คณะรัฐมนตรีรับทราบสรุปผลการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการป้องกันอาชญากรรมและความยุติธรรมทางอาญา ครั้งที่ 11 ตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ และเห็นชอบให้กระทรวงยุติธรรมเป็นหน่วยงานหลักในการประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อจัดทำสรุปประเด็นสำคัญของปฏิญญากรุงเทพ รวมทั้งสถานการณ์ปัจจุบัน แนวทางการดำเนินงาน และหน่วยงานที่รับผิดชอบเพื่อให้มีการดำเนินการให้เป็นไปตามปฏิญญากรุงเทพอย่างเป็นรูปธรรม แล้วเสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาโดยเร็ว
กระทรวงยุติธรรม รายงานสรุปผลการประชุมดังกล่าวที่มีขึ้น ตั้งแต่วันที่ 18-25 เมษายน 2548 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ดังนี้
เมื่อเสร็จสิ้นการประชุมฯ ได้มีการสรุปผลการประชุมในและมีการแถลงปฏิญญากรุงเทพ (Bangkok Declaration) รวม 35 ข้อ โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ดังนี้
(1) การปรับปรุงมาตรการโต้ตอบอาชญากรรมและการก่อการร้าย เรียกร้องให้มีการให้สัตยาบันอนุสัญญาต่อต้านองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ ต่อต้านการคอร์รัปชัน และต่อต้านการก่อการร้าย ฯ
(2) การป้องกันอาชญากรรม ใช้กลยุทธ์การป้องกันอาชญากรรมเพื่อจัดการกับมูลเหตุและปัจจัยเสี่ยงของอาชญากรรมและการตกเป็นเหยื่อของอาชญากรรม ทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับชาติและระดับระหว่างประเทศ
(3) องค์กรอาชญากรรม ยอมรับความสำคัญของการต่อต้านองค์กรอาชญากรรมในเรื่องการลักและค้าทรัพย์สินทางวัฒนธรรมและการค้าสัตว์และพืชประจำถิ่น โดยคำนึงถึงตราสารระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนจัดให้มีมาตรการและสร้างกลไกในทางปฏิบัติเพื่อต่อต้านอาชญากรรมที่เกี่ยวกับการลักพาตัวและการค้ามนุษย์ รวมทั้งการให้ความช่วยเหลือและความคุ้มครองต่อเหยื่ออาชญากรรมที่เกี่ยวกับการลักพาตัวและการค้ามนุษย์
(4) การต่อต้านการก่อการร้าย การให้สัตยาบันและการอนุวัติการตามตราสารระหว่างประเทศเพื่อต่อต้านการก่อการร้าย และอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการปราบปรามการก่อการร้ายด้วยอาวุธนิวเคลียร์ การร้องขอความช่วยเหลือทางด้านวิชาการต่อสหประชาชาติเพื่อการให้สัตยาบันการอนุวัติการ
(5) การต่อต้านการคอร์รัปชัน การลงนามให้สัตยาบันหรือภาคยานุวัติอนุสัญญาสหประชาชาติเพื่อต่อต้านการคอร์รัปชัน การบริหารจัดการที่เหมาะสมในกิจการสาธารณะ ทรัพย์สินสาธารณะ และหลักนิติธรรม การส่งเสริมวัฒนธรรมในการยึดถือหลักคุณธรรมและการตรวจสอบได้ทั้งในภาครัฐและภาคเอกชน การสร้างมาตรการในการได้คืนซึ่งทรัพย์สิน
(6) การค้ายาเสพติด เสริมสร้างความเข้มแข็งในความร่วมมือระหว่างประเทศในการต่อต้านอาชญากรรมประเภทนี้ซึ่งอยู่ในลักษณะองค์กรอาชญากรรม
(7) อาชญากรรมคอมพิวเตอร์ การเพิ่มความร่วมมือในการป้องกัน การสืบสวนสอบสวนและการดำเนินคดี รวมถึงความร่วมมือภาคเอกชนในการต่อต้านอาชญากรรมคอมพิวเตอร์
(8) อาชญากรรมทางเศรษฐกิจและการเงิน รวมถึงการฟอกเงิน เสริมสร้างความเข้มแข็งของนโยบาย มาตรการและสถาบันเพื่อการปฏิบัติระดับชาติและความร่วมมือระหว่างประเทศ รวมทั้งการต่อต้านการฉ้อโกงโดยใช้เอกสารและข้อมูลส่วนบุคคลปลอม โดยเฉพาะการใช้เอกสารการเดินทางโดยฉ้อฉล โดยปรับปรุงความร่วมมือระหว่างประเทศ ความช่วยเหลือทางด้านวิชาการมาตรการรักษาความปลอดภัย การตรากฎหมายภายในประเทศที่เหมาะสม
(9) มาตรฐานและแบบแผนการจัดการทัณฑ์สถานและนักโทษ พัฒนาและจัดให้มีมาตรการและแนวทางเพื่อทำให้มั่นใจว่าปัญหาโรคเอชไอวี/เอดส์ ภายในทัณฑสถานได้รับการดูแลอย่างเพียงพอ
(10) กระบวนการยุติธรรมสำหรับเด็กและเยาวชน การสร้างความมั่นใจว่ามีการปฏิบัติต่อเด็กที่เป็นเหยื่ออาชญากรรมและเด็กที่ทำผิดกฎหมายอย่างได้มาตรฐาน
(11) กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ การพัฒนาต่อไปซึ่งโครงการ วิธีการและนโยบายในเรื่องกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ และมาตรการทางเลือกแทนการฟ้องคดีอาญา
(12) การคุ้มครองพยานและเหยื่ออาชญากรรม การให้ความสำคัญต่อการคุ้มครองพยานและเหยื่อของอาชญากรรมและการก่อการร้ายทั้งทางด้านกฎหมายและด้านการเงิน
(13) การส่งเสริมการเข้าถึงความยุติธรรม การปรับกฎหมายภายในเพื่อส่งเสริมการเข้าถึงความยุติธรรมและการให้ความช่วยเหลือด้านกฎหมายแก่ผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือ
(14) บทส่งท้ายป้องกันการแพร่ขยายของอาชญากรรมเมือง การปรับปรุงความร่วมมือระหว่างประเทศ การพัฒนาศักยภาพของการบังคับใช้กฎหมายและศาล และการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นและประชาสังคม
(15) ประเทศสมาชิกสหประชาชาติ ขอขอบคุณประชาชนและรัฐบาลไทยสำหรับการต้อนรับอย่างอบอุ่นและไมตรีจิตต่อผู้เข้าร่วมประชุม และสำหรับสิ่งอำนวยความสะดวกในการประชุมที่ดีเยี่ยม
ประโยชน์ที่ประเทศไทยได้รับ ประเทศไทยได้รับประโยชน์ทั้งโดยตรงและโดยอ้อม ได้แก่
ประโยชน์โดยตรง
- ประเทศไทยได้รับข้อมูลที่เป็นประโยชน์อย่างมาก รวมทั้งได้รับทราบประสบการณ์ใหม่ ๆ หลายประการจากต่างประเทศ
- เป็นเวทีสำคัญของประเทศไทยที่จะได้แสดงบทบาทความเป็นผู้นำในด้านการพัฒนากระบวนการยุติธรรม
- ทำให้บุคลากรในกระบวนการยุติธรรมของประเทศไทยมีโอกาสเข้าร่วมการประชุมระดับโลก และได้รับรู้เนื้อหาที่เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานในหน้าที่ของตน
- ประเทศไทยมีมาตรฐานในการปฏิบัติงานและการพัฒนาด้านกระบวนการยุติธรรมที่เป็นสากลมากยิ่งขึ้น
ประโยชน์โดยอ้อม
- การเจรจาระหว่างประเทศต่าง ๆ โดยการพูดคุยหารือกันอย่างไม่เป็นทางการระหว่างรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมและเจ้าหน้าที่ระดับสูงของประเทศต่าง ๆ อันจะทำให้เกิดความร่วมมือกันต่อไปในอนาคต
- ประเทศไทยได้แสดงศักยภาพและความพร้อมในการจัดการประชุมระดับโลกทั้งในเชิงเนื้อหาและพิธีการ
- การประชาสัมพันธ์สภาพกระบวนการยุติธรรมของไทย โดยจัดให้มีการนำผู้เข้าร่วมประชุมจากประเทศต่าง ๆ เข้าเยี่ยมชมกิจการในด้านกระบวนการยุติธรรมของไทย ทำให้เห็นว่ากระบวนการยุติธรรมไทยมีมาตรฐานที่ทันสมัยเป็นที่ยอมรับได้ในระดับนานาชาติ
- การประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวไทยและนำรายได้เข้ารัฐ โดยมีการนำผู้เข้าร่วมประชุมจากประเทศต่างๆ เยี่ยมชมสถานที่สำคัญของกรุงเทพมหานคร เช่น พระบรมมหาราชวัง ทำให้ชาวต่างชาติได้เห็นถึงขนบธรรมเนียมวัฒนธรรมและซื้อของมีค่าของประเทศไทย
กระทรวงยุติธรรมพิจารณาแล้วเห็นว่าจากการประชุมดังกล่าวได้มีการประกาศปฏิญญากรุงเทพ (Bangkok Declaration) รวม 35 ข้อ ซึ่งมีหลายส่วนที่เป็นข้อเสนอของประเทศไทย ดังนั้น ประเทศไทยในฐานะเจ้าภาพจัดการประชุมจึงควรพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องเพื่อรองรับปฏิญญากรุงเทพดังกล่าวอย่างเป็นรูปธรรม กระทรวงยุติธรรมจึงเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาเห็นชอบดังกล่าว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 10 พฤษภาคม 2548--จบ--
กระทรวงยุติธรรม รายงานสรุปผลการประชุมดังกล่าวที่มีขึ้น ตั้งแต่วันที่ 18-25 เมษายน 2548 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ดังนี้
เมื่อเสร็จสิ้นการประชุมฯ ได้มีการสรุปผลการประชุมในและมีการแถลงปฏิญญากรุงเทพ (Bangkok Declaration) รวม 35 ข้อ โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ดังนี้
(1) การปรับปรุงมาตรการโต้ตอบอาชญากรรมและการก่อการร้าย เรียกร้องให้มีการให้สัตยาบันอนุสัญญาต่อต้านองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ ต่อต้านการคอร์รัปชัน และต่อต้านการก่อการร้าย ฯ
(2) การป้องกันอาชญากรรม ใช้กลยุทธ์การป้องกันอาชญากรรมเพื่อจัดการกับมูลเหตุและปัจจัยเสี่ยงของอาชญากรรมและการตกเป็นเหยื่อของอาชญากรรม ทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับชาติและระดับระหว่างประเทศ
(3) องค์กรอาชญากรรม ยอมรับความสำคัญของการต่อต้านองค์กรอาชญากรรมในเรื่องการลักและค้าทรัพย์สินทางวัฒนธรรมและการค้าสัตว์และพืชประจำถิ่น โดยคำนึงถึงตราสารระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนจัดให้มีมาตรการและสร้างกลไกในทางปฏิบัติเพื่อต่อต้านอาชญากรรมที่เกี่ยวกับการลักพาตัวและการค้ามนุษย์ รวมทั้งการให้ความช่วยเหลือและความคุ้มครองต่อเหยื่ออาชญากรรมที่เกี่ยวกับการลักพาตัวและการค้ามนุษย์
(4) การต่อต้านการก่อการร้าย การให้สัตยาบันและการอนุวัติการตามตราสารระหว่างประเทศเพื่อต่อต้านการก่อการร้าย และอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการปราบปรามการก่อการร้ายด้วยอาวุธนิวเคลียร์ การร้องขอความช่วยเหลือทางด้านวิชาการต่อสหประชาชาติเพื่อการให้สัตยาบันการอนุวัติการ
(5) การต่อต้านการคอร์รัปชัน การลงนามให้สัตยาบันหรือภาคยานุวัติอนุสัญญาสหประชาชาติเพื่อต่อต้านการคอร์รัปชัน การบริหารจัดการที่เหมาะสมในกิจการสาธารณะ ทรัพย์สินสาธารณะ และหลักนิติธรรม การส่งเสริมวัฒนธรรมในการยึดถือหลักคุณธรรมและการตรวจสอบได้ทั้งในภาครัฐและภาคเอกชน การสร้างมาตรการในการได้คืนซึ่งทรัพย์สิน
(6) การค้ายาเสพติด เสริมสร้างความเข้มแข็งในความร่วมมือระหว่างประเทศในการต่อต้านอาชญากรรมประเภทนี้ซึ่งอยู่ในลักษณะองค์กรอาชญากรรม
(7) อาชญากรรมคอมพิวเตอร์ การเพิ่มความร่วมมือในการป้องกัน การสืบสวนสอบสวนและการดำเนินคดี รวมถึงความร่วมมือภาคเอกชนในการต่อต้านอาชญากรรมคอมพิวเตอร์
(8) อาชญากรรมทางเศรษฐกิจและการเงิน รวมถึงการฟอกเงิน เสริมสร้างความเข้มแข็งของนโยบาย มาตรการและสถาบันเพื่อการปฏิบัติระดับชาติและความร่วมมือระหว่างประเทศ รวมทั้งการต่อต้านการฉ้อโกงโดยใช้เอกสารและข้อมูลส่วนบุคคลปลอม โดยเฉพาะการใช้เอกสารการเดินทางโดยฉ้อฉล โดยปรับปรุงความร่วมมือระหว่างประเทศ ความช่วยเหลือทางด้านวิชาการมาตรการรักษาความปลอดภัย การตรากฎหมายภายในประเทศที่เหมาะสม
(9) มาตรฐานและแบบแผนการจัดการทัณฑ์สถานและนักโทษ พัฒนาและจัดให้มีมาตรการและแนวทางเพื่อทำให้มั่นใจว่าปัญหาโรคเอชไอวี/เอดส์ ภายในทัณฑสถานได้รับการดูแลอย่างเพียงพอ
(10) กระบวนการยุติธรรมสำหรับเด็กและเยาวชน การสร้างความมั่นใจว่ามีการปฏิบัติต่อเด็กที่เป็นเหยื่ออาชญากรรมและเด็กที่ทำผิดกฎหมายอย่างได้มาตรฐาน
(11) กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ การพัฒนาต่อไปซึ่งโครงการ วิธีการและนโยบายในเรื่องกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ และมาตรการทางเลือกแทนการฟ้องคดีอาญา
(12) การคุ้มครองพยานและเหยื่ออาชญากรรม การให้ความสำคัญต่อการคุ้มครองพยานและเหยื่อของอาชญากรรมและการก่อการร้ายทั้งทางด้านกฎหมายและด้านการเงิน
(13) การส่งเสริมการเข้าถึงความยุติธรรม การปรับกฎหมายภายในเพื่อส่งเสริมการเข้าถึงความยุติธรรมและการให้ความช่วยเหลือด้านกฎหมายแก่ผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือ
(14) บทส่งท้ายป้องกันการแพร่ขยายของอาชญากรรมเมือง การปรับปรุงความร่วมมือระหว่างประเทศ การพัฒนาศักยภาพของการบังคับใช้กฎหมายและศาล และการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นและประชาสังคม
(15) ประเทศสมาชิกสหประชาชาติ ขอขอบคุณประชาชนและรัฐบาลไทยสำหรับการต้อนรับอย่างอบอุ่นและไมตรีจิตต่อผู้เข้าร่วมประชุม และสำหรับสิ่งอำนวยความสะดวกในการประชุมที่ดีเยี่ยม
ประโยชน์ที่ประเทศไทยได้รับ ประเทศไทยได้รับประโยชน์ทั้งโดยตรงและโดยอ้อม ได้แก่
ประโยชน์โดยตรง
- ประเทศไทยได้รับข้อมูลที่เป็นประโยชน์อย่างมาก รวมทั้งได้รับทราบประสบการณ์ใหม่ ๆ หลายประการจากต่างประเทศ
- เป็นเวทีสำคัญของประเทศไทยที่จะได้แสดงบทบาทความเป็นผู้นำในด้านการพัฒนากระบวนการยุติธรรม
- ทำให้บุคลากรในกระบวนการยุติธรรมของประเทศไทยมีโอกาสเข้าร่วมการประชุมระดับโลก และได้รับรู้เนื้อหาที่เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานในหน้าที่ของตน
- ประเทศไทยมีมาตรฐานในการปฏิบัติงานและการพัฒนาด้านกระบวนการยุติธรรมที่เป็นสากลมากยิ่งขึ้น
ประโยชน์โดยอ้อม
- การเจรจาระหว่างประเทศต่าง ๆ โดยการพูดคุยหารือกันอย่างไม่เป็นทางการระหว่างรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมและเจ้าหน้าที่ระดับสูงของประเทศต่าง ๆ อันจะทำให้เกิดความร่วมมือกันต่อไปในอนาคต
- ประเทศไทยได้แสดงศักยภาพและความพร้อมในการจัดการประชุมระดับโลกทั้งในเชิงเนื้อหาและพิธีการ
- การประชาสัมพันธ์สภาพกระบวนการยุติธรรมของไทย โดยจัดให้มีการนำผู้เข้าร่วมประชุมจากประเทศต่าง ๆ เข้าเยี่ยมชมกิจการในด้านกระบวนการยุติธรรมของไทย ทำให้เห็นว่ากระบวนการยุติธรรมไทยมีมาตรฐานที่ทันสมัยเป็นที่ยอมรับได้ในระดับนานาชาติ
- การประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวไทยและนำรายได้เข้ารัฐ โดยมีการนำผู้เข้าร่วมประชุมจากประเทศต่างๆ เยี่ยมชมสถานที่สำคัญของกรุงเทพมหานคร เช่น พระบรมมหาราชวัง ทำให้ชาวต่างชาติได้เห็นถึงขนบธรรมเนียมวัฒนธรรมและซื้อของมีค่าของประเทศไทย
กระทรวงยุติธรรมพิจารณาแล้วเห็นว่าจากการประชุมดังกล่าวได้มีการประกาศปฏิญญากรุงเทพ (Bangkok Declaration) รวม 35 ข้อ ซึ่งมีหลายส่วนที่เป็นข้อเสนอของประเทศไทย ดังนั้น ประเทศไทยในฐานะเจ้าภาพจัดการประชุมจึงควรพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องเพื่อรองรับปฏิญญากรุงเทพดังกล่าวอย่างเป็นรูปธรรม กระทรวงยุติธรรมจึงเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาเห็นชอบดังกล่าว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 10 พฤษภาคม 2548--จบ--