4.3 ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ และลงนามในประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับการมีพระบรมราชโองการในเรื่องตามข้อ 4.1 — 4.2 เว้นแต่กรณีที่ระบุยกเว้นในข้อ 1.6
ส่วนที่ 6
1. รองนายกรัฐมนตรีที่กำกับการบริหารราชการส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน หรือหน่วยงานของรัฐ ย่อมมีอำนาจให้ความเห็นชอบและลงนามในประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี หรือประกาศเกี่ยวกับเรื่องของหน่วยงานนั้น ๆ ดังนี้
1.1 การแต่งตั้งบุคคลหรือกรรมการในหน่วยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจ
1.2 การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์แก่ชาวต่างประเทศ ยกเว้นเป็นเรื่องระดับผู้นำรัฐบาลหรือประมุขของรัฐต่างประเทศ
1.3 การให้ความเห็นชอบในการรับเครื่องราชอิสริยาภรณ์หรือเหรียญตราจากต่างประเทศ
1.4 การประกาศภาพเครื่องหมายราชการ
2. ราชการที่รองนายกรัฐมนตรีได้รับมอบหมายและมอบอำนาจตามคำสั่งนี้หากรองนายกรัฐมนตรีพิจารณาเห็นว่าเป็นเรื่องสำคัญ และอาจมีผลกระทบต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนเป็นส่วนรวม หรือต้องสั่งการแก่หลายส่วนราชการหรือหลายรัฐวิสาหกิจ แต่บางส่วนมิได้อยู่ในอำนาจหน้าที่กำกับการบริหารราชการของรองนายกรัฐมนตรีผู้หนึ่งผู้ใดโดยตรง ให้นำเสนอนายกรัฐมนตรีเพื่อวินิจฉัยสั่งการ
3. เมื่อรองนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีได้ดำเนินการตามที่ได้รับมอบหมายและมอบอำนาจแล้ว ให้รายงานนายกรัฐมนตรีทราบทุกสามสิบวัน
4. การปฏิบัติหน้าที่ตามที่มอบหมายและมอบอำนาจตามคำสั่งนี้ให้รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรียึดหลักการปฏิบัติงานในระบบการบริหารงานแบบบูรณาการระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง การประสานการปฏิบัติราชการเพื่อให้มีประสิทธิภาพและบังเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประเทศชาติและประชาชน โดยมีกรอบแนวทางในการปฏิบัติราชการใน 4 ประเด็นหลัก ได้แก่ การทำงานด้วยความโปร่งใส มีความเป็นธรรม มีประสิทธิภาพและประหยัด รวมทั้งการส่งเสริมในเรื่องคุณธรรมนำความรู้ และการส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพประชากรในทางสังคมและรักษาความเป็นระเบียบเรียบร้อยในทางการเมืองการปกครอง
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 13 ตุลาคม 2549 เป็นต้นไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 17 ตุลาคม 2549--จบ--
ส่วนที่ 6
1. รองนายกรัฐมนตรีที่กำกับการบริหารราชการส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน หรือหน่วยงานของรัฐ ย่อมมีอำนาจให้ความเห็นชอบและลงนามในประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี หรือประกาศเกี่ยวกับเรื่องของหน่วยงานนั้น ๆ ดังนี้
1.1 การแต่งตั้งบุคคลหรือกรรมการในหน่วยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจ
1.2 การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์แก่ชาวต่างประเทศ ยกเว้นเป็นเรื่องระดับผู้นำรัฐบาลหรือประมุขของรัฐต่างประเทศ
1.3 การให้ความเห็นชอบในการรับเครื่องราชอิสริยาภรณ์หรือเหรียญตราจากต่างประเทศ
1.4 การประกาศภาพเครื่องหมายราชการ
2. ราชการที่รองนายกรัฐมนตรีได้รับมอบหมายและมอบอำนาจตามคำสั่งนี้หากรองนายกรัฐมนตรีพิจารณาเห็นว่าเป็นเรื่องสำคัญ และอาจมีผลกระทบต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนเป็นส่วนรวม หรือต้องสั่งการแก่หลายส่วนราชการหรือหลายรัฐวิสาหกิจ แต่บางส่วนมิได้อยู่ในอำนาจหน้าที่กำกับการบริหารราชการของรองนายกรัฐมนตรีผู้หนึ่งผู้ใดโดยตรง ให้นำเสนอนายกรัฐมนตรีเพื่อวินิจฉัยสั่งการ
3. เมื่อรองนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีได้ดำเนินการตามที่ได้รับมอบหมายและมอบอำนาจแล้ว ให้รายงานนายกรัฐมนตรีทราบทุกสามสิบวัน
4. การปฏิบัติหน้าที่ตามที่มอบหมายและมอบอำนาจตามคำสั่งนี้ให้รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรียึดหลักการปฏิบัติงานในระบบการบริหารงานแบบบูรณาการระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง การประสานการปฏิบัติราชการเพื่อให้มีประสิทธิภาพและบังเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประเทศชาติและประชาชน โดยมีกรอบแนวทางในการปฏิบัติราชการใน 4 ประเด็นหลัก ได้แก่ การทำงานด้วยความโปร่งใส มีความเป็นธรรม มีประสิทธิภาพและประหยัด รวมทั้งการส่งเสริมในเรื่องคุณธรรมนำความรู้ และการส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพประชากรในทางสังคมและรักษาความเป็นระเบียบเรียบร้อยในทางการเมืองการปกครอง
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 13 ตุลาคม 2549 เป็นต้นไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 17 ตุลาคม 2549--จบ--