คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงการคลังรายงานมาตรการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยที่มีหนี้สินกับสถาบันการเงิน ซึ่งมีสาระสำคัญดังนี้
1. ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)
1.1 กรณีเสียชีวิตจะจำหน่ายออกจากบัญชีเป็นหนี้สูญโดยธนาคารรับภาระเอง
1.2 กรณีไม่เสียชีวิตและประสบภัยอย่างร้ายแรง
1) หนี้เงินกู้เดิมที่มีอยู่ก่อนประสบภัย
- ขยายระยะเวลาการชำระหนี้เงินกู้เป็นเวลา 3 ปี
- งดคิดดอกเบี้ยเงินกู้เป็นเวลา 3 ปี ตั้งแต่ปีบัญชี 2549-2551 โดย ธ.ก.ส. จะขอชดเชยดอกเบี้ยจากรัฐบาลในอัตราดอกเบี้ย MRR-1 (MRR ปัจจุบันเท่ากับ 6.5 ต่อปี)
1.3 การให้เงินกู้ใหม่เพื่อฟื้นฟูการประกอบอาชีพและพัฒนาคุณภาพชีวิต
1) ให้เงินกู้รายละไม่เกิน 30,000 บาท
2) ลดดอกเบี้ยเงินกู้จากอัตราปกติที่ธนาคารเรียกเก็บจากเกษตรกรลูกค้า ร้อยละ 3 ต่อปี เป็นเวลาไม่เกิน 3 ปี โดย ธ.ก.ส. จะขอชดเชยดอกเบี้ยจากรัฐบาลในอัตรา ร้อยละ 3 ต่อปี
3) กำหนดชำระหนี้เงินกู้ตามความสามารถในการชำระหนี้ของเกษตรกรลูกค้า ทั้งนี้ ธ.ก.ส. จะลดหย่อนหลักประกันการกู้เงินจากหลักเกณฑ์ปกติ ดังนี้
- กรณีกู้เงินโดยจำนองอสังหาริมทรัพย์เป็นประกันให้ขยายวงเงินกู้จากที่กู้ได้ไม่เกินครึ่งหนึ่งของวงเงินจดทะเบียนจำนองเป็นให้กู้ได้ไม่เกินวงเงินจดทะเบียนจำนอง
- กรณีกู้เงินโดยใช้กลุ่มลูกค้ารับรองรับผิดชอบอย่างลูกหนี้ร่วมตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป ให้ขยายวงเงินในการประกันจากรายละไม่เกิน 150,000 บาท เป็นไม่เกิน 200,000 บาท
1.4 วงเงินที่ขอจัดสรรงบประมาณชดเชยดอกเบี้ยจากรัฐบาล ให้แก่ ธ.ก.ส. ตามรอบปีบัญชี 2549 — 2552 (วันที่ 1 เมษายน 2549 — 31 มีนาคม 2552) เป็นเงินงบประมาณทั้งสิ้น 2,926.16 ล้านบาท เมื่อคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบมาตรการแล้ว ธ.ก.ส. จะได้ประสานกับสำนักงบประมาณเพื่อขอจัดสรรงบประมาณชดเชยให้แก่ ธ.ก.ส. ต่อไป
2. ธนาคารออมสิน
2.1 การช่วยเหลือลูกค้าของธนาคาร ที่เป็นลูกค้าสินเชื่อเคหะ สินเชื่อโครงการธนาคารประชาชน และสินเชื่อธุรกิจห้องแถว ให้ความช่วยเหลือ ดังนี้
1) ปลอดชำระหนี้เงินต้นและดอกเบี้ย เป็นเวลาไม่เกิน 6 เดือน กรณีมีผลกระทบรุนแรงให้ปลอดชำระหนี้เงินต้นและดอกเบี้ยได้เป็นเวลา 1 ปี
2) เฉพาะลูกค้าสินเชื่อโครงการธนาคารประชาชน ให้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยจากร้อยละ 1.00 ต่อเดือน เป็นร้อยละ 0.50 ต่อเดือน
2.2 สำหรับประชาชนทั่วไป ที่เป็นลูกค้าเดิมและลูกค้าใหม่ ให้กู้สินเชื่อบำรุงขวัญ เพื่อนำไปซ่อมแซมทรัพย์สินที่ได้รับความเสียหาย หรือบรรเทาความเดือดร้อนเบื้องต้น ในวงเงินกู้สูงสุดไม่เกินรายละ 100,000 บาท อัตราดอกเบี้ย ร้อยละ MLR — 1.75 ต่อปี โดยใช้บุคคลค้ำประกัน ทั้งนี้ ไปจนสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2549
3. ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.)
3.1 ลดภาระหนี้ที่ผ่อนชำระ
- ลดอัตราดอกเบี้ยให้คงเหลือร้อยละ 1 ต่อปี เป็นระยะเวลา 6 เดือน
- ในช่วง 6 เดือน ผู้กู้ผ่อนชำระเงินงวดเฉพาะดอกเบี้ยร้อยละ 1 ต่อปี
- หลังจาก 6 เดือน อัตราดอกเบี้ยและเงินงวดเป็นไปตามสัญญาเดิม
3.2 เงินกู้เพื่อปลูกสร้าง หรือซ่อมแซม หรือปรับปรุงอาคาร หรือไถ่ถอนจำนองและซ่อมแซม/ปรับปรุงอาคาร
- ให้กู้ไม่เกินร้อยละ 100 ของราคาประเมินค่าก่อสร้างอาคาร หรือค่าซ่อมแซม/ปรับปรุงอาคาร
- คิดอัตราดอกเบี้ยปีแรกในอัตรา MRR-2% ต่อปี หลังจากนั้นคิดอัตราดอกเบี้ยประเภทลอยตัวพิเศษตามประกาศธนาคาร
3.3 กรณีอาคารที่อยู่อาศัยได้รับความเสียหายทั้งหลังจนไม่สามารถอยู่อาศัยได้ ตามการตรวจสอบของธนาคาร ธนาคารจะพิจารณาปลดภาระหนี้ เฉพาะภาระหนี้ตามยอดหนี้คงเหลือในส่วนของอาคาร โดยผู้กู้ผ่อนชำระหนี้ในส่วนของที่ดินคงเหลือ (ถ้ามี) ในอัตราดอกเบี้ยตามสัญญาเดิม
ทั้งนี้ กำหนดระยะเวลายื่นคำขอกู้สิ้นสุดวันที่ 29 ธันวาคม 2549 ระยะเวลาในการทำนิติกรรมสิ้นสุดวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2550
4. ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.)
4.1 การพักชำระหนี้ เปลี่ยนแปลงเงื่อนไขการชำระหนี้และหรือปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ของลูกค้า ธพว.
1) เป็นสถานประกอบการที่ได้รับความเสียหาย หรือได้รับผลกระทบ และส่งผลต่อการดำเนินกิจการจากเหตุภาวะอุทกภัย วาตภัย และโคลนถล่ม
2) พักชำระเงินต้นและดอกเบี้ยให้กับลูกค้าทุกราย ทุกชั้นหนี้เป็นระยะเวลาไม่เกิน 6 เดือน
4.2 การให้สินเชื่อฉุกเฉินเพื่อฟื้นฟูกิจการสำหรับลูกค้าของ ธพว.
1) วงเงินรายละไม่เกิน 500,000 บาท ระยะเวลาการกู้ยืมไม่เกิน 3 ปี ระยะเวลาปลอดการชำระคืนเงินต้นไม่เกิน 1 ปี พิจารณาตามความเหมาะสมและความจำเป็นของลูกค้าแต่ละราย
2) อัตราดอกเบี้ย เท่ากับ MLR ต่อปี ตลอดอายุสัญญา
3) หลักประกันเป็นไปตามเกณฑ์ของธนาคาร
4.3 การให้สินเชื่อแก่ผู้ประกอบการ SME ที่ไม่ได้เป็นลูกค้าของ ธพว. และสถาบันการเงินอื่น
1) เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขของ ธปท. เกี่ยวกับ Soft Loan สนับสนุน SME
2) ธนาคารร่วมกับอุตสาหกรรมจังหวัดพิจารณาคุณสมบัติของผู้เข้าร่วมโครงการ
4.4 การช่วยเหลือฟื้นฟูธุรกิจ
1) เป็นผู้ที่ต้องปรับปรุง ฟื้นฟู หรือเปลี่ยนธุรกิจใหม่
2) กรณีเป็นลูกค้า ธพว. ดำเนินการช่วยเหลือทุกราย
3) กรณีผู้ประกอบการ SME ที่ไม่ได้เป็นลูกค้าของ ธพว. และของสถาบันการเงินอื่น ธนาคารร่วมกับอุตสาหกรรมจังหวัด พิจารณาคุณสมบัติของผู้เข้าร่วมโครงการ
5. ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
5.1 ลูกหนี้เงินกู้ทั่วไปของธนาคาร (ยื่นขอกู้ได้ถึงเดือนมกราคม 2550)
5.1.1 ลูกหนี้ที่มีต้นเงินคงค้างต่ำกว่า 200,000.00 บาท
1) ลูกหนี้เสียชีวิตในเหตุการณ์ ยกหนี้ให้ทั้งหมด โดยจำหน่ายลูกหนี้ออกจากบัญชี เป็นหนี้สูญ
2) ลูกหนี้ยังมีชีวิต
- ขยายระยะเวลาการชำระหนี้ออกไปอีก 3 ปี
- ระยะเวลาปลอดการชำระต้นเงินและดอกเบี้ย 1 ปี
- ปรับปรุงโครงสร้างหนี้
5.1.2 ลูกหนี้ที่มีต้นเงินคงค้างตั้งแต่ 200,000.00 ขึ้นไป
- ขยายระยะเวลาการชำระหนี้ตามที่เห็นสมควร
- ปลอดการชำระต้นเงินและดอกเบี้ย 6 เดือน
- ปรับปรุงโครงสร้างหนี้
5.2 โครงการลูกหนี้สินเชื่อกรุงไทยธนวัฎบรรเทาอุทกภัย (ยื่นได้ถึงวันที่ 29 ธันวาคม 2549)
- ลดอัตราดอกเบี้ยลง ร้อยละ 3 (คิดในอัตรา MRR+0.5 ต่อปี) เป็นระยะเวลา 3 เดือน นับแต่วันที่ลูกค้าทำสัญญากู้เงิน
6. บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อมแห่งประทศไทย (บสย.)
6.1 มาตรการพักการชำระค่าธรรมเนียมค้ำประกัน เป็นระยะเวลา 6 เดือน สำหรับลูกค้า บสย. ที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัย และถึงกำหนดชำระค่าธรรมเนียมต่ออายุการค้ำประกันตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2549 ถึง 31 กรกฎาคม 2550
1) ลูกค้าของ บสย. ที่มีสถานประกอบการตั้งอยู่ในพื้นที่เกิดเหตุ 47 จังหวัด ตามมติการประชุมคณะอนุกรรมการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยที่มีหนี้สินกับสถาบันการเงินครั้งที่ 1/2549 (ยกเว้นในพื้นที่จังหวัดอุตรดิตถ์ สุโขทัย ตาก แพร่ น่าน และ ลำปาง ที่ บสย. ได้มีมาตรการให้ความช่วยเหลือไปแล้วตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2549)
2) กิจการของลูกค้าได้รับผลกระทบโดยตรงจากอุทกภัย ทำให้กิจการได้รับความเสียหายจนไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ หรือดำเนินงานได้เพียงบางส่วน โดยพิจารณาความเสียหายที่แท้จริง
6.2 มาตรการให้ความร่วมมือกับสถาบันการเงินที่ลูกค้าได้รับการค้ำประกันสินเชื่อจาก บสย. ในการผ่อนปรนเรื่องการพักชำระหนี้ทั้งต้นเงินและดอกเบี้ย รวมทั้งการปรับโครงสร้างหนี้เพื่อให้กิจการสามารถดำเนินต่อไปตามปกติ
6.3 มาตรการค้ำประกันสินเชื่อเพิ่ม เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs ที่เป็นลูกหนี้ NPL เนื่องมาจากเหตุอุทกภัย และจะขอสินเชื่อเพิ่มเติมจากสถาบันการเงินเพื่อใช้ฟื้นฟูกิจการ
7. ธนาคารอิสลาม
1) พักชำระหนี้เป็นระยะเวลา 3 เดือน (เริ่มชำระในเดือนกุมภาพันธ์ 2550)
2) ลดอัตรากำไรลงจากเดิม
3) ขยายระยะเวลาการชำระ
ทั้งนี้ ธนาคารจะได้ขอรับการสนับสนุนจากภาครัฐในการจัดหา Soft Loan ให้ธนาคารเพื่อนำไปให้ความช่วยเหลือแก่ลูกค้าของธนาคารต่อไป
8. สมาคมธนาคารไทย ได้ประสานงานให้ธนาคารสมาชิกพิจารณาให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยที่เป็นลูกหนี้ของธนาคารสมาชิก โดยจะมีการกำหนดมาตรการช่วยเหลือ เช่น ผ่อนปรนเงื่อนไข การผ่อนชำระหนี้เงินกู้ ระยะเวลาปลอดการชำระคืนเงินต้น การลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ การอนุมัติสินเชื่อใหม่เพื่อฟื้นฟูกิจการ ฯลฯ โดยใช้วงเงินกู้ผ่อนปรนของธนาคารแห่งประเทศไทยตามโครงการให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs ซึ่งมีวงเงินคงเหลือประมาณ 6,700 ล้านบาท
9. กรมธนารักษ์
9.1 ยกเว้นการเรียกเก็บค่าเช่าที่ราชพัสดุ
- กรณีผู้เช่าที่ดินราชพัสดุเพื่ออยู่อาศัย อาคารที่พักอาศัยเสียหายบางส่วน ยกเว้นการเรียกเก็บค่าเช่าเป็นเวลา 1 ปี และกรณีที่พักอาศัยเสียหายทั้งหลัง ยกเว้นการเรียกเก็บค่าเช่าเป็นเวลา 2 ปี
- กรณีผู้เช่าที่ดินราชพัสดุเพื่อประกอบการเกษตร หากพืชหรือผลผลิตได้รับความเสียหายจากอุทกภัย ยกเว้นการเรียกเก็บค่าเช่าเป็นเวลา 1 ปี ทั้งนี้ สามารถขอข้อมูลการรับรองความเสียหายจากส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานเกษตรจังหวัด สำนักงานประมงจังหวัด เป็นต้น
- กรณีผู้เช่าอาคารราชพัสดุ ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยทำให้ผู้เช่าอาคารราชพัสดุไม่สามารถประกอบอาชีพได้ตามปกติ เป็นเวลาเกิน 3 วัน ให้ยกเว้นการเรียกเก็บค่าเช่าเป็นเวลา 1 เดือน
9.2 ยกเว้นการคิดเงินเพิ่มตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดหาประโยชน์ในที่ราชพัสดุ พ.ศ. 2547 ข้อ 44 กรณีผู้เช่าไม่สามารถชำระค่าเช่า ค่าธรรมเนียมหรือเงินอื่นใดที่ต้องชำระภายในกำหนดระยะเวลาโดยเหตุมาจากการเกิดอุทกภัยดังกล่าว ซึ่งถือเป็นเหตุสุดวิสัย
10.กรมสรรพากร
10.1 มาตรการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยที่ได้ดำเนินการไปแล้ว โดยได้ขยายเวลาการยื่นแบบแสดงรายการภาษีรวม 10 ประเภท ในท้องที่ที่เกิดอุทกภัยรวม 14 จังหวัด 85 อำเภอ
10.2 มาตรการที่จะได้ดำเนินการต่อไป คือ การเร่งรัดคืนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้ นิติบุคคล และภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่ผู้ประสบอุทกภัย
11.สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ
ค้ำประกันและหรืออาวัลการชำระหนี้ของรัฐวิสาหกิจ และหรือสถาบันการเงินภาครัฐในวงเงินกู้ที่ให้ความช่วยเหลือและฟื้นฟูผู้ประสบอุทกภัย ในปี พ.ศ. 2549 โดยมีแนวทางดังนี้ กระทรวงการคลังจะดำเนินการค้ำประกัน และหรืออาวัลการชำระหนี้ของรัฐวิสาหกิจ และหรือสถาบันการเงินภาครัฐ ในวงเงินกู้ที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติในหลักการให้ดำเนินการดังกล่าว ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความช่วยเหลือและฟื้นฟูผู้ประสบอุทกภัย ในปี พ.ศ. 2549 ทั้งนี้ ภายใต้หลักเกณฑ์และกรอบวงเงินการค้ำประกัน และหรืออาวัลแก่รัฐวิสาหกิจและหรือสถาบันการเงินภาครัฐที่คณะกรรมการนโยบายและกำกับบริหารหนี้สาธารณะประกาศกำหนด(ถ้ามีผลบังคับใช้) และภายใต้มาตรา 28 แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548
12.กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
12.1 กลุ่มศิษย์ปัจจุบัน คือ นักเรียน นักศึกษาที่กำลังกู้ กยศ และ กรอ. กองทุนฯ ผ่อนผันให้นักเรียน นิสิตและนักศึกษา รวมทั้งสถานศึกษาส่งหลักฐานการขอกู้ยืมล่าช้าได้โดยไม่มีกำหนดตามความจำเป็น
12.2 กลุ่มศิษย์เก่า คือ ผู้กู้ยืมกองทุนฯ ซึ่งอยู่ระหว่างการชำระหนี้หรือครบกำหนดชำระหนี้ สามารถติดต่อขอผ่อนผันการชำระหนี้ได้ครั้งละ 6 เดือน แต่ไม่เกิน 4 ครั้ง โดยกองทุนฯ จะไม่คิดเบี้ยปรับ
12.3 กลุ่มนักเรียน นักศึกษาชั้น ม 4 และ ปวช. 1 ปีการศึกษา 2549 สามารถติดต่อขอรับทุนเงินให้เปล่าได้ที่สถานศึกษาที่กำลังเรียนอยู่ ซึ่งเป็นทุนรายเดือนๆ ละ 1,000 บาท จำนวน 12 เดือน
12.4 กลุ่มผู้ไม่เคยกู้ยืมทั้ง กยศ. และ กรอ. สามารถติดต่อขอกู้ยืมในแบบ กยศ. และ กรอ. ได้ที่ กองทุนฯ หรือสถานศึกษาที่เรียนอยู่ โดยจะได้รับการพิจารณาให้กู้ยืมในปีการศึกษา 2550
ทั้งนี้ นักเรียน นักศึกษาผู้กู้ยืมทั้ง 4 กลุ่ม จำเป็นต้องมีหลักฐานรับรองจากผู้ใหญ่บ้าน หรือข้าราชการ ระดับ 5 หรือข้าราชการตำรวจยศตั้งแต่ร้อยตำรวจเอกขึ้นไป เพื่อแสดงว่าเป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบอย่างแท้จริง
13.กรมบัญชีกลาง ได้ดำเนินมาตรการเพื่ออำนวยความสะดวก คล่องตัว และรวดเร็วในการเบิกจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ดังนี้
13.1 อนุมัติให้ขยายวงเงินทดรองราชการ จาก 50 ล้านบาท เป็น 100 ล้านบาท โดยได้ดำเนินการไปแล้ว 8 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พิจิตร นครสวรรค์ อ่างทอง สิงห์บุรี นนทบุรี สุพรรณบุรี และชัยนาท
13.2 กรณีที่หน่วยงานจำเป็นต้องขออนุมัติขยายวงเงินทดรองราชการหรือขออนุมัติเบิกจ่ายเงินงบประมาณเป็นกรณีพิเศษ กรมบัญชีกลางจะเร่งพิจารณาให้แล้วเสร็จ ภายใน 1 วันทำการ นับแต่วันที่ได้รับเอกสารข้อมูลที่ครบถ้วนและถูกต้อง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 12 ธันวาคม 2549--จบ--
1. ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)
1.1 กรณีเสียชีวิตจะจำหน่ายออกจากบัญชีเป็นหนี้สูญโดยธนาคารรับภาระเอง
1.2 กรณีไม่เสียชีวิตและประสบภัยอย่างร้ายแรง
1) หนี้เงินกู้เดิมที่มีอยู่ก่อนประสบภัย
- ขยายระยะเวลาการชำระหนี้เงินกู้เป็นเวลา 3 ปี
- งดคิดดอกเบี้ยเงินกู้เป็นเวลา 3 ปี ตั้งแต่ปีบัญชี 2549-2551 โดย ธ.ก.ส. จะขอชดเชยดอกเบี้ยจากรัฐบาลในอัตราดอกเบี้ย MRR-1 (MRR ปัจจุบันเท่ากับ 6.5 ต่อปี)
1.3 การให้เงินกู้ใหม่เพื่อฟื้นฟูการประกอบอาชีพและพัฒนาคุณภาพชีวิต
1) ให้เงินกู้รายละไม่เกิน 30,000 บาท
2) ลดดอกเบี้ยเงินกู้จากอัตราปกติที่ธนาคารเรียกเก็บจากเกษตรกรลูกค้า ร้อยละ 3 ต่อปี เป็นเวลาไม่เกิน 3 ปี โดย ธ.ก.ส. จะขอชดเชยดอกเบี้ยจากรัฐบาลในอัตรา ร้อยละ 3 ต่อปี
3) กำหนดชำระหนี้เงินกู้ตามความสามารถในการชำระหนี้ของเกษตรกรลูกค้า ทั้งนี้ ธ.ก.ส. จะลดหย่อนหลักประกันการกู้เงินจากหลักเกณฑ์ปกติ ดังนี้
- กรณีกู้เงินโดยจำนองอสังหาริมทรัพย์เป็นประกันให้ขยายวงเงินกู้จากที่กู้ได้ไม่เกินครึ่งหนึ่งของวงเงินจดทะเบียนจำนองเป็นให้กู้ได้ไม่เกินวงเงินจดทะเบียนจำนอง
- กรณีกู้เงินโดยใช้กลุ่มลูกค้ารับรองรับผิดชอบอย่างลูกหนี้ร่วมตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป ให้ขยายวงเงินในการประกันจากรายละไม่เกิน 150,000 บาท เป็นไม่เกิน 200,000 บาท
1.4 วงเงินที่ขอจัดสรรงบประมาณชดเชยดอกเบี้ยจากรัฐบาล ให้แก่ ธ.ก.ส. ตามรอบปีบัญชี 2549 — 2552 (วันที่ 1 เมษายน 2549 — 31 มีนาคม 2552) เป็นเงินงบประมาณทั้งสิ้น 2,926.16 ล้านบาท เมื่อคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบมาตรการแล้ว ธ.ก.ส. จะได้ประสานกับสำนักงบประมาณเพื่อขอจัดสรรงบประมาณชดเชยให้แก่ ธ.ก.ส. ต่อไป
2. ธนาคารออมสิน
2.1 การช่วยเหลือลูกค้าของธนาคาร ที่เป็นลูกค้าสินเชื่อเคหะ สินเชื่อโครงการธนาคารประชาชน และสินเชื่อธุรกิจห้องแถว ให้ความช่วยเหลือ ดังนี้
1) ปลอดชำระหนี้เงินต้นและดอกเบี้ย เป็นเวลาไม่เกิน 6 เดือน กรณีมีผลกระทบรุนแรงให้ปลอดชำระหนี้เงินต้นและดอกเบี้ยได้เป็นเวลา 1 ปี
2) เฉพาะลูกค้าสินเชื่อโครงการธนาคารประชาชน ให้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยจากร้อยละ 1.00 ต่อเดือน เป็นร้อยละ 0.50 ต่อเดือน
2.2 สำหรับประชาชนทั่วไป ที่เป็นลูกค้าเดิมและลูกค้าใหม่ ให้กู้สินเชื่อบำรุงขวัญ เพื่อนำไปซ่อมแซมทรัพย์สินที่ได้รับความเสียหาย หรือบรรเทาความเดือดร้อนเบื้องต้น ในวงเงินกู้สูงสุดไม่เกินรายละ 100,000 บาท อัตราดอกเบี้ย ร้อยละ MLR — 1.75 ต่อปี โดยใช้บุคคลค้ำประกัน ทั้งนี้ ไปจนสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2549
3. ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.)
3.1 ลดภาระหนี้ที่ผ่อนชำระ
- ลดอัตราดอกเบี้ยให้คงเหลือร้อยละ 1 ต่อปี เป็นระยะเวลา 6 เดือน
- ในช่วง 6 เดือน ผู้กู้ผ่อนชำระเงินงวดเฉพาะดอกเบี้ยร้อยละ 1 ต่อปี
- หลังจาก 6 เดือน อัตราดอกเบี้ยและเงินงวดเป็นไปตามสัญญาเดิม
3.2 เงินกู้เพื่อปลูกสร้าง หรือซ่อมแซม หรือปรับปรุงอาคาร หรือไถ่ถอนจำนองและซ่อมแซม/ปรับปรุงอาคาร
- ให้กู้ไม่เกินร้อยละ 100 ของราคาประเมินค่าก่อสร้างอาคาร หรือค่าซ่อมแซม/ปรับปรุงอาคาร
- คิดอัตราดอกเบี้ยปีแรกในอัตรา MRR-2% ต่อปี หลังจากนั้นคิดอัตราดอกเบี้ยประเภทลอยตัวพิเศษตามประกาศธนาคาร
3.3 กรณีอาคารที่อยู่อาศัยได้รับความเสียหายทั้งหลังจนไม่สามารถอยู่อาศัยได้ ตามการตรวจสอบของธนาคาร ธนาคารจะพิจารณาปลดภาระหนี้ เฉพาะภาระหนี้ตามยอดหนี้คงเหลือในส่วนของอาคาร โดยผู้กู้ผ่อนชำระหนี้ในส่วนของที่ดินคงเหลือ (ถ้ามี) ในอัตราดอกเบี้ยตามสัญญาเดิม
ทั้งนี้ กำหนดระยะเวลายื่นคำขอกู้สิ้นสุดวันที่ 29 ธันวาคม 2549 ระยะเวลาในการทำนิติกรรมสิ้นสุดวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2550
4. ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.)
4.1 การพักชำระหนี้ เปลี่ยนแปลงเงื่อนไขการชำระหนี้และหรือปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ของลูกค้า ธพว.
1) เป็นสถานประกอบการที่ได้รับความเสียหาย หรือได้รับผลกระทบ และส่งผลต่อการดำเนินกิจการจากเหตุภาวะอุทกภัย วาตภัย และโคลนถล่ม
2) พักชำระเงินต้นและดอกเบี้ยให้กับลูกค้าทุกราย ทุกชั้นหนี้เป็นระยะเวลาไม่เกิน 6 เดือน
4.2 การให้สินเชื่อฉุกเฉินเพื่อฟื้นฟูกิจการสำหรับลูกค้าของ ธพว.
1) วงเงินรายละไม่เกิน 500,000 บาท ระยะเวลาการกู้ยืมไม่เกิน 3 ปี ระยะเวลาปลอดการชำระคืนเงินต้นไม่เกิน 1 ปี พิจารณาตามความเหมาะสมและความจำเป็นของลูกค้าแต่ละราย
2) อัตราดอกเบี้ย เท่ากับ MLR ต่อปี ตลอดอายุสัญญา
3) หลักประกันเป็นไปตามเกณฑ์ของธนาคาร
4.3 การให้สินเชื่อแก่ผู้ประกอบการ SME ที่ไม่ได้เป็นลูกค้าของ ธพว. และสถาบันการเงินอื่น
1) เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขของ ธปท. เกี่ยวกับ Soft Loan สนับสนุน SME
2) ธนาคารร่วมกับอุตสาหกรรมจังหวัดพิจารณาคุณสมบัติของผู้เข้าร่วมโครงการ
4.4 การช่วยเหลือฟื้นฟูธุรกิจ
1) เป็นผู้ที่ต้องปรับปรุง ฟื้นฟู หรือเปลี่ยนธุรกิจใหม่
2) กรณีเป็นลูกค้า ธพว. ดำเนินการช่วยเหลือทุกราย
3) กรณีผู้ประกอบการ SME ที่ไม่ได้เป็นลูกค้าของ ธพว. และของสถาบันการเงินอื่น ธนาคารร่วมกับอุตสาหกรรมจังหวัด พิจารณาคุณสมบัติของผู้เข้าร่วมโครงการ
5. ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
5.1 ลูกหนี้เงินกู้ทั่วไปของธนาคาร (ยื่นขอกู้ได้ถึงเดือนมกราคม 2550)
5.1.1 ลูกหนี้ที่มีต้นเงินคงค้างต่ำกว่า 200,000.00 บาท
1) ลูกหนี้เสียชีวิตในเหตุการณ์ ยกหนี้ให้ทั้งหมด โดยจำหน่ายลูกหนี้ออกจากบัญชี เป็นหนี้สูญ
2) ลูกหนี้ยังมีชีวิต
- ขยายระยะเวลาการชำระหนี้ออกไปอีก 3 ปี
- ระยะเวลาปลอดการชำระต้นเงินและดอกเบี้ย 1 ปี
- ปรับปรุงโครงสร้างหนี้
5.1.2 ลูกหนี้ที่มีต้นเงินคงค้างตั้งแต่ 200,000.00 ขึ้นไป
- ขยายระยะเวลาการชำระหนี้ตามที่เห็นสมควร
- ปลอดการชำระต้นเงินและดอกเบี้ย 6 เดือน
- ปรับปรุงโครงสร้างหนี้
5.2 โครงการลูกหนี้สินเชื่อกรุงไทยธนวัฎบรรเทาอุทกภัย (ยื่นได้ถึงวันที่ 29 ธันวาคม 2549)
- ลดอัตราดอกเบี้ยลง ร้อยละ 3 (คิดในอัตรา MRR+0.5 ต่อปี) เป็นระยะเวลา 3 เดือน นับแต่วันที่ลูกค้าทำสัญญากู้เงิน
6. บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อมแห่งประทศไทย (บสย.)
6.1 มาตรการพักการชำระค่าธรรมเนียมค้ำประกัน เป็นระยะเวลา 6 เดือน สำหรับลูกค้า บสย. ที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัย และถึงกำหนดชำระค่าธรรมเนียมต่ออายุการค้ำประกันตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2549 ถึง 31 กรกฎาคม 2550
1) ลูกค้าของ บสย. ที่มีสถานประกอบการตั้งอยู่ในพื้นที่เกิดเหตุ 47 จังหวัด ตามมติการประชุมคณะอนุกรรมการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยที่มีหนี้สินกับสถาบันการเงินครั้งที่ 1/2549 (ยกเว้นในพื้นที่จังหวัดอุตรดิตถ์ สุโขทัย ตาก แพร่ น่าน และ ลำปาง ที่ บสย. ได้มีมาตรการให้ความช่วยเหลือไปแล้วตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2549)
2) กิจการของลูกค้าได้รับผลกระทบโดยตรงจากอุทกภัย ทำให้กิจการได้รับความเสียหายจนไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ หรือดำเนินงานได้เพียงบางส่วน โดยพิจารณาความเสียหายที่แท้จริง
6.2 มาตรการให้ความร่วมมือกับสถาบันการเงินที่ลูกค้าได้รับการค้ำประกันสินเชื่อจาก บสย. ในการผ่อนปรนเรื่องการพักชำระหนี้ทั้งต้นเงินและดอกเบี้ย รวมทั้งการปรับโครงสร้างหนี้เพื่อให้กิจการสามารถดำเนินต่อไปตามปกติ
6.3 มาตรการค้ำประกันสินเชื่อเพิ่ม เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs ที่เป็นลูกหนี้ NPL เนื่องมาจากเหตุอุทกภัย และจะขอสินเชื่อเพิ่มเติมจากสถาบันการเงินเพื่อใช้ฟื้นฟูกิจการ
7. ธนาคารอิสลาม
1) พักชำระหนี้เป็นระยะเวลา 3 เดือน (เริ่มชำระในเดือนกุมภาพันธ์ 2550)
2) ลดอัตรากำไรลงจากเดิม
3) ขยายระยะเวลาการชำระ
ทั้งนี้ ธนาคารจะได้ขอรับการสนับสนุนจากภาครัฐในการจัดหา Soft Loan ให้ธนาคารเพื่อนำไปให้ความช่วยเหลือแก่ลูกค้าของธนาคารต่อไป
8. สมาคมธนาคารไทย ได้ประสานงานให้ธนาคารสมาชิกพิจารณาให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยที่เป็นลูกหนี้ของธนาคารสมาชิก โดยจะมีการกำหนดมาตรการช่วยเหลือ เช่น ผ่อนปรนเงื่อนไข การผ่อนชำระหนี้เงินกู้ ระยะเวลาปลอดการชำระคืนเงินต้น การลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ การอนุมัติสินเชื่อใหม่เพื่อฟื้นฟูกิจการ ฯลฯ โดยใช้วงเงินกู้ผ่อนปรนของธนาคารแห่งประเทศไทยตามโครงการให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs ซึ่งมีวงเงินคงเหลือประมาณ 6,700 ล้านบาท
9. กรมธนารักษ์
9.1 ยกเว้นการเรียกเก็บค่าเช่าที่ราชพัสดุ
- กรณีผู้เช่าที่ดินราชพัสดุเพื่ออยู่อาศัย อาคารที่พักอาศัยเสียหายบางส่วน ยกเว้นการเรียกเก็บค่าเช่าเป็นเวลา 1 ปี และกรณีที่พักอาศัยเสียหายทั้งหลัง ยกเว้นการเรียกเก็บค่าเช่าเป็นเวลา 2 ปี
- กรณีผู้เช่าที่ดินราชพัสดุเพื่อประกอบการเกษตร หากพืชหรือผลผลิตได้รับความเสียหายจากอุทกภัย ยกเว้นการเรียกเก็บค่าเช่าเป็นเวลา 1 ปี ทั้งนี้ สามารถขอข้อมูลการรับรองความเสียหายจากส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานเกษตรจังหวัด สำนักงานประมงจังหวัด เป็นต้น
- กรณีผู้เช่าอาคารราชพัสดุ ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยทำให้ผู้เช่าอาคารราชพัสดุไม่สามารถประกอบอาชีพได้ตามปกติ เป็นเวลาเกิน 3 วัน ให้ยกเว้นการเรียกเก็บค่าเช่าเป็นเวลา 1 เดือน
9.2 ยกเว้นการคิดเงินเพิ่มตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดหาประโยชน์ในที่ราชพัสดุ พ.ศ. 2547 ข้อ 44 กรณีผู้เช่าไม่สามารถชำระค่าเช่า ค่าธรรมเนียมหรือเงินอื่นใดที่ต้องชำระภายในกำหนดระยะเวลาโดยเหตุมาจากการเกิดอุทกภัยดังกล่าว ซึ่งถือเป็นเหตุสุดวิสัย
10.กรมสรรพากร
10.1 มาตรการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยที่ได้ดำเนินการไปแล้ว โดยได้ขยายเวลาการยื่นแบบแสดงรายการภาษีรวม 10 ประเภท ในท้องที่ที่เกิดอุทกภัยรวม 14 จังหวัด 85 อำเภอ
10.2 มาตรการที่จะได้ดำเนินการต่อไป คือ การเร่งรัดคืนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้ นิติบุคคล และภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่ผู้ประสบอุทกภัย
11.สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ
ค้ำประกันและหรืออาวัลการชำระหนี้ของรัฐวิสาหกิจ และหรือสถาบันการเงินภาครัฐในวงเงินกู้ที่ให้ความช่วยเหลือและฟื้นฟูผู้ประสบอุทกภัย ในปี พ.ศ. 2549 โดยมีแนวทางดังนี้ กระทรวงการคลังจะดำเนินการค้ำประกัน และหรืออาวัลการชำระหนี้ของรัฐวิสาหกิจ และหรือสถาบันการเงินภาครัฐ ในวงเงินกู้ที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติในหลักการให้ดำเนินการดังกล่าว ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความช่วยเหลือและฟื้นฟูผู้ประสบอุทกภัย ในปี พ.ศ. 2549 ทั้งนี้ ภายใต้หลักเกณฑ์และกรอบวงเงินการค้ำประกัน และหรืออาวัลแก่รัฐวิสาหกิจและหรือสถาบันการเงินภาครัฐที่คณะกรรมการนโยบายและกำกับบริหารหนี้สาธารณะประกาศกำหนด(ถ้ามีผลบังคับใช้) และภายใต้มาตรา 28 แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548
12.กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
12.1 กลุ่มศิษย์ปัจจุบัน คือ นักเรียน นักศึกษาที่กำลังกู้ กยศ และ กรอ. กองทุนฯ ผ่อนผันให้นักเรียน นิสิตและนักศึกษา รวมทั้งสถานศึกษาส่งหลักฐานการขอกู้ยืมล่าช้าได้โดยไม่มีกำหนดตามความจำเป็น
12.2 กลุ่มศิษย์เก่า คือ ผู้กู้ยืมกองทุนฯ ซึ่งอยู่ระหว่างการชำระหนี้หรือครบกำหนดชำระหนี้ สามารถติดต่อขอผ่อนผันการชำระหนี้ได้ครั้งละ 6 เดือน แต่ไม่เกิน 4 ครั้ง โดยกองทุนฯ จะไม่คิดเบี้ยปรับ
12.3 กลุ่มนักเรียน นักศึกษาชั้น ม 4 และ ปวช. 1 ปีการศึกษา 2549 สามารถติดต่อขอรับทุนเงินให้เปล่าได้ที่สถานศึกษาที่กำลังเรียนอยู่ ซึ่งเป็นทุนรายเดือนๆ ละ 1,000 บาท จำนวน 12 เดือน
12.4 กลุ่มผู้ไม่เคยกู้ยืมทั้ง กยศ. และ กรอ. สามารถติดต่อขอกู้ยืมในแบบ กยศ. และ กรอ. ได้ที่ กองทุนฯ หรือสถานศึกษาที่เรียนอยู่ โดยจะได้รับการพิจารณาให้กู้ยืมในปีการศึกษา 2550
ทั้งนี้ นักเรียน นักศึกษาผู้กู้ยืมทั้ง 4 กลุ่ม จำเป็นต้องมีหลักฐานรับรองจากผู้ใหญ่บ้าน หรือข้าราชการ ระดับ 5 หรือข้าราชการตำรวจยศตั้งแต่ร้อยตำรวจเอกขึ้นไป เพื่อแสดงว่าเป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบอย่างแท้จริง
13.กรมบัญชีกลาง ได้ดำเนินมาตรการเพื่ออำนวยความสะดวก คล่องตัว และรวดเร็วในการเบิกจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ดังนี้
13.1 อนุมัติให้ขยายวงเงินทดรองราชการ จาก 50 ล้านบาท เป็น 100 ล้านบาท โดยได้ดำเนินการไปแล้ว 8 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พิจิตร นครสวรรค์ อ่างทอง สิงห์บุรี นนทบุรี สุพรรณบุรี และชัยนาท
13.2 กรณีที่หน่วยงานจำเป็นต้องขออนุมัติขยายวงเงินทดรองราชการหรือขออนุมัติเบิกจ่ายเงินงบประมาณเป็นกรณีพิเศษ กรมบัญชีกลางจะเร่งพิจารณาให้แล้วเสร็จ ภายใน 1 วันทำการ นับแต่วันที่ได้รับเอกสารข้อมูลที่ครบถ้วนและถูกต้อง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 12 ธันวาคม 2549--จบ--