แท็ก
พระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน
คณะกรรมการกฤษฎีกา
ร่างพระราชบัญญัติ
คณะรัฐมนตรี
ตลาดหุ้น
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดหุ้น พ.ศ. .... ที่คณะรัฐมนตรีชุดก่อนมีมติอนุมัติหลักการ และคณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ 3) ได้ตรวจพิจารณาแล้ว และร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ที่คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ 3) ได้ยกร่างขึ้นเพื่อแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 1686 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ให้สามารถก่อตั้งทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุนได้ รวม 2 ฉบับ ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอ และให้ส่งคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ก่อนเสนอสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาต่อไป
ทั้งนี้ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา รายงานว่า คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ 3) ได้ตรวจพิจารณาร่างพระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. .... เสร็จแล้ว พร้อมทั้งได้จัดทำร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... เพื่อแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 1686 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ให้สามารถก่อตั้งทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุนได้ โดยสรุปผลการตรวจพิจารณาร่างพระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. .... ดังนี้
1. แก้ไขเพิ่มเติมการอ้างบทบัญญัติจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลตามมาตรา 29 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยในคำปรารภของร่างพระราชบัญญัติโดยเพิ่มการอ้างมาตรา 31 และมาตรา 35 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ซึ่งเป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับสิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกายในเคหสถาน
2. แก้ไขเพิ่มเติมวันใช้บังคับ จาก “ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา” เป็น “ให้มีผลใช้บังคับเมื่อพ้นเก้าสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา” เพื่อให้สำนักงาน ก.ล.ต. มีระยะเวลาเตรียมความพร้อมในการออกประกาศกำหนดรองรับการปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ได้
3. ปรับปรุงโครงสร้างของร่างพระราชบัญญัติใหม่ให้เกิดความชัดเจนและเหมาะสมยิ่งขึ้น
4. แก้ไขรายละเอียดของบทบัญญัติต่าง ๆ ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น โดยคำนึงว่าเรื่องทรัสต์เป็นเรื่องใหม่ที่จะนำมาใช้เพื่อเป็นเครื่องมือช่วยในการดำเนินธุรกรรมต่าง ๆ ในตลาดทุนให้เกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพเหมาะสมต่อการระดมทุน และประกอบธุรกิจในตลาดทุน
ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เพื่อให้สามารถก่อตั้งทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุนได้
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2549--จบ--
ทั้งนี้ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา รายงานว่า คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ 3) ได้ตรวจพิจารณาร่างพระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. .... เสร็จแล้ว พร้อมทั้งได้จัดทำร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... เพื่อแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 1686 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ให้สามารถก่อตั้งทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุนได้ โดยสรุปผลการตรวจพิจารณาร่างพระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. .... ดังนี้
1. แก้ไขเพิ่มเติมการอ้างบทบัญญัติจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลตามมาตรา 29 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยในคำปรารภของร่างพระราชบัญญัติโดยเพิ่มการอ้างมาตรา 31 และมาตรา 35 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ซึ่งเป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับสิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกายในเคหสถาน
2. แก้ไขเพิ่มเติมวันใช้บังคับ จาก “ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา” เป็น “ให้มีผลใช้บังคับเมื่อพ้นเก้าสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา” เพื่อให้สำนักงาน ก.ล.ต. มีระยะเวลาเตรียมความพร้อมในการออกประกาศกำหนดรองรับการปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ได้
3. ปรับปรุงโครงสร้างของร่างพระราชบัญญัติใหม่ให้เกิดความชัดเจนและเหมาะสมยิ่งขึ้น
4. แก้ไขรายละเอียดของบทบัญญัติต่าง ๆ ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น โดยคำนึงว่าเรื่องทรัสต์เป็นเรื่องใหม่ที่จะนำมาใช้เพื่อเป็นเครื่องมือช่วยในการดำเนินธุรกรรมต่าง ๆ ในตลาดทุนให้เกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพเหมาะสมต่อการระดมทุน และประกอบธุรกิจในตลาดทุน
ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เพื่อให้สามารถก่อตั้งทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุนได้
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2549--จบ--