คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานความก้าวหน้าการแก้ไขปัญหาความยากจนเชิงบูรณาการด้านการเกษตรและสหกรณ์อำเภออาจสามารถ จังหวัดร้อยเอ็ด ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เสนอดังนี้
ความก้าวหน้าการดำเนินงาน
เกษตรกรที่จดทะเบียนคนยากจน และผ่านการกลั่นกรอง (Verify) ข้อมูลแล้ว จำนวน 647 ราย ซึ่งมีปัญหาด้านขาดแคลนที่ดินทำกิน ปัญหาหนี้สินและปัญหาต้องการอาชีพหลังจากได้สาธิตแก้ไขปัญหาไปแล้ว ผลการ
แก้ไขปัญหาสรุปได้ดังนี้
1. การช่วยเหลือรายบุคคล ได้จัดทำสมุดบันทึกการแก้ไขปัญหารายครัวเรือน (Family Folder) เกษตรกรยากจนทุกราย และได้แก้ไขปัญหาไปแล้ว 174 ราย (ซึ่งผ่านการสัมภาษณ์ของนายกรัฐมนตรี 32 ราย ) เมื่อได้รับทราบปัญหาและวิเคราะห์ศักยภาพของครัวเรือนแล้วได้ทำการแนะนำส่งเสริมอาชีพทั้งกิจกรรมที่ได้ทำอยู่แล้วและกิจกรรมเสริมเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตให้สูงขึ้น ดังนี้
1.1 กิจกรรมเดิม ได้แก่ ผักสวนครัวและไร่นาสวนผสม 18 ราย ปลูกไม้ดอก ไม้ผลและปลูกผักโดยใช้น้ำอย่างประหยัด โดยจัดทำแปลงสาธิต และสนับสนุนเงินงบประมาณเพื่อจัดซื้อสายยางน้ำซึม พร้อมการติดตั้ง จำนวน 3 ชุด ๆ ละ 50,000 บาท ปลูกยูคาลิปตัส 1 ราย ปลูกงาดำ 60 ราย ถั่วลิสง 166 ราย ฟักทอง 38 ราย เลี้ยงกุ้งก้ามกราม 2 ราย เลี้ยงปลาดุกในบ่อพลาสติก 56 ราย ฯลฯ
1.2 กิจกรรมเสริม ให้เกษตรกรยืมโคเพศเมีย 66 ราย ๆ ละ 1 ตัว และแจกเมล็ดพันธ์หญ้ากินีสีม่วง 3 ราย เพาะเห็ดฟาง 16 ราย และผลิตปุ๋ยชีวภาพ/ปุ๋ยพืชสด 3 ราย
2. การแก้ปัญหาระดับชุมชน ได้ทำการศึกษาสภาพพื้นที่ วิเคราะห์ปัญหาและศักยภาพของชุมชนแล้วจึงได้ดำเนินการใน 3 หลัก คือ ด้านปัจจัยพื้นฐานการผลิตทางการเกษตร ด้านการส่งเสริมอาชีพ และด้านการสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชน นอกจากชุมชนจะได้รับการแก้ไขปัญหาแล้ว ยังสามารถแก้ไขปัญหารายบุคคลด้วย ดังนี้
2.1 ปัจจัยพื้นฐานการผลิตทางการเกษตร ได้วางแผนแก้ไขปัญหาน้ำเพื่อการเกษตรครอบคลุมพื้นที่ที่มีปัญหาทั้งอำเภอ เนื้อที่ประมาณ 63,000 ไร่ เนื้องานเป้าหมาย 75 งาน (โครงการย่อย) ได้ทำการสำรวจแล้ว 66 งาน (88% ของเป้าหมาย) ได้ออกแบบก่อสร้างแล้วเสร็จ 51 งาน (68% ของเป้าหมาย) สาธิตการปรับปรุงแปลงนาให้ใหญ่ขึ้นพร้อมทั้งไถกลบตอซังพื้นที่ 2,100 ไร่ และสาธิตการจัดทำปุ๋ยพืชสด 500 ไร่
2.2 ด้านการส่งเสริมอาชีพ ได้ดำเนินการในลักษณะการสนับสนุนพันธุ์ดี ฝึกอบรมและให้ความรู้แก่เกษตรกรด้านการประกอบอาชีพ และเป็นจุดสาธิต/เรียนรู้ของเกษตรทั่ว ๆ ไป ได้แก่
(1) จัดส่งเมล็ดพันธุ์ข้าวให้ศูนย์ส่งเสริมและผลิตข้าวชุมชนและฝึกอบรมเกษตรกร 250 ราย
(2)ให้ความรู้ด้านการผลิตข้าวหอมมะลิอินทรีย์
(3) แนะนำส่งเสริมสนับสนุนพันธุ์และฝึกอบรมให้ความรู้ในการปลูกผักสวนครัว โดยวิธีการสาธิตการใช้น้ำอย่างประหยัด ตลอดจนประสานภาคเอกชนเพื่อทำสัญญาข้อตกลงซื้อขาย
(4) อบรมเกษตรกรเพื่อปลูกไม้ยูคาลิปตัสบนคันนาได้ปลูกอย่างถูกต้องทั้งระยะและทิศทาง
(5) สาธิตการปลูกนาหญ้าในพื้นที่ 50 ไร่ ซึ่งในระยะเวลาสั้น ตัดขายไปแล้วผลผลิตรวม 65,000 กิโลกรัม
(6) สาธิตการเลี้ยงกุ้งก้ามกรามและปล่อยพันธุ์กุ้ง 300,000 ตัว ในพื้นที่ 3 แห่ง และกำลังจัดซื้อเครื่องผลิตอาหารกุ้งให้ชุมชน 1 ชุด สาธิตการเลี้ยงปลาดุกในบ่อพลาสติก 4 จุด สาธิตการเพาะปลูกเลี้ยงปลาน้ำจืด 2 จุด และฝึกอบรมให้ความรู้แก่เกษตรกรพร้อมทั้งมอบพันธุ์ปลาเพื่อเลี้ยงในบ่อดิน ในนาข้าว และการทำประมงเชิงพาณิชย์
2.3 การสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชน กิจกรรมที่สำคัญ ได้แก่
(1) จัดตั้งศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงในเขตปฏิรูปที่ดิน 1 แห่ง เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ในการปลูก และแปรรูปฟักทอง ปลูกยูคาลิปตัสอย่างประณีต พัฒนาอาชีพการเลี้ยงโคเนื้อ และปรับเปลี่ยนพันธุ์ข้าวเป็นพันธุ์หอมมะลิ
(2) สอน และแนะนำการทำบัญชีรายรับ — รายจ่ายให้ครัวเรือนเกษตรกร 685 ราย ซึ่งครอบคลุมเกษตรกรยากจนที่จดทะเบียนเกือบทั้งหมด และได้ติดตามการจัดทำบัญชีของเกษตรกร
(3) เชื่อมโยงธุรกิจในการจัดหาวัสดุการเกษตร มาจำหน่ายให้เกษตรกรในราคาที่เป็นธรรม
(4) พัฒนาผลิตภัณฑ์สิ่งทอ (ผ้าไหม) ให้แก่กลุ่มแม่บ้าน 3 แห่ง จำนวน 73 ราย
(5) จัดตั้งกลุ่มแม่บ้าน เพื่อแปรรูปฟักทองให้มีมูลค่าเพิ่ม
(6) พัฒนาผลิตภัณฑ์ชุดนึ่งข้าวจากที่ดำเนินการอยู่แล้วให้สามารถจำหน่ายได้เพิ่มมากขึ้น
3. ผลได้
3.1 เกษตรกรยากจนที่ได้รับการช่วยเหลือรายบุคคลได้รับผลได้จากการแก้ไขปัญหาทันทีในกิจกรรมระยะสั้น เช่น เพาะเห็ดฟางมีรายได้ 6,220 บาท/ราย ปลูกงาดำรายได้ 2,731 บาท/ไร่ ถั่วลิสงรายได้ 2,750 บาท/ไร่ ฟักทอง 2,000 บาท/ไร่ นาหญ้า 2,100 บาท/ไร่ เป็นต้น เกษตรกรมีความพึงพอใจในรายได้ที่เกิดขึ้น ส่วนเกษตรกรที่ยังไม่ได้รับการแก้ไขปัญหารายบุคคล ก็ได้รับประโยชน์จากการแก้ไขปัญหาในระดับชุมชนด้วย
3.2 กระทรวงเกษตรฯ ได้นำรูปแบบการแก้ปัญหาจากอำเภออาจสามารถ (อาจสามารถโมเดล) กระบวนการพัฒนาเป็นบันได 4 ขั้น คือ ขั้นที่ 1 ทำการเกษตรขั้นพื้นฐานเพื่อกินและใช้ในครัวเรือน ขั้นที่ 2 ผลิตเพื่อขายแลกเปลี่ยนในท้องถิ่น ขั้นที่ 3 ผลิตเพื่อขายแลกเปลี่ยนระหว่างชุมชนอำเภอ จังหวัด ขั้นที่ 4 ผลิตเพื่อส่งออก ฝึกอบรมระดับเจ้าหน้าที่เพื่อเป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้ขยายผลให้ครอบคลุมทุก ๆ พื้นที่ โดยการจัดทำแผนพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์ระดับตำบล (แผนเศรษฐกิจพอเพียงชุมชน) และให้สามารถนำไปปฏิบัติได้ทุก ๆ จังหวัด โดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ของทุก ๆ ภาคส่วน เช่น แหล่งทุนจากสถาบันการเงิน กองทุนต่าง ๆ ที่เข้าถึงชุมชน งบประมาณจากองค์กรท้องถิ่น องค์ความรู้จากสถานที่ของราชการ สถานที่ของเกษตรกรที่ประสบความสำเร็จ อาสาสมัครและปราชญ์ชาวบ้าน และเครือข่ายต่าง ๆ อาทิ เครือข่ายชุมชน เครือข่ายทางสังคม ศาสนา มูลนิธิองค์กรพัฒนาเอกชน ให้เกิดการเกื้อหนุนกันอันจะนำสู่การแก้ไขปัญหาความยากจนเชิงบูรณาการที่แท้จริง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 18 กรกฎาคม 2549--จบ--
ความก้าวหน้าการดำเนินงาน
เกษตรกรที่จดทะเบียนคนยากจน และผ่านการกลั่นกรอง (Verify) ข้อมูลแล้ว จำนวน 647 ราย ซึ่งมีปัญหาด้านขาดแคลนที่ดินทำกิน ปัญหาหนี้สินและปัญหาต้องการอาชีพหลังจากได้สาธิตแก้ไขปัญหาไปแล้ว ผลการ
แก้ไขปัญหาสรุปได้ดังนี้
1. การช่วยเหลือรายบุคคล ได้จัดทำสมุดบันทึกการแก้ไขปัญหารายครัวเรือน (Family Folder) เกษตรกรยากจนทุกราย และได้แก้ไขปัญหาไปแล้ว 174 ราย (ซึ่งผ่านการสัมภาษณ์ของนายกรัฐมนตรี 32 ราย ) เมื่อได้รับทราบปัญหาและวิเคราะห์ศักยภาพของครัวเรือนแล้วได้ทำการแนะนำส่งเสริมอาชีพทั้งกิจกรรมที่ได้ทำอยู่แล้วและกิจกรรมเสริมเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตให้สูงขึ้น ดังนี้
1.1 กิจกรรมเดิม ได้แก่ ผักสวนครัวและไร่นาสวนผสม 18 ราย ปลูกไม้ดอก ไม้ผลและปลูกผักโดยใช้น้ำอย่างประหยัด โดยจัดทำแปลงสาธิต และสนับสนุนเงินงบประมาณเพื่อจัดซื้อสายยางน้ำซึม พร้อมการติดตั้ง จำนวน 3 ชุด ๆ ละ 50,000 บาท ปลูกยูคาลิปตัส 1 ราย ปลูกงาดำ 60 ราย ถั่วลิสง 166 ราย ฟักทอง 38 ราย เลี้ยงกุ้งก้ามกราม 2 ราย เลี้ยงปลาดุกในบ่อพลาสติก 56 ราย ฯลฯ
1.2 กิจกรรมเสริม ให้เกษตรกรยืมโคเพศเมีย 66 ราย ๆ ละ 1 ตัว และแจกเมล็ดพันธ์หญ้ากินีสีม่วง 3 ราย เพาะเห็ดฟาง 16 ราย และผลิตปุ๋ยชีวภาพ/ปุ๋ยพืชสด 3 ราย
2. การแก้ปัญหาระดับชุมชน ได้ทำการศึกษาสภาพพื้นที่ วิเคราะห์ปัญหาและศักยภาพของชุมชนแล้วจึงได้ดำเนินการใน 3 หลัก คือ ด้านปัจจัยพื้นฐานการผลิตทางการเกษตร ด้านการส่งเสริมอาชีพ และด้านการสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชน นอกจากชุมชนจะได้รับการแก้ไขปัญหาแล้ว ยังสามารถแก้ไขปัญหารายบุคคลด้วย ดังนี้
2.1 ปัจจัยพื้นฐานการผลิตทางการเกษตร ได้วางแผนแก้ไขปัญหาน้ำเพื่อการเกษตรครอบคลุมพื้นที่ที่มีปัญหาทั้งอำเภอ เนื้อที่ประมาณ 63,000 ไร่ เนื้องานเป้าหมาย 75 งาน (โครงการย่อย) ได้ทำการสำรวจแล้ว 66 งาน (88% ของเป้าหมาย) ได้ออกแบบก่อสร้างแล้วเสร็จ 51 งาน (68% ของเป้าหมาย) สาธิตการปรับปรุงแปลงนาให้ใหญ่ขึ้นพร้อมทั้งไถกลบตอซังพื้นที่ 2,100 ไร่ และสาธิตการจัดทำปุ๋ยพืชสด 500 ไร่
2.2 ด้านการส่งเสริมอาชีพ ได้ดำเนินการในลักษณะการสนับสนุนพันธุ์ดี ฝึกอบรมและให้ความรู้แก่เกษตรกรด้านการประกอบอาชีพ และเป็นจุดสาธิต/เรียนรู้ของเกษตรทั่ว ๆ ไป ได้แก่
(1) จัดส่งเมล็ดพันธุ์ข้าวให้ศูนย์ส่งเสริมและผลิตข้าวชุมชนและฝึกอบรมเกษตรกร 250 ราย
(2)ให้ความรู้ด้านการผลิตข้าวหอมมะลิอินทรีย์
(3) แนะนำส่งเสริมสนับสนุนพันธุ์และฝึกอบรมให้ความรู้ในการปลูกผักสวนครัว โดยวิธีการสาธิตการใช้น้ำอย่างประหยัด ตลอดจนประสานภาคเอกชนเพื่อทำสัญญาข้อตกลงซื้อขาย
(4) อบรมเกษตรกรเพื่อปลูกไม้ยูคาลิปตัสบนคันนาได้ปลูกอย่างถูกต้องทั้งระยะและทิศทาง
(5) สาธิตการปลูกนาหญ้าในพื้นที่ 50 ไร่ ซึ่งในระยะเวลาสั้น ตัดขายไปแล้วผลผลิตรวม 65,000 กิโลกรัม
(6) สาธิตการเลี้ยงกุ้งก้ามกรามและปล่อยพันธุ์กุ้ง 300,000 ตัว ในพื้นที่ 3 แห่ง และกำลังจัดซื้อเครื่องผลิตอาหารกุ้งให้ชุมชน 1 ชุด สาธิตการเลี้ยงปลาดุกในบ่อพลาสติก 4 จุด สาธิตการเพาะปลูกเลี้ยงปลาน้ำจืด 2 จุด และฝึกอบรมให้ความรู้แก่เกษตรกรพร้อมทั้งมอบพันธุ์ปลาเพื่อเลี้ยงในบ่อดิน ในนาข้าว และการทำประมงเชิงพาณิชย์
2.3 การสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชน กิจกรรมที่สำคัญ ได้แก่
(1) จัดตั้งศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงในเขตปฏิรูปที่ดิน 1 แห่ง เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ในการปลูก และแปรรูปฟักทอง ปลูกยูคาลิปตัสอย่างประณีต พัฒนาอาชีพการเลี้ยงโคเนื้อ และปรับเปลี่ยนพันธุ์ข้าวเป็นพันธุ์หอมมะลิ
(2) สอน และแนะนำการทำบัญชีรายรับ — รายจ่ายให้ครัวเรือนเกษตรกร 685 ราย ซึ่งครอบคลุมเกษตรกรยากจนที่จดทะเบียนเกือบทั้งหมด และได้ติดตามการจัดทำบัญชีของเกษตรกร
(3) เชื่อมโยงธุรกิจในการจัดหาวัสดุการเกษตร มาจำหน่ายให้เกษตรกรในราคาที่เป็นธรรม
(4) พัฒนาผลิตภัณฑ์สิ่งทอ (ผ้าไหม) ให้แก่กลุ่มแม่บ้าน 3 แห่ง จำนวน 73 ราย
(5) จัดตั้งกลุ่มแม่บ้าน เพื่อแปรรูปฟักทองให้มีมูลค่าเพิ่ม
(6) พัฒนาผลิตภัณฑ์ชุดนึ่งข้าวจากที่ดำเนินการอยู่แล้วให้สามารถจำหน่ายได้เพิ่มมากขึ้น
3. ผลได้
3.1 เกษตรกรยากจนที่ได้รับการช่วยเหลือรายบุคคลได้รับผลได้จากการแก้ไขปัญหาทันทีในกิจกรรมระยะสั้น เช่น เพาะเห็ดฟางมีรายได้ 6,220 บาท/ราย ปลูกงาดำรายได้ 2,731 บาท/ไร่ ถั่วลิสงรายได้ 2,750 บาท/ไร่ ฟักทอง 2,000 บาท/ไร่ นาหญ้า 2,100 บาท/ไร่ เป็นต้น เกษตรกรมีความพึงพอใจในรายได้ที่เกิดขึ้น ส่วนเกษตรกรที่ยังไม่ได้รับการแก้ไขปัญหารายบุคคล ก็ได้รับประโยชน์จากการแก้ไขปัญหาในระดับชุมชนด้วย
3.2 กระทรวงเกษตรฯ ได้นำรูปแบบการแก้ปัญหาจากอำเภออาจสามารถ (อาจสามารถโมเดล) กระบวนการพัฒนาเป็นบันได 4 ขั้น คือ ขั้นที่ 1 ทำการเกษตรขั้นพื้นฐานเพื่อกินและใช้ในครัวเรือน ขั้นที่ 2 ผลิตเพื่อขายแลกเปลี่ยนในท้องถิ่น ขั้นที่ 3 ผลิตเพื่อขายแลกเปลี่ยนระหว่างชุมชนอำเภอ จังหวัด ขั้นที่ 4 ผลิตเพื่อส่งออก ฝึกอบรมระดับเจ้าหน้าที่เพื่อเป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้ขยายผลให้ครอบคลุมทุก ๆ พื้นที่ โดยการจัดทำแผนพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์ระดับตำบล (แผนเศรษฐกิจพอเพียงชุมชน) และให้สามารถนำไปปฏิบัติได้ทุก ๆ จังหวัด โดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ของทุก ๆ ภาคส่วน เช่น แหล่งทุนจากสถาบันการเงิน กองทุนต่าง ๆ ที่เข้าถึงชุมชน งบประมาณจากองค์กรท้องถิ่น องค์ความรู้จากสถานที่ของราชการ สถานที่ของเกษตรกรที่ประสบความสำเร็จ อาสาสมัครและปราชญ์ชาวบ้าน และเครือข่ายต่าง ๆ อาทิ เครือข่ายชุมชน เครือข่ายทางสังคม ศาสนา มูลนิธิองค์กรพัฒนาเอกชน ให้เกิดการเกื้อหนุนกันอันจะนำสู่การแก้ไขปัญหาความยากจนเชิงบูรณาการที่แท้จริง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 18 กรกฎาคม 2549--จบ--