คณะรัฐมนตรีเห็นชอบมาตรการการแก้ไขปัญหามลพิษทางเสียงบริเวณท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และให้จัดตั้งกลไกกำกับการดำเนินงานตามมาตรการในรูปของคณะกรรมการ โดยให้กระทรวงคมนาคมรับไปดำเนินการ แต่งตั้งต่อไป ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ
ทั้งนี้ กระทรวงคมนาคมกำหนดมาตรการลดมลภาวะทางเสียงและชดเชยผู้ได้รับผลกระทบดังนี้
1. มาตรการทางเทคนิค
1.1 การกำหนดวิธีการบินขึ้น - ลง
ให้กรมการขนส่งทางอากาศดำเนินการออกประกาศผู้ทำงานในอากาศ (NOTICE TO AIRMEN : NOTAM) เพื่อให้นักบินถือปฏิบัติวิธีการบินเพื่อลดระดับเสียงจากการปฏิบัติการบินแล้วตั้งแต่วันที่ 13 พฤศจิกายน 2549 ดังนี้
กำหนดวิธีการบินขึ้น กำหนดให้เครื่องบินขึ้นโดยไต่ระดับไปที่ 3,000 ฟุต เหนือระดับพื้นดิน แล้วจึงลดระดับอัตราการไต่ไปสู่ระดับปกติ ซึ่งจะทำให้ลดเสียงในการบินขึ้น และลดพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบเสียงดังให้อยู่ภายในระยะใกล้ขอบเขตสนามบินมากขึ้น (Noise Abatement Procedure)
กำหนดวิธีการบินลง กำหนดให้เครื่องบินชะลอและปรับการเปิด Flap ในระดับต่ำสุดที่ Minimum Certified Landing Flap ตามคู่มือปฏิบัติการบินของอากาศยานแต่ละแบบสำหรับ การร่อนลงรวมถึงการไม่ทำการบินระดับในระยะทางไกลก่อนร่อนลงสู่ทางวิ่ง ซึ่งช่วยลดการก่อให้เกิดเสียงดังในขณะทำการบินเข้าสู่สนามบิน
1.2 การปรับปรุงเส้นทางบิน
กรมการขนส่งทางอากาศ บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) และกรมควบคุมมลพิษ เห็นควรให้พิจารณาปรับเปลี่ยนเส้นทางบินให้มีผลกระทบต่อชุมชนน้อยที่สุด และประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบ โดย บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด จะกำชับให้นักบินทำการบินตามเส้นทางบินที่กำหนดไว้นั้นอย่างเคร่งครัด
1.3 การกำหนดประเภทของอากาศยานที่จะใช้สนามบิน
กรมการขนส่งทางอากาศ ได้ดำเนินการห้ามอากาศยานที่มีระดับเสียงเกินกว่าที่กำหนดไว้ในข้อบท 3 (Chapter 3) ของภาคผนวก 16 ของอนุสัญญาว่าด้วยการบิน พลเรือนระหว่างประเทศ (อนุสัญญาชิคาโก) ทำการบินในพื้นที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ท่าอากาศยานดอนเมือง และ ท่าอากาศยานเชียงใหม่ โดยออกประกาศใน Aeronautical Information Circular (AIC) เพื่อให้สายการบินต่างๆ ถือปฏิบัติ โดยกรมการขนส่งทางอากาศ ร่วมกับ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) และกรมควบคุมมลพิษ จะดำเนินการติดตั้งสถานีตรวจวัดระดับเสียงใน 3 ตำแหน่งบริเวณสนามบินและพื้นที่ใกล้เคียง ตามที่กำหนดในมาตรฐานฯ ทั้งขาขึ้นและขาลง
ทั้งนี้ จะมีการติดตามอย่างต่อเนื่อง หากพบว่าอากาศยานใด จะมีระดับเสียงเกินเกณฑ์มาตรฐานดังกล่าว กรมการขนส่งทางอากาศจะดำเนินการดังนี้
1) ถ้าเป็นอากาศยานไทยจะแจ้งให้สายการบินผู้จดทะเบียนอากาศยานดังกล่าวดำเนินการแก้ไข หากไม่สามารถแก้ไขได้ภายในระยะเวลาที่กำหนด จะระงับการบินขึ้นลงของอากาศยาน ณ ท่าอากาศยานข้างต้น
2) ถ้าเป็นอากาศยานจดทะเบียนต่างประเทศ กรมการขนส่งทางอากาศจะแจ้งหน่วยงานการบินพลเรือนของประเทศที่อากาศยานจดทะเบียน ให้แจ้งสายการบินผู้จดทะเบียนอากาศยานนั้นให้แก้ไข หากไม่สามารถแก้ไขได้ภายในระยะเวลาที่กำหนด จะระงับการบินของอากาศยานดังกล่าวเข้ามายังประเทศไทย
2. การชดเชยผู้ได้รับผลกระทบ
2.1 เร่งรัดให้ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ดำเนินการเจรจาเพื่อซื้อที่ดินและสิ่งปลูกสร้างจากผู้ได้รับผลกระทบในระดับเสียงที่มากกว่า NEF 40 ซึ่งในขณะนี้สำรวจได้จำนวน 71 หลัง โดยที่ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ได้จัดสรรเงินงบประมาณชดเชยไว้แล้วประมาณ 390 ล้านบาท
2.2 เร่งรัดให้เจรจาและจ่ายค่าชดเชยเพื่อปรับปรุงอาคารและสิ่งปลูกสร้างให้กับผู้ได้รับผลกระทบในระดับ NEF 30 - 40 ตามรายงานการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ทั้งนี้คาดว่าจะใช้งบจำนวนประมาณ 3,736,005,002.- บาท
2.3 เร่งรัดให้ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ดำเนินการสำรวจและเจรจาเพื่อซื้อที่ดินและสิ่งปลูกสร้างจากผู้ได้รับผลกระทบในระดับเสียงที่มากกว่า NEF 40 และดำเนินการสำรวจและเจรจาจ่ายค่าชดเชยเพื่อปรับปรุงอาคารและสิ่งปลูกสร้างให้กับผู้ที่ได้รับผลกระทบในระดับ NEF 30-40 เพิ่มเติมโดยเร็ว
อย่างไรก็ตาม สำหรับผู้ได้รับผลกระทบทางเสียงที่เกิน NEF 30 — 40 หากประสงค์จะขายที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ก็ควรเจรจาและรับซื้อไว้เช่นกัน
2.4 ในการจัดสรรงบประมาณเพื่อดำเนินมาตรการชดเชยตามข้อ 2.1 - 2.3 กระทรวงคมนาคมจะหารือกับกระทรวงการคลังเพื่อหาแหล่งเงินสนับสนุนต่อไป
สำหรับ ที่อยู่อาศัยหรือสิ่งปลูกสร้างที่ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) จะซื้อจากผู้ที่ได้รับผลกระทบทางเสียงนั้น บริษัทฯ อาจสามารถหารายได้คืนแหล่งเงินทุน โดยจัดทำแผนการใช้ประโยชน์จากที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ได้จัดซื้อมา เช่น นำที่อยู่อาศัยและสิ่งปลูกสร้างไปขายต่อให้กับบุคลากรที่ทำงานในท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและต้องการย้ายเข้ามาอยู่ในพื้นที่ใกล้เคียงท่าอากาศยานฯ ในเงื่อนไขพิเศษ หรือจัดเป็นสวัสดิการแก่พนักงาน เป็นต้น เร่งรัดให้ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ได้ติดตั้งสถานีตรวจวัดระดับเสียง 10 สถานี เพื่อติดตามสถานการณ์ ประเมินผล และจัดทำรายงานผลการตรวจวัดระดับเสียง เพื่อให้เป็นไปตามรายงานการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 21 พฤศจิกายน 2549--จบ--
ทั้งนี้ กระทรวงคมนาคมกำหนดมาตรการลดมลภาวะทางเสียงและชดเชยผู้ได้รับผลกระทบดังนี้
1. มาตรการทางเทคนิค
1.1 การกำหนดวิธีการบินขึ้น - ลง
ให้กรมการขนส่งทางอากาศดำเนินการออกประกาศผู้ทำงานในอากาศ (NOTICE TO AIRMEN : NOTAM) เพื่อให้นักบินถือปฏิบัติวิธีการบินเพื่อลดระดับเสียงจากการปฏิบัติการบินแล้วตั้งแต่วันที่ 13 พฤศจิกายน 2549 ดังนี้
กำหนดวิธีการบินขึ้น กำหนดให้เครื่องบินขึ้นโดยไต่ระดับไปที่ 3,000 ฟุต เหนือระดับพื้นดิน แล้วจึงลดระดับอัตราการไต่ไปสู่ระดับปกติ ซึ่งจะทำให้ลดเสียงในการบินขึ้น และลดพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบเสียงดังให้อยู่ภายในระยะใกล้ขอบเขตสนามบินมากขึ้น (Noise Abatement Procedure)
กำหนดวิธีการบินลง กำหนดให้เครื่องบินชะลอและปรับการเปิด Flap ในระดับต่ำสุดที่ Minimum Certified Landing Flap ตามคู่มือปฏิบัติการบินของอากาศยานแต่ละแบบสำหรับ การร่อนลงรวมถึงการไม่ทำการบินระดับในระยะทางไกลก่อนร่อนลงสู่ทางวิ่ง ซึ่งช่วยลดการก่อให้เกิดเสียงดังในขณะทำการบินเข้าสู่สนามบิน
1.2 การปรับปรุงเส้นทางบิน
กรมการขนส่งทางอากาศ บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) และกรมควบคุมมลพิษ เห็นควรให้พิจารณาปรับเปลี่ยนเส้นทางบินให้มีผลกระทบต่อชุมชนน้อยที่สุด และประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบ โดย บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด จะกำชับให้นักบินทำการบินตามเส้นทางบินที่กำหนดไว้นั้นอย่างเคร่งครัด
1.3 การกำหนดประเภทของอากาศยานที่จะใช้สนามบิน
กรมการขนส่งทางอากาศ ได้ดำเนินการห้ามอากาศยานที่มีระดับเสียงเกินกว่าที่กำหนดไว้ในข้อบท 3 (Chapter 3) ของภาคผนวก 16 ของอนุสัญญาว่าด้วยการบิน พลเรือนระหว่างประเทศ (อนุสัญญาชิคาโก) ทำการบินในพื้นที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ท่าอากาศยานดอนเมือง และ ท่าอากาศยานเชียงใหม่ โดยออกประกาศใน Aeronautical Information Circular (AIC) เพื่อให้สายการบินต่างๆ ถือปฏิบัติ โดยกรมการขนส่งทางอากาศ ร่วมกับ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) และกรมควบคุมมลพิษ จะดำเนินการติดตั้งสถานีตรวจวัดระดับเสียงใน 3 ตำแหน่งบริเวณสนามบินและพื้นที่ใกล้เคียง ตามที่กำหนดในมาตรฐานฯ ทั้งขาขึ้นและขาลง
ทั้งนี้ จะมีการติดตามอย่างต่อเนื่อง หากพบว่าอากาศยานใด จะมีระดับเสียงเกินเกณฑ์มาตรฐานดังกล่าว กรมการขนส่งทางอากาศจะดำเนินการดังนี้
1) ถ้าเป็นอากาศยานไทยจะแจ้งให้สายการบินผู้จดทะเบียนอากาศยานดังกล่าวดำเนินการแก้ไข หากไม่สามารถแก้ไขได้ภายในระยะเวลาที่กำหนด จะระงับการบินขึ้นลงของอากาศยาน ณ ท่าอากาศยานข้างต้น
2) ถ้าเป็นอากาศยานจดทะเบียนต่างประเทศ กรมการขนส่งทางอากาศจะแจ้งหน่วยงานการบินพลเรือนของประเทศที่อากาศยานจดทะเบียน ให้แจ้งสายการบินผู้จดทะเบียนอากาศยานนั้นให้แก้ไข หากไม่สามารถแก้ไขได้ภายในระยะเวลาที่กำหนด จะระงับการบินของอากาศยานดังกล่าวเข้ามายังประเทศไทย
2. การชดเชยผู้ได้รับผลกระทบ
2.1 เร่งรัดให้ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ดำเนินการเจรจาเพื่อซื้อที่ดินและสิ่งปลูกสร้างจากผู้ได้รับผลกระทบในระดับเสียงที่มากกว่า NEF 40 ซึ่งในขณะนี้สำรวจได้จำนวน 71 หลัง โดยที่ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ได้จัดสรรเงินงบประมาณชดเชยไว้แล้วประมาณ 390 ล้านบาท
2.2 เร่งรัดให้เจรจาและจ่ายค่าชดเชยเพื่อปรับปรุงอาคารและสิ่งปลูกสร้างให้กับผู้ได้รับผลกระทบในระดับ NEF 30 - 40 ตามรายงานการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ทั้งนี้คาดว่าจะใช้งบจำนวนประมาณ 3,736,005,002.- บาท
2.3 เร่งรัดให้ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ดำเนินการสำรวจและเจรจาเพื่อซื้อที่ดินและสิ่งปลูกสร้างจากผู้ได้รับผลกระทบในระดับเสียงที่มากกว่า NEF 40 และดำเนินการสำรวจและเจรจาจ่ายค่าชดเชยเพื่อปรับปรุงอาคารและสิ่งปลูกสร้างให้กับผู้ที่ได้รับผลกระทบในระดับ NEF 30-40 เพิ่มเติมโดยเร็ว
อย่างไรก็ตาม สำหรับผู้ได้รับผลกระทบทางเสียงที่เกิน NEF 30 — 40 หากประสงค์จะขายที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ก็ควรเจรจาและรับซื้อไว้เช่นกัน
2.4 ในการจัดสรรงบประมาณเพื่อดำเนินมาตรการชดเชยตามข้อ 2.1 - 2.3 กระทรวงคมนาคมจะหารือกับกระทรวงการคลังเพื่อหาแหล่งเงินสนับสนุนต่อไป
สำหรับ ที่อยู่อาศัยหรือสิ่งปลูกสร้างที่ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) จะซื้อจากผู้ที่ได้รับผลกระทบทางเสียงนั้น บริษัทฯ อาจสามารถหารายได้คืนแหล่งเงินทุน โดยจัดทำแผนการใช้ประโยชน์จากที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ได้จัดซื้อมา เช่น นำที่อยู่อาศัยและสิ่งปลูกสร้างไปขายต่อให้กับบุคลากรที่ทำงานในท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและต้องการย้ายเข้ามาอยู่ในพื้นที่ใกล้เคียงท่าอากาศยานฯ ในเงื่อนไขพิเศษ หรือจัดเป็นสวัสดิการแก่พนักงาน เป็นต้น เร่งรัดให้ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ได้ติดตั้งสถานีตรวจวัดระดับเสียง 10 สถานี เพื่อติดตามสถานการณ์ ประเมินผล และจัดทำรายงานผลการตรวจวัดระดับเสียง เพื่อให้เป็นไปตามรายงานการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 21 พฤศจิกายน 2549--จบ--