คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รายงานผลการศึกษาโครงการขุดลอกระบายน้ำอ้อมแก่งสะพือ จังหวัดอุบลราชธานี เพื่อบรรเทาอุทกภัยของจังหวัดอุบลราชธานี ดังนี้
ผลการศึกษาสภาพและแนวทางแก้ไขปัญหาการเกิดอุทกภัย จังหวัดอุบลราชธานี
1. โครงการดำเนินการโดยกรมชลประทาน โครงการศึกษาปัญหาน้ำท่วมในลุ่มน้ำมูลและลุ่มน้ำชีตอนล่าง (จังหวัดศรีสะเกษ ยโสธร และอุบลราชธานี) โดยปรับปรุงขุดลอกลำน้ำมูลท้ายเมืองอุบลราชธานีถึงบริเวณอำเภอพิบูลมังสาหารและการทำแก้มลิงบริเวณพื้นที่ลำมูลน้อย เพื่อเร่งระบายและลดปริมาณน้ำบางส่วนจากผลการวิเคราะห์จะมีผลให้ระดับน้ำที่สถานี M.7(สะพานเสรีประชาธิปไตย) จะมีระดับลดลงจากเดิมก่อนมีการขุดลอกและสร้างแก้มลิงประมาณ 99-103 ซม. และสามารถลดจำนวนวันที่น้ำท่วมได้ 17-28 วัน การมีแก้มลิงลำมูลน้อยจะช่วยกักน้ำไว้ใช้ฤดูแล้งเป็นที่พักผ่อนของจังหวัดได้ ค่าก่อสร้างของโครงการประมาณ 1,980 ล้านบาท (ไม่รวมค่าเวนคืนที่ดิน)
2. โครงการดำเนินการโดยมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ประกอบด้วย 3 โครงการย่อย คือ
2.1 โครงการ ศึกษาแบบจำลองสภาพน้ำท่วมพื้นที่ริมตลิ่งแม่น้ำมูล เพื่อทราบระดับน้ำและพื้นที่ท่วมนอง บริเวณเทศบาลนครอุบลราชธานี และเทศบาลเมืองวารินชำราบ สรุปได้ว่าการใช้สิ่งปลูกสร้าง หรือ การลงทุนขนาดใหญ่ เช่น ก่อสร้างพนังกั้นน้ำ ขุดลอกทางเชื่อม ปรับปรุงถนน ฯลฯ จะไม่สามารถแก้ไข หรือบรรเทา อุทกภัยได้อย่างมีนัยสำคัญ
2.2 โครงการศึกษาผลกระทบด้านเศรษฐศาสตร์ และสิ่งแวดล้อม เนื่องจากอุทกภัย ในเขตอำเภอเมืองวารินชำราบ ผลศึกษาสรุปได้ว่าผู้ได้รับผลกระทบจากสภาวะน้ำท่วมในเขตเทศบาล มีจำนวนทั้งสิ้น 1,731 ครัวเรือน นอกจากนี้อุทกภัยส่งผลกระทบที่มีนัยสำคัญต่อสิ่งแวดล้อม และมีแนวโน้มทวีความรุนแรงขึ้น โดยเฉพาะการเก็บขยะ การกำจัด หรือการจัดการขยะ และคุณภาพของน้ำในแม่น้ำมูล และแหล่งน้ำต่าง ๆ
2.3 โครงการศึกษาความเป็นไปได้ของการขุดคลองลัดแม่น้ำมูล ได้กำหนดแนวทางคลองเป็นส่วนย่อย ๆ โดยคำนึงถึงความเหมาะสมของสภาพภูมิประเทศ เศรษฐศาสตร์ วิศวกรรมและสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วยแนวคลองย่อย ดังนี้ 1) แนวคลอง บ้านโนนข่า-ห้วยน้อย 2) แนวคลองวัดโพธิ์ศรีใต้-หนองคอม-ห้วยน้อย 3) เส้นทางน้ำธรรมชาติห้วยน้อย —ดอนตาดไฮ 4) แนวคลองลัดดอนตาดไฮ-ห้วยแคน-บ้านตุงลุง 5) ห้วยน้ำจาง-ห้วยคันลึม-ห้วยหินลาด-บ้านวังใหม่
ผลการศึกษาแสดงว่า การขุดคลองลัดระบายน้ำตามแนวทางต่าง ๆ มิได้เกิดประสิทธิผล หรือมีนัยสำคัญต่อการแก้ไขปัญหา หรือบรรเทาอุทกภัยบริเวณอำเภอเมือง และอำเภอวารินชำราบ แต่อย่างใด กล่าวคือ การขุดคลองผัน หรือระบายน้ำ มิได้ทำให้ระดับน้ำท่วมที่บริเวณอำเภอเมือง และอำเภอวารินชำราบ และการทำระบบชลประทานไม่เหมาะสม ไม่คุ้มค่ากับการลงทุน ประกอบกับจะต้องมีผลการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 5 กันยายน 2549--จบ--
ผลการศึกษาสภาพและแนวทางแก้ไขปัญหาการเกิดอุทกภัย จังหวัดอุบลราชธานี
1. โครงการดำเนินการโดยกรมชลประทาน โครงการศึกษาปัญหาน้ำท่วมในลุ่มน้ำมูลและลุ่มน้ำชีตอนล่าง (จังหวัดศรีสะเกษ ยโสธร และอุบลราชธานี) โดยปรับปรุงขุดลอกลำน้ำมูลท้ายเมืองอุบลราชธานีถึงบริเวณอำเภอพิบูลมังสาหารและการทำแก้มลิงบริเวณพื้นที่ลำมูลน้อย เพื่อเร่งระบายและลดปริมาณน้ำบางส่วนจากผลการวิเคราะห์จะมีผลให้ระดับน้ำที่สถานี M.7(สะพานเสรีประชาธิปไตย) จะมีระดับลดลงจากเดิมก่อนมีการขุดลอกและสร้างแก้มลิงประมาณ 99-103 ซม. และสามารถลดจำนวนวันที่น้ำท่วมได้ 17-28 วัน การมีแก้มลิงลำมูลน้อยจะช่วยกักน้ำไว้ใช้ฤดูแล้งเป็นที่พักผ่อนของจังหวัดได้ ค่าก่อสร้างของโครงการประมาณ 1,980 ล้านบาท (ไม่รวมค่าเวนคืนที่ดิน)
2. โครงการดำเนินการโดยมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ประกอบด้วย 3 โครงการย่อย คือ
2.1 โครงการ ศึกษาแบบจำลองสภาพน้ำท่วมพื้นที่ริมตลิ่งแม่น้ำมูล เพื่อทราบระดับน้ำและพื้นที่ท่วมนอง บริเวณเทศบาลนครอุบลราชธานี และเทศบาลเมืองวารินชำราบ สรุปได้ว่าการใช้สิ่งปลูกสร้าง หรือ การลงทุนขนาดใหญ่ เช่น ก่อสร้างพนังกั้นน้ำ ขุดลอกทางเชื่อม ปรับปรุงถนน ฯลฯ จะไม่สามารถแก้ไข หรือบรรเทา อุทกภัยได้อย่างมีนัยสำคัญ
2.2 โครงการศึกษาผลกระทบด้านเศรษฐศาสตร์ และสิ่งแวดล้อม เนื่องจากอุทกภัย ในเขตอำเภอเมืองวารินชำราบ ผลศึกษาสรุปได้ว่าผู้ได้รับผลกระทบจากสภาวะน้ำท่วมในเขตเทศบาล มีจำนวนทั้งสิ้น 1,731 ครัวเรือน นอกจากนี้อุทกภัยส่งผลกระทบที่มีนัยสำคัญต่อสิ่งแวดล้อม และมีแนวโน้มทวีความรุนแรงขึ้น โดยเฉพาะการเก็บขยะ การกำจัด หรือการจัดการขยะ และคุณภาพของน้ำในแม่น้ำมูล และแหล่งน้ำต่าง ๆ
2.3 โครงการศึกษาความเป็นไปได้ของการขุดคลองลัดแม่น้ำมูล ได้กำหนดแนวทางคลองเป็นส่วนย่อย ๆ โดยคำนึงถึงความเหมาะสมของสภาพภูมิประเทศ เศรษฐศาสตร์ วิศวกรรมและสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วยแนวคลองย่อย ดังนี้ 1) แนวคลอง บ้านโนนข่า-ห้วยน้อย 2) แนวคลองวัดโพธิ์ศรีใต้-หนองคอม-ห้วยน้อย 3) เส้นทางน้ำธรรมชาติห้วยน้อย —ดอนตาดไฮ 4) แนวคลองลัดดอนตาดไฮ-ห้วยแคน-บ้านตุงลุง 5) ห้วยน้ำจาง-ห้วยคันลึม-ห้วยหินลาด-บ้านวังใหม่
ผลการศึกษาแสดงว่า การขุดคลองลัดระบายน้ำตามแนวทางต่าง ๆ มิได้เกิดประสิทธิผล หรือมีนัยสำคัญต่อการแก้ไขปัญหา หรือบรรเทาอุทกภัยบริเวณอำเภอเมือง และอำเภอวารินชำราบ แต่อย่างใด กล่าวคือ การขุดคลองผัน หรือระบายน้ำ มิได้ทำให้ระดับน้ำท่วมที่บริเวณอำเภอเมือง และอำเภอวารินชำราบ และการทำระบบชลประทานไม่เหมาะสม ไม่คุ้มค่ากับการลงทุน ประกอบกับจะต้องมีผลการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 5 กันยายน 2549--จบ--