คณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ ให้ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมรัฐมนตรีด้านอนามัยและสิ่งแวดล้อมของประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียตะวันออก ครั้งที่ 1 ระหว่างวันที่ 7-8 ธันวาคม 2549 โดยให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและกระทรวงสาธารณสุขร่วมเป็นหน่วยงานหลักจัดประชุมฯ ดังกล่าว พร้อมทั้งเห็นชอบและอนุมัติในหลักการให้กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ใช้งบประมาณในงบดำเนินงาน หมวดค่าตอบแทน ใช้สอย และวัสดุ จำนวน 5,000,000 บาท จากการปรับแผนการใช้จ่ายงบประมาณประจำปี พ.ศ. 2549 และกระทรวงสาธารณสุขใช้งบประมาณประจำปี พ.ศ. 2550 ในงบดำเนินงาน จำนวน 4,800,000 บาท รวมเป็นวงเงินทั้งสิ้น 9,800,000 บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดประชุมรัฐมนตรีด้านอนามัยและสิ่งแวดล้อมของประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียตะวันออก ครั้งที่ 1 ในเดือนธันวาคม 2549 การจัดนิทรรศการเทิดพระเกียรติ และการประชาสัมพันธ์การจัดประชุมฯ
ทั้งนี้ สาระสำคัญของการประชุมรัฐมนตรีด้านอนามัยและสิ่งแวดล้อมฯ ครั้งที่ 1 ระหว่างวันที่ 7-8 ธันวาคม 2549 มีดังนี้
1. กำหนดให้มีการจัดประชุมรัฐมนตรีด้านอนามัยและสิ่งแวดล้อมฯ ทุก 3 ปี โดยเวียนการประชุมในกลุ่มประเทศสมาชิก และกำหนดให้มีการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านอนามัยและสิ่งแวดล้อมของประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียตะวันออกทุกปี
2. พิจารณาเห็นชอบร่างกรอบแผนการดำเนินงานความร่วมมือด้านอนามัยและสิ่งแวดล้อมของประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียตะวันออก
3. ขอบเขตของร่างกรอบแผนการดำเนินงานความร่วมมือด้านอนามัยและสิ่งแวดล้อมของประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียตะวันออก เป็นกรอบความร่วมมือในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียตะวันออกเกี่ยวกับด้านอนามัยและสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศทั้งสองภูมิภาคในสาขาอนามัยและสิ่งแวดล้อม 6 สาขา คือ 1. Air quality 2. Water supply, hygiene and sanitation 3.Solid waste 4. Toxic substances and hazardous wastes 5. Climate change, ozone depletion and ecosystem changes 6. Contingency planning, preparedness and response in environmental health emergencies
4. งบประมาณในการดำเนินการตามร่างกรอบแผนการดำเนินงานความร่วมมือด้านอนามัยและสิ่งแวดล้อมของประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียตะวันออกดังกล่าวในแต่ละสาขายังไม่มีการระบุไว้อย่างชัดเจน อย่างไรก็ตามไม่มีเนื้อหาส่วนใดของร่างกรอบแผนการดำเนินงานความร่วมมือกันในสองภูมิภาคนี้ที่ระบุเป็นพันธกรณีที่ประเทศไทยต้องจัดสรรงบประมาณเข้าร่วมกองทุนหรืองบประมาณสมทบการดำเนินงาน ดังนั้น งบประมาณดำเนินงานความร่วมมือในเบื้องต้นเป็นประเภทสมัครใจและสนับสนุนบุคลากรร่วมดำเนินการ
5. การดำเนินการในร่างกรอบแผนการดำเนินงานความร่วมมือด้านอนามัยและสิ่งแวดล้อมของประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียตะวันออก ทั้งภาครัฐ สถาบัน และองค์กรต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการด้านอนามัยและสิ่งแวดล้อมที่จะสนองตอบนโยบายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ (Millennium Development Goals, MDGs) ของสหประชาชาติ ข้อที่ 3 Combat HIV/AIDs,Malaria and Other Diseases และข้อที่ 7 Ensure Environmental Sustainability ที่ประเทศไทยในฐานะประเทศสมาชิกได้ให้การรับรองไว้
ผลที่คาดว่าจะได้รับจากความร่วมมือตามร่างกรอบแผนความร่วมมือด้านอนามัยและสิ่งแวดล้อมฯ
1. ความร่วมมือระหว่างประเทศในการต่อสู้ แก้ไข และป้องกันความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อมที่จะมีผลกระทบต่อสุขอนามัยของประชาชนชาวไทยและประชาชนในประเทศของสองภูมิภาค
2. การแลกเปลี่ยนทางวิชาการและเทคนิคความก้าวหน้าทั้งทางด้านงานศึกษาวิจัย ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี การจัดการสิ่งแวดล้อมและสาธารณสุข การอบรมพัฒนาบุคลากรด้านอนามัยและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนการแลกเปลี่ยนข่าวสารข้อมูลและการเตือนภัยล่วงหน้าผ่านระบบเครือข่าย
3. การร่วมมือกับนานาประเทศในการรณรงค์ป้องกันภัยคุกคามด้านสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อสุขภาพอนามัย รวมทั้งการควบคุมรักษาโรคภัยไข้เจ็บที่มีผลมาจากสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรมและมลพิษข้ามแดน
4. การยกระดับคุณภาพสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตของคนไทยและประชาชนในประเทศของสองภูมิภาค
5. ความเป็นเลิศของสถาบันศึกษาวิจัยของประเทศไทยที่จะมีโอกาสยกระดับเป็นศูนย์วิจัยและอบรมด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมของภูมิภาค
6. ความมั่นคงของสุขภาพอนามัยของประชาชน ความมั่นคงด้านความปลอดภัยของอาหารและสิ่งแวดล้อมจากสารเคมีและเชื้อโรค ทั้งในสองภูมิภาคและนักท่องเที่ยวที่มาเยือนจากภูมิภาคอื่น ซึ่งยังผลตามมาที่ทำให้เกิดประโยชน์ด้านความมั่นคงทางเศรษฐกิจในสองภูมิภาค
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 29 สิงหาคม 2549--จบ--
ทั้งนี้ สาระสำคัญของการประชุมรัฐมนตรีด้านอนามัยและสิ่งแวดล้อมฯ ครั้งที่ 1 ระหว่างวันที่ 7-8 ธันวาคม 2549 มีดังนี้
1. กำหนดให้มีการจัดประชุมรัฐมนตรีด้านอนามัยและสิ่งแวดล้อมฯ ทุก 3 ปี โดยเวียนการประชุมในกลุ่มประเทศสมาชิก และกำหนดให้มีการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านอนามัยและสิ่งแวดล้อมของประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียตะวันออกทุกปี
2. พิจารณาเห็นชอบร่างกรอบแผนการดำเนินงานความร่วมมือด้านอนามัยและสิ่งแวดล้อมของประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียตะวันออก
3. ขอบเขตของร่างกรอบแผนการดำเนินงานความร่วมมือด้านอนามัยและสิ่งแวดล้อมของประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียตะวันออก เป็นกรอบความร่วมมือในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียตะวันออกเกี่ยวกับด้านอนามัยและสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศทั้งสองภูมิภาคในสาขาอนามัยและสิ่งแวดล้อม 6 สาขา คือ 1. Air quality 2. Water supply, hygiene and sanitation 3.Solid waste 4. Toxic substances and hazardous wastes 5. Climate change, ozone depletion and ecosystem changes 6. Contingency planning, preparedness and response in environmental health emergencies
4. งบประมาณในการดำเนินการตามร่างกรอบแผนการดำเนินงานความร่วมมือด้านอนามัยและสิ่งแวดล้อมของประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียตะวันออกดังกล่าวในแต่ละสาขายังไม่มีการระบุไว้อย่างชัดเจน อย่างไรก็ตามไม่มีเนื้อหาส่วนใดของร่างกรอบแผนการดำเนินงานความร่วมมือกันในสองภูมิภาคนี้ที่ระบุเป็นพันธกรณีที่ประเทศไทยต้องจัดสรรงบประมาณเข้าร่วมกองทุนหรืองบประมาณสมทบการดำเนินงาน ดังนั้น งบประมาณดำเนินงานความร่วมมือในเบื้องต้นเป็นประเภทสมัครใจและสนับสนุนบุคลากรร่วมดำเนินการ
5. การดำเนินการในร่างกรอบแผนการดำเนินงานความร่วมมือด้านอนามัยและสิ่งแวดล้อมของประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียตะวันออก ทั้งภาครัฐ สถาบัน และองค์กรต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการด้านอนามัยและสิ่งแวดล้อมที่จะสนองตอบนโยบายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ (Millennium Development Goals, MDGs) ของสหประชาชาติ ข้อที่ 3 Combat HIV/AIDs,Malaria and Other Diseases และข้อที่ 7 Ensure Environmental Sustainability ที่ประเทศไทยในฐานะประเทศสมาชิกได้ให้การรับรองไว้
ผลที่คาดว่าจะได้รับจากความร่วมมือตามร่างกรอบแผนความร่วมมือด้านอนามัยและสิ่งแวดล้อมฯ
1. ความร่วมมือระหว่างประเทศในการต่อสู้ แก้ไข และป้องกันความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อมที่จะมีผลกระทบต่อสุขอนามัยของประชาชนชาวไทยและประชาชนในประเทศของสองภูมิภาค
2. การแลกเปลี่ยนทางวิชาการและเทคนิคความก้าวหน้าทั้งทางด้านงานศึกษาวิจัย ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี การจัดการสิ่งแวดล้อมและสาธารณสุข การอบรมพัฒนาบุคลากรด้านอนามัยและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนการแลกเปลี่ยนข่าวสารข้อมูลและการเตือนภัยล่วงหน้าผ่านระบบเครือข่าย
3. การร่วมมือกับนานาประเทศในการรณรงค์ป้องกันภัยคุกคามด้านสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อสุขภาพอนามัย รวมทั้งการควบคุมรักษาโรคภัยไข้เจ็บที่มีผลมาจากสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรมและมลพิษข้ามแดน
4. การยกระดับคุณภาพสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตของคนไทยและประชาชนในประเทศของสองภูมิภาค
5. ความเป็นเลิศของสถาบันศึกษาวิจัยของประเทศไทยที่จะมีโอกาสยกระดับเป็นศูนย์วิจัยและอบรมด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมของภูมิภาค
6. ความมั่นคงของสุขภาพอนามัยของประชาชน ความมั่นคงด้านความปลอดภัยของอาหารและสิ่งแวดล้อมจากสารเคมีและเชื้อโรค ทั้งในสองภูมิภาคและนักท่องเที่ยวที่มาเยือนจากภูมิภาคอื่น ซึ่งยังผลตามมาที่ทำให้เกิดประโยชน์ด้านความมั่นคงทางเศรษฐกิจในสองภูมิภาค
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 29 สิงหาคม 2549--จบ--