แท็ก
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม
สนามบินสุวรรณภูมิ
กรมควบคุมมลพิษ
คณะรัฐมนตรี
คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รายงานการดำเนินงานและมาตรการจัดการปัญหามลพิษทางเสียงจากสนามบินสุวรรณภูมิ ดังนี้
1. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดย กรมควบคุมมลพิษ และกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม ดำเนินการติดตามตรวจสอบสถานการณ์การบินและระดับเสียง จำนวน 11 จุด ระหว่างวันที่ 4-10 ตุลาคม 2549 มีผลสรุปว่า มีจำนวนเที่ยวบิน 698-769 เที่ยว/วัน การร่อนลงใช้ทางวิ่งทิศเหนือโดยใช้ทางวิ่งทิศตะวันตก ร้อยละ 96.5-99.4 ทางวิ่งตะวันออกร้อยละ 0.6-3.5 ภายหลังเปิดสนามบินระดับเสียงเฉลี่ย 24 ชั่วโมง บางจุดมีค่าเกินมาตรฐาน 70 เดซิเบลเอ โดยมีค่าเพิ่มขึ้นจากก่อนการเปิดใช้สนามบิน 3.0-20.0 เดซิเบลเอ ระดับเสียงขณะที่เครื่องบิน บินผ่านเหนือบ้านที่อยู่ใกล้กับสนามบินมีค่าสูงสุดถึง 99.7 เดซิเบลเอ และระดับการรบกวนทุกจุดมีค่าเกินมาตรฐาน 10 เดซิเบลเอ
2. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดย กรมควบคุมมลพิษ และกรมส่งเสริมคุณภาพ สิ่งแวดล้อม ร่วมกับบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ดำเนินการทดสอบมาตรการที่คาดว่าจะช่วยบรรเทาปัญหามลพิษทางเสียงจากการใช้สนามบินสุวรรณภูมิ ในระหว่างวันที่ 16-19 ตุลาคม 2549 ซึ่งมีจำนวนเที่ยวบินในช่วงดังกล่าวอยู่ระหว่าง 724-760 เที่ยว/วัน โดยได้ดำเนินการเฉลี่ยการบินลงทางทิศเหนือโดยใช้ทางวิ่งทิศตะวันออกมากขึ้นเพื่อบรรเทาปัญหาแก่ชุมชนบริเวณทางวิ่งทิศตะวันตก โดยได้มีการใช้ทางวิ่งทิศตุวันออกมากขึ้นเพื่อบรรเทาปัญหาแก่ชุมชนบริเวณทางวิ่งทิศตะวันตก โดยได้มีการใช้ทางวิ่งทิศตะวันตกร้อยละ 91.6-95 และใช้ทางวิ่งตะวันออกร้อยละ 5-8.4 และทดสอบวิธีการบินขึ้นแบบ NADP1 (Noise Abatement Departure Procedure1) ซึ่งเป็นวิธีการบินขึ้นที่มีการไต่ระดับความสูงอย่างรวดเร็วหลังจากที่เครื่องบินขึ้นจากทางวิ่ง เหมาะสำหรับการลดระดับเสียงที่อาจเกิดกับชุมชนที่อยู่ใกล้กับสนามบินพบว่าสามารถบรรเทาปัญหาด้านเสียงได้ในระดับหนึ่ง โดยวิธีการบินขึ้นแบบ NADP1 จะทำให้ระดับเสียงเฉลี่ย 24 ชั่วโมง ลดลงประมาณ 1-3 เดซิเบลเอ นอกจากนี้ จากการประเมินค่า NEF (Noise Exposure Forecast) ด้วยการจำลองสถานการณ์การบินโดยใช้จำนวนเที่ยวบิน 760 เที่ยว ผลการประเมินพบว่าการลดการใช้ทางวิ่งฝั่งตะวันตกในการบินลง จะสามารถบรรเทาปัญหาผลกระทบทางเสียงบริเวณชุมชนที่อยู่ใต้เส้นทางการบินได้ในระดับหนึ่ง โดยที่จะไม่ก่อให้เกิดปัญหากับชุมชนบริเวณทางวิ่งทิศตะวันออกเพิ่มขึ้นมากนัก ทั้งนี้อัตราส่วนที่เหมาะสมคือ การบินลงฝั่งตะวันตก : ฝั่งตะวันออก ร้อยละ 85 : 15 และในทางกลับกันในการบินขึ้นฝั่งตะวันตก : ฝั่งตะวันออก ร้อยละ 15 : 85
3. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดย กรมควบคุมมลพิษ และกรมส่งเสริมคุณภาพ สิ่งแวดล้อม ได้ประชุมกับบริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) และสมาคมนักบินไทย เมื่อวันที่ 24 และ 27 ตุลาคม 2549 เพื่อกำหนดบริเวณที่อาจ ได้รับผลกระทบจากเสียง และกำหนดวิธีการบินที่จะหลีกเลี่ยงชุมชนโดยดำเนินการประกาศให้สายการบินใช้ปฏิบัติ
4. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดย สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้เข้าร่วมประชุมคณะทำงานพิจารณากำหนดแนวทางการดำเนินการจ่ายค่าจัดซื้อที่ดินและค่าชดเชยให้แก่ผู้ที่ได้รับผลกระทบด้านเสียงเนื่องจากการดำเนินงานของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2549 ซึ่งที่ประชุมมีมติให้นำเรื่องการจ่ายค่าจัดซื้อที่ดินบริเวณแนวเขตเส้น NEF มากกว่า 40 ซึ่งในเบื้องต้นมีสิ่งปลูกสร้างก่อนปี 2544 จำนวน 108 หลัง และสำรวจเสร็จแล้ว 71 หลัง โดยจะใช้งบประมาณจัดซื้อ (71 หลัง) 389.8 ล้านบาท เพื่อขออนุมัติการจัดซื้อที่ดินและสิ่งก่อสร้างดังกล่าวจากที่ประชุมคณะกรรมการบริหารของบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) โดยเร่งด่วนต่อไป
5. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดย กรมควบคุมมลพิษ ได้จัดประชุมร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อติดตามความก้าวหน้าการจัดการปัญหามลพิษทางเสียงจากสนามบินสุวรรณภูมิ เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2549 โดยได้นำเสนอผลการติดตามตรวจสอบสถานการณ์การบินและผลการทดสอบมาตรการที่คาดว่า จะช่วยบรรเทาปัญหามลพิษทางเสียงจากการใช้สนามบินสุวรรณภูมิ ในระหว่างวันที่ 16-19 ตุลาคม 2549 และเสนอมาตรการจัดการปัญหามลพิษทางเสียงจากสนามบินสุวรรณภูมิ ได้แก่ การจำกัดประเภทของเครื่องบิน การกำหนดวิธีการบิน การโยกย้ายและการจ่ายค่าชดเชยให้แก่ผู้ได้รับผลกระทบ และมาตรการจัดการอื่น ๆ ซึ่งที่ประชุมได้ร่วมกันพิจารณาและให้ความเห็นชอบ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 14 พฤศจิกายน 2549--จบ--
1. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดย กรมควบคุมมลพิษ และกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม ดำเนินการติดตามตรวจสอบสถานการณ์การบินและระดับเสียง จำนวน 11 จุด ระหว่างวันที่ 4-10 ตุลาคม 2549 มีผลสรุปว่า มีจำนวนเที่ยวบิน 698-769 เที่ยว/วัน การร่อนลงใช้ทางวิ่งทิศเหนือโดยใช้ทางวิ่งทิศตะวันตก ร้อยละ 96.5-99.4 ทางวิ่งตะวันออกร้อยละ 0.6-3.5 ภายหลังเปิดสนามบินระดับเสียงเฉลี่ย 24 ชั่วโมง บางจุดมีค่าเกินมาตรฐาน 70 เดซิเบลเอ โดยมีค่าเพิ่มขึ้นจากก่อนการเปิดใช้สนามบิน 3.0-20.0 เดซิเบลเอ ระดับเสียงขณะที่เครื่องบิน บินผ่านเหนือบ้านที่อยู่ใกล้กับสนามบินมีค่าสูงสุดถึง 99.7 เดซิเบลเอ และระดับการรบกวนทุกจุดมีค่าเกินมาตรฐาน 10 เดซิเบลเอ
2. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดย กรมควบคุมมลพิษ และกรมส่งเสริมคุณภาพ สิ่งแวดล้อม ร่วมกับบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ดำเนินการทดสอบมาตรการที่คาดว่าจะช่วยบรรเทาปัญหามลพิษทางเสียงจากการใช้สนามบินสุวรรณภูมิ ในระหว่างวันที่ 16-19 ตุลาคม 2549 ซึ่งมีจำนวนเที่ยวบินในช่วงดังกล่าวอยู่ระหว่าง 724-760 เที่ยว/วัน โดยได้ดำเนินการเฉลี่ยการบินลงทางทิศเหนือโดยใช้ทางวิ่งทิศตะวันออกมากขึ้นเพื่อบรรเทาปัญหาแก่ชุมชนบริเวณทางวิ่งทิศตะวันตก โดยได้มีการใช้ทางวิ่งทิศตุวันออกมากขึ้นเพื่อบรรเทาปัญหาแก่ชุมชนบริเวณทางวิ่งทิศตะวันตก โดยได้มีการใช้ทางวิ่งทิศตะวันตกร้อยละ 91.6-95 และใช้ทางวิ่งตะวันออกร้อยละ 5-8.4 และทดสอบวิธีการบินขึ้นแบบ NADP1 (Noise Abatement Departure Procedure1) ซึ่งเป็นวิธีการบินขึ้นที่มีการไต่ระดับความสูงอย่างรวดเร็วหลังจากที่เครื่องบินขึ้นจากทางวิ่ง เหมาะสำหรับการลดระดับเสียงที่อาจเกิดกับชุมชนที่อยู่ใกล้กับสนามบินพบว่าสามารถบรรเทาปัญหาด้านเสียงได้ในระดับหนึ่ง โดยวิธีการบินขึ้นแบบ NADP1 จะทำให้ระดับเสียงเฉลี่ย 24 ชั่วโมง ลดลงประมาณ 1-3 เดซิเบลเอ นอกจากนี้ จากการประเมินค่า NEF (Noise Exposure Forecast) ด้วยการจำลองสถานการณ์การบินโดยใช้จำนวนเที่ยวบิน 760 เที่ยว ผลการประเมินพบว่าการลดการใช้ทางวิ่งฝั่งตะวันตกในการบินลง จะสามารถบรรเทาปัญหาผลกระทบทางเสียงบริเวณชุมชนที่อยู่ใต้เส้นทางการบินได้ในระดับหนึ่ง โดยที่จะไม่ก่อให้เกิดปัญหากับชุมชนบริเวณทางวิ่งทิศตะวันออกเพิ่มขึ้นมากนัก ทั้งนี้อัตราส่วนที่เหมาะสมคือ การบินลงฝั่งตะวันตก : ฝั่งตะวันออก ร้อยละ 85 : 15 และในทางกลับกันในการบินขึ้นฝั่งตะวันตก : ฝั่งตะวันออก ร้อยละ 15 : 85
3. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดย กรมควบคุมมลพิษ และกรมส่งเสริมคุณภาพ สิ่งแวดล้อม ได้ประชุมกับบริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) และสมาคมนักบินไทย เมื่อวันที่ 24 และ 27 ตุลาคม 2549 เพื่อกำหนดบริเวณที่อาจ ได้รับผลกระทบจากเสียง และกำหนดวิธีการบินที่จะหลีกเลี่ยงชุมชนโดยดำเนินการประกาศให้สายการบินใช้ปฏิบัติ
4. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดย สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้เข้าร่วมประชุมคณะทำงานพิจารณากำหนดแนวทางการดำเนินการจ่ายค่าจัดซื้อที่ดินและค่าชดเชยให้แก่ผู้ที่ได้รับผลกระทบด้านเสียงเนื่องจากการดำเนินงานของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2549 ซึ่งที่ประชุมมีมติให้นำเรื่องการจ่ายค่าจัดซื้อที่ดินบริเวณแนวเขตเส้น NEF มากกว่า 40 ซึ่งในเบื้องต้นมีสิ่งปลูกสร้างก่อนปี 2544 จำนวน 108 หลัง และสำรวจเสร็จแล้ว 71 หลัง โดยจะใช้งบประมาณจัดซื้อ (71 หลัง) 389.8 ล้านบาท เพื่อขออนุมัติการจัดซื้อที่ดินและสิ่งก่อสร้างดังกล่าวจากที่ประชุมคณะกรรมการบริหารของบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) โดยเร่งด่วนต่อไป
5. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดย กรมควบคุมมลพิษ ได้จัดประชุมร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อติดตามความก้าวหน้าการจัดการปัญหามลพิษทางเสียงจากสนามบินสุวรรณภูมิ เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2549 โดยได้นำเสนอผลการติดตามตรวจสอบสถานการณ์การบินและผลการทดสอบมาตรการที่คาดว่า จะช่วยบรรเทาปัญหามลพิษทางเสียงจากการใช้สนามบินสุวรรณภูมิ ในระหว่างวันที่ 16-19 ตุลาคม 2549 และเสนอมาตรการจัดการปัญหามลพิษทางเสียงจากสนามบินสุวรรณภูมิ ได้แก่ การจำกัดประเภทของเครื่องบิน การกำหนดวิธีการบิน การโยกย้ายและการจ่ายค่าชดเชยให้แก่ผู้ได้รับผลกระทบ และมาตรการจัดการอื่น ๆ ซึ่งที่ประชุมได้ร่วมกันพิจารณาและให้ความเห็นชอบ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 14 พฤศจิกายน 2549--จบ--