คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สรุปสถานการณ์ภัยธรรมชาติในช่วงฤดูฝน ครั้งที่ 12 ณ วันที่ 28 กันยายน 2552 ประกอบด้วย สถานการณ์อุทกภัย ผลกระทบด้านการเกษตร การให้ความช่วยเหลือ และสถานการณ์น้ำ สรุปได้ดังนี้
สถานการณ์ภัยพิบัติด้านการเกษตร
1. อุทกภัย
จังหวัดศรีสะเกษ เมี่อวันที่ 10-12 ก.ย. 52 เกิดฝนตกหนักต่อเนื่องทำให้ระดับน้ำในลุ่มน้ำห้วยทา ลุ่มน้ำห้วยขยูง ลุ่มน้ำห้วยทับทัน และลุ่มน้ำห้วยสำราญ เอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่การเกษตรและบ้านเรือนราษฎรในพื้นที่ลุ่มต่ำริมตลิ่ง จำนวน 7 อำเภอ ได้แก่ อำเภอขุนหาญ ขุขันธ์ ภูสิงห์ อุทุมพรพิสัย ห้วยทับทัน ปรางค์กู่ และอำเภอเมือง หากไม่มีฝนตกเพิ่มเติม คาดว่าสถานการณ์จะเข้าสู่ภาวะปกติภายใน 2-3 วัน
จังหวัดอุบลราชธานี เมื่อวันที่ 12 ก.ย. 52 น้ำจากแม่น้ำมูลเอ่อล้นตลิ่งไหลเข้าท่วมพื้นที่เขตเทศบาลเมืองวารินชำราบ จำนวน 5 ชุมชนและในเขตเทศบาลนครอุบลราชธานี จำนวน 14 ชุมชนระดับน้ำท่วมสูง 0.20-0.50 เมตร หากไม่มีฝนตกเพิ่มเติมคาดว่าสถานการณ์จะเข้าสู่ภาวะปกติภายในต้นเดือนตุลาคม 2552
จังหวัดเพชรบูรณ์ เนื่องจากมีฝนตกหนักต่อเนื่อง ตั้งแต่วันที่ 25-26 กันยายน 2552 ส่งผลให้ในช่วงเช้าของวันที่ 27 กันยายน 2552 มีน้ำไหลลงสู่คลองบุษบง (ลุ่มน้ำน่าน) ในปริมาณมาก ก่อนที่จะไหลลงสู่คลองระบายน้ำริมทางหลวงที่เชื่อมระหว่าง อ.เมือง กับอ.ชนแดน ทำให้น้ำเอ่อล้นเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎรที่อยู่ริมทางหลวง สถานการณ์เข้าสู่ภาวะปกติแล้วในช่วงเช้าของวันที่ 27 กันยายน 2552
จังหวัดกำแพงเพชร เกิดฝนตกต่อเนื่องตั้งแต่วันที่ 25-27 กันยายน 2552 ทำให้เกิดน้ำท่วมบริเวณริมถนนสายเอเชีย หน้าที่ว่าการ อำเภอโกสัมภี หากไม่มีฝนตกหนักลงมาเพิ่ม คาดว่าสถานการณ์จะเข้าสู่ภาวะปกติภายใน 2 วันนี้
อำเภอพรานกระต่าย ปริมาณน้ำจากจังหวัดตากได้ไหลผ่านลงมาเอ่อล้นข้ามถนนสายกำแพงเพชร-สุโขทัย มีระดับน้ำสูงประมาณ 0.20 เมตร หากไม่มีฝนตกลงมาเพิ่มเติม คาดว่าจะเข้าสู่ภาวะปกติวันนี้ (28 กันยายน 2552)
อำเภอไทรงาม เกิดฝนตกหนักเมื่อวันที่ 27 กันยายน 2552 ทำให้มีปริมาณน้ำส่วนหนึ่งไหลลงสู่จังหวัดพิจิตร สำนักชลประทานกำแพงเพชร ได้ทำการปิดประตูระบายน้ำท่อทองแดง วังบัง และวังยาง เพื่อลดปริมาณน้ำที่จะไหลลงสู่จังหวัดพิจิตรแล้ว
จังหวัดจันทบุรี เกิดฝนตกหนักต่อเนื่องตั้งแต่วันที่ 25-27 กันยายน 2552 ทำให้ระดับน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำจันทบุรีตอนกลางเพิ่มสูงขึ้น โครงการจันทบุรีคาดการณ์ว่าเวลาประมาณ 18.00 น.ของวันนี้ จะทำให้เกิดภาวะน้ำล้นตลิ่งไหลลงสู่เขตเทศบาลเมืองจันทบุรีและเทศบาลตำบลจันทนิมิต ซึ่งทางโครงการจะเฝ้าติดตามดูสถานการณ์อย่างใกล้ชิด
จังหวัดเลย เกิดฝนตกหนักทำให้ระดับน้ำในแม่น้ำเลยมีระดับสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2552 เวลา 09.15 น.ระดับน้ำที่เทศบาลเมืองเลย 2 ชุมชน คือคุ้มบ้านล่างและคุ้มไปรษณีย์ ระดับน้ำยังสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง คาดว่าระดับน้ำจะสูงสุดที่ระดับ 9.60 เมตร ในช่วงเวลาประมาณ 18.00-02.00 น. (28 กันยายน 2552) หากไม่มีฝนตกลงมาเพิ่มเติม คาดว่าสถานการณ์จะเข้าสู่ภาวะปกติภายใน 2-3 วันนี้
ผลกระทบด้านการเกษตร
1. อุทกภัย (ช่วงวันที่ 1-21 กันยายน 2552 ณ วันที่ 25 กันยายน 2552)
ด้านพืช 12 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ น่าน แพร่ ตาก ลำปาง อุทัยธานี กาฬสินธุ์ ชัยภูมิ ยโสธร ศรีสะเกษ ตราด และจังหวัดพังงา เกษตรกรประสบภัย 32,104 ราย พื้นที่คาดว่าจะเสียหาย 178,192 ไร่ แบ่งเป็น ข้าว 148,485 ไร่ พืชไร่ 27,101 ไร่ และพืชสวน 2,606 ไร่
ด้านประมง 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ เพชรบูรณ์ ศรีสะเกษ และกระบี่ เกษตรกรประสบภัย 942 ราย พื้นที่ 1,432 ไร่ 4,040 ตรม.
ด้านปศุสัตว์ 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดน่าน ศรีสะเกษ พังงา เกษตรกรประสบภัย 222 ราย สัตว์ได้รับผลกระทบ 37,311 ตัว แบ่งเป็น โค-กระบือ 5,639 ตัว สุกร-แพะ-แกะ 646 ตัว และสัตว์ปีก 31,026 ตัว
การช่วยเหลือเบื้องต้น
1. สนับสนุนเครื่องสูบและเครื่องผลักดันน้ำเพื่อช่วยเหลือไปแล้ว ดังนี้
เครื่องสูบน้ำ 13 จังหวัด จำนวน 93 เครื่อง ได้แก่ จังหวัดอุตรดิตถ์ (1) มหาสารคาม(1) อุดรธานี (1) นครราชสีมา (1) ร้อยเอ็ด (1) ศรีสะเกษ (2) นนทบุรี (4) พระนครศรีอยุธยา (10) สมุทรสาคร (5) สุพรรณบุรี (47) ลพบุรี (10) อ่างทอง(7) และระนอง(3)
เครื่องผลักดันน้ำ 3 จังหวัด จำนวน 37 เครื่อง ได้แก่ จังหวัดนครราชสีมา (19) กรุงเทพมหานคร (3) สุพรรณบุรี (15)
2. สนับสนุนพืชอาหารสัตว์ 1,423 กิโลกรัม แร่ธาตุและเวชภัณฑ์ 100 ชุด และดูแลสุขภาพสัตว์ 1,255 ตัว
2. ฝนทิ้งช่วง (ช่วงวันที่ 1 — 31 สิงหาคม2552)
พื้นที่ประสบภัยด้านการเกษตร 9 จังหวัด 23 อำเภอ 68 ตำบล ได้แก่ จังหวัดนครสวรรค์ เพชรบูรณ์ พะเยา พิจิตร พิษณุโลก แพร่ ลำปาง จันทบุรี และสุพรรณบุรี
เกษตรกรได้รับผลกระทบ 42,909 ราย พื้นที่คาดว่าจะเสียหาย 716,083 ไร่ แยกเป็น ข้าว 498,657 ไร่ พืชไร่ 213,973 ไร่ และพืชสวน 3,453 ไร่ (ข้อมูล ณ 11 กันยายน 2552)
การช่วยเหลือ สำนักฝนหลวงและการบินเกษตร ได้ตั้งศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวง จำนวน 8 ศูนย์ (8 หน่วยปฏิบัติการ และ 6 ฐานเติมสาร) ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ พิษณุโลก ลพบุรี ขอนแก่น นครราชสีมา สระแก้ว อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และสุราษฎร์ธานี และฐานเติมสารฝนหลวง ได้แก่ จังหวัดตาก กาญจนบุรี นครสวรรค์ อุบลราชธานี ระยอง และนครศรีธรรมราช
ขึ้นปฏิบัติการในรอบสัปดาห์ (ช่วงวันที่ 18 — 24 กันยายน 2552) จำนวน 252 เที่ยวบิน ปริมาณน้ำฝนวัดได้ 0.1 -73.3 มม. มีฝนตกในพื้นที่ 53 จังหวัด
สถานการณ์น้ำ
1. สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่
สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั่วประเทศ (28 กันยายน 2552) มีปริมาตรน้ำในอ่างฯ ทั้งหมด 49,591 ล้านลบ.ม. หรือคิดเป็นร้อยละ 71 ของความจุอ่างฯ ทั้งหมด น้อยกว่าปี 2551 (52,956 ล้าน ลบ.ม.) จำนวน 3,365 ล้านลบ.ม. ปริมาตรน้ำใช้การได้ 26,235 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 36 ของความจุอ่างฯ สามารถรับน้ำได้อีก 19,837 ล้านลบ.ม.
อ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพล จังหวัดตาก และอ่างเก็บน้ำเขื่อนสิริกิติ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ มีปริมาตรน้ำในอ่างฯ ทั้งหมด 7,188 และ 5,782 ล้านลบ.ม.ตามลำดับ หรือคิดเป็นร้อยละ 53 และ 61 ของความจุอ่างฯทั้งหมด ตามลำดับโดยมีปริมาตรน้ำทั้งสองอ่างฯ รวมกัน จำนวน 12,970 ล้านลบ.ม. สามารถรับน้ำได้อีก 10,002 ล้านลบ.ม.
อ่างเก็บน้ำเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จังหวัดลพบุรี มีปริมาตรน้ำในอ่างฯ 709 ล้าน ลบ.ม. หรือคิดเป็นร้อยละ 74 ของความจุอ่างฯทั้งหมด สามารถรับน้ำได้อีก 251 ล้าน ลบ.ม.
อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่อยู่ในเกณฑ์น้ำน้อยกว่าร้อยละ 30 ของความจุอ่างฯ จำนวน 2 อ่างฯ ดังนี้
อ่างเก็บน้ำ ปริมาตรน้ำในอ่างฯ ปริมาตรน้ำใช้การได้ ปริมาตรน้ำไหลลงอ่างฯ ปริมาณน้ำระบาย ปริมาณน้ำ ปริมาตร %ความจุ ปริมาตร %ความจุ วันนี้ เมื่อวานนี้ วันนี้ เมื่อวาน รับได้อีก แม่กวง 46 17 32 12 1.17 1.18 0.35 0.31 217 ทับเสลา 47 29 39 24 1.08 1.94 0.05 0.05 113
อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่อยู่ในเกณฑ์น้ำน้อยกว่าร้อยละ 80 ของความจุอ่างฯ จำนวน 6 อ่างฯ ดังนี้
อ่างเก็บน้ำ ปริมาตรน้ำในอ่างฯ ปริมาตรน้ำใช้การได้ ปริมาตรน้ำไหลลงอ่างฯ ปริมาณน้ำระบาย ปริมาณน้ำ ปริมาตร %ความจุ ปริมาตร %ความจุ วันนี้ เมื่อวานนี้ วันนี้ เมื่อวาน รับได้อีก ลำปาว 1,274 89 1,189 83 35.38 38.29 14.68 12.99 156 ศรีนครินทร์ 15,251 86 4,989 28 28.61 23.31 12.41 10.93 2,494 วชิราลงกรณ์ 7,716 87 4,704 53 27.21 30.25 15.54 15.00 1,144 หนองปลาไหล 132 81 118 72 0.74 2.44 0.41 0.12 32 ประแสร์ 230 93 210 85 4.53 6.32 0.00 0.00 18 รัชชประภา 5,008 89 3,656 65 33.06 37.95 2.09 3.73 631
2. สภาพน้ำท่า
ภาคเหนือ
แม่น้ำปิง สภาพน้ำในลำน้ำ พบว่า ด้านเหนือเขื่อนภูมิพล จังหวัดตาก ปริมาณน้ำในลำน้ำส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์น้ำน้อยและจากท้ายเขื่อนภูมิพลลงมาปริมาณน้ำส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์ปกติ
แม่น้ำวัง สภาพน้ำในลำน้ำ พบว่า ด้านเหนือเขื่อนกิ่วลม จังหวัดลำปาง ปริมาณน้ำในลำน้ำส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์น้ำน้อยและจากท้ายเขื่อนกิ่วลมลงมาปริมาณน้ำส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์ปกติ
แม่น้ำยม สภาพน้ำในลำส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์น้ำน้อย
แม่น้ำน่าน สภาพน้ำในลำน้ำ พบว่า ด้านเหนือเขื่อนสิริกิติ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ ปริมาณน้ำในลำน้ำส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์น้ำน้อยและจากท้ายเขื่อนสิริกิติ์ลงมาปริมาณน้ำส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์ปกติ
ภาคกลาง
แม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณจังหวัดนครสวรรค์ ชัยนาท อยู่ในเกณฑ์ปกติ
แม่น้ำป่าสัก สภาพน้ำในลำน้ำ พบว่า ด้านเหนือเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จังหวัดลพบุรี ปริมาณน้ำในลำน้ำส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์น้ำน้อยและจากท้ายเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ลงมาปริมาณน้ำส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์ปกติ
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
แม่น้ำชี สภาพน้ำในลำน้ำส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์น้ำปกติ
แม่น้ำมูล สภาพน้ำในลำน้ำส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์น้ำปกติ ท้ายแม่น้ำมูลอยู่ในเกณฑ์น้ำมาก
ภาคตะวันออก
แม่น้ำปราจีนบุรี สภาพน้ำในลำน้ำส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์น้ำน้อย
ภาคใต้
แม่น้ำท่าตะเภา สภาพน้ำในลำน้ำอยู่ในเกณฑ์น้ำน้อย
แม่น้ำปัตตานี สภาพน้ำในลำน้ำอยู่ในเกณฑ์น้ำน้อย
แม่น้ำตะกั่วป่า สภาพน้ำในลำน้ำอยู่ในเกณฑ์น้ำน้อย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 29 กันยายน 2552 --จบ--