คณะรัฐมนตรีอนุมัติในหลักการให้ยกเว้นรายการสินค้านมและผลิตภัณฑ์ออกจากประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 8 และอนุมัติให้เปิดตลาดนำเข้านมผงขาดมันเนย ปี 2549 เพิ่มเติม จำนวน 7,500 ตัน อัตราภาษีร้อยละ 5 และขยายระยะเวลาการนำเข้าให้แล้วเสร็จภายใน วันที่ 31 มีนาคม 2550 ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกฏหมายให้กระทรวงเกษตรและ สหกรณ์ประสานกับกระทรวงพาณิชย์ต่อไป
ทั้งนื้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รายงานว่า
1.1 เหตุผลในการปรับราคาสินค้านมและผลิตภัณฑ์
- จากภาวะราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่ปรับราคาสูงขึ้นตั้งแต่ปลายปี 2548 เป็นผลให้ราคาอาหารสัตว์วัตถุดิบในการเลี้ยงโคนมและค่าขนส่งน้ำนมมีการปรับตัวเพิ่มขึ้น ทำให้ต้นทุนการเลี้ยงโคนมและน้ำนมสูงขึ้น ขณะที่ราคารับซื้อน้ำนมดิบที่หน้าโรงงานยังคงกำหนดเป็นราคากลางรับซื้อน้ำนมดิบกิโลกรัมละ 12.50 บาท ซึ่งราคานี้ได้กำหนดไว้ตั้งแต่ปี 2541 โดยเกษตรกรมีต้นทุนการผลิตน้ำนมดิบ 7.72 บาท/กิโลกรัม อัตราการแลกเปลี่ยนเงินตราขณะนั้น 50 บาท/ดอลลาร์
- ข้อมูลการวิเคราะห์ต้นทุนการผลิตน้ำนมดิบของสำนักงานเศรษกิจการเกษตร รายงานว่าในปี 2548 ต้นทุนการผลิตน้ำนมดิบเฉลี่ยกิโลกรัมละ 9.03 บาท โดยที่ปี 2549 (มกราคม-พฤศจิกายน 2549) ต้นทุนการผลิตน้ำนมดิบเป็นกิโลกรัมละ 10.25 บาท เพิ่มขึ้นกิโลกรัมละ 1.22 บาท
- ต้นทุนการผลิตน้ำนมดิบของฟาร์มขนาดใหญ่ กลาง เล็ก และเฉลี่ยที่สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรวิเคราะห์จากข้อมูลของชุมนุมสหกรณ์โคนมแห่งประเทศไทย ในช่วงเดือนมกราคม-มีนาคม 2549 ดังนี้
รายการ เฉลี่ย ขนาดฟาร์ม หมายเหตุ
ใหญ่ กลาง เล็ก
ต้นทุนการผลิต (บาท/กิโลกรัม) 11.06 10.02 11.32 12.73 ราคาที่เกษตรได้รับขึ้นอยู่กับคุณภาพนมและ
ราคาที่เกษตรกรได้รับ (บาท/กิโลกรัม) 11.24 11.23 11.26 11.18 ไม่รวมค่าขนส่งราคาน้ำนมดิบ ณ
ผลตอบแทน (บาท/กิโลกรัม) 0.18 1.21 -0.06 -1.55 หน้าโรงงาน 12.50 บาท/กิโลกรัม
- คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ได้ออกประกาศฉบับที่ 8 เรื่อง ห้ามกักตุนและขึ้นราคาสินค้า ลงวันที่ 20 กันยายน 2549 โดยห้ามมิให้ผู้ใดกักตุนสินค้าหรือขึ้นราคาสินค้าทุกประเภท หากผู้ใดฝ่าฝืนถือว่าเป็นความผิดต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 400,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
1.2 เหตุผลในการขอเปิดตลาดนำเข้านมผงขาดมันเนย ปี 2549 เพิ่มเติม
- นมผงขาดมันเนยเป็นวัตถุดิบตั้งต้นที่สำคัญในการนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อาหารนม เพื่อการบริโภคภายในประเทศและส่งออก โดยในปี 2548 มีการนำเข้านมผงขาดมันเนย 67,200 ตัน จัดสรรให้กับกลุ่มผู้ผลิตนมข้น 22,362.269 ตัน กลุ่มผู้ผลิตนมเปรี้ยว 9,945.569 ตัน และผู้ประกอบการแปรรูปอาหารนมอื่น เช่น ไอศกรีม เครื่องดื่ม รสนม กาแฟ ขนมเค้ก คุกกี้ ขนมปัง เวเฟอร์ ลูกอม และอื่น ๆ 24,892.163 ตัน โดยที่ไม่ได้มีการจัดสรรให้กลุ่มผู้ประกอบการที่ผลิตนมพร้อมดื่ม ทั้งนี้ ได้มีการเปิดโควตาเพิ่มเติมแก่ผู้ประกอบการจากข้อผูกพัน WTO และ TAFTA จำนวน 10,000 ตัน เนื่องจากภาคอุตสาหกรรมมีความต้องการนมผงขาดมันเนยในการผลิตมากกว่าจำนวนที่ผูกพันไว้
- การเปิดตลาดนำเข้านมผงขาดมันเนย ปี 2549 ได้มีข้อผูกพันการเปิดตลาดตาม WTO จำนวน 55,000 ตัน และตามความตกลงการค้าเสรีไทย-ออสเตรเลีย (TAFTA) จำนวน 2,200 ตัน อัตราภาษีในโควตาร้อยละ 5 และนอกโควตาร้อยละ 216
การจัดสรรโควตาคณะกรรมการพิจารณาจัดสรรปริมาณนำเข้านมผงขาดมันเนย ซึ่งมีรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (นายอดิศร เพียงเกษ) เป็นประธานในขณะนั้น ได้พิจารณาจัดสรรโควตาดังกล่าวรวม 2 ครั้ง ดังนี้
การจัดสรร WTO (ตัน) TAFTA (ตัน) หมายเหตุ
ครั้งที่ 1 14,960 2,200 ประกาศ 7 มีนาคม 2549
ครั้งที่ 2 40,040 - ประกาศ 9 พฤษภาคม 2549
รวม 55,000 2,200
1.3 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้แต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาโคนมและผลิตภัณฑ์นม ประกอบด้วยปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธาน และมีคณะกรรมการจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ เอกชน ผู้ประกอบการและเกษตรกร เพื่อทำหน้าที่ในการพิจารณาการพัฒนาโคนมและผลิตภัณฑ์ทั้งระบบและกำหนดมาตรการแก้ไขปัญหาอุปสรรคในเรื่องดังกล่าว เพื่อให้การพัฒนาการผลิตและการตลาดโคนมและผลิตภัณฑ์ทั้งระบบเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และได้แต่งตั้งคณะทำงานศึกษาวิจัยโครงการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการพัฒนาโคนมและผลิตภัณฑ์ เพื่อทำหน้าที่พิจารณาและให้ข้อเสนอแนะโครงการวิจัยเพื่อพัฒนาโคนมและผลิตภัณฑ์แก่คณะกรรมการ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 12 ธันวาคม 2549--จบ--
ทั้งนื้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รายงานว่า
1.1 เหตุผลในการปรับราคาสินค้านมและผลิตภัณฑ์
- จากภาวะราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่ปรับราคาสูงขึ้นตั้งแต่ปลายปี 2548 เป็นผลให้ราคาอาหารสัตว์วัตถุดิบในการเลี้ยงโคนมและค่าขนส่งน้ำนมมีการปรับตัวเพิ่มขึ้น ทำให้ต้นทุนการเลี้ยงโคนมและน้ำนมสูงขึ้น ขณะที่ราคารับซื้อน้ำนมดิบที่หน้าโรงงานยังคงกำหนดเป็นราคากลางรับซื้อน้ำนมดิบกิโลกรัมละ 12.50 บาท ซึ่งราคานี้ได้กำหนดไว้ตั้งแต่ปี 2541 โดยเกษตรกรมีต้นทุนการผลิตน้ำนมดิบ 7.72 บาท/กิโลกรัม อัตราการแลกเปลี่ยนเงินตราขณะนั้น 50 บาท/ดอลลาร์
- ข้อมูลการวิเคราะห์ต้นทุนการผลิตน้ำนมดิบของสำนักงานเศรษกิจการเกษตร รายงานว่าในปี 2548 ต้นทุนการผลิตน้ำนมดิบเฉลี่ยกิโลกรัมละ 9.03 บาท โดยที่ปี 2549 (มกราคม-พฤศจิกายน 2549) ต้นทุนการผลิตน้ำนมดิบเป็นกิโลกรัมละ 10.25 บาท เพิ่มขึ้นกิโลกรัมละ 1.22 บาท
- ต้นทุนการผลิตน้ำนมดิบของฟาร์มขนาดใหญ่ กลาง เล็ก และเฉลี่ยที่สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรวิเคราะห์จากข้อมูลของชุมนุมสหกรณ์โคนมแห่งประเทศไทย ในช่วงเดือนมกราคม-มีนาคม 2549 ดังนี้
รายการ เฉลี่ย ขนาดฟาร์ม หมายเหตุ
ใหญ่ กลาง เล็ก
ต้นทุนการผลิต (บาท/กิโลกรัม) 11.06 10.02 11.32 12.73 ราคาที่เกษตรได้รับขึ้นอยู่กับคุณภาพนมและ
ราคาที่เกษตรกรได้รับ (บาท/กิโลกรัม) 11.24 11.23 11.26 11.18 ไม่รวมค่าขนส่งราคาน้ำนมดิบ ณ
ผลตอบแทน (บาท/กิโลกรัม) 0.18 1.21 -0.06 -1.55 หน้าโรงงาน 12.50 บาท/กิโลกรัม
- คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ได้ออกประกาศฉบับที่ 8 เรื่อง ห้ามกักตุนและขึ้นราคาสินค้า ลงวันที่ 20 กันยายน 2549 โดยห้ามมิให้ผู้ใดกักตุนสินค้าหรือขึ้นราคาสินค้าทุกประเภท หากผู้ใดฝ่าฝืนถือว่าเป็นความผิดต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 400,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
1.2 เหตุผลในการขอเปิดตลาดนำเข้านมผงขาดมันเนย ปี 2549 เพิ่มเติม
- นมผงขาดมันเนยเป็นวัตถุดิบตั้งต้นที่สำคัญในการนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อาหารนม เพื่อการบริโภคภายในประเทศและส่งออก โดยในปี 2548 มีการนำเข้านมผงขาดมันเนย 67,200 ตัน จัดสรรให้กับกลุ่มผู้ผลิตนมข้น 22,362.269 ตัน กลุ่มผู้ผลิตนมเปรี้ยว 9,945.569 ตัน และผู้ประกอบการแปรรูปอาหารนมอื่น เช่น ไอศกรีม เครื่องดื่ม รสนม กาแฟ ขนมเค้ก คุกกี้ ขนมปัง เวเฟอร์ ลูกอม และอื่น ๆ 24,892.163 ตัน โดยที่ไม่ได้มีการจัดสรรให้กลุ่มผู้ประกอบการที่ผลิตนมพร้อมดื่ม ทั้งนี้ ได้มีการเปิดโควตาเพิ่มเติมแก่ผู้ประกอบการจากข้อผูกพัน WTO และ TAFTA จำนวน 10,000 ตัน เนื่องจากภาคอุตสาหกรรมมีความต้องการนมผงขาดมันเนยในการผลิตมากกว่าจำนวนที่ผูกพันไว้
- การเปิดตลาดนำเข้านมผงขาดมันเนย ปี 2549 ได้มีข้อผูกพันการเปิดตลาดตาม WTO จำนวน 55,000 ตัน และตามความตกลงการค้าเสรีไทย-ออสเตรเลีย (TAFTA) จำนวน 2,200 ตัน อัตราภาษีในโควตาร้อยละ 5 และนอกโควตาร้อยละ 216
การจัดสรรโควตาคณะกรรมการพิจารณาจัดสรรปริมาณนำเข้านมผงขาดมันเนย ซึ่งมีรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (นายอดิศร เพียงเกษ) เป็นประธานในขณะนั้น ได้พิจารณาจัดสรรโควตาดังกล่าวรวม 2 ครั้ง ดังนี้
การจัดสรร WTO (ตัน) TAFTA (ตัน) หมายเหตุ
ครั้งที่ 1 14,960 2,200 ประกาศ 7 มีนาคม 2549
ครั้งที่ 2 40,040 - ประกาศ 9 พฤษภาคม 2549
รวม 55,000 2,200
1.3 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้แต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาโคนมและผลิตภัณฑ์นม ประกอบด้วยปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธาน และมีคณะกรรมการจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ เอกชน ผู้ประกอบการและเกษตรกร เพื่อทำหน้าที่ในการพิจารณาการพัฒนาโคนมและผลิตภัณฑ์ทั้งระบบและกำหนดมาตรการแก้ไขปัญหาอุปสรรคในเรื่องดังกล่าว เพื่อให้การพัฒนาการผลิตและการตลาดโคนมและผลิตภัณฑ์ทั้งระบบเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และได้แต่งตั้งคณะทำงานศึกษาวิจัยโครงการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการพัฒนาโคนมและผลิตภัณฑ์ เพื่อทำหน้าที่พิจารณาและให้ข้อเสนอแนะโครงการวิจัยเพื่อพัฒนาโคนมและผลิตภัณฑ์แก่คณะกรรมการ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 12 ธันวาคม 2549--จบ--