คณะรัฐมนตรีพิจารณาเรื่อง การเป็นเจ้าภาพร่วมและสนับสนุนการประชุมวิชาการนานาชาติประจำปีรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ แล้วมีมติเห็นชอบโครงการประชุมวิชาการนานาชาติประจำปีรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล (Annual Prince Mahidol Award International Conference) และให้กระทรวงสาธารณสุขร่วมเป็นเจ้าภาพการจัดประชุมดังกล่าว โดยให้กระทรวงสาธารณสุขขอรับการสนับสนุนงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามความจำเป็นและเหมาะสมเป็นปีๆ ไป ทั้งนี้ ให้ประสานกับหน่วยงานหรือองค์กรที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ เพื่อเข้าร่วมเป็นเจ้าภาพและร่วมสนับสนุนงบประมาณอีกทางหนึ่งด้วย ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
ทั้งนี้กระทรวงสาธารณสุขรายงานว่า มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้เชิญกระทรวงสาธารณสุขเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมวิชาการนานาชาติประจำปีรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล (Annual Prince Mahidol Award International Conference) ในโอกาสครบรอบ 15 ปี ของรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลและครบรอบ 115 ปี แห่งการพระราชสมภพของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรมพระบรมราชชนก และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจริญพระชนมพรรษา 80 พรรษาในปี 2550 คณะกรรมการมูลนิธิฯ ได้มีมติให้จัดการประชุมวิชาการนานาชาติประจำปีรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล เป็นประจำทุกปีในเดือนมกราคม เริ่มตั้งแต่มกราคม พ.ศ. 2550
หลักการและเหตุผล
1. เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติและระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณต่อการพัฒนาการแพทย์และสาธารณสุขของไทย ของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก “บิดาแห่งการแพทย์ไทย” รัฐบาลไทยจึงได้สนับสนุนให้มีการจัดตั้งมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลในพระบรมราชูปถัมภ์ขึ้น ได้มีการมอบรางวัลนี้แก่นักวิชาการและผู้นำทางการแพทย์และสาธารณสุขที่ทำประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรมให้แก่ประชากรทั่วโลก โดยเริ่มมอบมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535 ถึงปัจจุบัน และจะครบรอบ 15 ปี ในปี 2550
2. คณะกรรมการมูลนิธิฯ มีความเห็นว่า เพื่อให้มีความต่อเนื่องในการพัฒนาศักยภาพด้านวิชาการทางการแพทย์และสาธารณสุขของไทย และศักยภาพในการบริหารจัดการการประชุมระหว่างประเทศ ตลอดจนเพื่อเป็นการเผยแผ่เกียรติคุณของรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล จึงควรจัดให้เป็นการประชุมวิชาการนานาชาติด้านสุขภาพประจำปี โดยใช้ชื่อว่า การประชุมวิชาการนานาชาติประจำปีรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล หรือ Prince Mahidol Award International Conference
วัตถุประสงค์ของการจัดประชุม
เพื่อให้ประเทศไทยได้รับการยอมรับเป็นศูนย์กลางแห่งความเป็นเลิศทางวิชาการด้านการแพทย์และสาธารณสุขแห่งหนึ่งของโลก เพื่อให้ผลการประชุมเกิดผลกระทบในการพัฒนาและแก้ปัญหาสุขภาพระดับโลก และเพื่อเป็นการเผยแผ่เกียรติคุณของ “รางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล” ให้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในระดับสากลอย่างต่อเนื่อง
แนวทางในการดำเนินการ เจ้าภาพในการจัดประชุม เพื่อให้การประชุมมีประเด็นด้านการแพทย์และสาธารณสุขที่กำลังเป็นที่สนใจระดับโลก และเพื่อเป็นการพัฒนาศักยภาพของนักวิชาการและนักการสาธารณสุขของไทยให้ทัดเทียมนานาชาติ จึงควรให้มีองค์กรต่าง ๆ เป็นเจ้าภาพร่วมกัน ดังนี้
1. รัฐบาลไทย กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงการต่างประเทศ สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข สำนักงานปฏิรูประบบสุขภาพแห่งชาติ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย และสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
2. องค์การอนามัยโลก สำนักงานใหญ่และสำนักงานภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมทั้งองค์กรภายใต้องค์การอนามัยโลก และองค์กรภายใต้องค์การสหประชาชาติ เช่น UNAIDS UNICEF และ UNESCAP
3. มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลในพระบรมราชูปถัมภ์และองค์กรที่เกี่ยวข้อง เช่น คณะแพทย์-ศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยอื่น ๆ
การบริหารจัดการ
กลไกการจัดการ ตั้งคณะกรรมการจัดการประชุมโดยให้ประธานคณะกรรมการวิชาการนานาชาติของรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลเป็นประธานโดยตำแหน่ง มีองค์ประกอบจากเจ้าภาพร่วมทุกฝ่าย เพื่อกำหนดประเด็นการประชุม วิทยากร วาระและแนวทางการประชุม ระยะเวลาการประชุม ผู้เข้าร่วมการประชุม การจัดประชุมย่อยล่วงหน้าและรายละเอียดอื่น ๆ ทั้งนี้ เพื่อให้การจัดประชุมเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพควรให้มีการกำหนดประเด็นการประชุมล่วงหน้าอย่างน้อย 1 ปี สำหรับผู้เข้าร่วมประชุมให้เป็นการประชุมแบบเปิด ผู้สนใจสามารถสมัครเข้าร่วมประชุมได้ และมีการเชิญนักวิชาการ นักการสาธารณสุขชั้นนำในระดับโลกและระดับภูมิภาคเข้าร่วมในการประชุมด้วย คาดว่าจะมีผู้เข้าร่วมประชุมครั้งละไม่ต่ำกว่า 500 คน ระยะเวลาในการประชุม ให้มีการจัดปีละ 1 ครั้ง คือจัดก่อนหรือต่อเนื่องจากพระราชพิธีพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลทุกปี (ประมาณสัปดาห์สุดท้ายของเดือนมกราคม) ระยะเวลาในการจัดประชุมประมาณ 3-5 วัน
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
นักวิชาการและผู้นำด้านสาธารณสุขของไทยมีโอกาสในการสร้างเครือข่ายกับองค์กรและนักวิชาการและผู้นำด้านสาธารณสุขในระดับโลก รวมถึงการส่งผลบวกต่อบทบาทของไทยในเวทีโลก ส่งเสริมการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจของประเทศ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 25 เมษายน 2549--จบ--
ทั้งนี้กระทรวงสาธารณสุขรายงานว่า มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้เชิญกระทรวงสาธารณสุขเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมวิชาการนานาชาติประจำปีรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล (Annual Prince Mahidol Award International Conference) ในโอกาสครบรอบ 15 ปี ของรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลและครบรอบ 115 ปี แห่งการพระราชสมภพของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรมพระบรมราชชนก และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจริญพระชนมพรรษา 80 พรรษาในปี 2550 คณะกรรมการมูลนิธิฯ ได้มีมติให้จัดการประชุมวิชาการนานาชาติประจำปีรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล เป็นประจำทุกปีในเดือนมกราคม เริ่มตั้งแต่มกราคม พ.ศ. 2550
หลักการและเหตุผล
1. เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติและระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณต่อการพัฒนาการแพทย์และสาธารณสุขของไทย ของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก “บิดาแห่งการแพทย์ไทย” รัฐบาลไทยจึงได้สนับสนุนให้มีการจัดตั้งมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลในพระบรมราชูปถัมภ์ขึ้น ได้มีการมอบรางวัลนี้แก่นักวิชาการและผู้นำทางการแพทย์และสาธารณสุขที่ทำประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรมให้แก่ประชากรทั่วโลก โดยเริ่มมอบมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535 ถึงปัจจุบัน และจะครบรอบ 15 ปี ในปี 2550
2. คณะกรรมการมูลนิธิฯ มีความเห็นว่า เพื่อให้มีความต่อเนื่องในการพัฒนาศักยภาพด้านวิชาการทางการแพทย์และสาธารณสุขของไทย และศักยภาพในการบริหารจัดการการประชุมระหว่างประเทศ ตลอดจนเพื่อเป็นการเผยแผ่เกียรติคุณของรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล จึงควรจัดให้เป็นการประชุมวิชาการนานาชาติด้านสุขภาพประจำปี โดยใช้ชื่อว่า การประชุมวิชาการนานาชาติประจำปีรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล หรือ Prince Mahidol Award International Conference
วัตถุประสงค์ของการจัดประชุม
เพื่อให้ประเทศไทยได้รับการยอมรับเป็นศูนย์กลางแห่งความเป็นเลิศทางวิชาการด้านการแพทย์และสาธารณสุขแห่งหนึ่งของโลก เพื่อให้ผลการประชุมเกิดผลกระทบในการพัฒนาและแก้ปัญหาสุขภาพระดับโลก และเพื่อเป็นการเผยแผ่เกียรติคุณของ “รางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล” ให้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในระดับสากลอย่างต่อเนื่อง
แนวทางในการดำเนินการ เจ้าภาพในการจัดประชุม เพื่อให้การประชุมมีประเด็นด้านการแพทย์และสาธารณสุขที่กำลังเป็นที่สนใจระดับโลก และเพื่อเป็นการพัฒนาศักยภาพของนักวิชาการและนักการสาธารณสุขของไทยให้ทัดเทียมนานาชาติ จึงควรให้มีองค์กรต่าง ๆ เป็นเจ้าภาพร่วมกัน ดังนี้
1. รัฐบาลไทย กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงการต่างประเทศ สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข สำนักงานปฏิรูประบบสุขภาพแห่งชาติ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย และสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
2. องค์การอนามัยโลก สำนักงานใหญ่และสำนักงานภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมทั้งองค์กรภายใต้องค์การอนามัยโลก และองค์กรภายใต้องค์การสหประชาชาติ เช่น UNAIDS UNICEF และ UNESCAP
3. มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลในพระบรมราชูปถัมภ์และองค์กรที่เกี่ยวข้อง เช่น คณะแพทย์-ศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยอื่น ๆ
การบริหารจัดการ
กลไกการจัดการ ตั้งคณะกรรมการจัดการประชุมโดยให้ประธานคณะกรรมการวิชาการนานาชาติของรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลเป็นประธานโดยตำแหน่ง มีองค์ประกอบจากเจ้าภาพร่วมทุกฝ่าย เพื่อกำหนดประเด็นการประชุม วิทยากร วาระและแนวทางการประชุม ระยะเวลาการประชุม ผู้เข้าร่วมการประชุม การจัดประชุมย่อยล่วงหน้าและรายละเอียดอื่น ๆ ทั้งนี้ เพื่อให้การจัดประชุมเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพควรให้มีการกำหนดประเด็นการประชุมล่วงหน้าอย่างน้อย 1 ปี สำหรับผู้เข้าร่วมประชุมให้เป็นการประชุมแบบเปิด ผู้สนใจสามารถสมัครเข้าร่วมประชุมได้ และมีการเชิญนักวิชาการ นักการสาธารณสุขชั้นนำในระดับโลกและระดับภูมิภาคเข้าร่วมในการประชุมด้วย คาดว่าจะมีผู้เข้าร่วมประชุมครั้งละไม่ต่ำกว่า 500 คน ระยะเวลาในการประชุม ให้มีการจัดปีละ 1 ครั้ง คือจัดก่อนหรือต่อเนื่องจากพระราชพิธีพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลทุกปี (ประมาณสัปดาห์สุดท้ายของเดือนมกราคม) ระยะเวลาในการจัดประชุมประมาณ 3-5 วัน
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
นักวิชาการและผู้นำด้านสาธารณสุขของไทยมีโอกาสในการสร้างเครือข่ายกับองค์กรและนักวิชาการและผู้นำด้านสาธารณสุขในระดับโลก รวมถึงการส่งผลบวกต่อบทบาทของไทยในเวทีโลก ส่งเสริมการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจของประเทศ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 25 เมษายน 2549--จบ--