คณะรัฐมนตรีพิจารณาเรื่องการจัดหน่วยแพทย์เฉพาะกิจร่วมปฏิบัติการเพื่อมนุษยธรรมช่วยเหลือผู้ประสบภัยแผ่นดินไหวในอินโดนีเซีย ตามที่กระทรวงกลาโหมเสนอ แล้วมีมติเห็นชอบดังนี้
1. การจัดหน่วยแพทย์เฉพาะกิจร่วมและกำลังพล
1.1 การจัดหน่วยแพทย์เฉพาะกิจร่วม ประกอบด้วย กองบังคับการ ชุดแพทย์ กองบัญชาการทหารสูงสุดและกองทัพบก จำนวน 2 ชุด ชุดแพทย์กองทัพเรือ จำนวน 1 ชุด และชุดแพทย์กองทัพอากาศ จำนวน 1 ชุด
1.2 กำลังพล จำนวน 50 นาย แยกเป็น กองบังคับการ จำนวน 2 นาย ชุดแพทย์กองบัญชาการทหารสูงสุดและกองทัพบก จำนวน 24 นาย ชุดแพทย์กองทัพเรือ จำนวน 12 นาย และชุดแพทย์กองทัพอากาศจำนวน 12 นาย
2. ห้วงเวลาการปฏิบัติภารกิจ มีกำหนด 15 วัน โดยพร้อมเดินทางตั้งแต่วันที่ 31 พฤษภาคม 2549 หรือเมื่อได้รับอนุมัติจากรัฐบาล
3. ภารกิจ สนับสนุนให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ประสบภัยแผ่นดินไหวในประเทศอินโดนีเซีย ด้านการแพทย์
4. ยุทโธปกรณ์ จัดยุทโธปกรณ์ให้ความช่วยเหลือด้านการแพทย์ให้เหมาะสมและมีขีดความสามารถสนับสนุนภารกิจที่กำหนด
5. อนุมัติงบประมาณค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติภารกิจช่วยเหลือผู้ประสบภัยแผ่นดินไหว ณ อินโดนีเซีย รวมเป็นเงิน 4,520,000 บาท
ทั้งนี้ กระทรวงกลาโหม รายงานว่า อินโดนีเซียได้ประสบภัยพิบัติจากแผ่นดินไหว เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2549 ส่งผลให้เกิดความสูญเสียในชีวิตและทรัพย์สินแก่ประชาชนอินโดนีเซีย โดยมียอดผู้เสียชีวิตอย่างไม่เป็นทางการ ประมาณ 3,700 คน ผู้บาดเจ็บไร้ที่อยู่อาศัยประมาณ 200,000 คน ซึ่งเป็นภัยพิบัติอย่างร้ายแรงที่สร้างความสูญเสียให้กับอินโดนีเซีย และความต้องการเร่งด่วนขณะปัจจุบัน คือ ความช่วยเหลือด้านการแพทย์ให้แก่ผู้บาดเจ็บจำนวนมากที่อยู่ระหว่างรอคอยความช่วยเหลือทางการแพทย์ การสนับสนุนความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมแก่มิตรประเทศ กระทรวงกลาโหมได้มีบทบาทในการสนับสนุนความช่วยเหลือด้านสันติภาพและมนุษยธรรมแก่ประเทศอินโดนีเซียมาอย่างต่อเนื่องนับจากกรณีติมอร์ตะวันออก และการส่งนายทหารสังเกตการณ์เข้าร่วมปฏิบัติภารกิจสังเกตการณ์กระบวนการสันติภาพในอาเจห์ และเพื่อให้การช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมแก่มิตรประเทศ ซึ่งการสนับสนุนความช่วยเหลือดังกล่าว อาจเป็นปัจจัยสนับสนุนการแก้ปัญหาความไม่สงบชายแดนภาคใต้ และสร้างความสัมพันธ์ อันดีกับประเทศไทยทั้งในระดับรัฐบาลและระดับกองทัพ กระทรวงกลาโหมจึงเสนอเรื่องดังกล่าวมาเพื่อพิจารณา
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 30 พฤษภาคม 2549--จบ--
1. การจัดหน่วยแพทย์เฉพาะกิจร่วมและกำลังพล
1.1 การจัดหน่วยแพทย์เฉพาะกิจร่วม ประกอบด้วย กองบังคับการ ชุดแพทย์ กองบัญชาการทหารสูงสุดและกองทัพบก จำนวน 2 ชุด ชุดแพทย์กองทัพเรือ จำนวน 1 ชุด และชุดแพทย์กองทัพอากาศ จำนวน 1 ชุด
1.2 กำลังพล จำนวน 50 นาย แยกเป็น กองบังคับการ จำนวน 2 นาย ชุดแพทย์กองบัญชาการทหารสูงสุดและกองทัพบก จำนวน 24 นาย ชุดแพทย์กองทัพเรือ จำนวน 12 นาย และชุดแพทย์กองทัพอากาศจำนวน 12 นาย
2. ห้วงเวลาการปฏิบัติภารกิจ มีกำหนด 15 วัน โดยพร้อมเดินทางตั้งแต่วันที่ 31 พฤษภาคม 2549 หรือเมื่อได้รับอนุมัติจากรัฐบาล
3. ภารกิจ สนับสนุนให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ประสบภัยแผ่นดินไหวในประเทศอินโดนีเซีย ด้านการแพทย์
4. ยุทโธปกรณ์ จัดยุทโธปกรณ์ให้ความช่วยเหลือด้านการแพทย์ให้เหมาะสมและมีขีดความสามารถสนับสนุนภารกิจที่กำหนด
5. อนุมัติงบประมาณค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติภารกิจช่วยเหลือผู้ประสบภัยแผ่นดินไหว ณ อินโดนีเซีย รวมเป็นเงิน 4,520,000 บาท
ทั้งนี้ กระทรวงกลาโหม รายงานว่า อินโดนีเซียได้ประสบภัยพิบัติจากแผ่นดินไหว เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2549 ส่งผลให้เกิดความสูญเสียในชีวิตและทรัพย์สินแก่ประชาชนอินโดนีเซีย โดยมียอดผู้เสียชีวิตอย่างไม่เป็นทางการ ประมาณ 3,700 คน ผู้บาดเจ็บไร้ที่อยู่อาศัยประมาณ 200,000 คน ซึ่งเป็นภัยพิบัติอย่างร้ายแรงที่สร้างความสูญเสียให้กับอินโดนีเซีย และความต้องการเร่งด่วนขณะปัจจุบัน คือ ความช่วยเหลือด้านการแพทย์ให้แก่ผู้บาดเจ็บจำนวนมากที่อยู่ระหว่างรอคอยความช่วยเหลือทางการแพทย์ การสนับสนุนความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมแก่มิตรประเทศ กระทรวงกลาโหมได้มีบทบาทในการสนับสนุนความช่วยเหลือด้านสันติภาพและมนุษยธรรมแก่ประเทศอินโดนีเซียมาอย่างต่อเนื่องนับจากกรณีติมอร์ตะวันออก และการส่งนายทหารสังเกตการณ์เข้าร่วมปฏิบัติภารกิจสังเกตการณ์กระบวนการสันติภาพในอาเจห์ และเพื่อให้การช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมแก่มิตรประเทศ ซึ่งการสนับสนุนความช่วยเหลือดังกล่าว อาจเป็นปัจจัยสนับสนุนการแก้ปัญหาความไม่สงบชายแดนภาคใต้ และสร้างความสัมพันธ์ อันดีกับประเทศไทยทั้งในระดับรัฐบาลและระดับกองทัพ กระทรวงกลาโหมจึงเสนอเรื่องดังกล่าวมาเพื่อพิจารณา
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 30 พฤษภาคม 2549--จบ--