คณะรัฐมนตรีเห็นชอบร่างพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ... ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วนำเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาต่อไป
ทั้งนี้ กระทรวงการคลังรายงานว่า
1. ประเทศไทยเป็นภาคีสมาชิกขององค์การศุลกากรโลก และเป็นภาคีอนุสัญญาระบบฮาร์โมไนซ์ขององค์การศุลกากรโลก ซึ่งได้นำระบบการจำแนกพิกัดสินค้าตามระบบพิกัดฮาร์โมไนซ์ขององค์การศุลกากรโลกมาใช้บังคับเมื่อปี พ.ศ. 2531 ตามพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ.2530 ภาค 1 หลักเกณฑ์การตีความพิกัดอัตราศุลกากร และภาค 2 พิกัดอัตราอากรขาเข้า ทั้งนี้ ประเทศไทยในฐานะภาคีอนุสัญญาฯ ได้ดำเนินการแก้ไขระบบพิกัดศุลกากรให้เป็นไปตามระบบพิกัดฮาร์โมไนซ์ขององค์การศุลกากรโลกตามลำดับ
2. นอกจากนี้ ประเทศไทยซึ่งเป็นสมาชิกอาเซียน (Association of South East Asia Nations : ASEAN) ได้ร่วมลงนามและรับพิธีสารว่าด้วยการนำพิกัดศุลกากรฮาร์โมไนซ์อาเซียนมาใช้ (Protocol Governing the Implementation of the ASEAN Harmonized Tariff Nomenclature : AHTN) เมื่อปี พ.ศ. 2546 ซึ่งมีวัตถุประสงค์ให้ประเทศในกลุ่มสมาชิกอาเซียนใช้พิกัดศุลกากรในระดับ 8 หลักร่วมกัน และต่อมาผู้นำอาเซียนได้ลงนามในกรอบความตกลงว่าด้วยการรวมกลุ่มสาขาสำคัญของอาเซียน (ASEAN Framework Agreement for the Integration of the Priority Sector) ในการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2547 โดยสาระสำคัญส่วนหนึ่งกำหนดให้ประเทศสมาชิกอาเซียนขยายการใช้พิกัดฮาร์โมไนซ์ขององค์การศุลกากรอาเซียน (ASEAN Harmonized Tariff Nomenclature : AHTN) กับสินค้านอกกลุ่มสมาชิกอาเซียน ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2550 ทั้งนี้ พิกัดศุลกากร 6 หลักแรกเป็นไปตามระบบพิกัดฮาร์โมไนซ์ 2007 ที่ปรับปรุงโดยองค์การศุลกากรโลก และ 2 หลักที่เพิ่มขึ้นเป็นไปตามความเหมาะสมภายในของกลุ่มสมาชิกอาเซียน
ดังนั้น ระบบพิกัดศุลกากรของไทยในปัจจุบันซึ่งมีรหัสตัวเลข 2 ระบบ คือ ระบบ 6/7 หลัก ใช้กับการนำเข้าทั่วไป และระบบรหัส 8 หลัก ใช้กับการนำเข้าในกลุ่มสมาชิกอาเซียนนั้นได้เปลี่ยนมาเป็นระบบรหัส 8 หลักเพียงแบบเดียว
3. ประเทศไทยเป็นภาคีอนุสัญญาระบบฮาร์โมไนซ์ขององค์การศุลกากรโลก และได้ร่วมลงนามและรับพิธีว่าด้วยการนำพิกัดศุลกากรฮาร์โมไนซ์อาเซียนมาใช้ตามกรอบของอาเซียนจึงต้องปรับปรุงระบบพิกัดศุลกากรให้เป็นไปตามพันธกรณีดังกล่าว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 12 ธันวาคม 2549--จบ--
ทั้งนี้ กระทรวงการคลังรายงานว่า
1. ประเทศไทยเป็นภาคีสมาชิกขององค์การศุลกากรโลก และเป็นภาคีอนุสัญญาระบบฮาร์โมไนซ์ขององค์การศุลกากรโลก ซึ่งได้นำระบบการจำแนกพิกัดสินค้าตามระบบพิกัดฮาร์โมไนซ์ขององค์การศุลกากรโลกมาใช้บังคับเมื่อปี พ.ศ. 2531 ตามพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ.2530 ภาค 1 หลักเกณฑ์การตีความพิกัดอัตราศุลกากร และภาค 2 พิกัดอัตราอากรขาเข้า ทั้งนี้ ประเทศไทยในฐานะภาคีอนุสัญญาฯ ได้ดำเนินการแก้ไขระบบพิกัดศุลกากรให้เป็นไปตามระบบพิกัดฮาร์โมไนซ์ขององค์การศุลกากรโลกตามลำดับ
2. นอกจากนี้ ประเทศไทยซึ่งเป็นสมาชิกอาเซียน (Association of South East Asia Nations : ASEAN) ได้ร่วมลงนามและรับพิธีสารว่าด้วยการนำพิกัดศุลกากรฮาร์โมไนซ์อาเซียนมาใช้ (Protocol Governing the Implementation of the ASEAN Harmonized Tariff Nomenclature : AHTN) เมื่อปี พ.ศ. 2546 ซึ่งมีวัตถุประสงค์ให้ประเทศในกลุ่มสมาชิกอาเซียนใช้พิกัดศุลกากรในระดับ 8 หลักร่วมกัน และต่อมาผู้นำอาเซียนได้ลงนามในกรอบความตกลงว่าด้วยการรวมกลุ่มสาขาสำคัญของอาเซียน (ASEAN Framework Agreement for the Integration of the Priority Sector) ในการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2547 โดยสาระสำคัญส่วนหนึ่งกำหนดให้ประเทศสมาชิกอาเซียนขยายการใช้พิกัดฮาร์โมไนซ์ขององค์การศุลกากรอาเซียน (ASEAN Harmonized Tariff Nomenclature : AHTN) กับสินค้านอกกลุ่มสมาชิกอาเซียน ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2550 ทั้งนี้ พิกัดศุลกากร 6 หลักแรกเป็นไปตามระบบพิกัดฮาร์โมไนซ์ 2007 ที่ปรับปรุงโดยองค์การศุลกากรโลก และ 2 หลักที่เพิ่มขึ้นเป็นไปตามความเหมาะสมภายในของกลุ่มสมาชิกอาเซียน
ดังนั้น ระบบพิกัดศุลกากรของไทยในปัจจุบันซึ่งมีรหัสตัวเลข 2 ระบบ คือ ระบบ 6/7 หลัก ใช้กับการนำเข้าทั่วไป และระบบรหัส 8 หลัก ใช้กับการนำเข้าในกลุ่มสมาชิกอาเซียนนั้นได้เปลี่ยนมาเป็นระบบรหัส 8 หลักเพียงแบบเดียว
3. ประเทศไทยเป็นภาคีอนุสัญญาระบบฮาร์โมไนซ์ขององค์การศุลกากรโลก และได้ร่วมลงนามและรับพิธีว่าด้วยการนำพิกัดศุลกากรฮาร์โมไนซ์อาเซียนมาใช้ตามกรอบของอาเซียนจึงต้องปรับปรุงระบบพิกัดศุลกากรให้เป็นไปตามพันธกรณีดังกล่าว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 12 ธันวาคม 2549--จบ--