คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงสาธาณสุขรายงานสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ภาคเหนือ สรุปได้ดังนี้
จากเหตุการณ์ฝนตกหนักเกิดน้ำท่วมและดินถล่มใน 5 จังหวัดภาคเหนือ ได้แก่จังหวัดอุตรดิตถ์ สุโขทัย ลำปาง น่านและจังหวัดแพร่ ทำให้เกิดผลกระทบกับประชาชนจำนวน 23 อำเภอ 129 ตำบล 749 หมู่บ้าน 39,460 ครัวเรือน ซึ่งมีผู้เสียชีวิต จำนวน 72 คน สูญหาย 56 คน โดย จังหวัดที่ได้รับความเสียหายมากที่สุดคือ จังหวัดอุตรดิตถ์ผู้เสียชีวิต 63 คน มีน้ำท่วมในพื้นที่กว้างรวม 5 อำเภอคือ อำเภอลับแล เมือง ท่าปลา พิชัย และตรอน มีการตัดกระแสไฟฟ้าทั้งจังหวัด ทำให้ส่งผลกระทบกับโรงพยาบาล คือโรงพยาบาลอุตรดิตถ์ซึ่งมีผู้ป่วยใน 540 คน โรงพยาบาลท่าปลา 30 คน โรงพยาบาลลับแล 30 คน ขาดกระแสไฟฟ้า ขาดน้ำมันและเครื่องปั่นไฟ ขาดอาหารในการประกอบเลี้ยงผู้ป่วยและเจ้าหน้าที่ และบ้านของเจ้าหน้าที่ และบ้านของเจ้าหน้าที่ส่วนใหญ่ของโรงพยาบาลถูกน้ำท่วมทำให้ขาดกำลังใจในการให้บริการและการบริการเชิงรุก
มาตรการดำเนินการ กระทรวงสาธารณสุขได้ดำเนินการดังต่อไปนี้คือ
1. ได้รับแจ้งสถานการณ์อุทกภัยจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุตรดิตถ์ เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม เวลา 07.00 น. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้มีบัญชาให้รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข (นายแพทย์ณรงค์ศักด์ อังคะสุวพลา รักษาราชการแทนปลัดกระทรวงสาธารณสุข) สั่งการเบื้องต้นให้โรงพยาบาลพุทธชินราช จังหวัดพิษณุโลก เป็นแม่ข่ายในการสนับสนุนการดำเนินงานโดยมีการสนับสนุน เครื่องปั่นไฟ น้ำมันเชื้อเพลิง อาหารผู้ป่วย และยาตำราหลวง พร้อมทั้งรับส่งต่อผู้ป่วยจากจังหวัดอุตรดิตถ์โดยสำรองเตียงไว้ จำนวน 100 เตียง ต่อมา เวลา 15.00 น. ได้รับแจ้งจากผู้อำนวยการโรงพยาบาลอุตรดิตถ์ว่า สภาพความเสียหายมากกว่าที่คาดการณ์ไว้เบื้องต้น จึงได้มีบัญชาให้รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข (นายแพทย์ณรงค์ศักดิ์ อังคะสุวพลา) ดำเนินการจัดตั้งศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยขึ้นที่สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
2. รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข (นายแพทย์ณรงค์ศักดิ์ อังควะสุวพลา) มอบหมายให้หัวหน้าสำนักตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เป็นหัวหน้าทีม จากส่วนกลางลงพื้นที่ เพื่อสำรวจความเสียหาย และให้การสนับสนุนรวมทั้งประสานระหว่างพื้นที่ประสบภัยกับส่วนกลางและรายงานสถานการณ์ให้ส่วนกลางทราบเป็นระยะการสนับสนุนจากกรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่นกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กรมควบคุมโรค สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาองค์การเภสัชกรรมส่งตัวแทนร่วมเป็นคณะกรรมการศูนย์อุบัติภัยจังหวัดเพื่อสนับสนุนกำลังคนและวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นเช่น คลอรีน ชุดน้ำยาตรวจอาหาร ฯลฯ ประสานและจัดหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ 15 ทีม จากโรงพยาบาลอ่างทอง 2 ทีม โรงพยาบาลพระพุทธชินราช 5 ทีม โรงพยาบาลสุโขทัย 2 ทีม กรมควบคุมโรค 2 ทีม กรมอนามัย 2 ทีม และกรมสุขภาพจิต 2 ทีม เพื่อให้บริการแก่ผู้ประสบอุทกภัยทุกวัน มีผู้บริการเฉลี่ย 3,000 คนต่อวัน โดยกระทรวงสาธารณสุขจะตั้งงบประมาณชดเชยให้ภายหลัง
4. ปัญหาที่พบส่วนใหญ่พบผู้ป่วยมีแผลติดเชื้อ และปัญหาด้านจิตเวช ซึ่งปัญหาแผลติดเชื้อได้ส่งทีมศัลยแพทย์ จากโรงพยาบาลอุตรดิตถ์ ไปให้ความช่วยเหลือในโรงพยาบาลลับแล และโรงพยาบาลท่าปลา ซึ่งถือเป็นการถ่ายทอดความรู้ (Training) ให้แก่แพทย์ในโรงพยาบาลชุมชนด้วย ส่วนปัญหาจิตเวชได้ให้การรักษาในเบื้องต้นและจะติดตามจนครบ 6 เดือน
5. การดูแลผู้ป่วยในระยะยาว ได้แก่การฟื้นฟูสุขภาพจิต ซึ่งกรมสุขภาพจิตจะจัดส่งบุคลากรมาดำเนินการร่วมกับสถานบริการในพื้นที่ ในลักษณะการดูแลรายบุคคลและครอบครัว
6. การควบคุมโรคระบาดหลังน้ำลด ได้แก่ โรคอุจาระร่วง และโรคติดเชื้อในทางเดินอาหาร โดยจัดส่งรถตรวจสอบอาหารปลอดภัยจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาและให้ใช้ชุดตรวจสอบคุณภาพน้ำและอาหารจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ตรวจสอบอาหารพร้อมทั้งให้มีการตรวจคุณภาพน้ำจากแหล่งน้ำที่ประชาชนใช้อุปโภค และบริโภค ประปาหมู่บ้าน
7. รณรงค์ให้สุขศึกษาและประชาสัมพันธ์ โดยรถประชาสัมพันธ์เคลื่อนที่ ออกให้ความรู้แก่ประชาชน อำเภอละ 2 หน่วย ในพื้นที่ประสบภัย 5 จังหวัด
8. กรณีหมู่บ้านน้ำลี อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ ซึ่งถนนขาด และไม่สามารถติดต่อได้ ได้จัดหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ 2 หน่วย ร่วมกับหน่วยงานของกองทัพเดินทางโดยเดินเท้าเพื่อเข้าไปให้บริการข้ามเขตได้ทุกแห่ง
9. สั่งการให้โรงพยาบาลทุกแห่งในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขให้บริการแก่ผู้ป่วยที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัยครั้งนี้ทุกคน โดยไม่คิดมูลค่า และสามารถใช้บริการข้ามเขตได้ทุกแห่ง
10. ในการนี้ได้จัดส่งยาสามัญประจำบ้านและยาน้ำกัดเท้าจำนวน 150,000 ชุด ถุงบรรจุศพ และ มุ้ง
11. ได้สั่งให้มีการจัดเตรียมเครื่องพ่นหมอกควันเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก และโรคมาลาเรีย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 30 พฤษภาคม 2549--จบ--
จากเหตุการณ์ฝนตกหนักเกิดน้ำท่วมและดินถล่มใน 5 จังหวัดภาคเหนือ ได้แก่จังหวัดอุตรดิตถ์ สุโขทัย ลำปาง น่านและจังหวัดแพร่ ทำให้เกิดผลกระทบกับประชาชนจำนวน 23 อำเภอ 129 ตำบล 749 หมู่บ้าน 39,460 ครัวเรือน ซึ่งมีผู้เสียชีวิต จำนวน 72 คน สูญหาย 56 คน โดย จังหวัดที่ได้รับความเสียหายมากที่สุดคือ จังหวัดอุตรดิตถ์ผู้เสียชีวิต 63 คน มีน้ำท่วมในพื้นที่กว้างรวม 5 อำเภอคือ อำเภอลับแล เมือง ท่าปลา พิชัย และตรอน มีการตัดกระแสไฟฟ้าทั้งจังหวัด ทำให้ส่งผลกระทบกับโรงพยาบาล คือโรงพยาบาลอุตรดิตถ์ซึ่งมีผู้ป่วยใน 540 คน โรงพยาบาลท่าปลา 30 คน โรงพยาบาลลับแล 30 คน ขาดกระแสไฟฟ้า ขาดน้ำมันและเครื่องปั่นไฟ ขาดอาหารในการประกอบเลี้ยงผู้ป่วยและเจ้าหน้าที่ และบ้านของเจ้าหน้าที่ และบ้านของเจ้าหน้าที่ส่วนใหญ่ของโรงพยาบาลถูกน้ำท่วมทำให้ขาดกำลังใจในการให้บริการและการบริการเชิงรุก
มาตรการดำเนินการ กระทรวงสาธารณสุขได้ดำเนินการดังต่อไปนี้คือ
1. ได้รับแจ้งสถานการณ์อุทกภัยจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุตรดิตถ์ เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม เวลา 07.00 น. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้มีบัญชาให้รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข (นายแพทย์ณรงค์ศักด์ อังคะสุวพลา รักษาราชการแทนปลัดกระทรวงสาธารณสุข) สั่งการเบื้องต้นให้โรงพยาบาลพุทธชินราช จังหวัดพิษณุโลก เป็นแม่ข่ายในการสนับสนุนการดำเนินงานโดยมีการสนับสนุน เครื่องปั่นไฟ น้ำมันเชื้อเพลิง อาหารผู้ป่วย และยาตำราหลวง พร้อมทั้งรับส่งต่อผู้ป่วยจากจังหวัดอุตรดิตถ์โดยสำรองเตียงไว้ จำนวน 100 เตียง ต่อมา เวลา 15.00 น. ได้รับแจ้งจากผู้อำนวยการโรงพยาบาลอุตรดิตถ์ว่า สภาพความเสียหายมากกว่าที่คาดการณ์ไว้เบื้องต้น จึงได้มีบัญชาให้รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข (นายแพทย์ณรงค์ศักดิ์ อังคะสุวพลา) ดำเนินการจัดตั้งศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยขึ้นที่สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
2. รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข (นายแพทย์ณรงค์ศักดิ์ อังควะสุวพลา) มอบหมายให้หัวหน้าสำนักตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เป็นหัวหน้าทีม จากส่วนกลางลงพื้นที่ เพื่อสำรวจความเสียหาย และให้การสนับสนุนรวมทั้งประสานระหว่างพื้นที่ประสบภัยกับส่วนกลางและรายงานสถานการณ์ให้ส่วนกลางทราบเป็นระยะการสนับสนุนจากกรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่นกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กรมควบคุมโรค สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาองค์การเภสัชกรรมส่งตัวแทนร่วมเป็นคณะกรรมการศูนย์อุบัติภัยจังหวัดเพื่อสนับสนุนกำลังคนและวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นเช่น คลอรีน ชุดน้ำยาตรวจอาหาร ฯลฯ ประสานและจัดหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ 15 ทีม จากโรงพยาบาลอ่างทอง 2 ทีม โรงพยาบาลพระพุทธชินราช 5 ทีม โรงพยาบาลสุโขทัย 2 ทีม กรมควบคุมโรค 2 ทีม กรมอนามัย 2 ทีม และกรมสุขภาพจิต 2 ทีม เพื่อให้บริการแก่ผู้ประสบอุทกภัยทุกวัน มีผู้บริการเฉลี่ย 3,000 คนต่อวัน โดยกระทรวงสาธารณสุขจะตั้งงบประมาณชดเชยให้ภายหลัง
4. ปัญหาที่พบส่วนใหญ่พบผู้ป่วยมีแผลติดเชื้อ และปัญหาด้านจิตเวช ซึ่งปัญหาแผลติดเชื้อได้ส่งทีมศัลยแพทย์ จากโรงพยาบาลอุตรดิตถ์ ไปให้ความช่วยเหลือในโรงพยาบาลลับแล และโรงพยาบาลท่าปลา ซึ่งถือเป็นการถ่ายทอดความรู้ (Training) ให้แก่แพทย์ในโรงพยาบาลชุมชนด้วย ส่วนปัญหาจิตเวชได้ให้การรักษาในเบื้องต้นและจะติดตามจนครบ 6 เดือน
5. การดูแลผู้ป่วยในระยะยาว ได้แก่การฟื้นฟูสุขภาพจิต ซึ่งกรมสุขภาพจิตจะจัดส่งบุคลากรมาดำเนินการร่วมกับสถานบริการในพื้นที่ ในลักษณะการดูแลรายบุคคลและครอบครัว
6. การควบคุมโรคระบาดหลังน้ำลด ได้แก่ โรคอุจาระร่วง และโรคติดเชื้อในทางเดินอาหาร โดยจัดส่งรถตรวจสอบอาหารปลอดภัยจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาและให้ใช้ชุดตรวจสอบคุณภาพน้ำและอาหารจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ตรวจสอบอาหารพร้อมทั้งให้มีการตรวจคุณภาพน้ำจากแหล่งน้ำที่ประชาชนใช้อุปโภค และบริโภค ประปาหมู่บ้าน
7. รณรงค์ให้สุขศึกษาและประชาสัมพันธ์ โดยรถประชาสัมพันธ์เคลื่อนที่ ออกให้ความรู้แก่ประชาชน อำเภอละ 2 หน่วย ในพื้นที่ประสบภัย 5 จังหวัด
8. กรณีหมู่บ้านน้ำลี อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ ซึ่งถนนขาด และไม่สามารถติดต่อได้ ได้จัดหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ 2 หน่วย ร่วมกับหน่วยงานของกองทัพเดินทางโดยเดินเท้าเพื่อเข้าไปให้บริการข้ามเขตได้ทุกแห่ง
9. สั่งการให้โรงพยาบาลทุกแห่งในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขให้บริการแก่ผู้ป่วยที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัยครั้งนี้ทุกคน โดยไม่คิดมูลค่า และสามารถใช้บริการข้ามเขตได้ทุกแห่ง
10. ในการนี้ได้จัดส่งยาสามัญประจำบ้านและยาน้ำกัดเท้าจำนวน 150,000 ชุด ถุงบรรจุศพ และ มุ้ง
11. ได้สั่งให้มีการจัดเตรียมเครื่องพ่นหมอกควันเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก และโรคมาลาเรีย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 30 พฤษภาคม 2549--จบ--