แท็ก
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
นายกรัฐมนตรี
คณะรัฐมนตรี
คณะรัฐมนตรีรับทราบผลการหารือกับนายกรัฐมนตรีและคณะเรื่องแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 ตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เสนอ ดังนี้
สืบเนื่องจากการประชุมประจำปีของ สศช. เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2549 ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้ปาฐกถาพิเศษ และได้ดำริที่จะหารือกับผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ของ สศช. โดยนายกรัฐมนตรีและคณะได้เดินทางมาร่วมหารือกับผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ สศช. ในเรื่อง แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (2550-2554) เมื่อวันพุธที่ 12 กรกฎาคม 2549 เวลา 10.00-15.00 น. ณ ตึกสุริยานุวัตร เพื่อทำความเข้าใจร่วมกันและปรับปรุงให้แผนฯ ฉบับที่ 10 สามารถเชื่อมต่อกับการดำเนินงานของกระทรวง ทบวง กรม ต่าง ๆ ในการที่จะนำไปปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ผลการประชุมสรุปได้ว่า นายกรัฐมนตรีและคณะมีความเห็นที่สอดคล้องกับแนวคิด ทิศทาง และกรอบยุทธศาสตร์ ที่ สศช. เสนอ โดยนายกรัฐมนตรีและคณะได้มีความเห็นเสนอแนะให้ สศช. ได้ปรับปรุงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 10 ในประเด็นสำคัญเพิ่มเติม ดังนี้
1 . การวิเคราะห์สถานะของประเทศ การกำหนดเป้าหมาย และ การกำหนดแนวทางในการขับเคลื่อนแผนฯ นายกรัฐมนตรีและคณะ มีความเห็นและข้อเสนอแนะ ดังนี้
1.1 ควรปรับปรุงเรื่องการวิเคราะห์สถานะในปัจจุบันของประเทศ ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ในแต่ละระดับทั้งปัจเจกบุคคล ครอบครัว ชุมชน และประเทศ ให้มีความชัดเจนมากขึ้น เพื่อเป็นฐานการวิเคราะห์สำหรับการกำหนดเป้าหมายของประเทศที่ชัดเจนและเป็นรูปธรรมมากขึ้น
1.2 การกำหนดเป้าหมายในมิติต่าง ๆ ที่ต้องการบรรลุต้องมีความชัดเจน และมีตัวชี้วัดที่ประเมินผลการดำเนินงานได้ โดยที่มีการนำเอามาตรฐานสากลและ best practices มาใช้ประกอบในการกำหนดเป้าหมาย ทั้งนี้เพื่อให้สามารถเชื่อมต่อไปยังกระทรวง ทบวง กรม ต่าง ๆ ที่จะนำไปกำหนดเป็นแผนปฏิบัติการเชิงยุทธศาสตร์ (Strategic action plan) ได้ ซึ่งจะเป็นการเชื่อมต่อระหว่างการจัดทำแผนฯ ของ สศช. ไปสู่การปฏิบัติการในระดับกระทรวงได้ และเป็นการส่งสัญญาณที่ชัดเจนสำหรับภาคเอกชน
1.3 การกำหนดแนวทางการขับเคลื่อนแผนฯ และการเชื่อมต่อกับกระทรวงเพื่อกำหนดแนวทางในการปฏิบัติในช่วงของการแปลงแผนฯ ไปสู่การปฏิบัติต้องมีความชัดเจน การกำหนดแนวทาง เครื่องมือ และกลไก ที่จะใช้เพื่อพัฒนาประเทศไปสู่เป้าหมายที่กำหนดต้องมีความชัดเจน เพื่อให้เกิดการเชื่อมต่อกับกระทรวงในช่วงของการแปลงแผนฯ ไปสู่การปฏิบัติได้อย่างแท้จริง โดยมีข้อเสนอแนะให้ สศช. ไปดำเนินการ ดังนี้
(1) สศช. จัดทำแนวทางในการดำเนินงาน (guidelines) ของแต่ละยุทธศาสตร์ไว้เป็นภาคผนวกแนบท้ายแผนฯ 10 ประกอบด้วย เป้าหมาย ตัวชี้วัด การกำหนดแผนงาน/โครงการ และการกำหนดงบประมาณ ที่จะเป็นข้อมูลที่ใช้ในการจัดทำแผนบริหารราชการแผ่นดิน
(2) ให้ สศช. จัดประชุมหน่วยราชการและภาคเอกชนเพื่อชี้แจงและทำความเข้าใจเกี่ยวกับแผนฯ 10 ในเรื่อง เป้าหมาย ตัวชี้วัด และแนวทางในการขับเคลื่อน
(3) ให้มีการศึกษาและวิจัยในเชิงลึกต่อไปอย่างต่อเนื่องเพื่อนำมาใช้ประกอบในการกำหนดแนวทางในการปฏิบัติ โดย สศช. กำหนดเรื่องให้ชัดเจนโดยคำนึงถึงลำดับความสำคัญและจัดจ้างที่ปรึกษาที่เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน
2. ความเห็นเกี่ยวกับเนื้อหาสาระและยุทธศาสตร์แผนฯ 10
2.1 ด้านเศรษฐกิจ ในการปรับโครงสร้างการผลิต ให้วิเคราะห์ภาคการผลิต ออกเป็น 3 ระดับ (tiers) ประกอบด้วย
ระดับแรก “ขายหยาดเหงื่อและน้ำตา (Sweat and tear industries/services)” เป็นกลุ่มที่มูลค่าเพิ่มและการสร้างมูลค่าให้สินค้าและบริการมีน้อย เช่น ผลผลิตภาคเกษตรที่เป็นวัตถุดิบยังไม่มีการแปรรูป และกลุ่มที่รับจ้างทำของ โดยไม่มี brand และ know how เป็นของตนเอง อาศัยความได้เปรียบจากการใช้แรงงานเป็นหลัก ผลตอบแทนที่ได้จึงมีน้อย
ระดับที่สอง “ขายหยาดเหงื่อและสมอง (sweat and brain)” เป็นกลุ่มที่มีการใช้องค์ความรู้ และ know how มากขึ้นกว่าในกลุ่มแรก อาทิ แปรรูปการเกษตร การทำ brand ของกลุ่มอุตสาหกรรมบ้าง รวมทั้งมีการทำการวิจัยและพัฒนา
ระดับที่สาม “ขายสมองและจังหวะโอกาส Brain and Opportunity” ซึ่งเป็นกลุ่มการผลิตที่มีความไวต่อการเปลี่ยนแปลง (economy of speed) การผลิตและการขายสินค้าและบริการ (โดยเฉพาะในภาคบริการ) ที่ต้องสร้างความเชื่อมั่นและความไว้ใจให้เกิดขึ้นกับลูกค้า (trust and confidence) ซึ่งต้องมีการวิจัยและพัฒนาในระดับที่มีความก้าวหน้าและลึกซึ้งเพื่อสนับสนุนการผลิตและการตลาด การผลิตในระดับนี้จึงสะท้อนถึงระบบเศรษฐกิจที่เป็น Modern capitalism และสังคมฐานความรู้
2.2 ด้านสังคม ให้พิจารณา
(1) การพัฒนาระบบสุขภาพอย่างครบวงจร ที่มุ่งการป้องกัน การรักษา และการฟื้นฟูสภาพร่างกายและจิตใจ เพื่อให้คนไทยมีสุขภาพแข็งแรง เป็นกำลังหลักในการพัฒนาประเทศ
(2) แนวทางการพัฒนาและการบริหารกำลังคนให้สอดคล้องกับโครงสร้างการผลิตตั้งแต่ภาคการผลิตในกลุ่มที่มูลค่าเพิ่มและการสร้างมูลค่าให้สินค้าและบริการมีน้อย กลุ่มแปรรูปการเกษตร การมีตราสินค้าของกลุ่มอุตสาหกรรม และมีการวิจัยและพัฒนา และกลุ่มที่ใช้ความรู้และโอกาสในการผลิตสินค้าและบริการ
(3) การสร้างโอกาสการมีงานทำให้ผู้พิการเพื่อเปลี่ยนภาระให้เป็นพลัง หลังจากที่ได้ฟื้นฟูสภาพให้คนพิการที่สามารถพึ่งตนเองได้แล้ว ควรจัดการฝึกอบรมพัฒนาทักษะและจัดหางานที่เหมาะสมกับศักยภาพให้คนเหล่านี้ได้มีงานทำ มีรายได้เลี้ยงตนเอง
2.2.1 ด้านสิ่งแวดล้อม นายกรัฐมนตรีมีความเห็นว่าในเรื่องปัญหาที่ดินทำกิน นั้นเมื่อแผนที่ 1:4000 แล้วเสร็จก็จะสามารถยืนยันข้อเท็จจริงของการใช้ที่ดินได้ โดยแนวทางจัดหาที่ดินเพื่อมาจัดสรรให้กับผู้ไร้ที่ทำกินมี 3 แนวทางที่สำคัญ คือ
(1) การจัดสรรใหม่ (reallocate) จากผู้บุกรุกที่ทำกินขนาดใหญ่ แต่ไม่มีเอกสารสิทธิ โดยจะออกเอกสารสิทธิให้ในขนาดที่เหมาะสม ส่วนที่เหลือจะนำมาจัดสรรให้ผู้ที่ไร้ที่ทำกินรายอื่น ๆ
(2) การ reshape จากการทำแผนที่ 1:4000 จะทำให้สามารถมีข้อมูลพื้นที่ว่างเปล่า เพิ่มขึ้น ซึ่งจะสามารถนำมาจัดสรรให้ผู้ไร้ที่ทำกินได้
(3) การจัดหาที่ดินเพื่อนำมาปฏิรูปที่ดิน ไม่ควรใช้พื้นที่ป่าเสื่อมโทรมอีกต่อไป เพราะจะทำให้เกิดปัญหาป่าเสื่อมโทรมมากขึ้น จึงควรนำที่เอกชนที่ไม่ได้ทำประโยชน์มาดำเนินการ โดยนำภาษีที่ดินอัตราก้าวหน้ามาใช้ นอกจากนี้ได้มีความเห็นเพิ่มเติมว่าในการพัฒนาที่ดิน สปก. ควรมีแนวทางดำเนินการร่วมกับการสร้างอาชีพของเกษตรกร เช่น การทำ contract farming ระหว่างภาคเอกชนกับเกษตรกรในนิคม สปก. เป็นต้น
2.2.2 ด้านธรรมาภิบาลและการบริหารจัดการ นายกรัฐมนตรีและคณะ มีความเห็นสอดคล้องตามแนวที่ สศช. นำเสนอ ในประเด็นที่สำคัญ ประกอบด้วย ประเด็นและเป้าหมายธรรมาภิบาลในแผนฯ 10 ซึ่งประกอบด้วย เรื่องการพัฒนาระบบราชการให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น การกระจายอำนาจสู่ภูมิภาคท้องถิ่นและชุมชน โดยมีเป้าหมายในระยะ 5 ปี ของแผนฯ 10 การเสริมสร้างความเข้มแข็งภาคีการพัฒนาให้มีส่วนร่วมในการบริหารพัฒนาประเทศ โดยมีเป้าหมายในระยะ 5 ปีของแผนฯ 10 มุ่งสร้างสังคมให้โปร่งใส การทุจริตคอรัปชั่นลดลง พิจารณาจากภาพลักษณ์ความโปร่งใสของประเทศและธรรมาภิบาลของเอกชนที่ปรับตัวดีขึ้น และการพัฒนาวัฒนธรรมประชาธิปไตยให้เกิดขึ้นเป็นส่วนหนึ่งของวิถีการดำเนินชีวิต โดยมีเป้าหมายในระยะ 5 ปีของแผนฯ 10 มุ่งให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ มีพฤติกรรมดำเนินวิถีชีวิตตามหลักประชาธิปไตย และมีการใช้สิทธิในการเลือกตั้งทุกระดับเพิ่มขึ้น ตลอดจนระบบการเมืองมีเสถียรภาพและโปร่งใส รวมทั้งเรื่องการกำหนดประเภทการลงทุนที่สำคัญ เพื่อเป็นแนวทางในการจัดทำแผนการบริหารราชการแผ่นดินในระยะต่อไป ซึ่งได้แก่ รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (e-Government) การฝึกอบรมพัฒนาองค์ความรู้ / บริหารจัดการความรู้ (Knowledge Management) และการวิจัยและพัฒนาวัฒนธรรมประชาธิปไตย โดยที่นายกรัฐมนตรีและคณะมีความเห็นเพิ่มเติม ดังนี้
(1) การพัฒนาระบบราชการยังต้องเร่งดำเนินการอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการพัฒนาการให้บริการในรูปแบบ e-government ซึ่งมีกลไกนโยบายระดับชาติที่สามารถกำกับดูแลในภาพรวม และบริหารจัดการงบประมาณให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
(2) การลดขนาดกำลังคนภาครัฐเป็นเรื่องจำเป็น โดยในระยะยาวอาจจำเป็นต้นปรับลดให้ได้ถึง 30% จึงควรให้มีการศึกษาวิจัยในทุกส่วนราชการ เพื่อตรวจสอบอัตรากำลังที่มีอยู่พร้อมทั้งกำหนดแนวโน้มอัตรากำลังที่เหมาะสม สอดคล้องกับความจำเป็น
2.3 ข้อเสนอยุทธศาสตร์ของนายกรัฐมนตรี ประกอบด้วย
2.3.1 การเตรียมกลไกและเครื่องมือเพื่อให้รู้เท่าทันกระแสโลกาภิวัตน์
2.3.2 การปรับโครงสร้างการผลิตโดยการเคลื่อนขึ้นสู่ห่วงโซ่มูลค่าที่สูงขึ้น
2.3.3 การปรับตัวเข้าสู่สังคมฐานความรู้ ซึ่งจะต้องดำเนินการในเรื่อง การปฏิรูปการศึกษา การปฏิรูปด้านการวิจัย และการสนับสนุนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
2.3.4 การกำหนดแนวทางในการเข้าถึงแหล่งทุนของระดับต่าง ๆ ที่จะชี้ถึงความเชื่อมโยงระหว่าง demand และ supply ของภาคการเงิน ตั้งแต่ระดับ ปัจเจกบุคคล กิจการขนาดเล็ก ธุรกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม จนถึงระดับธุรกิจขนาดใหญ่ โดยที่มีการกำหนดในเรื่องกฎ ระเบียบ และข้อกฎหมายต่าง ๆ เพื่อลดอุปสรรคที่ทำให้เกิดช่องว่างระหว่างด้านความต้องการและแหล่งระดมเงินทุน
2.3.5 การปรับปรุงด้านการบริหารจัดการของภาคเอกชนและการปฏิรูปภาครัฐ
2.3.6 การสร้างภูมิคุ้มกัน การพัฒนาระบบการบริหารและการประกันความเสี่ยงในยุคโลกาภิวัตน์
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 18 กรกฎาคม 2549--จบ--
สืบเนื่องจากการประชุมประจำปีของ สศช. เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2549 ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้ปาฐกถาพิเศษ และได้ดำริที่จะหารือกับผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ของ สศช. โดยนายกรัฐมนตรีและคณะได้เดินทางมาร่วมหารือกับผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ สศช. ในเรื่อง แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (2550-2554) เมื่อวันพุธที่ 12 กรกฎาคม 2549 เวลา 10.00-15.00 น. ณ ตึกสุริยานุวัตร เพื่อทำความเข้าใจร่วมกันและปรับปรุงให้แผนฯ ฉบับที่ 10 สามารถเชื่อมต่อกับการดำเนินงานของกระทรวง ทบวง กรม ต่าง ๆ ในการที่จะนำไปปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ผลการประชุมสรุปได้ว่า นายกรัฐมนตรีและคณะมีความเห็นที่สอดคล้องกับแนวคิด ทิศทาง และกรอบยุทธศาสตร์ ที่ สศช. เสนอ โดยนายกรัฐมนตรีและคณะได้มีความเห็นเสนอแนะให้ สศช. ได้ปรับปรุงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 10 ในประเด็นสำคัญเพิ่มเติม ดังนี้
1 . การวิเคราะห์สถานะของประเทศ การกำหนดเป้าหมาย และ การกำหนดแนวทางในการขับเคลื่อนแผนฯ นายกรัฐมนตรีและคณะ มีความเห็นและข้อเสนอแนะ ดังนี้
1.1 ควรปรับปรุงเรื่องการวิเคราะห์สถานะในปัจจุบันของประเทศ ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ในแต่ละระดับทั้งปัจเจกบุคคล ครอบครัว ชุมชน และประเทศ ให้มีความชัดเจนมากขึ้น เพื่อเป็นฐานการวิเคราะห์สำหรับการกำหนดเป้าหมายของประเทศที่ชัดเจนและเป็นรูปธรรมมากขึ้น
1.2 การกำหนดเป้าหมายในมิติต่าง ๆ ที่ต้องการบรรลุต้องมีความชัดเจน และมีตัวชี้วัดที่ประเมินผลการดำเนินงานได้ โดยที่มีการนำเอามาตรฐานสากลและ best practices มาใช้ประกอบในการกำหนดเป้าหมาย ทั้งนี้เพื่อให้สามารถเชื่อมต่อไปยังกระทรวง ทบวง กรม ต่าง ๆ ที่จะนำไปกำหนดเป็นแผนปฏิบัติการเชิงยุทธศาสตร์ (Strategic action plan) ได้ ซึ่งจะเป็นการเชื่อมต่อระหว่างการจัดทำแผนฯ ของ สศช. ไปสู่การปฏิบัติการในระดับกระทรวงได้ และเป็นการส่งสัญญาณที่ชัดเจนสำหรับภาคเอกชน
1.3 การกำหนดแนวทางการขับเคลื่อนแผนฯ และการเชื่อมต่อกับกระทรวงเพื่อกำหนดแนวทางในการปฏิบัติในช่วงของการแปลงแผนฯ ไปสู่การปฏิบัติต้องมีความชัดเจน การกำหนดแนวทาง เครื่องมือ และกลไก ที่จะใช้เพื่อพัฒนาประเทศไปสู่เป้าหมายที่กำหนดต้องมีความชัดเจน เพื่อให้เกิดการเชื่อมต่อกับกระทรวงในช่วงของการแปลงแผนฯ ไปสู่การปฏิบัติได้อย่างแท้จริง โดยมีข้อเสนอแนะให้ สศช. ไปดำเนินการ ดังนี้
(1) สศช. จัดทำแนวทางในการดำเนินงาน (guidelines) ของแต่ละยุทธศาสตร์ไว้เป็นภาคผนวกแนบท้ายแผนฯ 10 ประกอบด้วย เป้าหมาย ตัวชี้วัด การกำหนดแผนงาน/โครงการ และการกำหนดงบประมาณ ที่จะเป็นข้อมูลที่ใช้ในการจัดทำแผนบริหารราชการแผ่นดิน
(2) ให้ สศช. จัดประชุมหน่วยราชการและภาคเอกชนเพื่อชี้แจงและทำความเข้าใจเกี่ยวกับแผนฯ 10 ในเรื่อง เป้าหมาย ตัวชี้วัด และแนวทางในการขับเคลื่อน
(3) ให้มีการศึกษาและวิจัยในเชิงลึกต่อไปอย่างต่อเนื่องเพื่อนำมาใช้ประกอบในการกำหนดแนวทางในการปฏิบัติ โดย สศช. กำหนดเรื่องให้ชัดเจนโดยคำนึงถึงลำดับความสำคัญและจัดจ้างที่ปรึกษาที่เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน
2. ความเห็นเกี่ยวกับเนื้อหาสาระและยุทธศาสตร์แผนฯ 10
2.1 ด้านเศรษฐกิจ ในการปรับโครงสร้างการผลิต ให้วิเคราะห์ภาคการผลิต ออกเป็น 3 ระดับ (tiers) ประกอบด้วย
ระดับแรก “ขายหยาดเหงื่อและน้ำตา (Sweat and tear industries/services)” เป็นกลุ่มที่มูลค่าเพิ่มและการสร้างมูลค่าให้สินค้าและบริการมีน้อย เช่น ผลผลิตภาคเกษตรที่เป็นวัตถุดิบยังไม่มีการแปรรูป และกลุ่มที่รับจ้างทำของ โดยไม่มี brand และ know how เป็นของตนเอง อาศัยความได้เปรียบจากการใช้แรงงานเป็นหลัก ผลตอบแทนที่ได้จึงมีน้อย
ระดับที่สอง “ขายหยาดเหงื่อและสมอง (sweat and brain)” เป็นกลุ่มที่มีการใช้องค์ความรู้ และ know how มากขึ้นกว่าในกลุ่มแรก อาทิ แปรรูปการเกษตร การทำ brand ของกลุ่มอุตสาหกรรมบ้าง รวมทั้งมีการทำการวิจัยและพัฒนา
ระดับที่สาม “ขายสมองและจังหวะโอกาส Brain and Opportunity” ซึ่งเป็นกลุ่มการผลิตที่มีความไวต่อการเปลี่ยนแปลง (economy of speed) การผลิตและการขายสินค้าและบริการ (โดยเฉพาะในภาคบริการ) ที่ต้องสร้างความเชื่อมั่นและความไว้ใจให้เกิดขึ้นกับลูกค้า (trust and confidence) ซึ่งต้องมีการวิจัยและพัฒนาในระดับที่มีความก้าวหน้าและลึกซึ้งเพื่อสนับสนุนการผลิตและการตลาด การผลิตในระดับนี้จึงสะท้อนถึงระบบเศรษฐกิจที่เป็น Modern capitalism และสังคมฐานความรู้
2.2 ด้านสังคม ให้พิจารณา
(1) การพัฒนาระบบสุขภาพอย่างครบวงจร ที่มุ่งการป้องกัน การรักษา และการฟื้นฟูสภาพร่างกายและจิตใจ เพื่อให้คนไทยมีสุขภาพแข็งแรง เป็นกำลังหลักในการพัฒนาประเทศ
(2) แนวทางการพัฒนาและการบริหารกำลังคนให้สอดคล้องกับโครงสร้างการผลิตตั้งแต่ภาคการผลิตในกลุ่มที่มูลค่าเพิ่มและการสร้างมูลค่าให้สินค้าและบริการมีน้อย กลุ่มแปรรูปการเกษตร การมีตราสินค้าของกลุ่มอุตสาหกรรม และมีการวิจัยและพัฒนา และกลุ่มที่ใช้ความรู้และโอกาสในการผลิตสินค้าและบริการ
(3) การสร้างโอกาสการมีงานทำให้ผู้พิการเพื่อเปลี่ยนภาระให้เป็นพลัง หลังจากที่ได้ฟื้นฟูสภาพให้คนพิการที่สามารถพึ่งตนเองได้แล้ว ควรจัดการฝึกอบรมพัฒนาทักษะและจัดหางานที่เหมาะสมกับศักยภาพให้คนเหล่านี้ได้มีงานทำ มีรายได้เลี้ยงตนเอง
2.2.1 ด้านสิ่งแวดล้อม นายกรัฐมนตรีมีความเห็นว่าในเรื่องปัญหาที่ดินทำกิน นั้นเมื่อแผนที่ 1:4000 แล้วเสร็จก็จะสามารถยืนยันข้อเท็จจริงของการใช้ที่ดินได้ โดยแนวทางจัดหาที่ดินเพื่อมาจัดสรรให้กับผู้ไร้ที่ทำกินมี 3 แนวทางที่สำคัญ คือ
(1) การจัดสรรใหม่ (reallocate) จากผู้บุกรุกที่ทำกินขนาดใหญ่ แต่ไม่มีเอกสารสิทธิ โดยจะออกเอกสารสิทธิให้ในขนาดที่เหมาะสม ส่วนที่เหลือจะนำมาจัดสรรให้ผู้ที่ไร้ที่ทำกินรายอื่น ๆ
(2) การ reshape จากการทำแผนที่ 1:4000 จะทำให้สามารถมีข้อมูลพื้นที่ว่างเปล่า เพิ่มขึ้น ซึ่งจะสามารถนำมาจัดสรรให้ผู้ไร้ที่ทำกินได้
(3) การจัดหาที่ดินเพื่อนำมาปฏิรูปที่ดิน ไม่ควรใช้พื้นที่ป่าเสื่อมโทรมอีกต่อไป เพราะจะทำให้เกิดปัญหาป่าเสื่อมโทรมมากขึ้น จึงควรนำที่เอกชนที่ไม่ได้ทำประโยชน์มาดำเนินการ โดยนำภาษีที่ดินอัตราก้าวหน้ามาใช้ นอกจากนี้ได้มีความเห็นเพิ่มเติมว่าในการพัฒนาที่ดิน สปก. ควรมีแนวทางดำเนินการร่วมกับการสร้างอาชีพของเกษตรกร เช่น การทำ contract farming ระหว่างภาคเอกชนกับเกษตรกรในนิคม สปก. เป็นต้น
2.2.2 ด้านธรรมาภิบาลและการบริหารจัดการ นายกรัฐมนตรีและคณะ มีความเห็นสอดคล้องตามแนวที่ สศช. นำเสนอ ในประเด็นที่สำคัญ ประกอบด้วย ประเด็นและเป้าหมายธรรมาภิบาลในแผนฯ 10 ซึ่งประกอบด้วย เรื่องการพัฒนาระบบราชการให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น การกระจายอำนาจสู่ภูมิภาคท้องถิ่นและชุมชน โดยมีเป้าหมายในระยะ 5 ปี ของแผนฯ 10 การเสริมสร้างความเข้มแข็งภาคีการพัฒนาให้มีส่วนร่วมในการบริหารพัฒนาประเทศ โดยมีเป้าหมายในระยะ 5 ปีของแผนฯ 10 มุ่งสร้างสังคมให้โปร่งใส การทุจริตคอรัปชั่นลดลง พิจารณาจากภาพลักษณ์ความโปร่งใสของประเทศและธรรมาภิบาลของเอกชนที่ปรับตัวดีขึ้น และการพัฒนาวัฒนธรรมประชาธิปไตยให้เกิดขึ้นเป็นส่วนหนึ่งของวิถีการดำเนินชีวิต โดยมีเป้าหมายในระยะ 5 ปีของแผนฯ 10 มุ่งให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ มีพฤติกรรมดำเนินวิถีชีวิตตามหลักประชาธิปไตย และมีการใช้สิทธิในการเลือกตั้งทุกระดับเพิ่มขึ้น ตลอดจนระบบการเมืองมีเสถียรภาพและโปร่งใส รวมทั้งเรื่องการกำหนดประเภทการลงทุนที่สำคัญ เพื่อเป็นแนวทางในการจัดทำแผนการบริหารราชการแผ่นดินในระยะต่อไป ซึ่งได้แก่ รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (e-Government) การฝึกอบรมพัฒนาองค์ความรู้ / บริหารจัดการความรู้ (Knowledge Management) และการวิจัยและพัฒนาวัฒนธรรมประชาธิปไตย โดยที่นายกรัฐมนตรีและคณะมีความเห็นเพิ่มเติม ดังนี้
(1) การพัฒนาระบบราชการยังต้องเร่งดำเนินการอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการพัฒนาการให้บริการในรูปแบบ e-government ซึ่งมีกลไกนโยบายระดับชาติที่สามารถกำกับดูแลในภาพรวม และบริหารจัดการงบประมาณให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
(2) การลดขนาดกำลังคนภาครัฐเป็นเรื่องจำเป็น โดยในระยะยาวอาจจำเป็นต้นปรับลดให้ได้ถึง 30% จึงควรให้มีการศึกษาวิจัยในทุกส่วนราชการ เพื่อตรวจสอบอัตรากำลังที่มีอยู่พร้อมทั้งกำหนดแนวโน้มอัตรากำลังที่เหมาะสม สอดคล้องกับความจำเป็น
2.3 ข้อเสนอยุทธศาสตร์ของนายกรัฐมนตรี ประกอบด้วย
2.3.1 การเตรียมกลไกและเครื่องมือเพื่อให้รู้เท่าทันกระแสโลกาภิวัตน์
2.3.2 การปรับโครงสร้างการผลิตโดยการเคลื่อนขึ้นสู่ห่วงโซ่มูลค่าที่สูงขึ้น
2.3.3 การปรับตัวเข้าสู่สังคมฐานความรู้ ซึ่งจะต้องดำเนินการในเรื่อง การปฏิรูปการศึกษา การปฏิรูปด้านการวิจัย และการสนับสนุนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
2.3.4 การกำหนดแนวทางในการเข้าถึงแหล่งทุนของระดับต่าง ๆ ที่จะชี้ถึงความเชื่อมโยงระหว่าง demand และ supply ของภาคการเงิน ตั้งแต่ระดับ ปัจเจกบุคคล กิจการขนาดเล็ก ธุรกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม จนถึงระดับธุรกิจขนาดใหญ่ โดยที่มีการกำหนดในเรื่องกฎ ระเบียบ และข้อกฎหมายต่าง ๆ เพื่อลดอุปสรรคที่ทำให้เกิดช่องว่างระหว่างด้านความต้องการและแหล่งระดมเงินทุน
2.3.5 การปรับปรุงด้านการบริหารจัดการของภาคเอกชนและการปฏิรูปภาครัฐ
2.3.6 การสร้างภูมิคุ้มกัน การพัฒนาระบบการบริหารและการประกันความเสี่ยงในยุคโลกาภิวัตน์
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 18 กรกฎาคม 2549--จบ--