คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงมหาดไทยรายงานการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบกรณีเจ้าหนี้เป็นผู้มีอิทธิพล ซึ่งกระทรวงมหาดไทยได้ดำเนินการฝึกอบรมทีมงานบริหารจัดการการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบระดับจังหวัด เพื่อชี้แจงแนวทางและมาตรการในการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบให้ข้าราชการในส่วนภูมิภาคได้รับทราบและเข้าใจถึงบทบาทอำนาจหน้าที่การดำเนินงานในการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ โดยได้ดำเนินการจัดฝึกอบรม เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2549 ณ โรงแรมรามาการ์เด้นส์ และกระทรวงมหาดไทยได้สรุปนโยบาย มาตรการและแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัด ได้รับทราบและถือปฏิบัติ ดังนี้
1. นโยบาย
1.1 ในพื้นที่รับผิดชอบจะต้องไม่ให้มีเจ้าหนี้หรือนายทุนเงินกู้ที่มีพฤติการณ์เข้าข่ายเป็นผู้มีอิทธิพลโดยเด็ดขาด
1.2 สอดส่องดูแลไม่ให้มีการทำสัญญาเงินกู้ที่ระบุมูลหนี้ไม่ตรงกับความเป็นจริง
1.3 ใช้หลักเมตตาธรรม เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย ควบคู่กับการบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจังหากไม่ได้รับความร่วมมือจากเจ้าหนี้
2. มาตรการ
2.1 ใช้หลักประนีประนอม ดำเนินการเจรจาเพื่อขอความร่วมมือกับเจ้าหนี้เป็นลำดับแรกให้หยุดพฤติการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ ให้เลิกการเอารัดเอาเปรียบผู้ด้อยโอกาสกว่า โดยให้มีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยไม่ให้เกินกว่าที่กฎหมายกำหนด กล่าวคือต้องไม่เกินกว่าร้อยละ 15 ต่อปี และมีมูลค่าหนี้ตรงตามที่มีการกู้เงินกันอย่างแท้จริง
2.2 ใช้มาตรการทางกฎหมายอย่างเด็ดขาดกับเจ้าหนี้หรือนายทุนเงินกู้นอกระบบที่ไม่ให้ความร่วมมือกับทางราชการ และยังคงมีพฤติการณ์เข้าข่ายเป็นผู้มีอิทธิพล หรือทำการฉ้อฉล ฉ้อโกง และเอารัดเอาเปรียบประชาชน โดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายเกี่ยวกับภาษี กฎหมายเกี่ยวกับการยึดทรัพย์ และการดำเนินคดี
3. แนวทางการปฏิบัติ ในการนำนโยบายและมาตรการดังกล่าวไปปฏิบัติให้ประสบผลสำเร็จตามเป้าหมายได้ จังหวัดจะต้องทำการประชาสัมพันธ์อย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะกับกลุ่มบุคคลเป้าหมายดังต่อไปนี้
3.1 กรณีเจ้าหนี้ผู้มีอิทธิพล ให้จังหวัดขอความร่วมมือโดยเชิญเจ้าหนี้ผู้มีอิทธิพลมาเจรจาให้ยุติพฤติการณ์ที่ผิดกฎหมายไม่ว่าจะเป็นการเรียกเก็บดอกเบี้ยเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด การใช้กำลังข่มขู่ การทำสัญญาเงินกู้เป็นเท็จ การเอารัดเอาเปรียบลูกหนี้และกดดันให้เลิกพฤติการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ดังกล่าว หากเจ้าหนี้ไม่ให้ความร่วมมือให้ใช้มาตรการทางกฎหมายอย่างเฉียบขาด กรณีที่ไม่สามารถแก้ไขปัญหาในระดับพื้นที่ได้หรือกรณีคาบเกี่ยวกับหลายจังหวัด ให้รายงานศูนย์อำนวยการต่อสู้เพื่อเอาชนะความยากจน กระทรวงมหาดไทย เพื่อให้คณะทำงานจากส่วนกลางเข้าไปสนับสนุนการทำงานของจังหวัดอีกทางหนึ่ง
3.2 กรณีลูกหนี้ ให้จังหวัดเร่งประชาสัมพันธ์ทำความเข้าใจกับลูกหนี้ให้เกิดความเชื่อมั่นว่าทางราชการจะสามารถดูแลและรักษาความปลอดภัยทั้งทางด้านร่างกายและทรัพย์สิน เพื่อที่ลูกหนี้จะให้ความร่วมมือกับทางราชการในการให้เบาะแสพฤติกรรมของเจ้าหนี้ผู้มีอิทธิพล นอกจากนี้ จะต้องส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญและประโยชน์ของการจัดทำบัญชีครัวเรือน เพื่อแสดงให้เห็นถึงรายรับ-รายจ่ายของตน แล้วนำไปใช้ฟื้นฟูศักยภาพในครัวเรือนของตน โดยกระบวนการ ลด ละ เลิกอบายมุขและน้อมนำเอาปรัชญาพระราชทาน “เศรษฐกิจพอเพียง” ไปใช้ในการดำเนิน ชีวิตประจำวัน
3.3 กรณีเจ้าหน้าที่ของรัฐ ให้จังหวัดกำชับข้าราชการในพื้นที่ไม่ให้มีพฤติการณ์สนับสนุนหรือมีส่วนเกี่ยวข้องกับเจ้าหนี้ผู้มีอิทธิพลอย่างเด็ดขาด หากปรากฏว่ามีส่วนเกี่ยวข้องหรือให้การสนับสนุนเจ้าหนี้ผู้มีอิทธิพลให้ถือว่าข้าราชการดังกล่าวกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงและต้องมีการลงโทษอย่างเฉียบขาด
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2549--จบ--
1. นโยบาย
1.1 ในพื้นที่รับผิดชอบจะต้องไม่ให้มีเจ้าหนี้หรือนายทุนเงินกู้ที่มีพฤติการณ์เข้าข่ายเป็นผู้มีอิทธิพลโดยเด็ดขาด
1.2 สอดส่องดูแลไม่ให้มีการทำสัญญาเงินกู้ที่ระบุมูลหนี้ไม่ตรงกับความเป็นจริง
1.3 ใช้หลักเมตตาธรรม เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย ควบคู่กับการบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจังหากไม่ได้รับความร่วมมือจากเจ้าหนี้
2. มาตรการ
2.1 ใช้หลักประนีประนอม ดำเนินการเจรจาเพื่อขอความร่วมมือกับเจ้าหนี้เป็นลำดับแรกให้หยุดพฤติการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ ให้เลิกการเอารัดเอาเปรียบผู้ด้อยโอกาสกว่า โดยให้มีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยไม่ให้เกินกว่าที่กฎหมายกำหนด กล่าวคือต้องไม่เกินกว่าร้อยละ 15 ต่อปี และมีมูลค่าหนี้ตรงตามที่มีการกู้เงินกันอย่างแท้จริง
2.2 ใช้มาตรการทางกฎหมายอย่างเด็ดขาดกับเจ้าหนี้หรือนายทุนเงินกู้นอกระบบที่ไม่ให้ความร่วมมือกับทางราชการ และยังคงมีพฤติการณ์เข้าข่ายเป็นผู้มีอิทธิพล หรือทำการฉ้อฉล ฉ้อโกง และเอารัดเอาเปรียบประชาชน โดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายเกี่ยวกับภาษี กฎหมายเกี่ยวกับการยึดทรัพย์ และการดำเนินคดี
3. แนวทางการปฏิบัติ ในการนำนโยบายและมาตรการดังกล่าวไปปฏิบัติให้ประสบผลสำเร็จตามเป้าหมายได้ จังหวัดจะต้องทำการประชาสัมพันธ์อย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะกับกลุ่มบุคคลเป้าหมายดังต่อไปนี้
3.1 กรณีเจ้าหนี้ผู้มีอิทธิพล ให้จังหวัดขอความร่วมมือโดยเชิญเจ้าหนี้ผู้มีอิทธิพลมาเจรจาให้ยุติพฤติการณ์ที่ผิดกฎหมายไม่ว่าจะเป็นการเรียกเก็บดอกเบี้ยเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด การใช้กำลังข่มขู่ การทำสัญญาเงินกู้เป็นเท็จ การเอารัดเอาเปรียบลูกหนี้และกดดันให้เลิกพฤติการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ดังกล่าว หากเจ้าหนี้ไม่ให้ความร่วมมือให้ใช้มาตรการทางกฎหมายอย่างเฉียบขาด กรณีที่ไม่สามารถแก้ไขปัญหาในระดับพื้นที่ได้หรือกรณีคาบเกี่ยวกับหลายจังหวัด ให้รายงานศูนย์อำนวยการต่อสู้เพื่อเอาชนะความยากจน กระทรวงมหาดไทย เพื่อให้คณะทำงานจากส่วนกลางเข้าไปสนับสนุนการทำงานของจังหวัดอีกทางหนึ่ง
3.2 กรณีลูกหนี้ ให้จังหวัดเร่งประชาสัมพันธ์ทำความเข้าใจกับลูกหนี้ให้เกิดความเชื่อมั่นว่าทางราชการจะสามารถดูแลและรักษาความปลอดภัยทั้งทางด้านร่างกายและทรัพย์สิน เพื่อที่ลูกหนี้จะให้ความร่วมมือกับทางราชการในการให้เบาะแสพฤติกรรมของเจ้าหนี้ผู้มีอิทธิพล นอกจากนี้ จะต้องส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญและประโยชน์ของการจัดทำบัญชีครัวเรือน เพื่อแสดงให้เห็นถึงรายรับ-รายจ่ายของตน แล้วนำไปใช้ฟื้นฟูศักยภาพในครัวเรือนของตน โดยกระบวนการ ลด ละ เลิกอบายมุขและน้อมนำเอาปรัชญาพระราชทาน “เศรษฐกิจพอเพียง” ไปใช้ในการดำเนิน ชีวิตประจำวัน
3.3 กรณีเจ้าหน้าที่ของรัฐ ให้จังหวัดกำชับข้าราชการในพื้นที่ไม่ให้มีพฤติการณ์สนับสนุนหรือมีส่วนเกี่ยวข้องกับเจ้าหนี้ผู้มีอิทธิพลอย่างเด็ดขาด หากปรากฏว่ามีส่วนเกี่ยวข้องหรือให้การสนับสนุนเจ้าหนี้ผู้มีอิทธิพลให้ถือว่าข้าราชการดังกล่าวกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงและต้องมีการลงโทษอย่างเฉียบขาด
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2549--จบ--