คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงมหาดไทย โดยสำนักเลขาธิการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน รายงานสรุปผลความก้าวหน้าการให้ความ
ช่วยเหลือ ผู้ประสบอุทกภัยและดินถล่มภาคเหนือ 5 จังหวัด และสถานการณ์อุทกภัยที่เกิดขึ้นระหว่างวันที่ 13—21 สิงหาคม 2549 (ข้อมูลถึง
วันที่ 21 สิงหาคม 2549) ดังนี้
1. สรุปผลความก้าวหน้าการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยและดินถล่มภาคเหนือของกระทรวงมหาดไทย (จนถึงวันที่
21 สิงหาคม 2549)
1.1 กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้จัดสร้างเต็นท์พักอาศัยชั่วคราวให้แก่ผู้ประสบภัย ที่ไม่มีบ้านพักอาศัย จำนวน
272 หลัง (เต็นท์ของกรมป้องกันฯ 229 หลัง ของมูลนิธิฉือฉี้ไต้หวัน 43 หลัง ในพื้นที่ ดังนี้
เต็นท์ของกรมป้องกันฯ เต็นท์ของมูลนิธิ รวมเต็นท์
ที่ อำเภอ/จังหวัด กระทรวงมหาดไทย (หลัง) ฉือฉี้ไต้หวัน (หลัง) (หลัง)
1 อ.ลับแล จ.อุตรดิตถ์ 23 5 28
2 อ.เมืองฯ จ.อุตรดิตถ์ 112 15 127
3 อ.ท่าปลา จ.อุตรดิตถ์ 44 23 67
4 ต.บ้านตึก อ.ศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย 50 - 50
รวมเต็นท์ทั้งหมด 229 43 272
1.2 กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้จัดสร้างบ้านพักชั่วคราว (บ้านน็อคดาวน์) ของมูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ)
ยามยาก ที่บ้านแม่คุ หมู่ที่ 8 ตำบลบ้านตึก อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย จำนวน 24 หลัง
1.3 ความก้าวหน้าสร้างบ้านถาวร
บ้านพัง การสร้างบ้าน (หลัง) ราษฎรขอรับเงินชดเชย ความก้าวหน้าในการสร้างบ้าน (หลัง)
ที่ จังหวัด ทั้งหลัง (หลัง) ในที่ดินรัฐ ที่ราษฎรเอง สร้างเอง (หลัง) มูลนิธิชัยพัฒนา มูลนิธิไทยคม
กำลังสร้าง สร้างเสร็จ กำลังสร้าง สร้างเสร็จ
1 อุตรดิตถ์ 493 238 203 50 22 9 115 20
2 แพร่ 138 112 - 26 - - - 23
3 สุโขทัย 90 90 - - - - - 19
รวมทั้งหมด 721 440 203 76 22 9 115 62
หมายเหตุ
1) ที่ อ.ท่าปลา จ.อุตรดิตถ์ บ้านพังทั้งหลังเสียชีวิตทั้งครอบครัว จำนวน 2 หลัง ไม่มีการสร้างบ้านใหม่
2) มูลนิธิชัยพัฒนา จะดำเนินการสร้างบ้านพักถาวรให้แก่ราษฎรที่ประสบภัยในพื้นที่ อ.เมืองฯ จ.อุตรดิตถ์ ทั้งหมด จำนวน 161 หลัง
และสร้างบ้านให้แก่ราษฎรในที่ดินของตนเองที่ไม่ต้องการอพยพมาอยู่ในพื้นที่รองรับที่ทางราชการจัดให้ ซึ่งเป็นผู้ประสบภัยในพื้นที่ อ.ลับแล จำนวน
37 หลัง อ.ท่าปลา จำนวน 52 หลัง รวมยอดดำเนินการ 250 หลัง
3) มูลนิธิไทยคม จะดำเนินการสร้างบ้านถาวรให้แก่ราษฎรผู้ประสบภัยในพื้นที่ จ.อุตรดิตถ์ จำนวน 350 หลัง สุโขทัย จำนวน
90 หลัง และแพร่ จำนวน 94 หลัง รวมยอดดำเนินการ 534 หลัง
4) พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์ จะสร้างบ้านถาวรที่ อ.เมืองฯ จ.แพร่ จำนวน 18 หลัง
1.4 การจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยภาคเหนือในความรับผิดชอบของกระทรวงมหาดไทย
1.4.1) ตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการ เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน
พ.ศ. 2546 (ข้อมูล ณ วันที่ 18 สิงหาคม 2549 กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย)
(1) ด้านการช่วยเหลือผู้ประสบภัย เป็นเงิน 92,533,785 บาท แยกได้ดังนี้
- ค่าด้านการจัดการศพ จำนวน 88 ราย (ครบ 100 %) เป็นเงิน 1,920,000 บาท
- ค่าช่วยเหลือญาติผู้สูญหาย จำนวน 25 ราย (คิดเป็น 86 % คงเหลือ 4 ราย)
เป็นเงิน 750,000 บาท
- ค่าช่วยเหลือผู้บาดเจ็บ 1,107 ราย (ครบ 100 %) เป็นเงิน 2,321,000 บาท
- ค่าที่อยู่อาศัย จำนวน 4,995 ราย (คิดเป็น 100 % ) เป็นเงิน 51,420,121 บาท
- ค่าเครื่องมือ/ทุนประกอบอาชีพ จำนวน 30 ราย เป็นเงิน 265,800 บาท
- ค่าเครื่องนุ่งห่ม จำนวน 794 ราย เป็นเงิน 849,800 บาท
- ค่าอาหารจัดเลี้ยง จำนวน 237,491 ราย เป็นเงิน 19,243,353 บาท
- ค่าอื่นๆ เป็นเงิน 15,763,711 บาท
(2) ด้านป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เป็นเงิน 16,487,090 บาท
(3) ด้านการปฏิบัติงานให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย เป็นเงิน 32,125,953 บาท
สรุปให้ความช่วยเหลือไปแล้ว 244,530 คน รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 141,146,828 บาท
1.4.2) การจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ประเภทผู้ประกอบการรายย่อย (ข้อมูล ณ วันที่ 18 สิงหาคม
2549 กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น)
(1) จังหวัดแพร่ จ่ายเงินช่วยเหลือแล้ว จำนวน 291 ราย เป็นเงิน 3,186,605 บาท
(2) จังหวัดสุโขทัย จ่ายเงินช่วยเหลือแล้ว จำนวน 806 ราย เป็นเงิน 9,428,775 บาท
(3) จังหวัดอุตรดิตถ์ จ่ายเงินช่วยเหลือแล้ว จำนวน 3,470 ราย เป็นเงิน 42,488,890 บาท
รวมจ่ายเงินช่วยเหลือแล้ว จำนวน 4,567 ราย ( คิดเป็น 99.21 %) เป็นเงิน 55,104,270 บาท
คงค้างจ่าย จำนวน 36 ราย เนื่องจากไปทำงานนอกพื้นที่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นติดตามตัวเพื่อจ่ายเงินให้ต่อไป
1.5 การติดตามความก้าวหน้าการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยดินถล่ม 5 จังหวัด ภาคเหนือที่จังหวัดอุตรดิตถ์ของ
นายกรัฐมนตรี
เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2549 นายกรัฐมนตรี (พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร) พร้อมด้วยรองนายกรัฐมนตรี (นายสุวัจน์
ลิปตพัลลภ) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (นายยงยุทธ ติยะไพรัช) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน (นายสมศักดิ์
เทพสุทิน) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง (นายวราเทพ รัตนากร)
อธิบดีกรมป้องกัน และบรรเทาสาธารณภัย (นายอนุชา โมกขะเวส) หัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ได้เดินทางไปประชุมติดตามความก้าวหน้า
การให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยที่จังหวัดอุตรดิตถ์ร่วมกับผู้ว่าราชการจังหวัดอุตรดิตถ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสุโขทัย และผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่
ณ โรงแรมสีหราช อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ จากนั้นได้เดินทางไปตรวจติดตามความก้าวหน้าการดำเนินการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย
ในพื้นที่จังหวัดอุตรดิตถ์ ดังนี้
1) ตรวจเยี่ยมการปรับปรุงฟื้นฟูพื้นที่การเกษตรที่ถูกดินทับถมที่ชุมชนป่ายาง เทศบาลตำบลศรีพนมมาศ อำเภอลับแล
2) ตรวจติดตามการก่อสร้างบ้านถาวรของมูลนิธิไทยคม ซึ่งอยู่ระหว่างดำเนินการ จำนวน 115 หลัง ที่บ้านทุ่งเอี้ยง
(ม่อนนางแหลม) หมู่ที่ 4 ตำบลฝายหลวง อำเภอลับแล
3) ตรวจเยี่ยมการก่อสร้างบ้านถาวรของมูลนิธิชัยพัฒนา ที่บ้านทรายงาม หมู่ที่ 10 ตำบลน้ำหมัน อำเภอท่าปลา
4) ตรวจเยี่ยมการปรับปรุงฟื้นฟูพื้นที่การเกษตรที่ถูกดินทับถมที่บ้านน้ำลี หมู่ที่ 6 ตำบลน้ำหมัน อำเภอท่าปลา
5) ตรวจเยี่ยมการสร้างบ้านถาวรของมูลนิธิไทยคม ที่ก่อสร้างแล้วเสร็จ จำนวน 20 หลัง ที่นิคมลำน้ำน่าน
บ้านปากทับ หมู่ที่ 7 ตำบลผาเลือด อำเภอท่าปลา
2. สรุปสถานการณ์อุทกภัยจากอิทธิพลมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ (ระหว่างวันที่ 13—18 สิงหาคม 2549)
2.1 สาเหตุการเกิด ในระหว่างวันที่ 13 — 18 สิงหาคม 2549 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังแรงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน
ประเทศไทย และอ่าวไทย ทำให้มีฝนตกหนักมากต่อเนื่องบริเวณเทือกเขาตะนาวศรี ใน 3 จังหวัด คือ จังหวัดชุมพร ประจวบคีรีขันธ์ ระนอง และ
มีฝนตกหนักที่จังหวัดอุบลราชธานี เป็นเหตุเกิดอุทกภัยประชาชนได้รับความเดือดร้อน บ้านเรือนราษฎร สิ่งสาธารณประโยชน์และทรัพย์สินของ
ประชาชนตลอดจนสถานที่ราชการได้รับความเสียหายเป็นจำนวนมาก
2.2 พื้นที่ประสบอุทกภัย 4 จังหวัด คือ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร ระนอง อุบลราชธานี รวม 10 อำเภอ 42 ตำบล
126 หมู่บ้าน ( โดยมีอุทกภัยรุนแรงในพื้นที่อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ อำเภอเมืองฯ และอำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร)
2.3 ความเสียหาย
1) ด้านชีวิต ราษฎรเดือดร้อน 54,396 คน 12,704 ครัวเรือน
2) ด้านทรัพย์สิน ถนนเสียหาย 76 สาย สะพาน 36 แห่ง ทำนบ 20 แห่ง ฝาย 8 แห่ง
พื้นที่การเกษตร 12,540 ไร่ ท่อระบายน้ำ 28 แห่ง โรงเรียน 10 แห่ง วัด 4 แห่ง
3) มูลค่าความเสียหายเบื้องต้นประมาณ 93,772,849 บาท
2.4 สถานการณ์อุทกภัยเข้าสู่สภาวะปกติตั้งแต่วันที่ 18 สิงหาคม 2549
2.5 สิ่งของพระราชทาน
1) เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2549 เวลา 13.00 น. นายดิษธร วัชโรทัย ผู้อำนวยการกองงานส่วนพระองค์ มูลนิธิราชประชา-
นุเคราะห์ นำสิ่งของพระราชทานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มอบให้กับราษฎร ณ ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีประจำตำบลบางลึก หมู่ที่ 6
ตำบลบางลึก และที่ศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยตำบลนากระตาม หมู่ที่ 2 ตำบลนากระตาม อำเภอเมืองฯ จังหวัดชุมพร
2) มูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภา) ยามยาก ในพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิตติยาภาจัดหน่วยเคลื่อนที่ประกอบอาหาร
พระราชทานเลี้ยงแก่ผู้ประสบภัยน้ำท่วม ณ ร้านตลับทอง(ข้างโรงเรียนชุมชนหาดพันไกร) หมู่ที่ 2 ตำบลหาดพันไกร อำเภอเมืองฯ จังหวัดชุมพร
ตั้งแต่วันที่ 17-19 สิงหาคม 2549
2.6 การตรวจเยี่ยมราษฎรในพื้นที่ประสบอุทกภัยของรัฐมนตรี
เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2549 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (พลอากาศเอกคงศักดิ์ วันทนา) กรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี
ประจำกระทรวงมหาดไทย (นายโกสินทร์ เกษทอง) อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (นายอนุชา โมกขะเวส) พร้อมคณะฯ ลงพื้นที่
ตรวจสถานการณ์อุทกภัยที่จังหวัดชุมพร และตรวจเยี่ยมราษฎรผู้ประสบภัยที่โรงเรียนบ้านหนองส้ม หมู่ที่ 2 ตำบลบางลึก อำเภอเมืองฯ และที่หมู่ที่ 5
ตำบลตากแดด อำเภอเมืองฯ พร้อมกับได้สั่งการให้จังหวัดชุมพรเร่งแก้ไขปัญหาถนนสายหาดทรายแก้ว-บ้านหนองทองคำ ตำบลตากแดด
(ถนนทางหลวงชนบท) ที่กีดขวางทางน้ำ โดยก่อสร้างท่อเหลี่ยม จำนวน 7 จุด ในทันทีเมื่อระดับน้ำลดลง
3. สรุปสถานการณ์อุทกภัยจากอิทธิพลร่องความกดอากาศต่ำ (ระหว่างวันที่ 19—21 สิงหาคม 2549)
3.1 สาเหตุการเกิด ระหว่างวันที่ 19 — 21 สิงหาคม 2549 ร่องความกดอากาศต่ำหรือร่องฝนกำลังแรงพาดผ่านภาคเหนือ
และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้มีฝนตกหนักมากในพื้นที่ตอนบนของจังหวัดน่าน ปริมาณฝนสูงสุดวัดได้ที่อำเภอทุ่งช้าง เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2549
วัดได้ 259 มม. เกิดน้ำป่าไหลหลากลงสู่แม่น้ำน่าน โดยมีระดับน้ำสูงขึ้นอย่างรวดเร็วและเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมในพื้นที่อำเภอท่าวังผา ตั้งแต่ช่วงเช้า
วันที่ 20 สิงหาคม 2549 สูงประมาณ 2-3 เมตร อำเภอเมืองฯและกิ่งอำเภอภูเพียง ระดับน้ำสูง 1.00-1.50 เมตร เป็นเหตุให้ประชาชนได้
รับความเดือดร้อน สิ่งสาธารณประโยชน์และทรัพย์สินของประชาชนเสียหายเป็นจำนวนมาก
3.2 พื้นที่ประสบภัย รวม 2 จังหวัด 12 อำเภอ 2 กิ่งอำเภอ 39 ตำบล 115 หมู่บ้าน ได้แก่ จังหวัดน่าน (10 อำเภอ 1
กิ่งอำเภอ รุนแรงที่อำเภอท่าวังผา เมืองฯ และกิ่งอำเภอภูเพียง) และเชียงราย (2 อำเภอ 1 กิ่งอำเภอ)
3.3 ความเสียหาย
1) มีผู้เสียชีวิต 1 ราย (จังหวัดน่าน คือ นายนพ ปันอิน อายุ 43 ปี บ้านเลขที่ 33 หมู่ที่ 1 ตำบลบ่อเกลือ
อำเภอบ่อเกลือ สาเหตุเนื่องจากถูกกระแสน้ำพัด )
2) ด้านสิ่งสาธารณประโยชน์ ถนน คอสะพาน ท่อระบายน้ำ เหมือง ฝาย ถูกกระแสน้ำพัดพัง และพื้นที่การเกษตร
ปศุสัตว์เสียหายเป็นจำนวนมาก
3.4 สถานการณ์อุทกภัยปัจจุบัน (ข้อมูล ณ วันที่ 21 สิงหาคม 2549 เวลา 17.00 น.)
1. จังหวัดน่าน ระดับน้ำในแม่น้ำน่านยังคงล้นตลิ่ง ไหลเอ่อเข้าท่วมพื้นที่ลุ่มริมน้ำในพื้นที่ 10 อำเภอ 1 กิ่งอำเภอ ได้แก่
1) อำเภอท่าวังผา น้ำจากอำเภอปัวได้ไหลเข้าท่วมพื้นที่ 8 ตำบล ได้แก่ ตำบลท่าวังผา (หมู่ที่ 1-,7) ตำบลศรีภูมิ
(หมู่ที่ 1-12) ตำบลริม หมู่ที่ (1-6) ตำบลแสนทอง (หมู่ที่ 1-8) ตำบลผาทอง (หมู่ที่ 1,3,8) ตำบลตาลชุม (หมู่ที่ 1) ตำบลผาตอ (หมู่ที่
2,3,7,) และตำบลป่าคา (หมู่ที่ 1-7) ระดับน้ำสูงประมาณ 1.00-1.50 เมตร ระดับน้ำเริ่มลดลง
2) อำเภอเมืองฯ น้ำได้ไหลเอ่อเข้าท่วมในพื้นที่เทศบาลเมืองน่านบริเวณชุมชนท่าลี่ ชุมชนบ้านพวงพยอม ชุมชนพญาภู
ชุมชนบ้านดอนสีเสริม ชุมชนบ้านสวนตาลล่าง ชุมชนบ้านพระเนตร ชุมชนบ้านภูมินทร์ ชุมชนบ้านดอนแก้ว ชุมชนบ้านเมืองเล็น ชุมชนบ้านท่าช้าง
บ้านดอนมูล บ้านวังหมอ บ้านหาดปลาแห้ง และบ้านผาขวาง ระดับน้ำสูงประมาณ 1.50-2.00 เมตร เพิ่มขึ้นอย่างช้า ๆ
- ถนนสุริยะพงษ์ บริเวณหน้าบ้านพักผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน สูงประมาณ 1.20 เมตร สี่แยกอุดมเภสัช สูงประมาณ
1.50 เมตร
- ถนนสุมลเทวราช ตลาดตั้งกิจนุสรณ์ ระดับน้ำสูงประมาณ 1.50 เมตร
- ตลาดราชพัสดุหน้าโรงแรมเทวราช ระดับน้ำสูงประมาณ 0.80 เมตร
- ตำบลสะเนียน กองควาย ดู่ใต้ บ่อ และตำบลนาชาว ระดับน้ำสูงประมาณ 1.00-1.50 เมตร
- โรงพยาบาลน่าน ได้ขนย้ายผู้ป่วยจากชั้นล่างไปไว้ในที่สูงของอาคาร เนื่องจากน้ำจากริมแม่น้ำน่านได้ไหลเข้าท่วม
พื้นที่ชั้นล่าง
- ได้มีการตัดกระแสไฟฟ้าในจุดที่มีน้ำท่วมสูงทั้งหมด
- โรงเรียนในเขตเทศบาลเมืองน่านปิดการเรียนการสอนจนกว่าสถานการณ์จะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ
3) กิ่งอำเภอภูเพียง เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ตำบลฝายแก้ว (หมู่ที่ 1,7) ตำบลม่วงตึ๊ด ตำบล เมืองจัง ตำบลท่าน้าว
(หมู่ที่ 1,2,4,7) ตำบลนาปัง (หมู่ที่ 1) ตำบลน้ำเกี๋ยน และตำบลน้ำแก่ง ระดับน้ำสูงประมาณ 1.00-1.70 เมตร เพิ่มขึ้นเล็กน้อย
4) อำเภอเวียงสา น้ำในแม่น้ำน่านจากอำเภอเมือง ได้ไหลไปที่อำเภอเวียงสา และได้เอ่อล้นเข้าท่วมพื้นที่บริเวณริมน้ำ
จำนวน 4 ตำบล ได้แก่ ตำบลกลางเวียง (หมู่ที่ 2,3,4,5,7,13,14) ตำบลน้ำปั้ว (หมู่ที่ 2-6) ตำบลไหล่น่าน (หมู่ที่ 1,2,8) และตำบล
นาเหลือง (หมู่ที่ 5,6) ระดับน้ำสูงประมาณ 0.20-0.50 เมตร และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
5) อำเภอปัว น้ำได้ล้นตลิ่งไหลเข้าท่วมพื้นที่ตำบลเจดีย์ชัย (หมู่ที่ 2-8) ตำบลแงง หมู่ที่ (3-5, 7) โดยน้ำในลำน้ำปัว
ได้ไหลเข้ามาสมทบกับลำน้ำน่านบริเวณหมู่ที่ 5 ตำบลปัว และล้นตลิ่งไหลเข้าท่วมพื้นที่ดังกล่าวระดับน้ำสูงประมาณ 0.10-0.30 เมตร ระดับน้ำเริ่ม
ลดลงอย่างต่อเนื่อง
6) อำเภอทุ่งช้าง เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 4 ตำบล ได้แก่ ตำบลและ ตำบลปอน ตำบลงอบ และตำบลทุ่งช้าง (ที่บ้านน้ำพิ
ตำบลทุ่งช้าง มีบ้านเรือนราษฎรเสียหายทั้งหลัง จำนวน 1 หลัง) ระดับน้ำสูงประมาณ 0.50-1.00 เมตร แนวโน้มลดลง
- อำเภอได้ประสานกองทัพภาคที่ 3 สนับสนุนเฮลิคอปเตอร์ นำอาหารข้าวกล่องเข้าไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยที่
บ้านน้ำพิ ตำบลทุ่งช้าง บ้านน้ำเพาะ และบ้านน้ำสอด ตำบลและ เนื่องจากทั้ง 3 หมู่บ้าน เส้นทางถูกตัดขาด
7) อำเภอเชียงกลาง เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ตำบลพระพุทธบาท (หมู่ที่ 5,8,10) และในพื้นที่เทศบาลเมืองเชียงกลาง
ถนนถูกน้ำท่วมหลายสาย ไม่สามารถสัญจรไปมาได้ ระดับน้ำสูงประมาณ 1.00-1.20 เมตรตำบลเชียงกลาง (หมู่ที่ 13) ตำบลปือ (หมู่ที่ 2)
ระดับน้ำสูงประมาณ 0.60-1.00 เมตร แนวโน้มลดลงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสนับสนุนข้าวสารอาหารแห้ง 1,500 ชุด
8) อำเภอบ่อเกลือ เกิดน้ำเข้าท่วมในพื้นที่ ตำบลบ่อเกลือเหนือ (หมู่ที่ 1) ตำบลคงพยา (หมู่ที่ 2 ) ตำบลบ่อเกลือใต้
(หมู่ที่ 1) ตำบลภูฟ้า (หมู่ที่ 1) ระดับน้ำสูงประมาณ 0.20-0.30 เมตร แนวโน้มลดลง และมีผู้เสียชีวิต 1 ราย คือ นายนพ ปันอิน อายุ 43 ปี
บ้านเลขที่ 33 หมู่ที่ 1 ตำบลบ่อเกลือ อำเภอบ่อเกลือ สาเหตุเนื่องจากถูกกระแสน้ำพัด
9) อำเภอสองแคว ยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ตำบลนาไร่หลวง (หมู่ที่ 2-9) ตำบลชนแดน (หมู่ที่ 1-9) ตำบลยอด (หมู่ที่
1-6) ระดับน้ำสูงประมาณ 0.10-0.20 เมตร ระดับน้ำใกล้เข้าสู่ภาวะปกติเนื่องจากเป็นที่สูง
10) อำเภอเฉลิมพระเกียรติ น้ำได้ไหลเข้าท่วมในพื้นที่ ตำบลบ้านด่าน (หมู่ที่ 2,3) ระดับน้ำประมาณ 0.50-1.00 เมตร
ส่วนดินที่สไลด์ บริเวณถนนสาย เฉลิมพระเกียรติ-บ่อเกลือ 1081 บริเวณบ้านน้ำเล และบ้านกิ่งจันทร์ ตำบลขุนน่าน แขวงการทางเข้าดำเนินการ
เปิดเส้นทางสามารถสัญจรไปมาได้ตามปกติ
11) อำเภอบ้านหลวง น้ำได้เริ่มไหลเข้าท่วมพื้นที่ 3 ตำบล ได้แก่ ตำบลป่าคาหลวง (หมู่ที่ 5) ตำบลบ้านพี้ (หมู่ที่ 4)
และบ้านฟ้า ระดับน้ำสูงประมาณ 1.00-1.50 เมตร แนวโน้มลดลง
เส้นทางที่ได้รับความเสียหาย และรถไม่สามารถสัญจรผ่านได้ จำนวน 7 สาย
- ทางหลวงหมายเลข 1080 น่าน-ปัว-ทุ่งช้าง น้ำท่วมระหว่าง กม.23-43 ระดับน้ำสูงประมาณ 0.50-1.00 เมตร
- ทางหลวงหมายเลข 1168 น่าน-แม่จริม-น้ำปูน ระดับน้ำสูงประมาณ 1.00-2.00 เมตร
- ทางหลวงหมายเลข 1169 ท่าล้อ-น้ำยาว ระดับน้ำสูงประมาณ 1.00-2.00 เมตร
- ทางหลวงหมายเลข 1091 น่าน-บ้านหลวง-พะเยา ระดับน้ำสูงประมาณ 1.00-2.00 เมตร
- ทางหลวงหมายเลข 1081 บ้านเวร-เฉลิมพระเกียรติ ดินสไลด์ทับเส้นทาง เป็นแห่งๆ ระหว่าง กม.ที่ 112-113
ขณะนี้ได้ส่งเครื่องจักรพร้อมเจ้าหน้าที่ดำเนินการแก้ไขแล้ว ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จในช่วงเย็นวันนี้
- ทางหลวงหมายเลข 1291 นาหนุน-บ้านเกาะ ดินสไลด์ทับเส้นทาง เป็นแห่งๆ ระหว่าง กม.ที่ 12-13 ขณะนี้ได้
ส่งเครื่องจักรพร้อมเจ้าหน้าที่ดำเนินการแก้ไขแล้ว ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จในช่วงเย็นวันนี้
- ทางหลวงหมายเลข 1256 นาหนุน-บ้านเกาะ ดินสไลด์ทับเส้นทาง เป็นแห่งๆ ระหว่าง กม.ที่ 45-46 ขณะนี้ได้
ส่งเครื่องจักรพร้อมเจ้าหน้าที่ดำเนินการแก้ไขแล้ว ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จในช่วงเย็นวันนี้
3.5 สภาพน้ำในแม่น้ำน่าน (เมื่อเวลา 06.00 น. วันที่ 21 สิงหาคม 2549 )
- สถานี (N.64) (เมื่อเวลา 23.00 น. วันที่ 20 ส.ค.49) บ้านผาขวาง อำเภอท่าวังผา ระดับน้ำสูง 14.90 เมตร
ระดับตลิ่ง 10.30 เมตร) สูงกว่าระดับตลิ่ง 4.60 เมตร ขณะนี้ไม่สามารถตรวจวัดระดับน้ำได้ เนื่องจากน้ำท่วมสูงเกินจุดวัดระดับ แนวโน้มลดลง
- สถานี (N.1) (เมื่อเวลา 13.00 น. วันที่ 21 ส.ค.49) หน้าสำนักงานป่าไม้จังหวัด อำเภอเมือง ระดับน้ำสูง
8.41 เมตร (ระดับตลิ่ง 7.00 เมตร) สูงกว่าระดับตลิ่ง 1.41 เมตร ระดับน้ำทรงตัว
การให้ความช่วยเหลือ
- อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (นายอนุชา โมกขะเวส) ได้สั่งการให้ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
เขต 9 พิษณุโลก นำเรือท้องแบน จำนวน 15 ลำ ถุงยังชีพ จำนวน 2,000 ชุด ไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยในพื้นที่ รวมทั้งให้ศูนย์ป้องกันและบรรเทา
สาธารณภัย เขต 8 กำแพงเพชร เขต 10 ลำปาง นำเรือท้องแบน จำนวน 10 ลำ ไป ช่วยเหลือผู้ประสบภัยแล้ว
- ผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน (นายปริญญา ปานทอง) ได้ประสานกับจังหวัดทหารบกน่าน นพค. 31, ตชด.324
ตชด.325 ม.พัน 10,15 อปพร. อาสาสมัคร หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ออกดำเนินการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยแล้ว
- กองทัพภาคที่ 3 สนับสนุนเฮลิคอปเตอร์ จำนวน 2 ลำ และเรือท้องแบน จำนวน 10 ลำรถบรรทุก จำนวน 38 คัน
ช่วยเหลือผู้ประสบภัย
- มูลนิธิร่วมกตัญญู สนับสนุนเรือท้องแบน จำนวน 2 ลำ ในการช่วยเหลือผู้ประสบภัย
- สภากาชาดไทย สนับสนุนเรือท้องแบน จำนวน 4 ลำ ในการช่วยเหลือผู้ประสบภัย
- เหล่ากาชาดจังหวัดน่าน แจกจ่ายอาหารข้าวกล่อง 10,000 กล่อง/น้ำดื่ม 10,000 ขวด
- กองบิน 2 จังหวัดลพบุรี ได้สนับสนุน เฮลิคอปเตอร์ 2 ลำ เรือท้องแบน 5 ลำ เข้าช่วยเหลือผู้ประสบภัย
- กระทรวงสาธารณสุข จัดส่งทีมแพทย์และเวชภัณฑ์ เข้าช่วยเหลือผู้ประสบภัย
- เทศบาลเมืองน่าน แจกจ่ายอาหาร ข้าวกล่อง จำนวน 10,000 กล่อง น้ำดื่ม 10,000 ขวด ถุงยังชีพ 500 ชุด
- กิ่งอำเภอภูเพียง แจกจ่ายอาหารข้าวกล่อง 4,000 กล่อง น้ำดื่ม 8,000 ขวด
- องค์การบริหารส่วนจังหวัดน่าน จัดส่งเรือท้องแบน จำนวน 2 ลำ รถบรรทุก 6 คัน ช่วยเหลือผู้ประสบภัย
สรุปการให้ความช่วยเหลือ
1) เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานจากทุกหน่วย จำนวน 2,000 คน (ทหาร ตชด. กรมป้องกันฯ กรมอุทยานฯ )
2) เรือท้องแบน จำนวน 46 ลำ ( กรมป้องกันฯ จำนวน 23 ลำ กองทัพภาค 3 จำนวน 10 ลำ
องค์การบริหารส่วนจังหวัด จำนวน 2 ลำ สภากาชาดไทย จำนวน 4 ลำ มูลนิธิ จำนวน 7 ลำ)
3) รถขุด จำนวน 2 คัน/รถไฟฟ้าส่องสว่าง 2 คัน/เฮลิคอปเตอร์ 4 ลำ
4) ถุงยังชีพ 2,500 ชุด ข้าวกล่อง 30,000 กล่อง/น้ำดื่ม 40,000 ขวด
5) ยารักษาโรคจากกระทรวงสาธารณสุข
6) รถยนต์บรรทุก 61 คัน และเครื่องจักรกลชุดซ่อมสร้างทาง จำนวน 4 ชุด
2. จังหวัดเชียงราย ได้เกิดฝนตกหนักต่อเนื่อง บริเวณเขารอยต่อระหว่างอำเภอเชียงแสนและกิ่งอำเภอดอยหลวง เมื่อคืนวันที่
19 สิงหาคม 2549 ทำให้เกิดน้ำป่าไหลหลากเข้าท่วมพื้นที่ 2 อำเภอ 1 กิ่งอำเภอ ดังนี้
1) กิ่งอำเภอดอยหลวง น้ำแม่บงเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมใน 3 ตำบล ได้แก่ ตำบลปงน้อย ตำบลหนองป่ากอ (หมู่ที่ 6,8) ตำบลโชคชัย
(หมู่ที่ 1,4,5,6,7,8,9,11,12) ระดับน้ำสูงประมาณ 0.30-0.50 เมตร ระดับน้ำลดลง คาดว่าใน 1-2 วันจะเข้าสู่ภาวะปกติ
2) อำเภอเชียงแสน ได้เกิดน้ำไหลบ่าจากลำน้ำแม่แอบ เข้าท่วมในพื้นที่ ตำบลบ้านแซว (หมู่ที่ 11,12,13) ระดับน้ำสูงประมาณ
0.20-0.40 เมตร มีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง
3) อำเภอแม่สาย น้ำได้เอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่หมู่บ้าน ตำบลเวียงผาคำ (หมู่ที่ 7) จำนวน 150 หลังคาเรือน ระดับน้ำสูง
0.30-0.50 เมตร คาดว่าจะเข้าสู่ภาวะปกติในวันที่ 22 สิงหาคม 2549
การให้ความช่วยเหลือ
- สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดเชียงราย สนับสนุนเรือท้องแบน จำนวน 2 ลำ ช่วยเหลือราษฎรในพื้นที่
กิ่งอำเภอดอยหลวง และหน่วยเรือรักษาความสงบเรียบร้อยตามลำแม่น้ำโขงได้นำเรือท้องแบน 2 ลำ ช่วยเหลือในพื้นที่
อำเภอเชียงแสน
- นพค.35 จังหวัดเชียงราย ได้นำเครื่องจักรกลเข้าไปเปิดเส้นทางที่มีดินไหลปิดทับเส้นทาง
- อำเภอที่ประสบภัย ร่วมกับหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ออกสำรวจความเสียหาย พร้อมนำถุงยังชีพ จำนวน 1,000 ชุด
ข้าวกล่อง 1,000 กล่อง น้ำดื่ม 100 โหล ช่วยเหลือผู้ประสบภัยในเบื้องต้นแล้ว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 22 สิงหาคม 2549--จบ--
ช่วยเหลือ ผู้ประสบอุทกภัยและดินถล่มภาคเหนือ 5 จังหวัด และสถานการณ์อุทกภัยที่เกิดขึ้นระหว่างวันที่ 13—21 สิงหาคม 2549 (ข้อมูลถึง
วันที่ 21 สิงหาคม 2549) ดังนี้
1. สรุปผลความก้าวหน้าการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยและดินถล่มภาคเหนือของกระทรวงมหาดไทย (จนถึงวันที่
21 สิงหาคม 2549)
1.1 กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้จัดสร้างเต็นท์พักอาศัยชั่วคราวให้แก่ผู้ประสบภัย ที่ไม่มีบ้านพักอาศัย จำนวน
272 หลัง (เต็นท์ของกรมป้องกันฯ 229 หลัง ของมูลนิธิฉือฉี้ไต้หวัน 43 หลัง ในพื้นที่ ดังนี้
เต็นท์ของกรมป้องกันฯ เต็นท์ของมูลนิธิ รวมเต็นท์
ที่ อำเภอ/จังหวัด กระทรวงมหาดไทย (หลัง) ฉือฉี้ไต้หวัน (หลัง) (หลัง)
1 อ.ลับแล จ.อุตรดิตถ์ 23 5 28
2 อ.เมืองฯ จ.อุตรดิตถ์ 112 15 127
3 อ.ท่าปลา จ.อุตรดิตถ์ 44 23 67
4 ต.บ้านตึก อ.ศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย 50 - 50
รวมเต็นท์ทั้งหมด 229 43 272
1.2 กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้จัดสร้างบ้านพักชั่วคราว (บ้านน็อคดาวน์) ของมูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ)
ยามยาก ที่บ้านแม่คุ หมู่ที่ 8 ตำบลบ้านตึก อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย จำนวน 24 หลัง
1.3 ความก้าวหน้าสร้างบ้านถาวร
บ้านพัง การสร้างบ้าน (หลัง) ราษฎรขอรับเงินชดเชย ความก้าวหน้าในการสร้างบ้าน (หลัง)
ที่ จังหวัด ทั้งหลัง (หลัง) ในที่ดินรัฐ ที่ราษฎรเอง สร้างเอง (หลัง) มูลนิธิชัยพัฒนา มูลนิธิไทยคม
กำลังสร้าง สร้างเสร็จ กำลังสร้าง สร้างเสร็จ
1 อุตรดิตถ์ 493 238 203 50 22 9 115 20
2 แพร่ 138 112 - 26 - - - 23
3 สุโขทัย 90 90 - - - - - 19
รวมทั้งหมด 721 440 203 76 22 9 115 62
หมายเหตุ
1) ที่ อ.ท่าปลา จ.อุตรดิตถ์ บ้านพังทั้งหลังเสียชีวิตทั้งครอบครัว จำนวน 2 หลัง ไม่มีการสร้างบ้านใหม่
2) มูลนิธิชัยพัฒนา จะดำเนินการสร้างบ้านพักถาวรให้แก่ราษฎรที่ประสบภัยในพื้นที่ อ.เมืองฯ จ.อุตรดิตถ์ ทั้งหมด จำนวน 161 หลัง
และสร้างบ้านให้แก่ราษฎรในที่ดินของตนเองที่ไม่ต้องการอพยพมาอยู่ในพื้นที่รองรับที่ทางราชการจัดให้ ซึ่งเป็นผู้ประสบภัยในพื้นที่ อ.ลับแล จำนวน
37 หลัง อ.ท่าปลา จำนวน 52 หลัง รวมยอดดำเนินการ 250 หลัง
3) มูลนิธิไทยคม จะดำเนินการสร้างบ้านถาวรให้แก่ราษฎรผู้ประสบภัยในพื้นที่ จ.อุตรดิตถ์ จำนวน 350 หลัง สุโขทัย จำนวน
90 หลัง และแพร่ จำนวน 94 หลัง รวมยอดดำเนินการ 534 หลัง
4) พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์ จะสร้างบ้านถาวรที่ อ.เมืองฯ จ.แพร่ จำนวน 18 หลัง
1.4 การจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยภาคเหนือในความรับผิดชอบของกระทรวงมหาดไทย
1.4.1) ตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการ เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน
พ.ศ. 2546 (ข้อมูล ณ วันที่ 18 สิงหาคม 2549 กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย)
(1) ด้านการช่วยเหลือผู้ประสบภัย เป็นเงิน 92,533,785 บาท แยกได้ดังนี้
- ค่าด้านการจัดการศพ จำนวน 88 ราย (ครบ 100 %) เป็นเงิน 1,920,000 บาท
- ค่าช่วยเหลือญาติผู้สูญหาย จำนวน 25 ราย (คิดเป็น 86 % คงเหลือ 4 ราย)
เป็นเงิน 750,000 บาท
- ค่าช่วยเหลือผู้บาดเจ็บ 1,107 ราย (ครบ 100 %) เป็นเงิน 2,321,000 บาท
- ค่าที่อยู่อาศัย จำนวน 4,995 ราย (คิดเป็น 100 % ) เป็นเงิน 51,420,121 บาท
- ค่าเครื่องมือ/ทุนประกอบอาชีพ จำนวน 30 ราย เป็นเงิน 265,800 บาท
- ค่าเครื่องนุ่งห่ม จำนวน 794 ราย เป็นเงิน 849,800 บาท
- ค่าอาหารจัดเลี้ยง จำนวน 237,491 ราย เป็นเงิน 19,243,353 บาท
- ค่าอื่นๆ เป็นเงิน 15,763,711 บาท
(2) ด้านป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เป็นเงิน 16,487,090 บาท
(3) ด้านการปฏิบัติงานให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย เป็นเงิน 32,125,953 บาท
สรุปให้ความช่วยเหลือไปแล้ว 244,530 คน รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 141,146,828 บาท
1.4.2) การจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ประเภทผู้ประกอบการรายย่อย (ข้อมูล ณ วันที่ 18 สิงหาคม
2549 กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น)
(1) จังหวัดแพร่ จ่ายเงินช่วยเหลือแล้ว จำนวน 291 ราย เป็นเงิน 3,186,605 บาท
(2) จังหวัดสุโขทัย จ่ายเงินช่วยเหลือแล้ว จำนวน 806 ราย เป็นเงิน 9,428,775 บาท
(3) จังหวัดอุตรดิตถ์ จ่ายเงินช่วยเหลือแล้ว จำนวน 3,470 ราย เป็นเงิน 42,488,890 บาท
รวมจ่ายเงินช่วยเหลือแล้ว จำนวน 4,567 ราย ( คิดเป็น 99.21 %) เป็นเงิน 55,104,270 บาท
คงค้างจ่าย จำนวน 36 ราย เนื่องจากไปทำงานนอกพื้นที่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นติดตามตัวเพื่อจ่ายเงินให้ต่อไป
1.5 การติดตามความก้าวหน้าการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยดินถล่ม 5 จังหวัด ภาคเหนือที่จังหวัดอุตรดิตถ์ของ
นายกรัฐมนตรี
เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2549 นายกรัฐมนตรี (พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร) พร้อมด้วยรองนายกรัฐมนตรี (นายสุวัจน์
ลิปตพัลลภ) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (นายยงยุทธ ติยะไพรัช) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน (นายสมศักดิ์
เทพสุทิน) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง (นายวราเทพ รัตนากร)
อธิบดีกรมป้องกัน และบรรเทาสาธารณภัย (นายอนุชา โมกขะเวส) หัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ได้เดินทางไปประชุมติดตามความก้าวหน้า
การให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยที่จังหวัดอุตรดิตถ์ร่วมกับผู้ว่าราชการจังหวัดอุตรดิตถ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสุโขทัย และผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่
ณ โรงแรมสีหราช อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ จากนั้นได้เดินทางไปตรวจติดตามความก้าวหน้าการดำเนินการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย
ในพื้นที่จังหวัดอุตรดิตถ์ ดังนี้
1) ตรวจเยี่ยมการปรับปรุงฟื้นฟูพื้นที่การเกษตรที่ถูกดินทับถมที่ชุมชนป่ายาง เทศบาลตำบลศรีพนมมาศ อำเภอลับแล
2) ตรวจติดตามการก่อสร้างบ้านถาวรของมูลนิธิไทยคม ซึ่งอยู่ระหว่างดำเนินการ จำนวน 115 หลัง ที่บ้านทุ่งเอี้ยง
(ม่อนนางแหลม) หมู่ที่ 4 ตำบลฝายหลวง อำเภอลับแล
3) ตรวจเยี่ยมการก่อสร้างบ้านถาวรของมูลนิธิชัยพัฒนา ที่บ้านทรายงาม หมู่ที่ 10 ตำบลน้ำหมัน อำเภอท่าปลา
4) ตรวจเยี่ยมการปรับปรุงฟื้นฟูพื้นที่การเกษตรที่ถูกดินทับถมที่บ้านน้ำลี หมู่ที่ 6 ตำบลน้ำหมัน อำเภอท่าปลา
5) ตรวจเยี่ยมการสร้างบ้านถาวรของมูลนิธิไทยคม ที่ก่อสร้างแล้วเสร็จ จำนวน 20 หลัง ที่นิคมลำน้ำน่าน
บ้านปากทับ หมู่ที่ 7 ตำบลผาเลือด อำเภอท่าปลา
2. สรุปสถานการณ์อุทกภัยจากอิทธิพลมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ (ระหว่างวันที่ 13—18 สิงหาคม 2549)
2.1 สาเหตุการเกิด ในระหว่างวันที่ 13 — 18 สิงหาคม 2549 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังแรงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน
ประเทศไทย และอ่าวไทย ทำให้มีฝนตกหนักมากต่อเนื่องบริเวณเทือกเขาตะนาวศรี ใน 3 จังหวัด คือ จังหวัดชุมพร ประจวบคีรีขันธ์ ระนอง และ
มีฝนตกหนักที่จังหวัดอุบลราชธานี เป็นเหตุเกิดอุทกภัยประชาชนได้รับความเดือดร้อน บ้านเรือนราษฎร สิ่งสาธารณประโยชน์และทรัพย์สินของ
ประชาชนตลอดจนสถานที่ราชการได้รับความเสียหายเป็นจำนวนมาก
2.2 พื้นที่ประสบอุทกภัย 4 จังหวัด คือ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร ระนอง อุบลราชธานี รวม 10 อำเภอ 42 ตำบล
126 หมู่บ้าน ( โดยมีอุทกภัยรุนแรงในพื้นที่อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ อำเภอเมืองฯ และอำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร)
2.3 ความเสียหาย
1) ด้านชีวิต ราษฎรเดือดร้อน 54,396 คน 12,704 ครัวเรือน
2) ด้านทรัพย์สิน ถนนเสียหาย 76 สาย สะพาน 36 แห่ง ทำนบ 20 แห่ง ฝาย 8 แห่ง
พื้นที่การเกษตร 12,540 ไร่ ท่อระบายน้ำ 28 แห่ง โรงเรียน 10 แห่ง วัด 4 แห่ง
3) มูลค่าความเสียหายเบื้องต้นประมาณ 93,772,849 บาท
2.4 สถานการณ์อุทกภัยเข้าสู่สภาวะปกติตั้งแต่วันที่ 18 สิงหาคม 2549
2.5 สิ่งของพระราชทาน
1) เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2549 เวลา 13.00 น. นายดิษธร วัชโรทัย ผู้อำนวยการกองงานส่วนพระองค์ มูลนิธิราชประชา-
นุเคราะห์ นำสิ่งของพระราชทานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มอบให้กับราษฎร ณ ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีประจำตำบลบางลึก หมู่ที่ 6
ตำบลบางลึก และที่ศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยตำบลนากระตาม หมู่ที่ 2 ตำบลนากระตาม อำเภอเมืองฯ จังหวัดชุมพร
2) มูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภา) ยามยาก ในพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิตติยาภาจัดหน่วยเคลื่อนที่ประกอบอาหาร
พระราชทานเลี้ยงแก่ผู้ประสบภัยน้ำท่วม ณ ร้านตลับทอง(ข้างโรงเรียนชุมชนหาดพันไกร) หมู่ที่ 2 ตำบลหาดพันไกร อำเภอเมืองฯ จังหวัดชุมพร
ตั้งแต่วันที่ 17-19 สิงหาคม 2549
2.6 การตรวจเยี่ยมราษฎรในพื้นที่ประสบอุทกภัยของรัฐมนตรี
เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2549 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (พลอากาศเอกคงศักดิ์ วันทนา) กรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี
ประจำกระทรวงมหาดไทย (นายโกสินทร์ เกษทอง) อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (นายอนุชา โมกขะเวส) พร้อมคณะฯ ลงพื้นที่
ตรวจสถานการณ์อุทกภัยที่จังหวัดชุมพร และตรวจเยี่ยมราษฎรผู้ประสบภัยที่โรงเรียนบ้านหนองส้ม หมู่ที่ 2 ตำบลบางลึก อำเภอเมืองฯ และที่หมู่ที่ 5
ตำบลตากแดด อำเภอเมืองฯ พร้อมกับได้สั่งการให้จังหวัดชุมพรเร่งแก้ไขปัญหาถนนสายหาดทรายแก้ว-บ้านหนองทองคำ ตำบลตากแดด
(ถนนทางหลวงชนบท) ที่กีดขวางทางน้ำ โดยก่อสร้างท่อเหลี่ยม จำนวน 7 จุด ในทันทีเมื่อระดับน้ำลดลง
3. สรุปสถานการณ์อุทกภัยจากอิทธิพลร่องความกดอากาศต่ำ (ระหว่างวันที่ 19—21 สิงหาคม 2549)
3.1 สาเหตุการเกิด ระหว่างวันที่ 19 — 21 สิงหาคม 2549 ร่องความกดอากาศต่ำหรือร่องฝนกำลังแรงพาดผ่านภาคเหนือ
และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้มีฝนตกหนักมากในพื้นที่ตอนบนของจังหวัดน่าน ปริมาณฝนสูงสุดวัดได้ที่อำเภอทุ่งช้าง เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2549
วัดได้ 259 มม. เกิดน้ำป่าไหลหลากลงสู่แม่น้ำน่าน โดยมีระดับน้ำสูงขึ้นอย่างรวดเร็วและเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมในพื้นที่อำเภอท่าวังผา ตั้งแต่ช่วงเช้า
วันที่ 20 สิงหาคม 2549 สูงประมาณ 2-3 เมตร อำเภอเมืองฯและกิ่งอำเภอภูเพียง ระดับน้ำสูง 1.00-1.50 เมตร เป็นเหตุให้ประชาชนได้
รับความเดือดร้อน สิ่งสาธารณประโยชน์และทรัพย์สินของประชาชนเสียหายเป็นจำนวนมาก
3.2 พื้นที่ประสบภัย รวม 2 จังหวัด 12 อำเภอ 2 กิ่งอำเภอ 39 ตำบล 115 หมู่บ้าน ได้แก่ จังหวัดน่าน (10 อำเภอ 1
กิ่งอำเภอ รุนแรงที่อำเภอท่าวังผา เมืองฯ และกิ่งอำเภอภูเพียง) และเชียงราย (2 อำเภอ 1 กิ่งอำเภอ)
3.3 ความเสียหาย
1) มีผู้เสียชีวิต 1 ราย (จังหวัดน่าน คือ นายนพ ปันอิน อายุ 43 ปี บ้านเลขที่ 33 หมู่ที่ 1 ตำบลบ่อเกลือ
อำเภอบ่อเกลือ สาเหตุเนื่องจากถูกกระแสน้ำพัด )
2) ด้านสิ่งสาธารณประโยชน์ ถนน คอสะพาน ท่อระบายน้ำ เหมือง ฝาย ถูกกระแสน้ำพัดพัง และพื้นที่การเกษตร
ปศุสัตว์เสียหายเป็นจำนวนมาก
3.4 สถานการณ์อุทกภัยปัจจุบัน (ข้อมูล ณ วันที่ 21 สิงหาคม 2549 เวลา 17.00 น.)
1. จังหวัดน่าน ระดับน้ำในแม่น้ำน่านยังคงล้นตลิ่ง ไหลเอ่อเข้าท่วมพื้นที่ลุ่มริมน้ำในพื้นที่ 10 อำเภอ 1 กิ่งอำเภอ ได้แก่
1) อำเภอท่าวังผา น้ำจากอำเภอปัวได้ไหลเข้าท่วมพื้นที่ 8 ตำบล ได้แก่ ตำบลท่าวังผา (หมู่ที่ 1-,7) ตำบลศรีภูมิ
(หมู่ที่ 1-12) ตำบลริม หมู่ที่ (1-6) ตำบลแสนทอง (หมู่ที่ 1-8) ตำบลผาทอง (หมู่ที่ 1,3,8) ตำบลตาลชุม (หมู่ที่ 1) ตำบลผาตอ (หมู่ที่
2,3,7,) และตำบลป่าคา (หมู่ที่ 1-7) ระดับน้ำสูงประมาณ 1.00-1.50 เมตร ระดับน้ำเริ่มลดลง
2) อำเภอเมืองฯ น้ำได้ไหลเอ่อเข้าท่วมในพื้นที่เทศบาลเมืองน่านบริเวณชุมชนท่าลี่ ชุมชนบ้านพวงพยอม ชุมชนพญาภู
ชุมชนบ้านดอนสีเสริม ชุมชนบ้านสวนตาลล่าง ชุมชนบ้านพระเนตร ชุมชนบ้านภูมินทร์ ชุมชนบ้านดอนแก้ว ชุมชนบ้านเมืองเล็น ชุมชนบ้านท่าช้าง
บ้านดอนมูล บ้านวังหมอ บ้านหาดปลาแห้ง และบ้านผาขวาง ระดับน้ำสูงประมาณ 1.50-2.00 เมตร เพิ่มขึ้นอย่างช้า ๆ
- ถนนสุริยะพงษ์ บริเวณหน้าบ้านพักผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน สูงประมาณ 1.20 เมตร สี่แยกอุดมเภสัช สูงประมาณ
1.50 เมตร
- ถนนสุมลเทวราช ตลาดตั้งกิจนุสรณ์ ระดับน้ำสูงประมาณ 1.50 เมตร
- ตลาดราชพัสดุหน้าโรงแรมเทวราช ระดับน้ำสูงประมาณ 0.80 เมตร
- ตำบลสะเนียน กองควาย ดู่ใต้ บ่อ และตำบลนาชาว ระดับน้ำสูงประมาณ 1.00-1.50 เมตร
- โรงพยาบาลน่าน ได้ขนย้ายผู้ป่วยจากชั้นล่างไปไว้ในที่สูงของอาคาร เนื่องจากน้ำจากริมแม่น้ำน่านได้ไหลเข้าท่วม
พื้นที่ชั้นล่าง
- ได้มีการตัดกระแสไฟฟ้าในจุดที่มีน้ำท่วมสูงทั้งหมด
- โรงเรียนในเขตเทศบาลเมืองน่านปิดการเรียนการสอนจนกว่าสถานการณ์จะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ
3) กิ่งอำเภอภูเพียง เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ตำบลฝายแก้ว (หมู่ที่ 1,7) ตำบลม่วงตึ๊ด ตำบล เมืองจัง ตำบลท่าน้าว
(หมู่ที่ 1,2,4,7) ตำบลนาปัง (หมู่ที่ 1) ตำบลน้ำเกี๋ยน และตำบลน้ำแก่ง ระดับน้ำสูงประมาณ 1.00-1.70 เมตร เพิ่มขึ้นเล็กน้อย
4) อำเภอเวียงสา น้ำในแม่น้ำน่านจากอำเภอเมือง ได้ไหลไปที่อำเภอเวียงสา และได้เอ่อล้นเข้าท่วมพื้นที่บริเวณริมน้ำ
จำนวน 4 ตำบล ได้แก่ ตำบลกลางเวียง (หมู่ที่ 2,3,4,5,7,13,14) ตำบลน้ำปั้ว (หมู่ที่ 2-6) ตำบลไหล่น่าน (หมู่ที่ 1,2,8) และตำบล
นาเหลือง (หมู่ที่ 5,6) ระดับน้ำสูงประมาณ 0.20-0.50 เมตร และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
5) อำเภอปัว น้ำได้ล้นตลิ่งไหลเข้าท่วมพื้นที่ตำบลเจดีย์ชัย (หมู่ที่ 2-8) ตำบลแงง หมู่ที่ (3-5, 7) โดยน้ำในลำน้ำปัว
ได้ไหลเข้ามาสมทบกับลำน้ำน่านบริเวณหมู่ที่ 5 ตำบลปัว และล้นตลิ่งไหลเข้าท่วมพื้นที่ดังกล่าวระดับน้ำสูงประมาณ 0.10-0.30 เมตร ระดับน้ำเริ่ม
ลดลงอย่างต่อเนื่อง
6) อำเภอทุ่งช้าง เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 4 ตำบล ได้แก่ ตำบลและ ตำบลปอน ตำบลงอบ และตำบลทุ่งช้าง (ที่บ้านน้ำพิ
ตำบลทุ่งช้าง มีบ้านเรือนราษฎรเสียหายทั้งหลัง จำนวน 1 หลัง) ระดับน้ำสูงประมาณ 0.50-1.00 เมตร แนวโน้มลดลง
- อำเภอได้ประสานกองทัพภาคที่ 3 สนับสนุนเฮลิคอปเตอร์ นำอาหารข้าวกล่องเข้าไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยที่
บ้านน้ำพิ ตำบลทุ่งช้าง บ้านน้ำเพาะ และบ้านน้ำสอด ตำบลและ เนื่องจากทั้ง 3 หมู่บ้าน เส้นทางถูกตัดขาด
7) อำเภอเชียงกลาง เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ตำบลพระพุทธบาท (หมู่ที่ 5,8,10) และในพื้นที่เทศบาลเมืองเชียงกลาง
ถนนถูกน้ำท่วมหลายสาย ไม่สามารถสัญจรไปมาได้ ระดับน้ำสูงประมาณ 1.00-1.20 เมตรตำบลเชียงกลาง (หมู่ที่ 13) ตำบลปือ (หมู่ที่ 2)
ระดับน้ำสูงประมาณ 0.60-1.00 เมตร แนวโน้มลดลงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสนับสนุนข้าวสารอาหารแห้ง 1,500 ชุด
8) อำเภอบ่อเกลือ เกิดน้ำเข้าท่วมในพื้นที่ ตำบลบ่อเกลือเหนือ (หมู่ที่ 1) ตำบลคงพยา (หมู่ที่ 2 ) ตำบลบ่อเกลือใต้
(หมู่ที่ 1) ตำบลภูฟ้า (หมู่ที่ 1) ระดับน้ำสูงประมาณ 0.20-0.30 เมตร แนวโน้มลดลง และมีผู้เสียชีวิต 1 ราย คือ นายนพ ปันอิน อายุ 43 ปี
บ้านเลขที่ 33 หมู่ที่ 1 ตำบลบ่อเกลือ อำเภอบ่อเกลือ สาเหตุเนื่องจากถูกกระแสน้ำพัด
9) อำเภอสองแคว ยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ตำบลนาไร่หลวง (หมู่ที่ 2-9) ตำบลชนแดน (หมู่ที่ 1-9) ตำบลยอด (หมู่ที่
1-6) ระดับน้ำสูงประมาณ 0.10-0.20 เมตร ระดับน้ำใกล้เข้าสู่ภาวะปกติเนื่องจากเป็นที่สูง
10) อำเภอเฉลิมพระเกียรติ น้ำได้ไหลเข้าท่วมในพื้นที่ ตำบลบ้านด่าน (หมู่ที่ 2,3) ระดับน้ำประมาณ 0.50-1.00 เมตร
ส่วนดินที่สไลด์ บริเวณถนนสาย เฉลิมพระเกียรติ-บ่อเกลือ 1081 บริเวณบ้านน้ำเล และบ้านกิ่งจันทร์ ตำบลขุนน่าน แขวงการทางเข้าดำเนินการ
เปิดเส้นทางสามารถสัญจรไปมาได้ตามปกติ
11) อำเภอบ้านหลวง น้ำได้เริ่มไหลเข้าท่วมพื้นที่ 3 ตำบล ได้แก่ ตำบลป่าคาหลวง (หมู่ที่ 5) ตำบลบ้านพี้ (หมู่ที่ 4)
และบ้านฟ้า ระดับน้ำสูงประมาณ 1.00-1.50 เมตร แนวโน้มลดลง
เส้นทางที่ได้รับความเสียหาย และรถไม่สามารถสัญจรผ่านได้ จำนวน 7 สาย
- ทางหลวงหมายเลข 1080 น่าน-ปัว-ทุ่งช้าง น้ำท่วมระหว่าง กม.23-43 ระดับน้ำสูงประมาณ 0.50-1.00 เมตร
- ทางหลวงหมายเลข 1168 น่าน-แม่จริม-น้ำปูน ระดับน้ำสูงประมาณ 1.00-2.00 เมตร
- ทางหลวงหมายเลข 1169 ท่าล้อ-น้ำยาว ระดับน้ำสูงประมาณ 1.00-2.00 เมตร
- ทางหลวงหมายเลข 1091 น่าน-บ้านหลวง-พะเยา ระดับน้ำสูงประมาณ 1.00-2.00 เมตร
- ทางหลวงหมายเลข 1081 บ้านเวร-เฉลิมพระเกียรติ ดินสไลด์ทับเส้นทาง เป็นแห่งๆ ระหว่าง กม.ที่ 112-113
ขณะนี้ได้ส่งเครื่องจักรพร้อมเจ้าหน้าที่ดำเนินการแก้ไขแล้ว ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จในช่วงเย็นวันนี้
- ทางหลวงหมายเลข 1291 นาหนุน-บ้านเกาะ ดินสไลด์ทับเส้นทาง เป็นแห่งๆ ระหว่าง กม.ที่ 12-13 ขณะนี้ได้
ส่งเครื่องจักรพร้อมเจ้าหน้าที่ดำเนินการแก้ไขแล้ว ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จในช่วงเย็นวันนี้
- ทางหลวงหมายเลข 1256 นาหนุน-บ้านเกาะ ดินสไลด์ทับเส้นทาง เป็นแห่งๆ ระหว่าง กม.ที่ 45-46 ขณะนี้ได้
ส่งเครื่องจักรพร้อมเจ้าหน้าที่ดำเนินการแก้ไขแล้ว ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จในช่วงเย็นวันนี้
3.5 สภาพน้ำในแม่น้ำน่าน (เมื่อเวลา 06.00 น. วันที่ 21 สิงหาคม 2549 )
- สถานี (N.64) (เมื่อเวลา 23.00 น. วันที่ 20 ส.ค.49) บ้านผาขวาง อำเภอท่าวังผา ระดับน้ำสูง 14.90 เมตร
ระดับตลิ่ง 10.30 เมตร) สูงกว่าระดับตลิ่ง 4.60 เมตร ขณะนี้ไม่สามารถตรวจวัดระดับน้ำได้ เนื่องจากน้ำท่วมสูงเกินจุดวัดระดับ แนวโน้มลดลง
- สถานี (N.1) (เมื่อเวลา 13.00 น. วันที่ 21 ส.ค.49) หน้าสำนักงานป่าไม้จังหวัด อำเภอเมือง ระดับน้ำสูง
8.41 เมตร (ระดับตลิ่ง 7.00 เมตร) สูงกว่าระดับตลิ่ง 1.41 เมตร ระดับน้ำทรงตัว
การให้ความช่วยเหลือ
- อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (นายอนุชา โมกขะเวส) ได้สั่งการให้ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
เขต 9 พิษณุโลก นำเรือท้องแบน จำนวน 15 ลำ ถุงยังชีพ จำนวน 2,000 ชุด ไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยในพื้นที่ รวมทั้งให้ศูนย์ป้องกันและบรรเทา
สาธารณภัย เขต 8 กำแพงเพชร เขต 10 ลำปาง นำเรือท้องแบน จำนวน 10 ลำ ไป ช่วยเหลือผู้ประสบภัยแล้ว
- ผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน (นายปริญญา ปานทอง) ได้ประสานกับจังหวัดทหารบกน่าน นพค. 31, ตชด.324
ตชด.325 ม.พัน 10,15 อปพร. อาสาสมัคร หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ออกดำเนินการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยแล้ว
- กองทัพภาคที่ 3 สนับสนุนเฮลิคอปเตอร์ จำนวน 2 ลำ และเรือท้องแบน จำนวน 10 ลำรถบรรทุก จำนวน 38 คัน
ช่วยเหลือผู้ประสบภัย
- มูลนิธิร่วมกตัญญู สนับสนุนเรือท้องแบน จำนวน 2 ลำ ในการช่วยเหลือผู้ประสบภัย
- สภากาชาดไทย สนับสนุนเรือท้องแบน จำนวน 4 ลำ ในการช่วยเหลือผู้ประสบภัย
- เหล่ากาชาดจังหวัดน่าน แจกจ่ายอาหารข้าวกล่อง 10,000 กล่อง/น้ำดื่ม 10,000 ขวด
- กองบิน 2 จังหวัดลพบุรี ได้สนับสนุน เฮลิคอปเตอร์ 2 ลำ เรือท้องแบน 5 ลำ เข้าช่วยเหลือผู้ประสบภัย
- กระทรวงสาธารณสุข จัดส่งทีมแพทย์และเวชภัณฑ์ เข้าช่วยเหลือผู้ประสบภัย
- เทศบาลเมืองน่าน แจกจ่ายอาหาร ข้าวกล่อง จำนวน 10,000 กล่อง น้ำดื่ม 10,000 ขวด ถุงยังชีพ 500 ชุด
- กิ่งอำเภอภูเพียง แจกจ่ายอาหารข้าวกล่อง 4,000 กล่อง น้ำดื่ม 8,000 ขวด
- องค์การบริหารส่วนจังหวัดน่าน จัดส่งเรือท้องแบน จำนวน 2 ลำ รถบรรทุก 6 คัน ช่วยเหลือผู้ประสบภัย
สรุปการให้ความช่วยเหลือ
1) เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานจากทุกหน่วย จำนวน 2,000 คน (ทหาร ตชด. กรมป้องกันฯ กรมอุทยานฯ )
2) เรือท้องแบน จำนวน 46 ลำ ( กรมป้องกันฯ จำนวน 23 ลำ กองทัพภาค 3 จำนวน 10 ลำ
องค์การบริหารส่วนจังหวัด จำนวน 2 ลำ สภากาชาดไทย จำนวน 4 ลำ มูลนิธิ จำนวน 7 ลำ)
3) รถขุด จำนวน 2 คัน/รถไฟฟ้าส่องสว่าง 2 คัน/เฮลิคอปเตอร์ 4 ลำ
4) ถุงยังชีพ 2,500 ชุด ข้าวกล่อง 30,000 กล่อง/น้ำดื่ม 40,000 ขวด
5) ยารักษาโรคจากกระทรวงสาธารณสุข
6) รถยนต์บรรทุก 61 คัน และเครื่องจักรกลชุดซ่อมสร้างทาง จำนวน 4 ชุด
2. จังหวัดเชียงราย ได้เกิดฝนตกหนักต่อเนื่อง บริเวณเขารอยต่อระหว่างอำเภอเชียงแสนและกิ่งอำเภอดอยหลวง เมื่อคืนวันที่
19 สิงหาคม 2549 ทำให้เกิดน้ำป่าไหลหลากเข้าท่วมพื้นที่ 2 อำเภอ 1 กิ่งอำเภอ ดังนี้
1) กิ่งอำเภอดอยหลวง น้ำแม่บงเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมใน 3 ตำบล ได้แก่ ตำบลปงน้อย ตำบลหนองป่ากอ (หมู่ที่ 6,8) ตำบลโชคชัย
(หมู่ที่ 1,4,5,6,7,8,9,11,12) ระดับน้ำสูงประมาณ 0.30-0.50 เมตร ระดับน้ำลดลง คาดว่าใน 1-2 วันจะเข้าสู่ภาวะปกติ
2) อำเภอเชียงแสน ได้เกิดน้ำไหลบ่าจากลำน้ำแม่แอบ เข้าท่วมในพื้นที่ ตำบลบ้านแซว (หมู่ที่ 11,12,13) ระดับน้ำสูงประมาณ
0.20-0.40 เมตร มีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง
3) อำเภอแม่สาย น้ำได้เอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่หมู่บ้าน ตำบลเวียงผาคำ (หมู่ที่ 7) จำนวน 150 หลังคาเรือน ระดับน้ำสูง
0.30-0.50 เมตร คาดว่าจะเข้าสู่ภาวะปกติในวันที่ 22 สิงหาคม 2549
การให้ความช่วยเหลือ
- สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดเชียงราย สนับสนุนเรือท้องแบน จำนวน 2 ลำ ช่วยเหลือราษฎรในพื้นที่
กิ่งอำเภอดอยหลวง และหน่วยเรือรักษาความสงบเรียบร้อยตามลำแม่น้ำโขงได้นำเรือท้องแบน 2 ลำ ช่วยเหลือในพื้นที่
อำเภอเชียงแสน
- นพค.35 จังหวัดเชียงราย ได้นำเครื่องจักรกลเข้าไปเปิดเส้นทางที่มีดินไหลปิดทับเส้นทาง
- อำเภอที่ประสบภัย ร่วมกับหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ออกสำรวจความเสียหาย พร้อมนำถุงยังชีพ จำนวน 1,000 ชุด
ข้าวกล่อง 1,000 กล่อง น้ำดื่ม 100 โหล ช่วยเหลือผู้ประสบภัยในเบื้องต้นแล้ว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 22 สิงหาคม 2549--จบ--