือไหลบ่าลงมาในพื้นที่ภาคกลาง จึงขอให้ระมัดระวังเป็นพิเศษ โดยจัดเตรียมเครื่องสูบน้ำและกำจัดสิ่งกีดขวางทางน้ำ รวมทั้งล้างท่อระบายน้ำและพร่องน้ำในคูคลองในเขตพื้นที่ป้องกันเพื่อรองรับน้ำให้เพียงพอ
4) ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดดูแลและให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสนับสนุนการปฏิบัติงาน ทั้งด้านวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องสูบน้ำ และงบประมาณ สำหรับการป้องกันและบรรเทาอุทกภัยในพื้นที่อย่างเต็มที่
5) ให้นำปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นจากปีที่ผ่านมากลับมาทบทวนเพื่อหาแนวทางแก้ไข รวมทั้งให้สร้างเส้นทางระบายน้ำให้มากขึ้น เพื่อใช้ประโยชน์ในปีถัดไปด้วย
จากนั้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยพร้อมคณะได้ลงเรือตรวจลำน้ำและสภาพบ้านเรือนประชาชน/ชุมชนที่อยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาในเขตอำเภอพระนครศรีอยุธยา พร้อมกำชับให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เตรียมแผนรองรับอุทกภัยที่อาจจะเกิดขึ้น รวมทั้งให้หามาตรการป้องกันผลกระทบที่อาจจะเกิดกับโบราณสถาน และสถานที่สำคัญที่ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา อาทิเช่น วัดไชยวัฒนาราม พระตำหนักสิริยาลัย พระราชวังบางปะอิน เป็นต้น
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 6 มิถุนายน 2549--จบ--
1. สรุปสถานการณ์อุทกภัย 5 จังหวัดภาคเหนือ (ระหว่างวันที่ 22 พ.ค.49 - 5 มิ.ย.49)
1.1 พื้นที่ประสบภัย รวม 5 จังหวัด 26 อำเภอ 1 กิ่งฯ 165 ตำบล 1,119 หมู่บ้าน ได้แก่ จังหวัดอุตรดิตถ์ สุโขทัย แพร่ ลำปาง และน่าน
1.2 ความเสียหาย
1) ผู้เสียชีวิต 83 คน จังหวัดอุตรดิตถ์ 71 คน (ลับแล 23 คน ท่าปลา 25 คน เมือง 23 คน) จังหวัดสุโขทัย 7 คน (ศรีสัชนาลัย 6 คน ศรีสำโรง 1 คน) และจังหวัดแพร่ 5 คน (เมือง) สูญหาย 33 คน จังหวัดอุตรดิตถ์ 32 คน (ลับแล 4 คน ท่าปลา 28 คน) และจังหวัดสุโขทัย 1 คน (ศรีสัชนาลัย) ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 319,589 คน 101,475 ครัวเรือน อพยพ 11,601 คน
2) บ้านเรือนเสียหายทั้งหลัง 674 หลัง (จ.อุตรดิตถ์ 447 หลัง จ.แพร่ 137 หลัง จ.สุโขทัย 89 หลัง และ จ.น่าน 1 หลัง) บ้านเรือนเสียหายบางส่วน 2,772 หลัง (จ.อุตรดิตถ์ 2,270 หลัง จ.สุโขทัย 156 หลัง จ.แพร่ 336 หลัง และ จ.น่าน 10 หลัง)
3) ด้านทรัพย์สิน ถนน 968 สาย สะพาน 134 แห่ง พื้นที่การเกษตร 481,830 ไร่ วัด/โรงเรียน/สถานที่ราชการ 242 แห่ง พนังกั้นน้ำ 15 แห่ง ท่อระบายน้ำ 282 แห่ง ทำนบ/ฝาย/เหมือง 197 แห่ง บ่อปลา 4,795 บ่อ ปศุสัตว์ 76,611 ตัว สัตว์ปีก 260,148 ตัว
1.3 มูลค่าความเสียหาย เบื้องต้น ประมาณ 308,615,331.- บาท (ไม่รวมความเสียหายบ้านเรือนและทรัพย์สินของราษฎร)
2. สถานการณ์ปัจจุบัน
2.1 พื้นที่สถานการณ์อุทกภัยคลี่คลายแล้ว 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดแพร่ ลำปาง น่าน และอุตรดิตถ์
2.2 พื้นที่ที่ยังคงมีสถานการณ์ ได้แก่ จังหวัดสุโขทัย ในพื้นที่อำเภอกงไกรลาศ โดยน้ำได้เอ่อล้นเข้าท่วมในพื้นที่การเกษตรทุกตำบล รวม 11 ตำบล 102 หมู่บ้าน โดยเฉพาะบริเวณริมแม่น้ำยม ระดับน้ำสูงประมาณ 0.70 เมตร เนื่องจากเป็นพื้นที่รับน้ำจากอำเภอเมือง ขณะนี้ระดับน้ำทรงตัว
3. ผลการปฏิบัติงานค้นหาผู้สูญหายบริเวณปากน้ำลี อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์
3.1 เมื่อวันที่ 3 มิ.ย.49 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช) ได้เดินทางไปประชุมและอำนวยการค้นหาผู้สูญหายร่วมกับผู้ว่าราชการจังหวัดอุตรดิตถ์ และชุดค้นหาทางน้ำของกองทัพเรือ ตำรวจน้ำ เจ้าหน้าที่กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรมชลประทาน และกรมการขนส่งทางน้ำฯ ณ บริเวณปากน้ำลี อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์
3.2 กำลังพล ชุดค้นหาทางน้ำของกองทัพเรือและ ตำรวจน้ำ เจ้าหน้าที่กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรมชลประทาน กรมการขนส่งทางน้ำ เจ้าหน้าที่ทหาร ตำรวจตระเวนชายแดน ฝ่ายปกครอง สาธารณสุข ออป. อบต.นางพญา อาสาสมัคร ราษฎรบริเวณใกล้เคียง รวม 140 คน ร่วมค้นหาผู้สูญหาย โดยมอบให้ พ.ท.ยงยุทธ เหล่าเขตกาล ผบ.ม.พัน 7 เป็นหัวหน้าชุด
3.3 เครื่องจักรกลที่ใช้ปฏิบัติงาน
1) กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย สนับสนุนรถแบ็คโฮ 2 คัน รถแทรกเตอร์ 1 คัน เรือท้องแบนพร้อมเครื่องยนต์ 1 ลำ
2) กรมชลประทาน สนับสนุนเรือขุด 2 ลำ
3) กรมประมง สนับสนุนเรือเร็ว 2 ลำ
4) กรมการขนส่งทางน้ำ และพาณิชยนาวี สนับสนุนเรือขุด 1 ลำ
5) อำเภอท่าปลา สนับสนุนเรือหางยาวจำนวน 14 ลำ
6) กองทัพเรือและตำรวจน้ำ สนับสนุนนักประดาน้ำพร้อมอุปกรณ์
7) ออป. สนับสนุนแพขนานยนต์ จำนวน 1 ลำ
3.4 วิธีการดำเนินการ
1) ใช้แพขนานยนต์ และเรือเร็วดึง/ดัน เศษกองไม้ให้ใกล้ตลิ่ง
2) ใช้รถแบ็คโฮตักเศษไม้ให้กระจายตัว
3) ใช้นักประดาน้ำค้นหาศพใต้เศษซากไม้
3.5 ผลการดำเนินงาน เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2549 พบศพเพิ่มเติม จำนวน 3 ศพ เป็นหญิง 2 ศพ ชาย 1 ศพ และได้ดำเนินการค้นหาอย่างต่อเนื่อง สำหรับวันที่ 5 มิถุนายน 2549 ยังไม่พบศพ
4. สิ่งของพระราชทาน
4.1 วันที่ 31 พฤษภาคม 2549 สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมารทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายา ในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมารเสด็จแทนพระองค์ไปทรงเยี่ยมราษฎรผู้ประสบภัยที่โรงเรียนบ้านน้ำต๊ะ อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ และเสด็จเยี่ยมผู้ป่วยจากอุทกภัย ณ โรงพยาบาลอุตรดิตถ์ อำเภอเมืองฯ จังหวัดอุตรดิตถ์ พร้อมประทานถุงยังชีพพระราชทานแก่ราษฎรผู้ประสบภัยด้วย
4.2 วันที่ 1 มิถุนายน 2549 ผู้แทนพระองค์ในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายา และ พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริวัณณวรีนารีรัตน์ ได้นำสิ่งของพระราชทาน ถุงยังชีพ จำนวน 3,000 ชุด มอบให้กับผู้ว่าราชการจังหวัดสุโขทัย เพื่อนำไปช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยต่อไป
4.3 วันที่ 3 มิถุนายน 2549 สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร และพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายา ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ พล.อ.อ.สถิตย์พงษ์ สุขวิมล ราชเลขานุการในพระองค์ฯ มอบถุงยังชีพพระราชทานแก่ราษฎรผู้ประสบอุทกภัย ณ สำนักงานเทศบาลตำบลช่อแฮ อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ จำนวน 2,000 ชุด
4.4 วันที่ 3 มิถุนายน 2549 พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริวัณณวรีนารีรัตน์ โปรดให้ผู้แทนพระองค์มอบถุงยังชีพพระราชทาน จำนวน 1,000 ชุด แก่ราษฎรผู้ประสบอุทกภัย ณ หอประชุม อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่
4.5 วันที่ 30 พ.ค. 2549 พระเจ้าหลานเธอพระองค์เจ้าสิริวัณณวรีนารีรัตน์โปรดให้ผู้แทนพระองค์ มอบถุงยังชีพพระราชทาน จำนวน 1,000 ชุด ไปมอบให้ผู้ว่าราชการจังหวัดอุตรดิตถ์ เพื่อมอบให้แก่ราษฎรผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่ต่อไป
4.6 วันที่ 1-3 มิถุนายน 2549 พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์ เสด็จทรงเยี่ยมราษฎรผู้ประสบภัยในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ พร้อมประทานถุงยังชีพพระราชทานแก่ราษฎรผู้ประสบอุทกภัย
5. การตรวจเยี่ยมของรัฐมนตรี
เมื่อวันที่ 3 มิ.ย. 2549 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช) ได้เดินทางไปประชุมและอำนวยการค้นหาผู้สูญหายร่วมกับผู้ว่าราชการจังหวัดอุตรดิตถ์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจากนั้นได้เดินทางไปเยี่ยมผู้ประสบภัยที่ บ้านน้ำต๊ะ อำเภอท่าปลา พร้อมมอบถุงยังชีพแก่ผู้ประสบภัย จำนวน 150 ชุด และได้เดินทางไปเยี่ยมผู้ประสบภัยที่ตำบลหัวดง อำเภอลับแลและได้มอบถุงยังชีพ จำนวน 200 ชุด รวมทั้งได้ตรวจเยี่ยมชุดปฏิบัติงานซ่อมแซมถนนของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และหน่วยทหาร ที่ปฏิบัติงานในตำบลแม่พูล
6. สถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่จังหวัดพิษณุโลก
เนื่องจากน้ำในแม่น้ำยมจากจังหวัดสุโขทัย ได้ไหลลงมาในพื้นที่อำเภอบางระกำทำให้ระดับน้ำในแม่น้ำยมสูงขึ้น แล้วได้ไหลเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎรพื้นที่ตำบลชุมแสงสงคราม หมู่ที่ 1 ตำบลคุยม่วง หมู่ที่ 7 และตำบลท่านางงาม หมู่ที่ 2 รวม 3 ตำบล 150 ครัวเรือน 470 คน ระดับน้ำสูงประมาณ 0.40 เมตร และท่วมพื้นที่ทางการเกษตรในพื้นที่ตำบลชุมแสงสงคราม ตำบลคุยม่วง ตำบลท่านางงาม และตำบลบางระกำ รวม 4 ตำบล 15 หมู่บ้าน นาข้าวเสียหาย 35,433 ไร่ พืชไร่ 16 ไร่ พืชส่วน 3 ไร่ รวมทั้งสิ้น 35,452 ไร่ ถนน 24 สาย
สำหรับน้ำในคลองเมฆ ซึ่งไหลมาจากเขตติดต่อจังหวัดสุโขทัยมีระดับน้ำสูงขึ้น ทำให้มีน้ำท่วมขังในพื้นที่ ตำบลวังวน ตำบลหนองแขม ตำบลท่าช้าง อำเภอพรหมพิราม ระดับน้ำสูงประมาณ 0.20-0.40 เมตร กรมชลประทาน ฯ ได้พร่องน้ำไว้สำหรับรอรับสถานการณ์ในส่วนนี้ไว้แล้ว ซึ่งจะทำให้ระดับน้ำในจังหวัดพิษณุโลก เริ่มลดระดับลง
การให้ความช่วยเหลือ
- สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดพิษณุโลก ได้จัดส่งเรือท้องแบน จำนวน 3 ลำ ให้การช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ที่ประสบอุทกภัยกรมชลประทานได้สนับสนุนเครื่องมือเพื่อให้ความช่วยเหลือ และแก้ไขปัญหาน้ำท่วม ในพื้นที่ภาคเหนือในจังหวัดต่าง ๆ ดังนี้ เครื่องสูบน้ำ 101 เครื่อง รถบรรทุก/บรรทุกน้ำ 15 คัน รถแบ็คโฮ 2 คัน รถเครน 1 คัน รถเกรด 1 คัน และรถแทรกเตอร์ 2 คัน
7. สถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่จังหวัดพิจิตร
เนื่องจากน้ำป่าไหลบ่ามาจากจังหวัดเพชรบูรณ์แล้วไหลลงสู่แม่น้ำน่านไม่ทัน ทำให้ไหลเข้าท่วมพื้นที่ทางการเกษตรในพื้นที่ ตำบลหอไกร, บางไผ่ และเนินมะกอก ของอำเภอมูลนาก จำนวน 9,000 ไร่ ในขณะนี้ระดับน้ำ เริ่มลดเนื่องจากโครงการชลประทาน ได้เปิดประตูระบายน้ำเพื่อระบายน้ำอีกทางหนึ่งด้วย
สำหรับน้ำที่ท่วมพื้นที่ทางการเกษตรในพื้นที่ตำบลรังนก, อำเภอสามง่าม และตำบลวังจิก อำเภอโพธิ์ประทับช้าง จำนวน 5,000 ไร่ นั้น สาเหตุเนื่องจากน้ำในแม่น้ำยมได้ล้นตลิ่งฝั่งขวา และมีปริมาณน้ำฝนที่ตกในเขตอำเภอไทรงาม, ลานกระบือ จังหวัดกำแพงเพชร ได้ไหลลงมาสมทบ
การให้ความช่วยเหลือ
- โครงการชลประทานจังหวัดพิจิตรได้เร่งระดมสูบน้ำออกจากพื้นที่ที่มีน้ำท่วมขัง โดยนำเครื่องสูบน้ำ จำนวน 177 เครื่อง เร่งระบายน้ำออกอย่างต่อเนื่องแล้ว
8. การเตรียมการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัยในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (พลอากาศเอกคงศักดิ์ วันทนา) ได้ประชุมชี้แจงนโยบายและแนวทางดำเนินการเตรียมการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัยในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาเมื่อวันจันทร์ที่ 5 มิถุนายน 2549 เวลา 10.00 น. ณ ห้องประชุมศาลากลางจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วยรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายสมชาย สุนทรวัฒน์) ปลัดกระทรวงมหาดไทย รองปลัดกระทรวงมหาดไทย(หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านสาธารณภัยและผังเมือง) อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (นายอนุชา โมกขะเวส) ผู้ว่าราชการจังหวัดในภาคกลาง 15 จังหวัดและผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ผู้แทนส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กรมชลประทาน กรมอุตุนิยมวิทยา การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค การไฟฟ้านครหลวง การประปาส่วนภูมิภาค การประปานครหลวง กรมอุทกศาสตร์ และผู้แทนศูนย์บรรเทาสาธารณภัยของเหล่าทัพและสำนักงานตำรวจแห่งชาติ สรุปได้ดังนี้
1) ที่ประชุมได้รับทราบการเตรียมรับสถานการณ์อุทกภัยของจังหวัดในลุ่มน้ำเจ้าพระยา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีการเตรียมความพร้อม โดยได้จัดตั้งศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจระดับจังหวัดและอำเภอ จัดทำแผนเฉพาะกิจฯพร้อมกับจัดเตรียมเครื่องมืออุปกรณ์ในการช่วยเหลือประชาชนแล้ว
2) สถานการณ์น้ำในปัจจุบัน ( วันที่ 4 มิถุนายน 2549) มีปริมาณน้ำไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยา จังหวัดชัยนาท 1,066 ลบ.ม./วินาที และจะลดลง ซึ่งจะไม่มีผลกระทบทำให้เกิดปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่ลุ่มเจ้าพระยาตอนล่างแต่อย่างใด (เกิน 2,500 ลบ.ม./วินาที มีผลกระทบต่อจังหวัดในลุ่มเจ้าพระยาและกรุงเทพมหานคร)
3) ในช่วงปลายฤดูฝน ( กันยายน-ตุลาคม 2549) อาจมีฝนมากและอาจมีน้ำเหนือไหลบ่าลงมาในพื้นที่ภาคกลาง จึงขอให้ระมัดระวังเป็นพิเศษ โดยจัดเตรียมเครื่องสูบน้ำและกำจัดสิ่งกีดขวางทางน้ำ รวมทั้งล้างท่อระบายน้ำและพร่องน้ำในคูคลองในเขตพื้นที่ป้องกันเพื่อรองรับน้ำให้เพียงพอ
4) ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดดูแลและให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสนับสนุนการปฏิบัติงาน ทั้งด้านวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องสูบน้ำ และงบประมาณ สำหรับการป้องกันและบรรเทาอุทกภัยในพื้นที่อย่างเต็มที่
5) ให้นำปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นจากปีที่ผ่านมากลับมาทบทวนเพื่อหาแนวทางแก้ไข รวมทั้งให้สร้างเส้นทางระบายน้ำให้มากขึ้น เพื่อใช้ประโยชน์ในปีถัดไปด้วย
จากนั้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยพร้อมคณะได้ลงเรือตรวจลำน้ำและสภาพบ้านเรือนประชาชน/ชุมชนที่อยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาในเขตอำเภอพระนครศรีอยุธยา พร้อมกำชับให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เตรียมแผนรองรับอุทกภัยที่อาจจะเกิดขึ้น รวมทั้งให้หามาตรการป้องกันผลกระทบที่อาจจะเกิดกับโบราณสถาน และสถานที่สำคัญที่ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา อาทิเช่น วัดไชยวัฒนาราม พระตำหนักสิริยาลัย พระราชวังบางปะอิน เป็นต้น
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 6 มิถุนายน 2549--จบ--