คณะรัฐมนตรีรับทราบสรุปภาวะเศรษฐกิจไตรมาสที่ 2/2549 และแนวโน้มเศรษฐกิจปี 2549 ตามที่ที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ ดังนี้
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้เผยแพร่ตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ไตรมาสที่ 2/2549 และแนวโน้มเศรษฐกิจปี 2549 เมื่อวันที่ 4 กันยายน 2549 สรุปประเด็นสำคัญ ดังนี้
1. ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ในไตรมาสที่ 2/2549 ขยายตัวร้อยละ 4.9 ชะลอตัวลงจากที่ขยายตัวร้อยละ 6.1 ในไตรมาสแรกของปี 2549 เนื่องจากการใช้จ่ายและการลงทุนภาคเอกชนชะลอตัว จากผลกระทบราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้น การปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ย และความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและนักลงทุนที่ลดลง อันเนื่องมาจากสถานการณ์ภายในประเทศ โดยรวมครึ่งแรกของปีเศรษฐกิจขยายตัวร้อยละ 5.5 สูงกว่าร้อยละ 3.9 ของปีที่แล้ว อัตราเงินเฟ้อเท่ากับร้อยละ 5.9 โดยที่อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 6 ในไตรมาสที่สองจากร้อยละ 5.7 ในไตรมาสแรก
1.1 การขยายตัวของเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 2 ยังมีแรงสนับสนุนหลัก ดังนี้
- ภาคอุตสาหกรรมขยายตัวร้อยละ 5.8 ภาคการเกษตรขยายตัวร้อยละ 5.4 และราคาสินค้าเกษตรเพิ่มขึ้นมาก ทำให้รายได้จากพืชผลเพิ่มขึ้นร้อยละ 40.1 ภาคการท่องเที่ยวยังขยายตัวได้ดี ใน Q2 จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.2
- การส่งออกยังขยายตัวดี มูลค่าการส่งออกในรูปเงินดอลลาร์ สรอ. ใน Q2 ขยายตัวถึงร้อยละ 16.3 ในขณะที่การนำเข้ายังชะลอตัวต่อเนื่อง โดยมูลค่าเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 3.2
- การใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐเพิ่มขึ้น การใช้จ่ายรัฐบาล ณ ราคาคงที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.4 (ลดลงร้อยละ 0.9 ในไตรมาสแรก) และการลงทุนภาครัฐเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.0 (จากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.6 ในไตรมาสแรก)
1.2 การชะลอตัวอย่างชัดเจนในไตรมาสที่ 2 ได้แก่
- การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคของครัวเรือน โดยมีการขยายตัวร้อยละ 3.7 ชะลอลงจากการขยายตัวร้อยละ 4.1 ในสองไตรมาสที่ผ่านมา จากผลกระทบอัตราเงินเฟ้อซึ่งเท่ากับร้อยละ 6.0 (ราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้นเป็นบาร์เรลละ 64.9 เพิ่มขึ้นร้อยละ 35.5 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน)
- การลงทุนภาคเอกชน ขยายตัวร้อยละ 3.6 ในไตรมาสที่ 2 เทียบกับร้อยละ 7.2 ในไตรมาสแรก โดยเฉพาะการลงทุนในเครื่องจักรอุปกรณ์ขยายตัวร้อยละ 3.9 การลงทุนในการก่อสร้างที่อยู่อาศัยและอาคารพาณิชย์ขยายตัวเพียงร้อยละ 3.5 นอกจากนี้ในไตรมาสที่สองมีการนำสินค้าคงคลังออกมาใช้เป็นมูลค่าถึง 14,702 ล้านบาท จึงทำให้มีการชะลอการนำเข้าและการผลิตลง
1.3 เสถียรภาพเศรษฐกิจ พิจารณาจาก อัตราเงินเฟ้อ อัตราว่างงาน ดุลบัญชีเดินสะพัด ค่าเงินบาท จะพบว่าเศรษฐกิจยังคงมีเสถียรภาพ กล่าวคือ (1) อัตราเงินเฟ้อเริ่มทรงตัว (2) อัตราว่างงานต่ำเพียงร้อยละ 1.1 ในเดือนกรกฎาคม (3) ดุลบัญชีเดินสะพัดปรับตัวดีขึ้น โดยครึ่งปีแรกเกินดุล 503 ล้านดอลลาร์ สรอ. และเดือนกรกฎาคม เกินดุล 309 ล้านดอลลาร์ สรอ. ซึ่งเป็นผลจากการปรับตัวดีขึ้นของดุลการค้าในเดือนกรกฎาคม และ (4) ค่าเงินบาททรงตัวที่ 37-38 บาทต่อดอลลาร์ สรอ.
2. แนวโน้มเศรษฐกิจในปี 2549
2.1 ปัจจัยสำคัญที่คาดว่าจะเป็นสาเหตุหลักของการชะลอตัวทางเศรษฐกิจในครึ่งหลังปี 2549 ได้แก่
- ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก ในการประมาณการเศรษฐกิจในเดือนมิถุนายน สศช.ได้คาดว่า ราคาน้ำมันดิบดูไบเฉลี่ยทั้งปีจะอยู่ในช่วง 62-65 ดอลลาร์ แต่ในช่วงกรกฎาคมถึงสิงหาคมที่ผ่านมาราคาน้ำมันได้ปรับสูงขึ้นอยู่ในช่วง 68-69 ดอลลาร์ จึงปรับสมมติฐานเฉลี่ยในปี 2549 เป็นประมาณ 65-68 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาร์เรล
- การชะลอตัวลงของเศรษฐกิจโลกในครึ่งปีหลัง จะส่งผลกระทบต่อการส่งออกของไทย โดยเฉพาะในหมวดอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีการขยายตัวอย่างสูงในครึ่งปีแรก ประกอบกับในช่วงครึ่งหลังประเทศอาจจะได้รับผลกระทบจากมาตรการนำเข้าของต่างประเทศ อาทิ การตัดสิทธิพิเศษทางภาษีสำหรับการส่งออก สินค้าธัญพืช และลิ้นจี่/ลำไยกระป๋องไปตลาดสหรัฐฯ การกำหนดใบรับรองมาตรฐานสินค้ากุ้งในตลาดยุโรป และระเบียบว่าด้วยการกำจัดการใช้สารอันตรายในเครื่องใช้ไฟฟ้าและผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ในตลาดยุโรป เป็นต้น ดังนั้นคาดว่าการ
ส่งออกจะขยายตัวร้อยละ 14-15 (เป้าหมายร้อยละ 17.5)
- ค่าเงินบาท (ที่แท้จริง) ที่แข็งขึ้นกระทบความสามารถในการแข่งขันด้านราคา โดยเฉพาะในกลุ่มสินค้าที่กำลังเข้าสู่ช่วงชะลอตัว เช่น อิเล็กทรอนิกส์ และกลุ่มที่กำลังสูญเสียขีดความสามารถต่อประเทศที่มีต้นทุนการผลิตที่ต่ำอยู่แล้ว อาทิ เครื่องใช้ไฟฟ้า สิ่งทอ เครื่องหนัง และเฟอร์นิเจอร์ เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตามคาดว่าค่าเงินบาทจะไม่แข็งค่าจากระดับปัจจุบันมากนัก คาดว่าปลายปีจะมีค่าประมาณ 37.5 บาทต่อดอลลาร์ สรอ.
- ปัจจัยด้านอัตราดอกเบี้ย ที่เพิ่มสูงขึ้นตั้งแต่ในช่วงต้นปี 2549 โดยเฉพาะอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ MLR เฉลี่ยที่ร้อยละ 7.75 ณ สิ้นเดือนสิงหาคม โดยเฉพาะในสินเชื่อสำหรับรายย่อย มีผลทำให้อัตราการขยายตัวของสินเชื่อเพื่อการบริโภคมีอัตราการขยายตัวที่ชะลอลงจากปี 2548
- ความไม่แน่นอนทางการเมืองส่งผลให้ความมั่นใจของผู้บริโภคและเอกชนลดลงต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปี และกระทบต่อการตัดสินใจใช้จ่ายและการลงทุน และผลกระทบจากการที่ พ.ร.บ.งบประมาณปี 2550 ไม่สามารถเริ่มใช้จ่ายได้ตามกำหนดการปกติซึ่งจะมีผลต่อการเบิกจ่ายงบประมาณของรัฐบาลในสองไตรมาสแรกของปีงบประมาณ
2.2 ปัจจัยบวก/โอกาสของเศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีหลัง ประกอบด้วย ภาวะเศรษฐกิจโลกที่ยังมีแนวโน้มขยายตัวได้ในเกณฑ์ดีแม้จะเป็นการชะลอตัวลงในครึ่งหลังก็ตาม การส่งออกและการท่องเที่ยวยังมีแนวโน้มขยายตัวได้ดี ราคาและผลผลิตสินค้าเกษตรสูงขึ้น และแรงกดดันอัตราเงินเฟ้อลดลง รวมทั้งการปรับตัวด้านการใช้จ่ายของประชาชนและการบริหารจัดการด้านพลังงานโดยรัฐบาล
2.3 จากภาวะเศรษฐกิจในครึ่งแรกและแนวโน้มในครึ่งหลัง สศช. ได้ปรับช่วงของการประมาณการที่ได้แถลงไว้เมื่อ 5 มิถุนายน 2549 ที่ร้อยละ 4.2-4.9 (ค่ากลางร้อยละ 4.6) เป็นร้อยละ 4.2-4.7 (ค่ากลางร้อยละ 4.5) และคาดการณ์ภาวะเงินเฟ้อร้อยละ 4.5-4.7 เท่ากับในการประมาณการครั้งก่อน และคาดว่าดุลการค้าจะขาดดุลประมาณ 3.7 พันล้านดอลลาร์ สรอ. เนื่องจากการส่งออกยังขยายตัวได้มากกว่าที่คาดไว้ ในขณะที่การนำเข้าชะลอตัวมากกว่าที่คาดการณ์ เมื่อรวมกับการเกินดุลบริการประมาณ 5 พันล้านดอลลาร์ คาดว่าดุลบัญชีเดินสะพัดจะกลับมาเกินดุลเล็กน้อยที่ประมาณ 1.3 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ซึ่งคิดเป็นประมาณร้อยละ 0.6 ของ GDP
3. การบริหารเศรษฐกิจในช่วงที่เหลือของปี 2549 เห็นควรดำเนินการดังนี้
3.1 เร่งรัดหน่วยงานราชการให้เร่งทำแผนเบิกจ่ายงบลงทุนที่ผูกพันตาม ม. 23 เพื่อให้มีความพร้อมในการเบิกจ่ายในไตรมาสสุดท้ายของปี 2549 และไตรมาสแรกของปี 2550
3.2 เร่งรัดมาตรการด้านพลังงาน โดยเฉพาะในเรื่องความพร้อมของภาคเอกชนในการผลิตเอทานอล การใช้ NGV ในรถแท็กซี่และรถขนส่งมวลชน และเร่งรัดโครงการรถไฟฟ้าที่คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติแล้ว
3.3 จัดทำงบประมาณขาดดุลในปีงบประมาณประจำปี พ.ศ. 2550 โดยให้ลำดับความสำคัญในการจัดสรรงบประมาณเพื่อการลงทุนด้านสังคม โดยเฉพาะทางด้านการศึกษาและสาธารณสุข รวมทั้งโครงการการลงทุนด้านพลังงานและโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ
3.4 ให้ความสำคัญกับมาตรการทางสังคมเพื่อดูแลผู้สูงอายุและผู้ด้อยโอกาส โดยเฉพาะการดูแลด้านการใช้จ่ายที่สำคัญ เช่น ทุนการศึกษา เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุและผู้พิการ เป็นต้น
3.5 เสริมสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนและภาคธุรกิจเอกชน โดยการชี้แจงถึงสถานการณ์ที่แท้จริงด้านเศรษฐกิจ และการดำเนินนโยบายที่ยังมีความต่อเนื่องในช่วงของรัฐบาลรักษาการ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 5 กันยายน 2549--จบ--
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้เผยแพร่ตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ไตรมาสที่ 2/2549 และแนวโน้มเศรษฐกิจปี 2549 เมื่อวันที่ 4 กันยายน 2549 สรุปประเด็นสำคัญ ดังนี้
1. ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ในไตรมาสที่ 2/2549 ขยายตัวร้อยละ 4.9 ชะลอตัวลงจากที่ขยายตัวร้อยละ 6.1 ในไตรมาสแรกของปี 2549 เนื่องจากการใช้จ่ายและการลงทุนภาคเอกชนชะลอตัว จากผลกระทบราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้น การปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ย และความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและนักลงทุนที่ลดลง อันเนื่องมาจากสถานการณ์ภายในประเทศ โดยรวมครึ่งแรกของปีเศรษฐกิจขยายตัวร้อยละ 5.5 สูงกว่าร้อยละ 3.9 ของปีที่แล้ว อัตราเงินเฟ้อเท่ากับร้อยละ 5.9 โดยที่อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 6 ในไตรมาสที่สองจากร้อยละ 5.7 ในไตรมาสแรก
1.1 การขยายตัวของเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 2 ยังมีแรงสนับสนุนหลัก ดังนี้
- ภาคอุตสาหกรรมขยายตัวร้อยละ 5.8 ภาคการเกษตรขยายตัวร้อยละ 5.4 และราคาสินค้าเกษตรเพิ่มขึ้นมาก ทำให้รายได้จากพืชผลเพิ่มขึ้นร้อยละ 40.1 ภาคการท่องเที่ยวยังขยายตัวได้ดี ใน Q2 จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.2
- การส่งออกยังขยายตัวดี มูลค่าการส่งออกในรูปเงินดอลลาร์ สรอ. ใน Q2 ขยายตัวถึงร้อยละ 16.3 ในขณะที่การนำเข้ายังชะลอตัวต่อเนื่อง โดยมูลค่าเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 3.2
- การใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐเพิ่มขึ้น การใช้จ่ายรัฐบาล ณ ราคาคงที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.4 (ลดลงร้อยละ 0.9 ในไตรมาสแรก) และการลงทุนภาครัฐเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.0 (จากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.6 ในไตรมาสแรก)
1.2 การชะลอตัวอย่างชัดเจนในไตรมาสที่ 2 ได้แก่
- การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคของครัวเรือน โดยมีการขยายตัวร้อยละ 3.7 ชะลอลงจากการขยายตัวร้อยละ 4.1 ในสองไตรมาสที่ผ่านมา จากผลกระทบอัตราเงินเฟ้อซึ่งเท่ากับร้อยละ 6.0 (ราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้นเป็นบาร์เรลละ 64.9 เพิ่มขึ้นร้อยละ 35.5 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน)
- การลงทุนภาคเอกชน ขยายตัวร้อยละ 3.6 ในไตรมาสที่ 2 เทียบกับร้อยละ 7.2 ในไตรมาสแรก โดยเฉพาะการลงทุนในเครื่องจักรอุปกรณ์ขยายตัวร้อยละ 3.9 การลงทุนในการก่อสร้างที่อยู่อาศัยและอาคารพาณิชย์ขยายตัวเพียงร้อยละ 3.5 นอกจากนี้ในไตรมาสที่สองมีการนำสินค้าคงคลังออกมาใช้เป็นมูลค่าถึง 14,702 ล้านบาท จึงทำให้มีการชะลอการนำเข้าและการผลิตลง
1.3 เสถียรภาพเศรษฐกิจ พิจารณาจาก อัตราเงินเฟ้อ อัตราว่างงาน ดุลบัญชีเดินสะพัด ค่าเงินบาท จะพบว่าเศรษฐกิจยังคงมีเสถียรภาพ กล่าวคือ (1) อัตราเงินเฟ้อเริ่มทรงตัว (2) อัตราว่างงานต่ำเพียงร้อยละ 1.1 ในเดือนกรกฎาคม (3) ดุลบัญชีเดินสะพัดปรับตัวดีขึ้น โดยครึ่งปีแรกเกินดุล 503 ล้านดอลลาร์ สรอ. และเดือนกรกฎาคม เกินดุล 309 ล้านดอลลาร์ สรอ. ซึ่งเป็นผลจากการปรับตัวดีขึ้นของดุลการค้าในเดือนกรกฎาคม และ (4) ค่าเงินบาททรงตัวที่ 37-38 บาทต่อดอลลาร์ สรอ.
2. แนวโน้มเศรษฐกิจในปี 2549
2.1 ปัจจัยสำคัญที่คาดว่าจะเป็นสาเหตุหลักของการชะลอตัวทางเศรษฐกิจในครึ่งหลังปี 2549 ได้แก่
- ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก ในการประมาณการเศรษฐกิจในเดือนมิถุนายน สศช.ได้คาดว่า ราคาน้ำมันดิบดูไบเฉลี่ยทั้งปีจะอยู่ในช่วง 62-65 ดอลลาร์ แต่ในช่วงกรกฎาคมถึงสิงหาคมที่ผ่านมาราคาน้ำมันได้ปรับสูงขึ้นอยู่ในช่วง 68-69 ดอลลาร์ จึงปรับสมมติฐานเฉลี่ยในปี 2549 เป็นประมาณ 65-68 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาร์เรล
- การชะลอตัวลงของเศรษฐกิจโลกในครึ่งปีหลัง จะส่งผลกระทบต่อการส่งออกของไทย โดยเฉพาะในหมวดอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีการขยายตัวอย่างสูงในครึ่งปีแรก ประกอบกับในช่วงครึ่งหลังประเทศอาจจะได้รับผลกระทบจากมาตรการนำเข้าของต่างประเทศ อาทิ การตัดสิทธิพิเศษทางภาษีสำหรับการส่งออก สินค้าธัญพืช และลิ้นจี่/ลำไยกระป๋องไปตลาดสหรัฐฯ การกำหนดใบรับรองมาตรฐานสินค้ากุ้งในตลาดยุโรป และระเบียบว่าด้วยการกำจัดการใช้สารอันตรายในเครื่องใช้ไฟฟ้าและผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ในตลาดยุโรป เป็นต้น ดังนั้นคาดว่าการ
ส่งออกจะขยายตัวร้อยละ 14-15 (เป้าหมายร้อยละ 17.5)
- ค่าเงินบาท (ที่แท้จริง) ที่แข็งขึ้นกระทบความสามารถในการแข่งขันด้านราคา โดยเฉพาะในกลุ่มสินค้าที่กำลังเข้าสู่ช่วงชะลอตัว เช่น อิเล็กทรอนิกส์ และกลุ่มที่กำลังสูญเสียขีดความสามารถต่อประเทศที่มีต้นทุนการผลิตที่ต่ำอยู่แล้ว อาทิ เครื่องใช้ไฟฟ้า สิ่งทอ เครื่องหนัง และเฟอร์นิเจอร์ เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตามคาดว่าค่าเงินบาทจะไม่แข็งค่าจากระดับปัจจุบันมากนัก คาดว่าปลายปีจะมีค่าประมาณ 37.5 บาทต่อดอลลาร์ สรอ.
- ปัจจัยด้านอัตราดอกเบี้ย ที่เพิ่มสูงขึ้นตั้งแต่ในช่วงต้นปี 2549 โดยเฉพาะอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ MLR เฉลี่ยที่ร้อยละ 7.75 ณ สิ้นเดือนสิงหาคม โดยเฉพาะในสินเชื่อสำหรับรายย่อย มีผลทำให้อัตราการขยายตัวของสินเชื่อเพื่อการบริโภคมีอัตราการขยายตัวที่ชะลอลงจากปี 2548
- ความไม่แน่นอนทางการเมืองส่งผลให้ความมั่นใจของผู้บริโภคและเอกชนลดลงต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปี และกระทบต่อการตัดสินใจใช้จ่ายและการลงทุน และผลกระทบจากการที่ พ.ร.บ.งบประมาณปี 2550 ไม่สามารถเริ่มใช้จ่ายได้ตามกำหนดการปกติซึ่งจะมีผลต่อการเบิกจ่ายงบประมาณของรัฐบาลในสองไตรมาสแรกของปีงบประมาณ
2.2 ปัจจัยบวก/โอกาสของเศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีหลัง ประกอบด้วย ภาวะเศรษฐกิจโลกที่ยังมีแนวโน้มขยายตัวได้ในเกณฑ์ดีแม้จะเป็นการชะลอตัวลงในครึ่งหลังก็ตาม การส่งออกและการท่องเที่ยวยังมีแนวโน้มขยายตัวได้ดี ราคาและผลผลิตสินค้าเกษตรสูงขึ้น และแรงกดดันอัตราเงินเฟ้อลดลง รวมทั้งการปรับตัวด้านการใช้จ่ายของประชาชนและการบริหารจัดการด้านพลังงานโดยรัฐบาล
2.3 จากภาวะเศรษฐกิจในครึ่งแรกและแนวโน้มในครึ่งหลัง สศช. ได้ปรับช่วงของการประมาณการที่ได้แถลงไว้เมื่อ 5 มิถุนายน 2549 ที่ร้อยละ 4.2-4.9 (ค่ากลางร้อยละ 4.6) เป็นร้อยละ 4.2-4.7 (ค่ากลางร้อยละ 4.5) และคาดการณ์ภาวะเงินเฟ้อร้อยละ 4.5-4.7 เท่ากับในการประมาณการครั้งก่อน และคาดว่าดุลการค้าจะขาดดุลประมาณ 3.7 พันล้านดอลลาร์ สรอ. เนื่องจากการส่งออกยังขยายตัวได้มากกว่าที่คาดไว้ ในขณะที่การนำเข้าชะลอตัวมากกว่าที่คาดการณ์ เมื่อรวมกับการเกินดุลบริการประมาณ 5 พันล้านดอลลาร์ คาดว่าดุลบัญชีเดินสะพัดจะกลับมาเกินดุลเล็กน้อยที่ประมาณ 1.3 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ซึ่งคิดเป็นประมาณร้อยละ 0.6 ของ GDP
3. การบริหารเศรษฐกิจในช่วงที่เหลือของปี 2549 เห็นควรดำเนินการดังนี้
3.1 เร่งรัดหน่วยงานราชการให้เร่งทำแผนเบิกจ่ายงบลงทุนที่ผูกพันตาม ม. 23 เพื่อให้มีความพร้อมในการเบิกจ่ายในไตรมาสสุดท้ายของปี 2549 และไตรมาสแรกของปี 2550
3.2 เร่งรัดมาตรการด้านพลังงาน โดยเฉพาะในเรื่องความพร้อมของภาคเอกชนในการผลิตเอทานอล การใช้ NGV ในรถแท็กซี่และรถขนส่งมวลชน และเร่งรัดโครงการรถไฟฟ้าที่คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติแล้ว
3.3 จัดทำงบประมาณขาดดุลในปีงบประมาณประจำปี พ.ศ. 2550 โดยให้ลำดับความสำคัญในการจัดสรรงบประมาณเพื่อการลงทุนด้านสังคม โดยเฉพาะทางด้านการศึกษาและสาธารณสุข รวมทั้งโครงการการลงทุนด้านพลังงานและโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ
3.4 ให้ความสำคัญกับมาตรการทางสังคมเพื่อดูแลผู้สูงอายุและผู้ด้อยโอกาส โดยเฉพาะการดูแลด้านการใช้จ่ายที่สำคัญ เช่น ทุนการศึกษา เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุและผู้พิการ เป็นต้น
3.5 เสริมสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนและภาคธุรกิจเอกชน โดยการชี้แจงถึงสถานการณ์ที่แท้จริงด้านเศรษฐกิจ และการดำเนินนโยบายที่ยังมีความต่อเนื่องในช่วงของรัฐบาลรักษาการ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 5 กันยายน 2549--จบ--