คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่ กระทรวงมหาดไทย โดยสำนักเลขาธิการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
รายงานสรุปผลความก้าวหน้าการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยและดินถล่มภาคเหนือ 5 จังหวัด (ข้อมูลถึงวันที่ 11 สิงหาคม 2549) ดังนี้
1. กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้จัดสร้างเต็นท์พักอาศัยชั่วคราวให้แก่ผู้ประสบภัย ที่ไม่มีบ้านพักอาศัย จำนวน 272 หลัง
(เต็นท์ของกรมป้องกันฯ 229 หลัง ของมูลนิธิฉือฉี้ไต้หวัน 43 หลัง ในพื้นที่ ดังนี้
เต็นท์ของกรมป้องกันฯ กระทรวงมหาดไทย (หลัง) เต็นท์ของมูลนิธิฉือฉี้ไต้หวัน (หลัง)
ที่ อำเภอ/จังหวัด (หลัง)
1 อ.ลับแล จ.อุตรดิตถ์ 23 5 28
2 อ.เมืองฯ จ.อุตรดิตถ์ 112 15 127
3 อ.ท่าปลา จ.อุตรดิตถ์ 44 23 67
4 ต.บ้านตึก อ.ศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย 50 - 50
รวมเต็นท์ทั้งหมด 229 43 272
2. กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้จัดสร้างบ้านพักชั่วคราว (บ้านน็อคดาวน์) ของมูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก
ที่บ้านแม่คุ หมู่ที่ 8 ตำบลบ้านตึก อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย จำนวน 24 หลัง
3. ความก้าวหน้าสร้างบ้านถาวร
บ้านพัง การสร้างบ้าน (หลัง) ราษฎรขอรับ ความก้าวหน้าในการสร้างบ้าน (หลัง)
ที่ จังหวัด ทั้งหลัง (หลัง) ในที่ดินรัฐ ที่ราษฎรเอง เงินชดเชย มูลนิธิชัยพัฒนา มูลนิธิไทยคม
สร้างเอง (หลัง) กำลังสร้าง สร้างเสร็จ กำลังสร้าง สร้างเสร็จ
1 อุตรดิตถ์ 493 238 203 50 24 7 50 20
2 แพร่ 135 127 8 - - - - 23
3 สุโขทัย 73 56 17 - - - - 19
รวมทั้งหมด 701 421 228 50 24 7 50 62
หมายเหตุ
1) ที่ อ.ท่าปลา จ.อุตรดิตถ์ บ้านพังทั้งหลังเสียชีวิตทั้งครอบครัว จำนวน 2 หลัง ไม่มีการสร้างบ้านใหม่
2) มูลนิธิชัยพัฒนา จะดำเนินการสร้างบ้านพักถาวรให้แก่ราษฎรที่ประสบภัยในพื้นที่ อ.เมืองฯ จ.อุตรดิตถ์ ทั้งหมด จำนวน 161 หลัง
และสร้างบ้านให้แก่ราษฎรในที่ดินของตนเองที่ไม่ต้องการอพยพมาอยู่ในพื้นที่รองรับที่ทางราชการจัดให้ ซึ่งเป็นผู้ประสบภัยในพื้นที่ อ.ลับแล จำนวน
37 หลัง อ.ท่าปลา จำนวน 52 หลัง รวมยอดดำเนินการ 250 หลัง
3) มูลนิธิไทยคม จะดำเนินการสร้างบ้านถาวรให้แก่ราษฎรผู้ประสบภัยในพื้นที่ จ.อุตรดิตถ์ จำนวน 350 หลัง สุโขทัย จำนวน
73 หลัง และแพร่ จำนวน 135 หลัง รวมยอดดำเนินการ 558 หลัง
4. การจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยภาคเหนือในความรับผิดชอบของกระทรวงมหาดไทย
4.1) ตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการ เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2546
(ข้อมูล ณ วันที่ 10 สิงหาคม 2549 กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย)
(1) ด้านการช่วยเหลือผู้ประสบภัย เป็นเงิน 91,344,533 บาท แยกได้ดังนี้
ค่าด้านการจัดการศพ จำนวน 88 ราย (ครบ 100 %) เป็นเงิน 1,920,000 บาท ค่าช่วยเหลือญาติผู้สูญหาย
จำนวน 25 ราย (คิดเป็น 86 % คงเหลือ 4 ราย) เป็นเงิน 750,000 บาท ค่าช่วยเหลือผู้บาดเจ็บ
จำนวน 1,107 ราย (ครบ 100 %) เป็นเงิน 2,321,000 บาท ค่าที่อยู่อาศัย จำนวน 4,985 ราย
(คิดเป็น 99 % คงเหลือ 7 ราย) เป็นเงิน 51,332,121 บาท ค่าเครื่องมือ/ทุนประกอบอาชีพ จำนวน 30 ราย
เป็นเงิน 265,800 บาท ค่าเครื่องนุ่งห่ม จำนวน 715 ราย เป็นเงิน 771,800 บาท ค่าอาหารจัดเลี้ยง
จำนวน 237,491 ราย เป็นเงิน 19,072,053 บาท ค่าอื่นๆ เป็นเงิน 14,911,759 บาท
(2) ด้านป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เป็นเงิน 16,487,090 บาท
(3) ด้านการปฏิบัติงานให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย เป็นเงิน 32,125,953 บาท
- สรุปให้ความช่วยเหลือไปแล้ว 244,441 คน รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 139,957,576 บาท
4.2) การจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ประเภทผู้ประกอบการรายย่อย (ข้อมูล ณ วันที่ 11 สิงหาคม 2549 กรมส่งเสริม
การปกครองท้องถิ่น)
(1) จังหวัดแพร่ จ่ายเงินช่วยเหลือแล้ว จำนวน 291 ราย เป็นเงิน 3,186,605 บาท
(2) จังหวัดสุโขทัย จ่ายเงินช่วยเหลือแล้ว จำนวน 809 ราย เป็นเงิน 9,451,775 บาท
(3) จังหวัดอุตรดิตถ์ จ่ายเงินช่วยเหลือแล้ว จำนวน 2,971 ราย เป็นเงิน 37,249,540 บาท
- รวมจ่ายเงินช่วยเหลือแล้ว จำนวน 4,071 ราย ( คิดเป็น 99.93 %) เป็นเงิน 49,887,920 บาท
5. การสร้างเครือข่ายแจ้งเตือนภัยแก่ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยน้ำท่วม ดินถล่ม
5.1) ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2549 เรื่องการแก้ไขปัญหา น้ำท่วมดินถล่ม แบบบูรณาการ โดยได้
เห็นว่าในช่วงที่ผ่านมาแต่ละหน่วยงานได้มีการเตรียมการและดำเนินงาน ในการแก้ไขปัญหาน้ำท่วม ดินถล่มอยู่แล้ว แต่ประเด็นที่เป็นปัญหาสำคัญ
คือการประสานงานในระดับท้องถิ่น พื้นที่เสี่ยงภัย ดังนั้น เพื่อให้การประสานงานในพื้นที่เสี่ยงภัยเป็นไปด้วยความเรียบร้อยมีประสิทธิภาพและ
เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชน จึงได้มอบหมายให้กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรมอุตุนิยมวิทยา และศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติร่วมกับ
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สร้างเครือข่ายแจ้งเตือนภัย เพื่อซักซ้อมแผนเตือนภัยและการอพยพประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง
5.2) กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้ดำเนินการฝึกอบรมจัดตั้งเครือข่ายอาสาสมัครเตือนภัยดินถล่ม หรือ “มิสเตอร์
เตือนภัย” ในพื้นที่เสี่ยงภัยน้ำท่วม ดินถล่ม ร่วมกับกรมการปกครอง กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น กรมอุตุนิยมวิทยา กรมทรัพยากรธรณี
กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช และศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ทั้งนี้ได้ร่วมกันวางแผนการฝึกอบรม ซักซ้อมนโยบายในระหว่างวันที่
31 กรกฎาคม — 1 สิงหาคม 2549 ณ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
5.3) กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้มีหนังสือแจ้งผู้ว่าราชการจังหวัดภาคเหนือ ทั้ง 17 จังหวัด เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม
2549 เพื่อให้จังหวัด/อำเภอ พิจารณาคัดเลือกอาสาสมัครเตือนภัยดินถล่ม “มิสเตอร์เตือนภัย” ในหมู่บ้านเสี่ยงอุทกภัยและดินถล่มทั้ง 3 ระดับ คือ
พื้นที่เสี่ยงภัยสูง (สีแดง) พื้นที่เสี่ยงภัยปานกลาง (สีเหลือง) และพื้นที่เสี่ยงภัยต่ำ (สีเขียว) หมู่บ้านละ 2 คน เข้ารับการฝึกอบรมและปฏิบัติ
หน้าที่อาสาสมัครแจ้งเตือนภัย โดยจะเริ่มดำเนินการฝึกอบรมเพื่อจัดตั้งเครือข่ายอาสาสมัครเตือนภัยตั้งแต่วันที่ 7 — 18 สิงหาคม 2549 โดยจะ
จัดทีมวิทยากรเป็น 5 ทีม ดังนี้ (1) ทีมวิทยากรชุดที่ 1 รับผิดชอบพื้นที่จังหวัดสุโขทัย ตาก กำแพงเพชร อุทัยธานี และนครสวรรค์
(2) ทีมวิทยากรชุดที่ 2 รับผิดชอบพื้นที่จังหวัดอุตรดิตถ์ พิษณุโลก และเพชรบูรณ์ (3) ทีมวิทยากรชุดที่ 3 รับผิดชอบพื้นที่จังหวัดลำปาง และ
เชียงใหม่ (4) ทีมวิทยากรชุดที่ 4 รับผิดชอบพื้นที่จังหวัดน่าน พะเยา และเชียงราย (5) ทีมวิทยากรชุดที่ 5 รับผิดชอบพื้นที่จังหวัดแพร่
ลำพูน และแม่ฮ่องสอน ทีมวิทยากรทั้ง 5 ทีม จะดำเนินการฝึกอบรมจัดตั้งเครือข่ายอาสาสมัครเตือนภัยดินถล่ม “มิสเตอร์เตือนภัย” จะเริ่มงาน
พร้อมกันในวันที่ 7 สิงหาคม 2549 โดยฝึกอบรมและเผยแพร่ความรู้ตามศูนย์กลางพื้นที่เสี่ยงภัยดินถล่ม กลุ่มอำเภอเสี่ยงภัยต่างๆ เพื่อมุ่งหวังสร้าง
ผู้รับผิดชอบในการประสานงานประจำพื้นที่ โดยจะมอบหมายหน้าที่สำคัญ ดังนี้
1) เป็นผู้เฝ้าระวัง ติดตามสถานการณ์ ตรวจวัดระดับน้ำ ปริมาณฝน ให้รู้จักการใช้เครื่องมือวัดปริมาณน้ำฝน และการนำ
วัสดุมาประยุกต์ใช้เป็นเครื่องวัดปริมาณน้ำฝน การสังเกตการเกิดดินถล่ม
2) เป็นผู้แจ้งเตือนภัย สามารถใช้อุปกรณ์แจ้งเตือนภัย เช่น เครื่องไซเรนมือหมุนหรือการประยุกต์ใช้อุปกรณ์เตือนภัยที่เป็น
ภูมิปัญญาท้องถิ่น (ตีเกาะเคาะไม้ ตีกลองเพล นกหวีด พลุหรือแฟล์ ฯลฯ) ได้อย่างรวดเร็วและกระจายข่าวสารอย่างทั่วถึงครอบคลุมทุกพื้นที่
3) เป็นผู้ประสานงาน จัดให้มีการฝึกซ้อมแผนเตือนภัยและการอพยพประชาชนในพื้นที่
5.4) ในการดำเนินงานฝึกอบรม ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องและจังหวัดจะต้องบูรณาการทั้งด้านการคัดเลือกผู้เข้าอบรม การออกแบบ
หลักสูตร การระดมความคิดเห็นจากหน่วยงานต่างๆ และร่วมกันเดินสายออกไปเป็นวิทยากร ซึ่งจะเร่งให้เสร็จก่อนปลายเดือนสิงหาคม 2549
เพื่อเตรียมความพร้อมเผชิญเหตุที่อาจมีลมมรสุมเข้ามาในภาคเหนืออีกครั้งหนึ่ง ซึ่งเมื่อเสร็จสิ้นการดำเนินงานระยะที่ 1 แล้ว จะดำเนินการในพื้นที่
ภาคกลางและภาคใต้ต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 15 สิงหาคม 2549--จบ--
รายงานสรุปผลความก้าวหน้าการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยและดินถล่มภาคเหนือ 5 จังหวัด (ข้อมูลถึงวันที่ 11 สิงหาคม 2549) ดังนี้
1. กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้จัดสร้างเต็นท์พักอาศัยชั่วคราวให้แก่ผู้ประสบภัย ที่ไม่มีบ้านพักอาศัย จำนวน 272 หลัง
(เต็นท์ของกรมป้องกันฯ 229 หลัง ของมูลนิธิฉือฉี้ไต้หวัน 43 หลัง ในพื้นที่ ดังนี้
เต็นท์ของกรมป้องกันฯ กระทรวงมหาดไทย (หลัง) เต็นท์ของมูลนิธิฉือฉี้ไต้หวัน (หลัง)
ที่ อำเภอ/จังหวัด (หลัง)
1 อ.ลับแล จ.อุตรดิตถ์ 23 5 28
2 อ.เมืองฯ จ.อุตรดิตถ์ 112 15 127
3 อ.ท่าปลา จ.อุตรดิตถ์ 44 23 67
4 ต.บ้านตึก อ.ศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย 50 - 50
รวมเต็นท์ทั้งหมด 229 43 272
2. กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้จัดสร้างบ้านพักชั่วคราว (บ้านน็อคดาวน์) ของมูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก
ที่บ้านแม่คุ หมู่ที่ 8 ตำบลบ้านตึก อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย จำนวน 24 หลัง
3. ความก้าวหน้าสร้างบ้านถาวร
บ้านพัง การสร้างบ้าน (หลัง) ราษฎรขอรับ ความก้าวหน้าในการสร้างบ้าน (หลัง)
ที่ จังหวัด ทั้งหลัง (หลัง) ในที่ดินรัฐ ที่ราษฎรเอง เงินชดเชย มูลนิธิชัยพัฒนา มูลนิธิไทยคม
สร้างเอง (หลัง) กำลังสร้าง สร้างเสร็จ กำลังสร้าง สร้างเสร็จ
1 อุตรดิตถ์ 493 238 203 50 24 7 50 20
2 แพร่ 135 127 8 - - - - 23
3 สุโขทัย 73 56 17 - - - - 19
รวมทั้งหมด 701 421 228 50 24 7 50 62
หมายเหตุ
1) ที่ อ.ท่าปลา จ.อุตรดิตถ์ บ้านพังทั้งหลังเสียชีวิตทั้งครอบครัว จำนวน 2 หลัง ไม่มีการสร้างบ้านใหม่
2) มูลนิธิชัยพัฒนา จะดำเนินการสร้างบ้านพักถาวรให้แก่ราษฎรที่ประสบภัยในพื้นที่ อ.เมืองฯ จ.อุตรดิตถ์ ทั้งหมด จำนวน 161 หลัง
และสร้างบ้านให้แก่ราษฎรในที่ดินของตนเองที่ไม่ต้องการอพยพมาอยู่ในพื้นที่รองรับที่ทางราชการจัดให้ ซึ่งเป็นผู้ประสบภัยในพื้นที่ อ.ลับแล จำนวน
37 หลัง อ.ท่าปลา จำนวน 52 หลัง รวมยอดดำเนินการ 250 หลัง
3) มูลนิธิไทยคม จะดำเนินการสร้างบ้านถาวรให้แก่ราษฎรผู้ประสบภัยในพื้นที่ จ.อุตรดิตถ์ จำนวน 350 หลัง สุโขทัย จำนวน
73 หลัง และแพร่ จำนวน 135 หลัง รวมยอดดำเนินการ 558 หลัง
4. การจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยภาคเหนือในความรับผิดชอบของกระทรวงมหาดไทย
4.1) ตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการ เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2546
(ข้อมูล ณ วันที่ 10 สิงหาคม 2549 กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย)
(1) ด้านการช่วยเหลือผู้ประสบภัย เป็นเงิน 91,344,533 บาท แยกได้ดังนี้
ค่าด้านการจัดการศพ จำนวน 88 ราย (ครบ 100 %) เป็นเงิน 1,920,000 บาท ค่าช่วยเหลือญาติผู้สูญหาย
จำนวน 25 ราย (คิดเป็น 86 % คงเหลือ 4 ราย) เป็นเงิน 750,000 บาท ค่าช่วยเหลือผู้บาดเจ็บ
จำนวน 1,107 ราย (ครบ 100 %) เป็นเงิน 2,321,000 บาท ค่าที่อยู่อาศัย จำนวน 4,985 ราย
(คิดเป็น 99 % คงเหลือ 7 ราย) เป็นเงิน 51,332,121 บาท ค่าเครื่องมือ/ทุนประกอบอาชีพ จำนวน 30 ราย
เป็นเงิน 265,800 บาท ค่าเครื่องนุ่งห่ม จำนวน 715 ราย เป็นเงิน 771,800 บาท ค่าอาหารจัดเลี้ยง
จำนวน 237,491 ราย เป็นเงิน 19,072,053 บาท ค่าอื่นๆ เป็นเงิน 14,911,759 บาท
(2) ด้านป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เป็นเงิน 16,487,090 บาท
(3) ด้านการปฏิบัติงานให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย เป็นเงิน 32,125,953 บาท
- สรุปให้ความช่วยเหลือไปแล้ว 244,441 คน รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 139,957,576 บาท
4.2) การจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ประเภทผู้ประกอบการรายย่อย (ข้อมูล ณ วันที่ 11 สิงหาคม 2549 กรมส่งเสริม
การปกครองท้องถิ่น)
(1) จังหวัดแพร่ จ่ายเงินช่วยเหลือแล้ว จำนวน 291 ราย เป็นเงิน 3,186,605 บาท
(2) จังหวัดสุโขทัย จ่ายเงินช่วยเหลือแล้ว จำนวน 809 ราย เป็นเงิน 9,451,775 บาท
(3) จังหวัดอุตรดิตถ์ จ่ายเงินช่วยเหลือแล้ว จำนวน 2,971 ราย เป็นเงิน 37,249,540 บาท
- รวมจ่ายเงินช่วยเหลือแล้ว จำนวน 4,071 ราย ( คิดเป็น 99.93 %) เป็นเงิน 49,887,920 บาท
5. การสร้างเครือข่ายแจ้งเตือนภัยแก่ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยน้ำท่วม ดินถล่ม
5.1) ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2549 เรื่องการแก้ไขปัญหา น้ำท่วมดินถล่ม แบบบูรณาการ โดยได้
เห็นว่าในช่วงที่ผ่านมาแต่ละหน่วยงานได้มีการเตรียมการและดำเนินงาน ในการแก้ไขปัญหาน้ำท่วม ดินถล่มอยู่แล้ว แต่ประเด็นที่เป็นปัญหาสำคัญ
คือการประสานงานในระดับท้องถิ่น พื้นที่เสี่ยงภัย ดังนั้น เพื่อให้การประสานงานในพื้นที่เสี่ยงภัยเป็นไปด้วยความเรียบร้อยมีประสิทธิภาพและ
เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชน จึงได้มอบหมายให้กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรมอุตุนิยมวิทยา และศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติร่วมกับ
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สร้างเครือข่ายแจ้งเตือนภัย เพื่อซักซ้อมแผนเตือนภัยและการอพยพประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง
5.2) กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้ดำเนินการฝึกอบรมจัดตั้งเครือข่ายอาสาสมัครเตือนภัยดินถล่ม หรือ “มิสเตอร์
เตือนภัย” ในพื้นที่เสี่ยงภัยน้ำท่วม ดินถล่ม ร่วมกับกรมการปกครอง กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น กรมอุตุนิยมวิทยา กรมทรัพยากรธรณี
กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช และศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ทั้งนี้ได้ร่วมกันวางแผนการฝึกอบรม ซักซ้อมนโยบายในระหว่างวันที่
31 กรกฎาคม — 1 สิงหาคม 2549 ณ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
5.3) กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้มีหนังสือแจ้งผู้ว่าราชการจังหวัดภาคเหนือ ทั้ง 17 จังหวัด เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม
2549 เพื่อให้จังหวัด/อำเภอ พิจารณาคัดเลือกอาสาสมัครเตือนภัยดินถล่ม “มิสเตอร์เตือนภัย” ในหมู่บ้านเสี่ยงอุทกภัยและดินถล่มทั้ง 3 ระดับ คือ
พื้นที่เสี่ยงภัยสูง (สีแดง) พื้นที่เสี่ยงภัยปานกลาง (สีเหลือง) และพื้นที่เสี่ยงภัยต่ำ (สีเขียว) หมู่บ้านละ 2 คน เข้ารับการฝึกอบรมและปฏิบัติ
หน้าที่อาสาสมัครแจ้งเตือนภัย โดยจะเริ่มดำเนินการฝึกอบรมเพื่อจัดตั้งเครือข่ายอาสาสมัครเตือนภัยตั้งแต่วันที่ 7 — 18 สิงหาคม 2549 โดยจะ
จัดทีมวิทยากรเป็น 5 ทีม ดังนี้ (1) ทีมวิทยากรชุดที่ 1 รับผิดชอบพื้นที่จังหวัดสุโขทัย ตาก กำแพงเพชร อุทัยธานี และนครสวรรค์
(2) ทีมวิทยากรชุดที่ 2 รับผิดชอบพื้นที่จังหวัดอุตรดิตถ์ พิษณุโลก และเพชรบูรณ์ (3) ทีมวิทยากรชุดที่ 3 รับผิดชอบพื้นที่จังหวัดลำปาง และ
เชียงใหม่ (4) ทีมวิทยากรชุดที่ 4 รับผิดชอบพื้นที่จังหวัดน่าน พะเยา และเชียงราย (5) ทีมวิทยากรชุดที่ 5 รับผิดชอบพื้นที่จังหวัดแพร่
ลำพูน และแม่ฮ่องสอน ทีมวิทยากรทั้ง 5 ทีม จะดำเนินการฝึกอบรมจัดตั้งเครือข่ายอาสาสมัครเตือนภัยดินถล่ม “มิสเตอร์เตือนภัย” จะเริ่มงาน
พร้อมกันในวันที่ 7 สิงหาคม 2549 โดยฝึกอบรมและเผยแพร่ความรู้ตามศูนย์กลางพื้นที่เสี่ยงภัยดินถล่ม กลุ่มอำเภอเสี่ยงภัยต่างๆ เพื่อมุ่งหวังสร้าง
ผู้รับผิดชอบในการประสานงานประจำพื้นที่ โดยจะมอบหมายหน้าที่สำคัญ ดังนี้
1) เป็นผู้เฝ้าระวัง ติดตามสถานการณ์ ตรวจวัดระดับน้ำ ปริมาณฝน ให้รู้จักการใช้เครื่องมือวัดปริมาณน้ำฝน และการนำ
วัสดุมาประยุกต์ใช้เป็นเครื่องวัดปริมาณน้ำฝน การสังเกตการเกิดดินถล่ม
2) เป็นผู้แจ้งเตือนภัย สามารถใช้อุปกรณ์แจ้งเตือนภัย เช่น เครื่องไซเรนมือหมุนหรือการประยุกต์ใช้อุปกรณ์เตือนภัยที่เป็น
ภูมิปัญญาท้องถิ่น (ตีเกาะเคาะไม้ ตีกลองเพล นกหวีด พลุหรือแฟล์ ฯลฯ) ได้อย่างรวดเร็วและกระจายข่าวสารอย่างทั่วถึงครอบคลุมทุกพื้นที่
3) เป็นผู้ประสานงาน จัดให้มีการฝึกซ้อมแผนเตือนภัยและการอพยพประชาชนในพื้นที่
5.4) ในการดำเนินงานฝึกอบรม ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องและจังหวัดจะต้องบูรณาการทั้งด้านการคัดเลือกผู้เข้าอบรม การออกแบบ
หลักสูตร การระดมความคิดเห็นจากหน่วยงานต่างๆ และร่วมกันเดินสายออกไปเป็นวิทยากร ซึ่งจะเร่งให้เสร็จก่อนปลายเดือนสิงหาคม 2549
เพื่อเตรียมความพร้อมเผชิญเหตุที่อาจมีลมมรสุมเข้ามาในภาคเหนืออีกครั้งหนึ่ง ซึ่งเมื่อเสร็จสิ้นการดำเนินงานระยะที่ 1 แล้ว จะดำเนินการในพื้นที่
ภาคกลางและภาคใต้ต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 15 สิงหาคม 2549--จบ--