เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง (ฉบับที่ ...)
พ.ศ. .... ร่างพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การแต่งตั้งและการดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาอาวุโส (ฉบับที่ ...)
พ.ศ. .... และร่างพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม (ฉบับที่ ...) พ.ศ. ....
คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง (ฉบับที่ ...) พ.ศ. .... ร่างพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การแต่งตั้งและการดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาอาวุโส (ฉบับที่ ...) พ.ศ. .... และร่างพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม (ฉบับที่ ...) พ.ศ. .... รวม 3 ฉบับ ตามที่สำนักงานศาลยุติธรรมเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา และให้นำเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาต่อไป
1. ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง (ฉบับที่ ...) พ.ศ. .... มีสาระสำคัญดังนี้
1.1 กำหนดให้ประธานศาลฎีกาแต่งตั้งผู้พิพากษาศาลฎีกาและผู้พิพากษาอาวุโสในศาลฎีกาจำนวนตามที่เห็นสมควรเป็นผู้พิพากษาประจำแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เพื่อปฏิบัติงานที่ประจำเป็นระหว่างยังไม่มีองค์คณะผู้พิพากษาตามมาตรา 13
1.2 กำหนดให้ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาเลือกผู้พิพากษาในศาลฎีกา ซึ่งดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าผู้พิพากษาศาลฎีกาจำนวนหกคนและผู้พิพากษาอาวุโสในศาลฎีกาจำนวนสามคนเป็นองค์คณะเพื่อพิจารณาพิพากษาคดี
2. ร่างพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การแต่งตั้งและการดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาอาวุโส (ฉบับ ...) พ.ศ. .... มีสาระสำคัญดังนี้
2.1 กำหนดให้มีผู้พิพากษาอาวุโสมีหน้าที่พิจารณาพิพากษาคดีในศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ และศาลฎีกา
2.2 กำหนดให้การแต่งตั้งและโยกย้ายผู้พิพากษาอาวุโสให้ดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาอาวุโสในชั้นศาลที่ไม่สูงกว่าชั้นศาลที่ผู้นั้นเคยดำรงตำแหน่งมาก่อนดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาอาวุโส
3. ร่างพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม (ฉบับ ...) พ.ศ. .... มีสาระสำคัญดังนี้
3.1 กำหนดให้มีตำแหน่งผู้พิพากษาอาวุโสเพื่อพิจารณาพิพากษาคดีในศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ และศาลฎีกา
3.2 กำหนดให้ประธานศาลฎีกามีอำนาจสั่งให้ผู้พิพากษาอาวุโสไปช่วยทำงานชั่วคราวในกรณีจำเป็นเพื่อประโยชน์แก่ราชการศาลในตำแหน่งข้าราชการตุลาการที่ไม่ต่ำกว่าตำแหน่งที่ผู้นั้นดำรงอยู่ได้โดยมีกำหนดระยะเวลาไม่เกินหกเดือน หากเกินกำหนดต้องขอความเห็นชอบจาก ก.ต. ก่อน
สำนักงานศาลยุติธรรมรายงานว่า โดยที่พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ..2542 กำหนดจำนวนองค์คณะผู้พิพากษาในศาลฎีกาซึ่งดำรงตำแหน่งไม่ ต่ำกว่าผู่พิพากษาศาลฎีกาเก้าคน เพื่อพิจารณาพิพากษาอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ซึ่งปัจจุบันมีแนวโน้มว่าจะมีปริมาณคดีสู่ศาลฎีกาเพิ่มขึ้น เป็นเหตุให้ศาลฎีกาประสบปัญหาภาวะขาดแคลนอัตรากำลังผู้พิพากษาที่จะเป็นองค์คณะในการพิจารณาพิพากษาคดี สมควรให้มีผู้พิพากษาอาวุโสในศาลฎีการ่วมเป็นองค์คณะในการพิจารณาพิพากษาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองด้วย จึงได้เสนอร่างพระราชบัญญัติ รวม 3 ฉบับ ดังกล่าวมาเพื่อดำเนินการ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 12 ธันวาคม 2549--จบ--
พ.ศ. .... ร่างพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การแต่งตั้งและการดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาอาวุโส (ฉบับที่ ...)
พ.ศ. .... และร่างพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม (ฉบับที่ ...) พ.ศ. ....
คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง (ฉบับที่ ...) พ.ศ. .... ร่างพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การแต่งตั้งและการดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาอาวุโส (ฉบับที่ ...) พ.ศ. .... และร่างพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม (ฉบับที่ ...) พ.ศ. .... รวม 3 ฉบับ ตามที่สำนักงานศาลยุติธรรมเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา และให้นำเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาต่อไป
1. ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง (ฉบับที่ ...) พ.ศ. .... มีสาระสำคัญดังนี้
1.1 กำหนดให้ประธานศาลฎีกาแต่งตั้งผู้พิพากษาศาลฎีกาและผู้พิพากษาอาวุโสในศาลฎีกาจำนวนตามที่เห็นสมควรเป็นผู้พิพากษาประจำแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เพื่อปฏิบัติงานที่ประจำเป็นระหว่างยังไม่มีองค์คณะผู้พิพากษาตามมาตรา 13
1.2 กำหนดให้ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาเลือกผู้พิพากษาในศาลฎีกา ซึ่งดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าผู้พิพากษาศาลฎีกาจำนวนหกคนและผู้พิพากษาอาวุโสในศาลฎีกาจำนวนสามคนเป็นองค์คณะเพื่อพิจารณาพิพากษาคดี
2. ร่างพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การแต่งตั้งและการดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาอาวุโส (ฉบับ ...) พ.ศ. .... มีสาระสำคัญดังนี้
2.1 กำหนดให้มีผู้พิพากษาอาวุโสมีหน้าที่พิจารณาพิพากษาคดีในศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ และศาลฎีกา
2.2 กำหนดให้การแต่งตั้งและโยกย้ายผู้พิพากษาอาวุโสให้ดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาอาวุโสในชั้นศาลที่ไม่สูงกว่าชั้นศาลที่ผู้นั้นเคยดำรงตำแหน่งมาก่อนดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาอาวุโส
3. ร่างพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม (ฉบับ ...) พ.ศ. .... มีสาระสำคัญดังนี้
3.1 กำหนดให้มีตำแหน่งผู้พิพากษาอาวุโสเพื่อพิจารณาพิพากษาคดีในศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ และศาลฎีกา
3.2 กำหนดให้ประธานศาลฎีกามีอำนาจสั่งให้ผู้พิพากษาอาวุโสไปช่วยทำงานชั่วคราวในกรณีจำเป็นเพื่อประโยชน์แก่ราชการศาลในตำแหน่งข้าราชการตุลาการที่ไม่ต่ำกว่าตำแหน่งที่ผู้นั้นดำรงอยู่ได้โดยมีกำหนดระยะเวลาไม่เกินหกเดือน หากเกินกำหนดต้องขอความเห็นชอบจาก ก.ต. ก่อน
สำนักงานศาลยุติธรรมรายงานว่า โดยที่พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ..2542 กำหนดจำนวนองค์คณะผู้พิพากษาในศาลฎีกาซึ่งดำรงตำแหน่งไม่ ต่ำกว่าผู่พิพากษาศาลฎีกาเก้าคน เพื่อพิจารณาพิพากษาอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ซึ่งปัจจุบันมีแนวโน้มว่าจะมีปริมาณคดีสู่ศาลฎีกาเพิ่มขึ้น เป็นเหตุให้ศาลฎีกาประสบปัญหาภาวะขาดแคลนอัตรากำลังผู้พิพากษาที่จะเป็นองค์คณะในการพิจารณาพิพากษาคดี สมควรให้มีผู้พิพากษาอาวุโสในศาลฎีการ่วมเป็นองค์คณะในการพิจารณาพิพากษาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองด้วย จึงได้เสนอร่างพระราชบัญญัติ รวม 3 ฉบับ ดังกล่าวมาเพื่อดำเนินการ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 12 ธันวาคม 2549--จบ--