คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงสาธารณสุขรายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานอาหารปลอดภัย
กระทรวงสาธารณสุข ประจำเดือนมกราคม 2548 ดังนี้
การตรวจสอบการนำเข้าอาหารและเภสัชเคมีภัณฑ์ ไม่พบปัญหาด้านเภสัชเคมีภัณฑ์ แต่พบอาหารที่
นำเข้ามีข้อบกพร่องด้านเอกสาร 0.06% (5 รายการ จาก 9,059 รายการ) และตรวจสอบทางห้องปฏิบัติการ
จำนวน 2,120 รายการ พบข้อบกพร่อง 21 รายการ (0.99%) ตรวจพบ ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ และตะกั่ว ซึ่ง
กระทรวงสาธารณสุขได้ดำเนินการเรียกเก็บสินค้า Lot ดังกล่าว และพิจารณาดำเนินการตามกฎหมาย รวมทั้ง
ได้จัดให้อยู่ในบัญชีรายชื่อสินค้าที่ถูกกักกันต่อไป
การตรวจสอบอาหารทั้ง 3 กลุ่ม
อาหารสด มอบป้ายอาหารปลอดภัยเพิ่มขึ้นจากเดือนที่ผ่านมา 6,149 ป้าย รวมทั้งสิ้น 112,455
ป้าย ในช่วงเดือนมกราคม 2548 พบสารปนเปื้อน บางตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนที่ผ่านมาเล็กน้อย โดยยาฆ่าแมลงยัง
พบมากในผักคะน้า ผักกาดขาว ผักกาดกวางตุ้ง พริกสด และองุ่น ส่วนสารเร่งเนื้อแดงพบลดลงเหลือ 2.37%
สารปนเปื้อน ปนเปื้อนร้อยละ (จำนวนตัวอย่างที่เก็บ)
ก่อนรณรงค์ หลังรณรงค์
มี.ค. 46 ส.ค. 47 ก.ย. 47 ต.ค. 47 พ.ย. 47 ธ.ค. 47 ม.ค. 48
สารเร่งเนื้อแดง 96 6.78 4.77 2.62 4.42 4.69 2.37
-2,132 -870 -776 -267 -113 -426 -716
บอแรกซ์ 42 0.99 1.06 0.77 0.11 0.11 0.53
-3,184 -5,658 -3,387 -914 -876 -1,884 -5,685
สารฟอกขาว 10 0.36 1.08 0.33 0 0.09 0.34
-3,256 -5,571 -2,319 -612 -544 -1,168 -4,174
ฟอร์มาลิน 10 1.52 0.5 0.84 1.58 1.63 0.37
-2,471 -4,405 -2,207 -479 -507 -922 -3,772
สารกันรา 17.2 0.67 3.38 3.35 0.93 6.45 1
-2,099 -5,976 -2,217 -657 -642 -915 -4,115
ยาฆ่าแมลง 20.6 4.34 3.45 2.35 6.32 2.79 3.39
-2,268 -8,457 -3,621 -554 -6,250 -2,691 -7,326
ข้อมูล ณ วันที่ 20 มกราคม 2548 รวบรวมโดย ศูนย์ปฏิบัติการความปลอดภัยด้านอาหาร กระทรวงสาธารณสุข
อาหารแปรรูป มีสถานที่ผลิตอาหาร 54 ประเภท ได้ GMP เพิ่มขึ้นเป็น 88.99% (ผ่าน 9,249
แห่ง จาก 10,393 แห่ง) โดยมีจังหวัดที่ผ่าน GMP 100% รวม 19 จังหวัด
อาหารปรุงจำหน่าย มีร้านอาหารและแผงลอยได้ Clean Food Good Taste เพิ่มเป็น
35.71% (48,993 แห่ง) ตลาดสด ผ่านเกณฑ์พื้นฐานด้านสิ่งแวดล้อม 42.44% (ผ่าน 685 แห่ง จาก
1,614 แห่ง) ผ่านเกณฑ์ตลาดสดน่าซื้อ 28.13% (ผ่าน 454 แห่งจาก 1,614 แห่ง)
การออกกฎหมาย ในเดือนมกราคม 2548 ดำเนินการเสร็จสิ้นเพิ่มอีก 1 ฉบับ คือ ประกาศกระทรวง
สาธารณสุข (ฉบับที่ 288) พ.ศ. 2548 เรื่อง อาหารที่มีสารพิษตกค้าง โดยกำหนดให้เพื่อเป็นการป้องกันการเกิด
พิษสะสมจากการบริโภคอาหารซึ่งมีการตกค้างของวัตถุอันตรายทางการเกษตร
การให้ความรู้ ประชาสัมพันธ์ และสร้างความตื่นตัวแก่ประชาชน
- ให้การต้อนรับนักเรียน อย. น้อย จำนวน 360 คน จาก 13 โรงเรียน ในโครงการเสริมสร้าง
ความเข้มแข็งเครือข่ายชมรม อย.น้อย ของ อย. ดูงานการปฏิบัติงานด้านการตรวจวิเคราะห์อาหารทางห้อง
ปฏิบัติการและการใช้ชุดทดสอบอาหารของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
- สาธิตการใช้ชุดทดลองอาหารเพื่อการเฝ้าระวังความปลอดภัยของอาหารด้วยตนเอง และให้ความรู้
การเลือกซื้อและบริโภคอาหารปลอดภัยแก่ครูและอาจารย์ นักเรียน นักศึกษา ผู้ประกอบการ และผู้ปกครองใน
โรงเรียนต่างๆ และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
- ให้การสนับสนุนและแจกสื่อเพื่อประชาสัมพันธ์โครงการอาหารปลอดภัย
- จัดรายการเผยแพร่ความรู้ทางทีวี วิทยุ หนังสือพิมพ์ และข่าวประชาสัมพันธ์ เป็นประจำทุกเดือน
เช่น รายการสิบนาทีมีสุข, รายการรักษ์สุขภาพ และรายการรวมพลังสร้างสุขภาพ เป็นต้น
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 12 เมษายน 2548--จบ--
กระทรวงสาธารณสุข ประจำเดือนมกราคม 2548 ดังนี้
การตรวจสอบการนำเข้าอาหารและเภสัชเคมีภัณฑ์ ไม่พบปัญหาด้านเภสัชเคมีภัณฑ์ แต่พบอาหารที่
นำเข้ามีข้อบกพร่องด้านเอกสาร 0.06% (5 รายการ จาก 9,059 รายการ) และตรวจสอบทางห้องปฏิบัติการ
จำนวน 2,120 รายการ พบข้อบกพร่อง 21 รายการ (0.99%) ตรวจพบ ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ และตะกั่ว ซึ่ง
กระทรวงสาธารณสุขได้ดำเนินการเรียกเก็บสินค้า Lot ดังกล่าว และพิจารณาดำเนินการตามกฎหมาย รวมทั้ง
ได้จัดให้อยู่ในบัญชีรายชื่อสินค้าที่ถูกกักกันต่อไป
การตรวจสอบอาหารทั้ง 3 กลุ่ม
อาหารสด มอบป้ายอาหารปลอดภัยเพิ่มขึ้นจากเดือนที่ผ่านมา 6,149 ป้าย รวมทั้งสิ้น 112,455
ป้าย ในช่วงเดือนมกราคม 2548 พบสารปนเปื้อน บางตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนที่ผ่านมาเล็กน้อย โดยยาฆ่าแมลงยัง
พบมากในผักคะน้า ผักกาดขาว ผักกาดกวางตุ้ง พริกสด และองุ่น ส่วนสารเร่งเนื้อแดงพบลดลงเหลือ 2.37%
สารปนเปื้อน ปนเปื้อนร้อยละ (จำนวนตัวอย่างที่เก็บ)
ก่อนรณรงค์ หลังรณรงค์
มี.ค. 46 ส.ค. 47 ก.ย. 47 ต.ค. 47 พ.ย. 47 ธ.ค. 47 ม.ค. 48
สารเร่งเนื้อแดง 96 6.78 4.77 2.62 4.42 4.69 2.37
-2,132 -870 -776 -267 -113 -426 -716
บอแรกซ์ 42 0.99 1.06 0.77 0.11 0.11 0.53
-3,184 -5,658 -3,387 -914 -876 -1,884 -5,685
สารฟอกขาว 10 0.36 1.08 0.33 0 0.09 0.34
-3,256 -5,571 -2,319 -612 -544 -1,168 -4,174
ฟอร์มาลิน 10 1.52 0.5 0.84 1.58 1.63 0.37
-2,471 -4,405 -2,207 -479 -507 -922 -3,772
สารกันรา 17.2 0.67 3.38 3.35 0.93 6.45 1
-2,099 -5,976 -2,217 -657 -642 -915 -4,115
ยาฆ่าแมลง 20.6 4.34 3.45 2.35 6.32 2.79 3.39
-2,268 -8,457 -3,621 -554 -6,250 -2,691 -7,326
ข้อมูล ณ วันที่ 20 มกราคม 2548 รวบรวมโดย ศูนย์ปฏิบัติการความปลอดภัยด้านอาหาร กระทรวงสาธารณสุข
อาหารแปรรูป มีสถานที่ผลิตอาหาร 54 ประเภท ได้ GMP เพิ่มขึ้นเป็น 88.99% (ผ่าน 9,249
แห่ง จาก 10,393 แห่ง) โดยมีจังหวัดที่ผ่าน GMP 100% รวม 19 จังหวัด
อาหารปรุงจำหน่าย มีร้านอาหารและแผงลอยได้ Clean Food Good Taste เพิ่มเป็น
35.71% (48,993 แห่ง) ตลาดสด ผ่านเกณฑ์พื้นฐานด้านสิ่งแวดล้อม 42.44% (ผ่าน 685 แห่ง จาก
1,614 แห่ง) ผ่านเกณฑ์ตลาดสดน่าซื้อ 28.13% (ผ่าน 454 แห่งจาก 1,614 แห่ง)
การออกกฎหมาย ในเดือนมกราคม 2548 ดำเนินการเสร็จสิ้นเพิ่มอีก 1 ฉบับ คือ ประกาศกระทรวง
สาธารณสุข (ฉบับที่ 288) พ.ศ. 2548 เรื่อง อาหารที่มีสารพิษตกค้าง โดยกำหนดให้เพื่อเป็นการป้องกันการเกิด
พิษสะสมจากการบริโภคอาหารซึ่งมีการตกค้างของวัตถุอันตรายทางการเกษตร
การให้ความรู้ ประชาสัมพันธ์ และสร้างความตื่นตัวแก่ประชาชน
- ให้การต้อนรับนักเรียน อย. น้อย จำนวน 360 คน จาก 13 โรงเรียน ในโครงการเสริมสร้าง
ความเข้มแข็งเครือข่ายชมรม อย.น้อย ของ อย. ดูงานการปฏิบัติงานด้านการตรวจวิเคราะห์อาหารทางห้อง
ปฏิบัติการและการใช้ชุดทดสอบอาหารของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
- สาธิตการใช้ชุดทดลองอาหารเพื่อการเฝ้าระวังความปลอดภัยของอาหารด้วยตนเอง และให้ความรู้
การเลือกซื้อและบริโภคอาหารปลอดภัยแก่ครูและอาจารย์ นักเรียน นักศึกษา ผู้ประกอบการ และผู้ปกครองใน
โรงเรียนต่างๆ และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
- ให้การสนับสนุนและแจกสื่อเพื่อประชาสัมพันธ์โครงการอาหารปลอดภัย
- จัดรายการเผยแพร่ความรู้ทางทีวี วิทยุ หนังสือพิมพ์ และข่าวประชาสัมพันธ์ เป็นประจำทุกเดือน
เช่น รายการสิบนาทีมีสุข, รายการรักษ์สุขภาพ และรายการรวมพลังสร้างสุขภาพ เป็นต้น
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 12 เมษายน 2548--จบ--