แท็ก
การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
ร่างพระราชบัญญัติ
กระทรวงมหาดไทย
จังหวัดระยอง
คณะรัฐมนตรี
คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติโอนทรัพย์สินซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ในท้องที่ตำบลห้วยโป่ง อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง ให้แก่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับประเด็นอภิปรายของคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 7 (ฝ่ายกฎหมายฯ) ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) เป็นประธานที่มีว่า ที่ดินที่ขอตราพระราชบัญญัติโอนกรรมสิทธิ์ให้ กฟผ. เป็นการโอนโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ กฟผ. ปฏิบัติตามสัญญาซื้อขายโรงไฟฟ้าที่มีภาระผูกพันตามสัญญาที่จะต้องโอนขายให้แก่กับบริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) อีกทอดหนึ่ง อันจะมีผลทำให้มีการโอนทรัพย์สินที่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินฯ ไปให้เอกชน ซึ่งอาจเป็นปัญหาในเรื่องความเหมาะสมและข้อกฎหมายว่าจะสามารถกระทำได้หรือไม่ไปพิจารณาด้วย แล้วนำเสนอคณะรัฐมนตรีชุดใหม่พิจารณาต่อไป
สำหรับที่ดินสาธารณสมบัติของแผ่นดินในท้องที่ตำบลห้วยโป่ง อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง ที่กระทรวงมหาดไทยเสนอให้โอนกรรมสิทธิ์ให้ กฟผ. นั้น เดิมเป็นที่ดินสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันเป็นทางสาธารณะ ซึ่งอยู่ในบริเวณที่ดินที่ กฟผ. ได้ซื้อที่ดินเพื่อสร้างโรงไฟฟ้า ทำให้ราษฎรไม่อาจใช้ทางสาธารณะดังกล่าวได้ กฟผ. จึงได้จัดหาที่ดินและสร้างทางสาธารณะให้ราษฎรได้ใช้ประโยชน์ร่วมกันแทน โดยได้ตราพระราชกฤษฎีกาถอนสภาพที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน เพื่อให้การไฟฟ้าได้ใช้ประโยชน์ในที่ดินดังกล่าวแล้ว ผลของการถอนสภาพที่ดินดังกล่าวมีผลให้ที่ดินที่ถูกถอนสภาพเป็นที่ดินรกร้างว่างเปล่าและเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตามมาตรา 1304 (1) แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งอยู่ในความ ดูแลของกระทรวงมหาดไทย ตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 10 จึงไม่อาจดำเนินการโอนกรรมสิทธิ์ให้ กฟผ. ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจได้ นอกจากอาศัยอำนาจของกฎหมายโดยการตราพระราชบัญญัติโอนกรรมสิทธิ์
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 8 มีนาคม 2548--จบ--
สำหรับที่ดินสาธารณสมบัติของแผ่นดินในท้องที่ตำบลห้วยโป่ง อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง ที่กระทรวงมหาดไทยเสนอให้โอนกรรมสิทธิ์ให้ กฟผ. นั้น เดิมเป็นที่ดินสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันเป็นทางสาธารณะ ซึ่งอยู่ในบริเวณที่ดินที่ กฟผ. ได้ซื้อที่ดินเพื่อสร้างโรงไฟฟ้า ทำให้ราษฎรไม่อาจใช้ทางสาธารณะดังกล่าวได้ กฟผ. จึงได้จัดหาที่ดินและสร้างทางสาธารณะให้ราษฎรได้ใช้ประโยชน์ร่วมกันแทน โดยได้ตราพระราชกฤษฎีกาถอนสภาพที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน เพื่อให้การไฟฟ้าได้ใช้ประโยชน์ในที่ดินดังกล่าวแล้ว ผลของการถอนสภาพที่ดินดังกล่าวมีผลให้ที่ดินที่ถูกถอนสภาพเป็นที่ดินรกร้างว่างเปล่าและเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตามมาตรา 1304 (1) แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งอยู่ในความ ดูแลของกระทรวงมหาดไทย ตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 10 จึงไม่อาจดำเนินการโอนกรรมสิทธิ์ให้ กฟผ. ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจได้ นอกจากอาศัยอำนาจของกฎหมายโดยการตราพระราชบัญญัติโอนกรรมสิทธิ์
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 8 มีนาคม 2548--จบ--