คณะรัฐมนตรีพิจารณาการขอทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2547 โครงการแหล่งน้ำในไร่นานอกเขตชลประทาน ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ แล้วมีมติดังนี้
1. อนุมัติจ่ายค่างานให้กองทัพบกเพิ่มขึ้นตามผลการดำเนินงานจริง จำนวน 320 บ่อ เป็นเงิน 8,111,318 บาท (งบประมาณ 7,311,318 บาท เกษตรกรสมทบ 800,000 บาท) และค่าบริหารจัดการของกรมพัฒนาที่ดิน 57,600 บาท รวมเป็นเงินงบประมาณ จำนวน 7,368,918 บาท
2. อนุมัติใช้งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2548 และปี 2549 ที่กรมพัฒนาที่ดินได้รับอนุมัติแล้ว จำนวน 972,005,200 บาท หลังจากหักค่าใช้จ่ายในข้อ 1 แล้ว คงเหลืองบประมาณ 964,636,282 บาท (972,005,200 — 7,368,918 บาท) เพื่อใช้ในการขุดสระน้ำในปี 2549 ทั้งนี้ ราคางานขุดสระน้ำในไร่นาจะขออนุมัติภายในเกณฑ์ราคามาตรฐานตามที่สำนักงบประมาณกำหนด โดยเกษตรกรสมทบ 2,500 บาท/บ่อ โดยขอปรับเปลี่ยนวิธีการดำเนินงานจากเดิมที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติจากจ้างเหมาผูกพันเป็นการกระจายการจ้างเหมาลงจังหวัด
3. สำหรับแผนการขุดสระน้ำในไร่นาตามความต้องการของเกษตรกรนั้น จะขออนุมัติบรรจุในคำของบประมาณรายจ่ายประจำปีตามความจำเป็นและเหมาะสมเป็นปี ๆ ไป
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รายงานว่า
1. ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2547 กรมพัฒนาที่ดินได้ดำเนินการทำสัญญาจ้างกับกิจการร่วมค้าเอ็น แอนด์ เอ เพื่อเกษตรกร และเมื่อวันที่ 6 กันยายน 2548 ผู้รับจ้างแจ้งว่า ไม่ยินยอมขยายกำหนดยืนราคา และ ไม่อาจลงนามในสัญญาจ้างได้ เนื่องจากค่าใช้จ่ายที่ประมาณการไว้ในการเสนอราคาที่มีอัตราสูงขึ้นจากการประมาณไว้เดิมมาก โดยเฉพาะค่าน้ำมันดีเซล ซึ่งเป็นปัจจัยหลักในการทำงานทำให้ไม่อาจรับทำงานตามราคาที่เสนอไว้เดิมได้ รวมทั้ง ไม่อาจรับเงื่อนไขของสัญญาจ้างที่ไม่เป็นธรรม และมีข้อสาระสำคัญที่แก้ไขไว้ในสัญญาโดยไม่เป็นไปตามเงื่อนไขในเอกสารประกวดราคาด้วย พร้อมขอคืนหนังสือค้ำประกันซองประกวดราคา ซึ่งกรมพัฒนาที่ดินได้คืนหนังสือค้ำประกันซองไปเรียบร้อยแล้ว ต่อมานายกรัฐมนตรีได้มีบัญชาให้กองทัพบกร่วมกับกรมพัฒนาที่ดินดำเนินการขุดสระน้ำในไร่นาขนาด 1,260 ลูกบาศก์เมตร โดยเมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2548 ได้มีการลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่าง 4 หน่วยงาน คือ กองทัพบก บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และกรมพัฒนาที่ดิน โดยกระทรวงเกษตรและ สหกรณ์ได้รายงานสรุปผลการดำเนินการขุดสระน้ำและค่าใช้จ่ายของกองทัพบก ดังนี้
1.1 ผลการดำเนินงาน
เป้าหมาย 300 บ่อ ในเขตพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา และภารกิจขุดสระน้ำเพิ่มเติมในเขตพื้นที่อำเภออาจสามารถ จังหวัดร้อยเอ็ด 20 บ่อ รวม 320 บ่อ ดำเนินการแล้วเสร็จ 320 บ่อ
1.2 กองทัพบก ได้สรุปค่าใช้จ่าย ดังนี้
1.2.1 ค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติงาน 6,769,674 บาท จำแนกเป็น
1) ใช้ก๊าซ NGV ร่วมกับน้ำมันดีเซล จำนวน 89 บ่อ เป็นเงิน 2,483,998 บาท ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยบ่อละ 27,910.10 บาท
2) ใช้น้ำมันดีเซลเพียงอย่างเดียว จำนวน 231 บ่อ เป็นเงิน 4,285,676 บาท ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยบ่อละ 18,552.71 บาท
1.2.2 ค่าใช้จ่ายในการเคลื่อนย้าย 1,341,644 บาท รวมค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น 8,111,318 บาท การปฏิบัติงานโดยใช้น้ำมันดีเซลเพียงอย่างเดียวจะมีความสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายน้อยกว่าการใช้ก๊าซ NGV ร่วมกับน้ำมันดีเซล เนื่องจากราคาก๊าซเมื่อรวมค่าขนส่งถึงแหล่งงานจะมีราคาสูงมากขึ้นตามระยะทางขนส่ง รวมถึงปัญหาอุปสรรคในการขนย้ายชุดถังก๊าซ NGV เข้าพื้นที่ปฏิบัติงาน การยกเปลี่ยนถังก๊าซแต่ละครั้งต้องใช้เวลาค่อนข้างมาก ทำให้ระยะเวลาการขุดต่อบ่อมากกว่าการใช้น้ำมันดีเซลเพียงอย่างเดียว
2. งบประมาณขุดสระน้ำในไร่นาที่กรมพัฒนาที่ดินได้รับจัดสรรแล้ว ในปี 2548 — 2549 จำนวน 150,000 บ่อ วงเงิน 972,005,200 บาท จำแนกเป็น
ปี 2548 จำนวน 92,454 บ่อ งบประมาณ 599,107,200 บาท
ปี 2549 จำนวน 57,546 บ่อ งบประมาณ 372,898,000 บาท
3. สรุปค่าใช้จ่ายในการขุดสระน้ำที่ดำเนินการแล้ว 320 บ่อ รวม 8,168,918 บาท จำแนกเป็น
3.1 ค่าใช้จ่ายของกองทัพบก 8,111,318 บาท จำแนกแหล่งเงินจาก 2 แหล่ง คือ
3.1.1 เบิกจ่ายจากงบประมาณขุดสระน้ำในไร่นา จำนวน 7,311,318 บาท โดยกรมพัฒนาที่ดินจะอนุมัติให้กองทัพบกเบิกจ่ายตามราคาเดิมบ่อละ 6,300 บาท (เงินงบประมาณบ่อละ 6,480 บาท ค่าบริหารจัดการของกรมพัฒนาที่ดิน 180 บาท) เป็นเงินงบประมาณ 2,016,000 บาท ไปก่อน ส่วนที่เหลือ 5,295,318 บาท ซึ่งหากคณะรัฐมนตรีอนุมัติกรมพัฒนาที่ดินจะเบิกจ่ายให้กองทัพบกเพิ่มเติมภายหลัง
3.1.2 เบิกจ่ายจากเงินเกษตรกรสมทบ บ่อละ 2,500 บาท เป็นเงิน 800,000 บาท ซึ่งขณะนี้กองทัพบกได้เบิกจ่ายไปทั้งหมดเรียบร้อยแล้ว
3.2 ค่าบริหารจัดการของกรมพัฒนาที่ดิน บ่อละ 180 บาท เป็นเงิน 57,600 บาท
สรุปเงินงบประมาณที่ใช้ในการขุดสระน้ำ 320 บ่อ เป็นเงิน 7,368,918 บาท
4. สรุปคงเหลืองบประมาณจากข้อ 2 และข้อ 3 จำนวน 964,636,282 บาท (972,005,200 — 7,368,918 บาท)
ดังนั้น เพื่อให้การปฏิบัติงานขุดสระน้ำในไร่นาสามารถดำเนินการได้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กรมพัฒนาที่ดิน) จึงขอปรับราคาและปรับแผนการดำเนินงานเกษตรกรสมทบ 2,500 บาทเท่าเดิม โดยเสนอขอปรับราคาตามราคามาตรฐานที่สำนักงบประมาณกำหนด
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 1 สิงหาคม 2549--จบ--
1. อนุมัติจ่ายค่างานให้กองทัพบกเพิ่มขึ้นตามผลการดำเนินงานจริง จำนวน 320 บ่อ เป็นเงิน 8,111,318 บาท (งบประมาณ 7,311,318 บาท เกษตรกรสมทบ 800,000 บาท) และค่าบริหารจัดการของกรมพัฒนาที่ดิน 57,600 บาท รวมเป็นเงินงบประมาณ จำนวน 7,368,918 บาท
2. อนุมัติใช้งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2548 และปี 2549 ที่กรมพัฒนาที่ดินได้รับอนุมัติแล้ว จำนวน 972,005,200 บาท หลังจากหักค่าใช้จ่ายในข้อ 1 แล้ว คงเหลืองบประมาณ 964,636,282 บาท (972,005,200 — 7,368,918 บาท) เพื่อใช้ในการขุดสระน้ำในปี 2549 ทั้งนี้ ราคางานขุดสระน้ำในไร่นาจะขออนุมัติภายในเกณฑ์ราคามาตรฐานตามที่สำนักงบประมาณกำหนด โดยเกษตรกรสมทบ 2,500 บาท/บ่อ โดยขอปรับเปลี่ยนวิธีการดำเนินงานจากเดิมที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติจากจ้างเหมาผูกพันเป็นการกระจายการจ้างเหมาลงจังหวัด
3. สำหรับแผนการขุดสระน้ำในไร่นาตามความต้องการของเกษตรกรนั้น จะขออนุมัติบรรจุในคำของบประมาณรายจ่ายประจำปีตามความจำเป็นและเหมาะสมเป็นปี ๆ ไป
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รายงานว่า
1. ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2547 กรมพัฒนาที่ดินได้ดำเนินการทำสัญญาจ้างกับกิจการร่วมค้าเอ็น แอนด์ เอ เพื่อเกษตรกร และเมื่อวันที่ 6 กันยายน 2548 ผู้รับจ้างแจ้งว่า ไม่ยินยอมขยายกำหนดยืนราคา และ ไม่อาจลงนามในสัญญาจ้างได้ เนื่องจากค่าใช้จ่ายที่ประมาณการไว้ในการเสนอราคาที่มีอัตราสูงขึ้นจากการประมาณไว้เดิมมาก โดยเฉพาะค่าน้ำมันดีเซล ซึ่งเป็นปัจจัยหลักในการทำงานทำให้ไม่อาจรับทำงานตามราคาที่เสนอไว้เดิมได้ รวมทั้ง ไม่อาจรับเงื่อนไขของสัญญาจ้างที่ไม่เป็นธรรม และมีข้อสาระสำคัญที่แก้ไขไว้ในสัญญาโดยไม่เป็นไปตามเงื่อนไขในเอกสารประกวดราคาด้วย พร้อมขอคืนหนังสือค้ำประกันซองประกวดราคา ซึ่งกรมพัฒนาที่ดินได้คืนหนังสือค้ำประกันซองไปเรียบร้อยแล้ว ต่อมานายกรัฐมนตรีได้มีบัญชาให้กองทัพบกร่วมกับกรมพัฒนาที่ดินดำเนินการขุดสระน้ำในไร่นาขนาด 1,260 ลูกบาศก์เมตร โดยเมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2548 ได้มีการลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่าง 4 หน่วยงาน คือ กองทัพบก บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และกรมพัฒนาที่ดิน โดยกระทรวงเกษตรและ สหกรณ์ได้รายงานสรุปผลการดำเนินการขุดสระน้ำและค่าใช้จ่ายของกองทัพบก ดังนี้
1.1 ผลการดำเนินงาน
เป้าหมาย 300 บ่อ ในเขตพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา และภารกิจขุดสระน้ำเพิ่มเติมในเขตพื้นที่อำเภออาจสามารถ จังหวัดร้อยเอ็ด 20 บ่อ รวม 320 บ่อ ดำเนินการแล้วเสร็จ 320 บ่อ
1.2 กองทัพบก ได้สรุปค่าใช้จ่าย ดังนี้
1.2.1 ค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติงาน 6,769,674 บาท จำแนกเป็น
1) ใช้ก๊าซ NGV ร่วมกับน้ำมันดีเซล จำนวน 89 บ่อ เป็นเงิน 2,483,998 บาท ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยบ่อละ 27,910.10 บาท
2) ใช้น้ำมันดีเซลเพียงอย่างเดียว จำนวน 231 บ่อ เป็นเงิน 4,285,676 บาท ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยบ่อละ 18,552.71 บาท
1.2.2 ค่าใช้จ่ายในการเคลื่อนย้าย 1,341,644 บาท รวมค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น 8,111,318 บาท การปฏิบัติงานโดยใช้น้ำมันดีเซลเพียงอย่างเดียวจะมีความสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายน้อยกว่าการใช้ก๊าซ NGV ร่วมกับน้ำมันดีเซล เนื่องจากราคาก๊าซเมื่อรวมค่าขนส่งถึงแหล่งงานจะมีราคาสูงมากขึ้นตามระยะทางขนส่ง รวมถึงปัญหาอุปสรรคในการขนย้ายชุดถังก๊าซ NGV เข้าพื้นที่ปฏิบัติงาน การยกเปลี่ยนถังก๊าซแต่ละครั้งต้องใช้เวลาค่อนข้างมาก ทำให้ระยะเวลาการขุดต่อบ่อมากกว่าการใช้น้ำมันดีเซลเพียงอย่างเดียว
2. งบประมาณขุดสระน้ำในไร่นาที่กรมพัฒนาที่ดินได้รับจัดสรรแล้ว ในปี 2548 — 2549 จำนวน 150,000 บ่อ วงเงิน 972,005,200 บาท จำแนกเป็น
ปี 2548 จำนวน 92,454 บ่อ งบประมาณ 599,107,200 บาท
ปี 2549 จำนวน 57,546 บ่อ งบประมาณ 372,898,000 บาท
3. สรุปค่าใช้จ่ายในการขุดสระน้ำที่ดำเนินการแล้ว 320 บ่อ รวม 8,168,918 บาท จำแนกเป็น
3.1 ค่าใช้จ่ายของกองทัพบก 8,111,318 บาท จำแนกแหล่งเงินจาก 2 แหล่ง คือ
3.1.1 เบิกจ่ายจากงบประมาณขุดสระน้ำในไร่นา จำนวน 7,311,318 บาท โดยกรมพัฒนาที่ดินจะอนุมัติให้กองทัพบกเบิกจ่ายตามราคาเดิมบ่อละ 6,300 บาท (เงินงบประมาณบ่อละ 6,480 บาท ค่าบริหารจัดการของกรมพัฒนาที่ดิน 180 บาท) เป็นเงินงบประมาณ 2,016,000 บาท ไปก่อน ส่วนที่เหลือ 5,295,318 บาท ซึ่งหากคณะรัฐมนตรีอนุมัติกรมพัฒนาที่ดินจะเบิกจ่ายให้กองทัพบกเพิ่มเติมภายหลัง
3.1.2 เบิกจ่ายจากเงินเกษตรกรสมทบ บ่อละ 2,500 บาท เป็นเงิน 800,000 บาท ซึ่งขณะนี้กองทัพบกได้เบิกจ่ายไปทั้งหมดเรียบร้อยแล้ว
3.2 ค่าบริหารจัดการของกรมพัฒนาที่ดิน บ่อละ 180 บาท เป็นเงิน 57,600 บาท
สรุปเงินงบประมาณที่ใช้ในการขุดสระน้ำ 320 บ่อ เป็นเงิน 7,368,918 บาท
4. สรุปคงเหลืองบประมาณจากข้อ 2 และข้อ 3 จำนวน 964,636,282 บาท (972,005,200 — 7,368,918 บาท)
ดังนั้น เพื่อให้การปฏิบัติงานขุดสระน้ำในไร่นาสามารถดำเนินการได้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กรมพัฒนาที่ดิน) จึงขอปรับราคาและปรับแผนการดำเนินงานเกษตรกรสมทบ 2,500 บาทเท่าเดิม โดยเสนอขอปรับราคาตามราคามาตรฐานที่สำนักงบประมาณกำหนด
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 1 สิงหาคม 2549--จบ--