คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรายงาน ผลการประชุมรัฐมนตรีด้านสิ่งแวดล้อม 6 ประเทศลุ่มแม่น้ำโขง (GMS) ครั้งที่ 1 สรุปสาระสำคัญมีดังนี้
1. ที่ประชุมเห็นชอบกับแผนงานหลักการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม (Core Environment Program,CEP) ใน 6 องค์ประกอบ โดยประเทศไทยเสนอให้เพิ่มเรื่อง Cleaner Production ไว้ในองค์ประกอบที่ 2 โดยเป็นกระบวนการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมที่ครอบคลุมจากต้นน้ำถึงปลายน้ำ จากผู้ผลิตสู่ผู้บริโภค
2. ที่ประชุมเห็นชอบที่จะให้มีการดำเนินโครงการ Biodiversity Conservation Corridors Initiative (BCI) ในประเทศสมาชิกตามแผนงานหลักการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมในองค์ประกอบที่ 3 และจะเป็นประเด็นสำคัญที่จะนำเสนอต่อที่ประชุม GMS Summit ครั้งที่ 2 ในวันที่ 4 - 5 กรกฎาคม 2548 ณ เมืองคุนหมิง สาธารณรัฐประชาชนจีน สำหรับประเทศไทยเสนอพื้นที่โครงการไว้ 2 พื้นที่ คือ
- พื้นที่เทือกเขาตะนาวศรีซึ่งประเทศไทยให้ความสำคัญเป็นลำดับแรก และประเทศไทยแจ้งที่ประชุมว่าประสงค์ที่จะให้สหภาพพม่าเข้าร่วมในโครงการนี้ด้วยเพื่อความสมบูรณ์ของการดำเนินโครงการในระดับภูมิภาค อย่างไรก็ตามผู้แทนสหภาพพม่าไม่ขัดข้องในหลักการ แต่ขอพิจารณารายละเอียดการดำเนินโครงการก่อน
- พื้นที่กลุ่มป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่ จะดำเนินการศึกษาและรวบรวมข้อมูลเบื้องต้น
3. ที่ประชุมเห็นชอบกับข้อเสนอของ ADB ที่ให้มีการจัดตั้ง Environment Operations Center (EOC) ซึ่งอยู่ในแผนงานหลักการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมในองค์ประกอบที่ 5 โดยมีแผนการจัดตั้งให้เสร็จสิ้นภายในปี พ.ศ. 2549 ในระยะแรก จะจัดตั้งอยู่ในสำนักงาน ADB ในกรุงเทพมหานคร จนกว่าจะจัดตั้งสำนักงาน EOC ถาวร ทั้งนี้ จะทำหน้าที่เป็นเลขานุการในการดำเนินงานตามแผนงานหลักการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม (CEP)
4. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวสุนทรพจน์โดยเน้นความสำคัญของการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ที่มีต่อการพัฒนาทุกด้านอย่างยั่งยืน การให้ความสำคัญกับการจัดการสิ่งแวดล้อม อย่างมีประสิทธิภาพ ที่ต้องอาศัยความร่วมมือและเครือข่ายในประเทศสมาชิก GMS (GMS Information and Training Center for Environment) โดยอยู่บนพื้นฐานของความรู้และจิตสำนึกที่ดี มีการให้โอกาสแก่ทุกฝ่ายเข้าถึงและใช้ทรัพยากรอย่างยุติธรรม และการให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของประชาชน โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้เสนอให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางด้านข้อมูลและฝึกอบรมด้านสิ่งแวดล้อมของ GMS และแผนความร่วมมือเกี่ยวกับการใช้ทรัพยากรที่ลดการแข่งขันระหว่างประเทศสมาชิก GMS และตอบสนองต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและปรับปรุงคุณภาพชีวิต ในขณะเดียวกันสามารถรักษาทรัพยากรธรรมชาติอันทรงคุณค่าในระยะยาว
5. ที่ประชุมระดับรัฐมนตรี ได้มีแถลงการณ์ร่วมโดยมีประเด็นหลักที่สำคัญ คือ การรับรองการดำเนินงานเกี่ยวกับ GMS Core Environment Program และการจัดตั้ง for Environment Operations Center และการดำเนินงานเกี่ยวกับ Biodiversity Conservation Corridors Initiative ซึ่งเป็นองค์ประกอบหลักของ Core Environment Program รวมทั้งเสนอแนะให้มีการรับรอง Biodiversity Conservation Corridors Initiative ในที่ประชุมสุดยอดผู้นำ (GMS Summit) ซึ่งจะมีขึ้นในวันที่ 4-5 กรกฎาคม 2548 ณ เมืองคุนหมิง สาธารณรัฐประชาชนจีน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 28 มิถุนายน 2548--จบ--
1. ที่ประชุมเห็นชอบกับแผนงานหลักการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม (Core Environment Program,CEP) ใน 6 องค์ประกอบ โดยประเทศไทยเสนอให้เพิ่มเรื่อง Cleaner Production ไว้ในองค์ประกอบที่ 2 โดยเป็นกระบวนการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมที่ครอบคลุมจากต้นน้ำถึงปลายน้ำ จากผู้ผลิตสู่ผู้บริโภค
2. ที่ประชุมเห็นชอบที่จะให้มีการดำเนินโครงการ Biodiversity Conservation Corridors Initiative (BCI) ในประเทศสมาชิกตามแผนงานหลักการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมในองค์ประกอบที่ 3 และจะเป็นประเด็นสำคัญที่จะนำเสนอต่อที่ประชุม GMS Summit ครั้งที่ 2 ในวันที่ 4 - 5 กรกฎาคม 2548 ณ เมืองคุนหมิง สาธารณรัฐประชาชนจีน สำหรับประเทศไทยเสนอพื้นที่โครงการไว้ 2 พื้นที่ คือ
- พื้นที่เทือกเขาตะนาวศรีซึ่งประเทศไทยให้ความสำคัญเป็นลำดับแรก และประเทศไทยแจ้งที่ประชุมว่าประสงค์ที่จะให้สหภาพพม่าเข้าร่วมในโครงการนี้ด้วยเพื่อความสมบูรณ์ของการดำเนินโครงการในระดับภูมิภาค อย่างไรก็ตามผู้แทนสหภาพพม่าไม่ขัดข้องในหลักการ แต่ขอพิจารณารายละเอียดการดำเนินโครงการก่อน
- พื้นที่กลุ่มป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่ จะดำเนินการศึกษาและรวบรวมข้อมูลเบื้องต้น
3. ที่ประชุมเห็นชอบกับข้อเสนอของ ADB ที่ให้มีการจัดตั้ง Environment Operations Center (EOC) ซึ่งอยู่ในแผนงานหลักการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมในองค์ประกอบที่ 5 โดยมีแผนการจัดตั้งให้เสร็จสิ้นภายในปี พ.ศ. 2549 ในระยะแรก จะจัดตั้งอยู่ในสำนักงาน ADB ในกรุงเทพมหานคร จนกว่าจะจัดตั้งสำนักงาน EOC ถาวร ทั้งนี้ จะทำหน้าที่เป็นเลขานุการในการดำเนินงานตามแผนงานหลักการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม (CEP)
4. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวสุนทรพจน์โดยเน้นความสำคัญของการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ที่มีต่อการพัฒนาทุกด้านอย่างยั่งยืน การให้ความสำคัญกับการจัดการสิ่งแวดล้อม อย่างมีประสิทธิภาพ ที่ต้องอาศัยความร่วมมือและเครือข่ายในประเทศสมาชิก GMS (GMS Information and Training Center for Environment) โดยอยู่บนพื้นฐานของความรู้และจิตสำนึกที่ดี มีการให้โอกาสแก่ทุกฝ่ายเข้าถึงและใช้ทรัพยากรอย่างยุติธรรม และการให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของประชาชน โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้เสนอให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางด้านข้อมูลและฝึกอบรมด้านสิ่งแวดล้อมของ GMS และแผนความร่วมมือเกี่ยวกับการใช้ทรัพยากรที่ลดการแข่งขันระหว่างประเทศสมาชิก GMS และตอบสนองต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและปรับปรุงคุณภาพชีวิต ในขณะเดียวกันสามารถรักษาทรัพยากรธรรมชาติอันทรงคุณค่าในระยะยาว
5. ที่ประชุมระดับรัฐมนตรี ได้มีแถลงการณ์ร่วมโดยมีประเด็นหลักที่สำคัญ คือ การรับรองการดำเนินงานเกี่ยวกับ GMS Core Environment Program และการจัดตั้ง for Environment Operations Center และการดำเนินงานเกี่ยวกับ Biodiversity Conservation Corridors Initiative ซึ่งเป็นองค์ประกอบหลักของ Core Environment Program รวมทั้งเสนอแนะให้มีการรับรอง Biodiversity Conservation Corridors Initiative ในที่ประชุมสุดยอดผู้นำ (GMS Summit) ซึ่งจะมีขึ้นในวันที่ 4-5 กรกฎาคม 2548 ณ เมืองคุนหมิง สาธารณรัฐประชาชนจีน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 28 มิถุนายน 2548--จบ--