เมื่อวานนี้ เมื่อเวลา 08.30 น. ณ ห้องประชุม ชั้น 2 ตึกสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีหลังใหม่ ทำเนียบรัฐบาล พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี
ภายหลังการประชุมนายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แถลงคำปรารภของนายกรัฐมนตรี ก่อนเข้าสู่วาระการประชุม ณ ศูนย์แถลงข่าวรัฐบาล ตึกนารีสโมสร ทำเนียบรัฐบาล สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1. ความคืบหน้าเรื่องการแก้ไขปัญหาอุทกภัยในพื้นที่จังหวัดภาคเหนือ
นายกรัฐมนตรีได้สอบถามถึงความคืบหน้าเรื่องการแก้ไขปัญหาอุทกภัยในพื้นที่จังหวัดภาคเหนือ ซึ่งพบว่ายังมีพื้นที่ที่มีปัญหาอุทกภัยอยู่ 5 จังหวัด และที่มีข่าวคราวว่า จังหวัดนครสวรรค์มีความเสี่ยงเรื่องปัญหาอุทกภัยนั้น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช)ได้แจ้งกับที่ประชุมว่า มีน้ำท่วม 2-3 หมู่บ้านในอำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์เท่านั้น และจากการคาดการณ์ว่าถ้าน้ำจะท่วมจังหวัดนครสวรรค์ ต้องมีปริมาณน้ำไหลเอ่อแม่น้ำเจ้าพระยาอย่างน้อย 2,500 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที แต่ในขณะนี้มีเพียง 1,400 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาทีเท่านั้น นอกจากนั้น นายกรัฐมนตรีได้มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี (นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ) และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช) ดำเนินการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในส่วนที่ยังตกค้างอยู่ต่อไป
2. การแก้ไขปัญหาราคามันสำปะหลัง
นายกรัฐมนตรีสอบถามถึงปัญหาราคามันสำปะหลังตกต่ำ เนื่องจากจะมีผลผลิตออกมาจำนวนมาก ประกอบกับจำนวนลานมันยังไม่เพียงพอ ก็ได้มีการอภิปรายในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี โดยมีการนำเสนอว่าต้องมีการเข้าไปแทรกแซงตลาด ไปรับจำนำมันสำปะหลัง เพื่อไม่ให้เกษตรกร ประสบความเดือดร้อนในภาวะที่ต้องการเงินโดยเฉพาะช่วงนี้ เป็นช่วงหน้าฝนเกษตรกรได้เร่งขุดมันสำปะหลังขึ้นมา ทำให้มีปัญหาความชื้นและมีผลกระทบกับแป้งทำให้ผลผลิตต่ำลงด้วย ซึ่งน่าจะให้มีการชะลอการขุดมันสำปะหลังออกไปก่อนอย่างน้อย 1-2 เดือน ฉะนั้นในระหว่างนี้เกษตรกร ชาวไร่ น่าจะได้รับการช่วยเหลือทางด้านการเงินโดยการจำนำ แล้วก็รอให้อีก 1 — 2 เดือนค่อยขุดมันสำปะหลังขึ้นมา ส่วนที่จะให้โรงงานเอทานอลซึ่งรับซื้อมันสำปะหลังเป็นวัตถุดิบก็ได้มีการพูดคุยให้เป็นนโยบายว่าให้โรงงานเอเทานอลซึ่งรับซื้อมันสำปะหลังนั้นรับซื้อในราคาที่สูงขึ้น เพราะไม่เช่นนั้นจะทำให้ส่วนต่างของเอทานอลกับราคาที่รับซื้อมันสำปะหลังมีส่วนต่างกันมาก
นอกจากนั้นยังได้มีการพิจารณาว่าจะต้องเร่งรัดให้มีการสร้างโรงงานเอทานอลให้มากขึ้น จากปัจจุบันมีโรงงานที่กำลังก่อสร้างอยู่ประมาณ 10 กว่าโรงงาน สุดท้าย ที่ประชุม ครม.ได้มอบหมายให้นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ ในฐานะรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ได้ประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด เพื่อจะได้พิจารณาเกี่ยวกับราคามันสำปะหลัง และการเปิดเสรีโรงงานเอทานอล
3. การเปิดโอกาสให้ผู้ติดยาเสพติดที่ได้รับการบำบัดจนหายแล้ว สามารถเข้ารับราชการ หรือทำงานกับหน่วยงานของรัฐได้
นายกรัฐมนตรีได้แจ้งที่ประชุม ครม. ว่า จากการที่ ครม.เคยมีมติเมื่อปี 2547 เกี่ยวกับเรื่องการเปิดโอกาสให้ผู้ติดยาเสพติดที่ได้รับการบำบัดจนหายแล้ว สามารถเข้ารับราชการ หรือทำงานกับหน่วยงานของรัฐได้ ขณะนี้พบว่ายังไม่ได้รับการปฏิบัติอย่างจริงจัง เพราะฉะนั้นขอให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้แจ้งเวียนมติคณะรัฐมนตรีในเรื่องนี้ อีกครั้งหนึ่ง เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ติดยาที่บำบัดหายแล้ว สามารถเข้ามาทำงานในหน่วยงานราชการ และขอให้ประสานกับสำนักงาน ก.พ. เพื่อที่จะได้เร่งรัดดำเนินการด้วย
4. อสมท. เปิดสถานีสุวรรณภูมิ
ขณะนี้ได้มีการประชาสัมพันธ์ความคืบหน้าของการดำเนินการเปิดสนามบินสุวรรณภูมิในวันที่ 28 กันยายนนี้ โดย อสมท. ซึ่งทำหน้าที่ในการประชาสัมพันธ์เรื่องการเปิดสนามบินสุวรรณภูมิ โดยมีการเผยแพร่ทั้งทางโมเดิร์นไนน์ ทีวี (ช่อง 9) และเคเบิลทีวี ของยูบีซี 9 ฉะนั้น ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้มีการเผยแพร่ข้อมูลต่างๆ ในส่วนที่ตัวเองเกี่ยวข้องในเรื่องของสนามบินสุวรรณภูมิ ผ่านรายการสถานีสุวรรณภูมิด้วย และขอให้การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ได้พิจารณาจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการเยี่ยมชมสนามบินสุวรรณภูมิเช่นเดียวกัน และจะมีการสัมภาษณ์นายกรัฐมนตรีเรื่องเกี่ยวกับการเตรียมการ และความพร้อม ในการเปิดสนามบินสุวรรณภูมิ ในวันที่ 23 กันยายนนี้
5. การตรวจเยี่ยมสถาบันการเงินที่ถูกวางระเบิดในพื้นที่ จ.ยะลา
นายวราเทพ รัตนากร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ได้ลงไปตรวจเยี่ยมสถาบันการเงินที่ถูกวางระเบิดในพื้นที่ จ.ยะลา และได้รายงานต่อที่ประชุม ครม. ว่า ตามที่ได้มีเหตุการณ์วางระเบิดสถาบันการเงินในพื้นที่ จ.ยะลา เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 31 สิงหาคม ที่ผ่านมานั้น ได้มีการสรุปผลการตรวจเยี่ยม ดังนี้
- จำนวนสาขาของสถาบันการเงินที่เกิดเหตุระเบิดมีทั้งสิ้น 22 แห่ง ซึ่งเป็นสาขาของธนาคารพาณิชย์ 12 แห่ง สาขาของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร 5 แห่ง สาขาของธนาคารออมสิน 3 แห่ง และสาขาของธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย 2 แห่ง ซึ่งจากเหตุการณ์วางระเบิด มีลูกค้าของธนาคารกสิกรไทย สาขายะลา เสียชีวิต 1 ราย และมีผู้บาดเจ็บ 27 ราย มีการประเมินความเสียหายในเบื้องต้น ประมาณ 1,550,000 บาท
- สถานการณ์ปัจจุบันนับจากที่สถาบันการเงินในพื้นที่ จ.ยะลา ปิดทำการตั้งแต่เวลา 15.00 น. ของวันที่ 30 สิงหาคม และได้เปิดทำการตามปกติแล้วเมื่อวันจันทร์ที่ 4 กันยายน ยกเว้นสาขาของธนาคารอิสลาม 1 สาขาที่อยู่ระหว่างการซ่อมแซม คาดว่าจะเปิดทำการได้ในวันที่ 11 กันยายนเป็นต้นไป อย่างไรก็ดีระหว่างสถาบันการเงินดังกล่าวปิดทำการชั่วคราวมีสาขาของธนาคารพาณิชย์ที่ไม่ถูกวางระเบิด 3 แห่ง ยังเปิดทำการตามปกติ ได้แก่ธนาคารกรุงเทพ กรุงไทย กรุงศรีอยุธยา
ภายหลังจากการตรวจเยี่ยมเพื่อให้กำลังใจพนักงานเจ้าหน้าที่สถาบันการเงินในพื้นที่ จ.ยะลา ได้มีการประชุมหารือกับส่วนราชการและหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชนโดยมีผลการประชุมสรุปได้ดังนี้
มาตรการป้องกันระยะสั้น มาตรการแรก จะเพิ่มกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าไปดูแลสาขาสถาบันการเงิน จำนวน 2 นาย ในแต่ละสาขา สำหรับพื้นที่รอบนอกทหารจะเข้าไปดูแล มาตรการที่ 2 จัดให้มีการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยสถาบันการเงินให้มีความรู้ความเข้าใจในการรักษาความปลอดภัยเชิงป้องกันก่อนเกิดปัญหา
มาตรการระยะยาว มาตรการแรก สนับสนุนให้สาขาสถาบันการเงินในพื้นที่มีเครื่องตรวจโลหะวัตถุระเบิดอย่างเพียงพอ ทั้งชนิดมือถือและเดินผ่าน มาตรการที่ 2 จัดให้มีกล้องวงจรปิดอย่างเพียงพอในแต่ละสาขา นอกจากนี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้ไปเยี่ยมผู้ป่วยที่รักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาล จ.ยะลา และร่วมงานฌาปนกิจศพผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์ครั้งนี้ด้วย
สรุปข่าวการประชุมคณะรัฐมนตรี
นายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี นางสาวศันสนีย์ นาคพงศ์ รองโฆษกประจำ สำนักนายกรัฐมนตรี นายเฉลิมชัย มหากิจศิริ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และนายดนุพร ปุณณกันต์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้ร่วมกันแถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรี ณ ศูนย์แถลงข่าวรัฐบาล ตึกนารีสโมสร ทำเนียบรัฐบาล สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
กฎหมาย
1. เรื่อง ร่างระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกจ่ายค่าสอนพิเศษในสถานศึกษาของทาง
ราชการและสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ...
2. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาเรียกประชุมสมัยวิสามัญแห่งรัฐสภา พ.ศ. 2549 และร่างพระราช
กฤษฎีกาปิดประชุมสมัยวิสามัญแห่งรัฐสภา พ.ศ. 2549
เศรษฐกิจ
3. เรื่อง สรุปภาวะเศรษฐกิจไตรมาสที่ 2/2549 และแนวโน้มเศรษฐกิจปี 2549
4. เรื่อง รายงานการนำเข้าสินค้าที่ได้รับสิทธิเศษทางภาษีศุลากากร
5. เรื่อง รายงานการนำเข้าสินค้าฟุ่มเฟือยไตรมาสที่ 2 และ 3 ปีงบประมาณ 2549
6. เรื่อง ขออนุมัติการจัดสรรงบประมาณปี 2550 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณี
ฉุกเฉินหรือจำเป็นเพื่อเป็นค่าตอบแทนจ้างครูรายเดือนแก้ปัญหาโรงเรียนที่ขาดแคลนครู
ขั้นวิกฤต (จ้างต่อเนื่อง) 8,180 อัตรา
7. เรื่อง ขอขยายระยะเวลาการใช้วงเงินกู้โครงการแทรกแซงตลาดยางพารา
8. เรื่อง แนวทางการดำเนินการในการเสนอเรื่องเกี่ยวกับการขอเปลี่ยนแปลงวงเงิน หรือขอ
เปลี่ยนแปลงวงเงินและขอขยายเวลา เพื่อก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณของหน่วยงานต่าง ๆ
สังคม
9. เรื่อง รายงานผลการตรวจเยี่ยมสถาบันการเงินที่ถูกวางระเบิดในพื้นที่จังหวัดยะลา
10. เรื่อง รายงานผลการศึกษาโครงการขุดลอกระบายน้ำอ้อมแก่งสะพือ จังหวัดอุบลราชธานี
เพื่อบรรเทาอุทกภัยของจังหวัดอุบลราชธานี
11. เรื่อง รายงานผลการปฏิบัติงานเพื่อช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาอุทกภัยในพื้นที่จังหวัดสุโขทัย
อุตรดิตถ์ แพร่ น่าน และลำปาง ครั้งที่ 3
12. เรื่อง สรุปผลความก้าวหน้าการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยดินถล่มภาคเหนือ
5 จังหวัด (ครั้งที่ 13) และสถานการณ์อุทกภัยระหว่างวันที่ 27 สิงหาคม — 4 กันยายน 2549
13. เรื่อง สรุปผลการจัดงานครบรอบ 1 ปี เหตุการณ์ธรณีพิบัติภัยสึนามิ
14. เรื่อง การจัดทำบัตรประจำตัวประชาชนที่ออกด้วยระบบคอมพิวเตอร์ (แบบเดิม-แบบแถบแม่เหล็ก)
ทดแทนบัตรประจำตัวประชาชนแบบอเนกประสงค์ (Smart Card)
15. เรื่อง รายงานการประชุม นานาชาติว่าด้วยโรคเอดส์ ครั้งที่ 16
16. เรื่อง ผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อการจัดงาน “Bangkok International ICT
EXPO 2006"
17. เรื่อง ผลการดำเนินงานโครงการพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้าน / ชุมชน (SML)
18. เรื่อง ขออัตรากำลังเพิ่มเพื่อรองรับการปฏิบัติงาน ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
19. เรื่อง รายงานความคืบหน้าในการนำเข้าและการพิสูจน์สัญชาติแรงงานพม่า
20. เรื่อง การจ้างลูกจ้างชั่วคราวเพื่อแก้ปัญหาสังคมและความยากจนเชิงบูรณาการ ประจำปี 2549
การศึกษา
21. เรื่อง รายงานผลการดำเนินการจัดซื้อระบบคอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนการสอน ประจำปี 2549
ต่างประเทศ
22. เรื่อง ร่างความตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวไทย-มองโกเลีย
23. เรื่อง การลงนามความตกลงระหว่างรัฐบาลว่าด้วยโครงข่ายทางรถไฟสายเอเชีย
24. เรื่อง ผลการเดินทางไปตรวจราชการสาธารณรัฐเกาหลี ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน
25. เรื่อง การจัดทำบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ระหว่างกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งราชอาณาจักรไทย กับกระทรวง
วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมแห่งสาธารณรัฐคิวบา
แต่งตั้ง
26. เรื่อง แต่งตั้ง
1. แต่งตั้งกรรมการระดับชาติเพื่อขจัดการใช้แรงงานเด็กในรูปแบบที่เลวร้ายเพิ่มเติม
2. แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
3. แต่งตั้งกรรมการในคณะกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทย (นายสมบัติ คุรุพันธ์)
4. แต่งตั้งกรรมการในคณะกรรมการปิโตรเลียม
5. องค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการพัฒนา
ยุทธศาสตร์การจัดการสารเคมี
6. แต่งตั้งรองผู้อำนวยการ/รองประธานกรรมการ ศตจ. (เพิ่มเติม)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 5 กันยายน 2549--จบ--
ภายหลังการประชุมนายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แถลงคำปรารภของนายกรัฐมนตรี ก่อนเข้าสู่วาระการประชุม ณ ศูนย์แถลงข่าวรัฐบาล ตึกนารีสโมสร ทำเนียบรัฐบาล สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1. ความคืบหน้าเรื่องการแก้ไขปัญหาอุทกภัยในพื้นที่จังหวัดภาคเหนือ
นายกรัฐมนตรีได้สอบถามถึงความคืบหน้าเรื่องการแก้ไขปัญหาอุทกภัยในพื้นที่จังหวัดภาคเหนือ ซึ่งพบว่ายังมีพื้นที่ที่มีปัญหาอุทกภัยอยู่ 5 จังหวัด และที่มีข่าวคราวว่า จังหวัดนครสวรรค์มีความเสี่ยงเรื่องปัญหาอุทกภัยนั้น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช)ได้แจ้งกับที่ประชุมว่า มีน้ำท่วม 2-3 หมู่บ้านในอำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์เท่านั้น และจากการคาดการณ์ว่าถ้าน้ำจะท่วมจังหวัดนครสวรรค์ ต้องมีปริมาณน้ำไหลเอ่อแม่น้ำเจ้าพระยาอย่างน้อย 2,500 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที แต่ในขณะนี้มีเพียง 1,400 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาทีเท่านั้น นอกจากนั้น นายกรัฐมนตรีได้มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี (นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ) และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช) ดำเนินการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในส่วนที่ยังตกค้างอยู่ต่อไป
2. การแก้ไขปัญหาราคามันสำปะหลัง
นายกรัฐมนตรีสอบถามถึงปัญหาราคามันสำปะหลังตกต่ำ เนื่องจากจะมีผลผลิตออกมาจำนวนมาก ประกอบกับจำนวนลานมันยังไม่เพียงพอ ก็ได้มีการอภิปรายในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี โดยมีการนำเสนอว่าต้องมีการเข้าไปแทรกแซงตลาด ไปรับจำนำมันสำปะหลัง เพื่อไม่ให้เกษตรกร ประสบความเดือดร้อนในภาวะที่ต้องการเงินโดยเฉพาะช่วงนี้ เป็นช่วงหน้าฝนเกษตรกรได้เร่งขุดมันสำปะหลังขึ้นมา ทำให้มีปัญหาความชื้นและมีผลกระทบกับแป้งทำให้ผลผลิตต่ำลงด้วย ซึ่งน่าจะให้มีการชะลอการขุดมันสำปะหลังออกไปก่อนอย่างน้อย 1-2 เดือน ฉะนั้นในระหว่างนี้เกษตรกร ชาวไร่ น่าจะได้รับการช่วยเหลือทางด้านการเงินโดยการจำนำ แล้วก็รอให้อีก 1 — 2 เดือนค่อยขุดมันสำปะหลังขึ้นมา ส่วนที่จะให้โรงงานเอทานอลซึ่งรับซื้อมันสำปะหลังเป็นวัตถุดิบก็ได้มีการพูดคุยให้เป็นนโยบายว่าให้โรงงานเอเทานอลซึ่งรับซื้อมันสำปะหลังนั้นรับซื้อในราคาที่สูงขึ้น เพราะไม่เช่นนั้นจะทำให้ส่วนต่างของเอทานอลกับราคาที่รับซื้อมันสำปะหลังมีส่วนต่างกันมาก
นอกจากนั้นยังได้มีการพิจารณาว่าจะต้องเร่งรัดให้มีการสร้างโรงงานเอทานอลให้มากขึ้น จากปัจจุบันมีโรงงานที่กำลังก่อสร้างอยู่ประมาณ 10 กว่าโรงงาน สุดท้าย ที่ประชุม ครม.ได้มอบหมายให้นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ ในฐานะรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ได้ประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด เพื่อจะได้พิจารณาเกี่ยวกับราคามันสำปะหลัง และการเปิดเสรีโรงงานเอทานอล
3. การเปิดโอกาสให้ผู้ติดยาเสพติดที่ได้รับการบำบัดจนหายแล้ว สามารถเข้ารับราชการ หรือทำงานกับหน่วยงานของรัฐได้
นายกรัฐมนตรีได้แจ้งที่ประชุม ครม. ว่า จากการที่ ครม.เคยมีมติเมื่อปี 2547 เกี่ยวกับเรื่องการเปิดโอกาสให้ผู้ติดยาเสพติดที่ได้รับการบำบัดจนหายแล้ว สามารถเข้ารับราชการ หรือทำงานกับหน่วยงานของรัฐได้ ขณะนี้พบว่ายังไม่ได้รับการปฏิบัติอย่างจริงจัง เพราะฉะนั้นขอให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้แจ้งเวียนมติคณะรัฐมนตรีในเรื่องนี้ อีกครั้งหนึ่ง เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ติดยาที่บำบัดหายแล้ว สามารถเข้ามาทำงานในหน่วยงานราชการ และขอให้ประสานกับสำนักงาน ก.พ. เพื่อที่จะได้เร่งรัดดำเนินการด้วย
4. อสมท. เปิดสถานีสุวรรณภูมิ
ขณะนี้ได้มีการประชาสัมพันธ์ความคืบหน้าของการดำเนินการเปิดสนามบินสุวรรณภูมิในวันที่ 28 กันยายนนี้ โดย อสมท. ซึ่งทำหน้าที่ในการประชาสัมพันธ์เรื่องการเปิดสนามบินสุวรรณภูมิ โดยมีการเผยแพร่ทั้งทางโมเดิร์นไนน์ ทีวี (ช่อง 9) และเคเบิลทีวี ของยูบีซี 9 ฉะนั้น ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้มีการเผยแพร่ข้อมูลต่างๆ ในส่วนที่ตัวเองเกี่ยวข้องในเรื่องของสนามบินสุวรรณภูมิ ผ่านรายการสถานีสุวรรณภูมิด้วย และขอให้การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ได้พิจารณาจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการเยี่ยมชมสนามบินสุวรรณภูมิเช่นเดียวกัน และจะมีการสัมภาษณ์นายกรัฐมนตรีเรื่องเกี่ยวกับการเตรียมการ และความพร้อม ในการเปิดสนามบินสุวรรณภูมิ ในวันที่ 23 กันยายนนี้
5. การตรวจเยี่ยมสถาบันการเงินที่ถูกวางระเบิดในพื้นที่ จ.ยะลา
นายวราเทพ รัตนากร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ได้ลงไปตรวจเยี่ยมสถาบันการเงินที่ถูกวางระเบิดในพื้นที่ จ.ยะลา และได้รายงานต่อที่ประชุม ครม. ว่า ตามที่ได้มีเหตุการณ์วางระเบิดสถาบันการเงินในพื้นที่ จ.ยะลา เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 31 สิงหาคม ที่ผ่านมานั้น ได้มีการสรุปผลการตรวจเยี่ยม ดังนี้
- จำนวนสาขาของสถาบันการเงินที่เกิดเหตุระเบิดมีทั้งสิ้น 22 แห่ง ซึ่งเป็นสาขาของธนาคารพาณิชย์ 12 แห่ง สาขาของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร 5 แห่ง สาขาของธนาคารออมสิน 3 แห่ง และสาขาของธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย 2 แห่ง ซึ่งจากเหตุการณ์วางระเบิด มีลูกค้าของธนาคารกสิกรไทย สาขายะลา เสียชีวิต 1 ราย และมีผู้บาดเจ็บ 27 ราย มีการประเมินความเสียหายในเบื้องต้น ประมาณ 1,550,000 บาท
- สถานการณ์ปัจจุบันนับจากที่สถาบันการเงินในพื้นที่ จ.ยะลา ปิดทำการตั้งแต่เวลา 15.00 น. ของวันที่ 30 สิงหาคม และได้เปิดทำการตามปกติแล้วเมื่อวันจันทร์ที่ 4 กันยายน ยกเว้นสาขาของธนาคารอิสลาม 1 สาขาที่อยู่ระหว่างการซ่อมแซม คาดว่าจะเปิดทำการได้ในวันที่ 11 กันยายนเป็นต้นไป อย่างไรก็ดีระหว่างสถาบันการเงินดังกล่าวปิดทำการชั่วคราวมีสาขาของธนาคารพาณิชย์ที่ไม่ถูกวางระเบิด 3 แห่ง ยังเปิดทำการตามปกติ ได้แก่ธนาคารกรุงเทพ กรุงไทย กรุงศรีอยุธยา
ภายหลังจากการตรวจเยี่ยมเพื่อให้กำลังใจพนักงานเจ้าหน้าที่สถาบันการเงินในพื้นที่ จ.ยะลา ได้มีการประชุมหารือกับส่วนราชการและหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชนโดยมีผลการประชุมสรุปได้ดังนี้
มาตรการป้องกันระยะสั้น มาตรการแรก จะเพิ่มกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าไปดูแลสาขาสถาบันการเงิน จำนวน 2 นาย ในแต่ละสาขา สำหรับพื้นที่รอบนอกทหารจะเข้าไปดูแล มาตรการที่ 2 จัดให้มีการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยสถาบันการเงินให้มีความรู้ความเข้าใจในการรักษาความปลอดภัยเชิงป้องกันก่อนเกิดปัญหา
มาตรการระยะยาว มาตรการแรก สนับสนุนให้สาขาสถาบันการเงินในพื้นที่มีเครื่องตรวจโลหะวัตถุระเบิดอย่างเพียงพอ ทั้งชนิดมือถือและเดินผ่าน มาตรการที่ 2 จัดให้มีกล้องวงจรปิดอย่างเพียงพอในแต่ละสาขา นอกจากนี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้ไปเยี่ยมผู้ป่วยที่รักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาล จ.ยะลา และร่วมงานฌาปนกิจศพผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์ครั้งนี้ด้วย
สรุปข่าวการประชุมคณะรัฐมนตรี
นายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี นางสาวศันสนีย์ นาคพงศ์ รองโฆษกประจำ สำนักนายกรัฐมนตรี นายเฉลิมชัย มหากิจศิริ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และนายดนุพร ปุณณกันต์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้ร่วมกันแถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรี ณ ศูนย์แถลงข่าวรัฐบาล ตึกนารีสโมสร ทำเนียบรัฐบาล สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
กฎหมาย
1. เรื่อง ร่างระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกจ่ายค่าสอนพิเศษในสถานศึกษาของทาง
ราชการและสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ...
2. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาเรียกประชุมสมัยวิสามัญแห่งรัฐสภา พ.ศ. 2549 และร่างพระราช
กฤษฎีกาปิดประชุมสมัยวิสามัญแห่งรัฐสภา พ.ศ. 2549
เศรษฐกิจ
3. เรื่อง สรุปภาวะเศรษฐกิจไตรมาสที่ 2/2549 และแนวโน้มเศรษฐกิจปี 2549
4. เรื่อง รายงานการนำเข้าสินค้าที่ได้รับสิทธิเศษทางภาษีศุลากากร
5. เรื่อง รายงานการนำเข้าสินค้าฟุ่มเฟือยไตรมาสที่ 2 และ 3 ปีงบประมาณ 2549
6. เรื่อง ขออนุมัติการจัดสรรงบประมาณปี 2550 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณี
ฉุกเฉินหรือจำเป็นเพื่อเป็นค่าตอบแทนจ้างครูรายเดือนแก้ปัญหาโรงเรียนที่ขาดแคลนครู
ขั้นวิกฤต (จ้างต่อเนื่อง) 8,180 อัตรา
7. เรื่อง ขอขยายระยะเวลาการใช้วงเงินกู้โครงการแทรกแซงตลาดยางพารา
8. เรื่อง แนวทางการดำเนินการในการเสนอเรื่องเกี่ยวกับการขอเปลี่ยนแปลงวงเงิน หรือขอ
เปลี่ยนแปลงวงเงินและขอขยายเวลา เพื่อก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณของหน่วยงานต่าง ๆ
สังคม
9. เรื่อง รายงานผลการตรวจเยี่ยมสถาบันการเงินที่ถูกวางระเบิดในพื้นที่จังหวัดยะลา
10. เรื่อง รายงานผลการศึกษาโครงการขุดลอกระบายน้ำอ้อมแก่งสะพือ จังหวัดอุบลราชธานี
เพื่อบรรเทาอุทกภัยของจังหวัดอุบลราชธานี
11. เรื่อง รายงานผลการปฏิบัติงานเพื่อช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาอุทกภัยในพื้นที่จังหวัดสุโขทัย
อุตรดิตถ์ แพร่ น่าน และลำปาง ครั้งที่ 3
12. เรื่อง สรุปผลความก้าวหน้าการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยดินถล่มภาคเหนือ
5 จังหวัด (ครั้งที่ 13) และสถานการณ์อุทกภัยระหว่างวันที่ 27 สิงหาคม — 4 กันยายน 2549
13. เรื่อง สรุปผลการจัดงานครบรอบ 1 ปี เหตุการณ์ธรณีพิบัติภัยสึนามิ
14. เรื่อง การจัดทำบัตรประจำตัวประชาชนที่ออกด้วยระบบคอมพิวเตอร์ (แบบเดิม-แบบแถบแม่เหล็ก)
ทดแทนบัตรประจำตัวประชาชนแบบอเนกประสงค์ (Smart Card)
15. เรื่อง รายงานการประชุม นานาชาติว่าด้วยโรคเอดส์ ครั้งที่ 16
16. เรื่อง ผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อการจัดงาน “Bangkok International ICT
EXPO 2006"
17. เรื่อง ผลการดำเนินงานโครงการพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้าน / ชุมชน (SML)
18. เรื่อง ขออัตรากำลังเพิ่มเพื่อรองรับการปฏิบัติงาน ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
19. เรื่อง รายงานความคืบหน้าในการนำเข้าและการพิสูจน์สัญชาติแรงงานพม่า
20. เรื่อง การจ้างลูกจ้างชั่วคราวเพื่อแก้ปัญหาสังคมและความยากจนเชิงบูรณาการ ประจำปี 2549
การศึกษา
21. เรื่อง รายงานผลการดำเนินการจัดซื้อระบบคอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนการสอน ประจำปี 2549
ต่างประเทศ
22. เรื่อง ร่างความตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวไทย-มองโกเลีย
23. เรื่อง การลงนามความตกลงระหว่างรัฐบาลว่าด้วยโครงข่ายทางรถไฟสายเอเชีย
24. เรื่อง ผลการเดินทางไปตรวจราชการสาธารณรัฐเกาหลี ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน
25. เรื่อง การจัดทำบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ระหว่างกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งราชอาณาจักรไทย กับกระทรวง
วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมแห่งสาธารณรัฐคิวบา
แต่งตั้ง
26. เรื่อง แต่งตั้ง
1. แต่งตั้งกรรมการระดับชาติเพื่อขจัดการใช้แรงงานเด็กในรูปแบบที่เลวร้ายเพิ่มเติม
2. แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
3. แต่งตั้งกรรมการในคณะกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทย (นายสมบัติ คุรุพันธ์)
4. แต่งตั้งกรรมการในคณะกรรมการปิโตรเลียม
5. องค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการพัฒนา
ยุทธศาสตร์การจัดการสารเคมี
6. แต่งตั้งรองผู้อำนวยการ/รองประธานกรรมการ ศตจ. (เพิ่มเติม)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 5 กันยายน 2549--จบ--