คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรายงานผลการปฏิบัติงานเพื่อ ช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาอุทกภัยในพื้นที่จังหวัดสุโขทัย อุตรดิตถ์ แพร่ น่าน และลำปาง ครั้งที่ 3 ดังนี้
1. องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ และบริษัท ไม้อัดไทย จำกัด โดยการสนับสนุนจากกองทุนสิ่งแวดล้อม ดำเนินการเก็บไม้ เศษไม้ และปลายไม้ออกจากอ่างเก็บน้ำแม่มาน อ.สูงเม่น และอ่างเก็บน้ำแม่จั๊วะ อ.เด่นชัย จ.แพร่ แล้วเสร็จ ประกอบด้วย
1.1 การเก็บไม้ เศษไม้ และปลายไม้ ออกจากอ่างเก็บน้ำ ทั้ง 2 แห่ง รวมปริมาตรทั้งสิ้น 64,849.51 ลบ.ม ประกอบด้วย ไม้ท่อน 4,200 ลบ.ม. และเศษไม้/ปลายไม้ 60,649.51 ลบ.ม. โดยนำไม้ปริมาตร 28,368 ลบ.ม ไปผลิตเป็นไม้อัด (MDF) ส่วนที่เหลือแจกจ่ายแก่ราษฎรไปใช้ประโยชน์
1.2 ราษฎรในพื้นที่มีรายได้จากการรับจ้างแรงงาน เฉลี่ยประมาณวันละ 580 คน (เดือนมิถุนายน — สิงหาคม 2549)
1.3 อ่างเก็บน้ำทั้ง 2 แห่ง มีสภาพที่ปราศจากไม้ เศษไม้ หรืออินทรีย์วัตถุ และส่งมอบการดูแลคืนให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่รับผิดชอบพื้นที่
2. ในพื้นที่จังหวัดน่านซึ่งเกิดอุทกภัยเมื่อวันที่ 19-22 สิงหาคม 2549 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้ให้ความช่วยเหลือเร่งด่วนโดยสนับสนุนระบบประปาสนาม 2 ชุดผลิตน้ำประปาแจกจ่ายแล้ว 130,000 ลิตร ปรับปรุงและพัฒนาบ่อน้ำตื้น 303 บ่อ สำรวจความเสียหายระบบประปา 40 แห่ง เป่าล้างบ่อบาดาล 405 บ่อ ซ่อมแซมเครื่องสูบน้ำแบบบ่อลึก 154 เครื่อง และซ่อมแซมระบบประปาหมู่บ้าน 30 ระบบ
3. สำหรับการดำเนินการเก็บไม้ เศษไม้ และปลายไม้ ในพื้นที่จังหวัดอุตรดิตถ์และจังหวัดสุโขทัย เห็นควรมอบให้ผู้ว่าราชการจังหวัดอุตรดิตถ์และผู้ว่าราชการจังหวัดสุโขทัยรับไปดำเนินการ และจัดตั้งคณะกรรมการระดับจังหวัดเพื่อพิจารณาหลักเกณฑ์ วิธีการนำไม้ที่เก็บได้ให้ประชาชนในพื้นที่ไปใช้ประโยชน์ โดยให้คำนึงถึงความเป็นธรรม และความยากจนของราษฎรเป็นสำคัญ และห้ามมิให้ดำเนินการในเชิงธุรกิจ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 5 กันยายน 2549--จบ--
1. องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ และบริษัท ไม้อัดไทย จำกัด โดยการสนับสนุนจากกองทุนสิ่งแวดล้อม ดำเนินการเก็บไม้ เศษไม้ และปลายไม้ออกจากอ่างเก็บน้ำแม่มาน อ.สูงเม่น และอ่างเก็บน้ำแม่จั๊วะ อ.เด่นชัย จ.แพร่ แล้วเสร็จ ประกอบด้วย
1.1 การเก็บไม้ เศษไม้ และปลายไม้ ออกจากอ่างเก็บน้ำ ทั้ง 2 แห่ง รวมปริมาตรทั้งสิ้น 64,849.51 ลบ.ม ประกอบด้วย ไม้ท่อน 4,200 ลบ.ม. และเศษไม้/ปลายไม้ 60,649.51 ลบ.ม. โดยนำไม้ปริมาตร 28,368 ลบ.ม ไปผลิตเป็นไม้อัด (MDF) ส่วนที่เหลือแจกจ่ายแก่ราษฎรไปใช้ประโยชน์
1.2 ราษฎรในพื้นที่มีรายได้จากการรับจ้างแรงงาน เฉลี่ยประมาณวันละ 580 คน (เดือนมิถุนายน — สิงหาคม 2549)
1.3 อ่างเก็บน้ำทั้ง 2 แห่ง มีสภาพที่ปราศจากไม้ เศษไม้ หรืออินทรีย์วัตถุ และส่งมอบการดูแลคืนให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่รับผิดชอบพื้นที่
2. ในพื้นที่จังหวัดน่านซึ่งเกิดอุทกภัยเมื่อวันที่ 19-22 สิงหาคม 2549 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้ให้ความช่วยเหลือเร่งด่วนโดยสนับสนุนระบบประปาสนาม 2 ชุดผลิตน้ำประปาแจกจ่ายแล้ว 130,000 ลิตร ปรับปรุงและพัฒนาบ่อน้ำตื้น 303 บ่อ สำรวจความเสียหายระบบประปา 40 แห่ง เป่าล้างบ่อบาดาล 405 บ่อ ซ่อมแซมเครื่องสูบน้ำแบบบ่อลึก 154 เครื่อง และซ่อมแซมระบบประปาหมู่บ้าน 30 ระบบ
3. สำหรับการดำเนินการเก็บไม้ เศษไม้ และปลายไม้ ในพื้นที่จังหวัดอุตรดิตถ์และจังหวัดสุโขทัย เห็นควรมอบให้ผู้ว่าราชการจังหวัดอุตรดิตถ์และผู้ว่าราชการจังหวัดสุโขทัยรับไปดำเนินการ และจัดตั้งคณะกรรมการระดับจังหวัดเพื่อพิจารณาหลักเกณฑ์ วิธีการนำไม้ที่เก็บได้ให้ประชาชนในพื้นที่ไปใช้ประโยชน์ โดยให้คำนึงถึงความเป็นธรรม และความยากจนของราษฎรเป็นสำคัญ และห้ามมิให้ดำเนินการในเชิงธุรกิจ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 5 กันยายน 2549--จบ--