คณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามที่กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเสนอ ให้กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและมูลนิธิชัยพัฒนาร่วมกันดำเนินโครงการเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ดังนี้
1. เทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็น “พระบิดาแห่งนวัตกรรมไทย” จากโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ “แกล้งดิน” ในเขตจังหวัดนราธิวาส
2. ให้วันที่ 5 ตุลาคม ของทุกปี เป็น “วันนวัตกรรมแห่งชาติ”
ทั้งนี้ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชี้แจงว่า กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นหน่วยงานที่ได้รับมอบหมายจากรัฐบาลให้มีพันธกิจด้านการส่งเสริมและสนับสนุน เพื่อสร้างความสามารถด้านนวัตกรรมของประเทศ โดยได้ดำเนินงานทั้งด้านการยกระดับนวัตกรรม การส่งเสริมให้เกิดวัฒนธรรมนวัตกรรม การสร้างความใฝ่รู้ด้านนวัตกรรม ตลอดจนการสร้างองค์กรและระบบนวัตกรรม ทั้งในภาครัฐและภาคเอกชน ซึ่งกิจกรรมต่าง ๆ เหล่านี้จะนำไปสู่การสร้างระบบนิเวศนวัตกรรมแห่งชาติของประเทศ
เนื่องในศุภวาระที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติครบ 60 ปี กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีขอเสนอโครงการเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็น “พระบิดาแห่งนวัตกรรมไทย” จากโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ “แกล้งดิน” ในเขตจังหวัดนราธิวาส ซึ่งโครงการดังกล่าวเป็นวิธีการแก้ไขพื้นที่ที่มีสภาพเป็นดินเปรี้ยวจัด ทำการเพาะปลูกไม่ได้ เนื่องจากมีกรดกำมะถันอันเป็นสาเหตุของดินเปรี้ยวอยู่เป็นอันมาก การแก้ไขดินเปรี้ยวตามแนวพระราชดำริก็คือการใช้กรรมวิธี “แกล้งดิน” คือ การทำดินให้เปรี้ยวด้วยการทำให้ดินแห้งและเปียกสลับกันเพื่อเร่งปฏิกิริยาทางเคมีของดินให้มีความเป็นกรดจัดมากขึ้นจนถึงที่สุด จากนั้นจึงมีการทดลองปรับปรุงดินเปรี้ยวโดยวิธีการต่าง ๆ กัน เช่น โดยการควบคุมระบบน้ำใต้ดินเพื่อป้องกันการเกิดกรดกำมะถัน การใช้วัสดุปูนผสมประมาณ 1 — 4 ตันต่อไร่ การใช้น้ำชะล้างจนถึงการเลือกใช้พืชที่จะเพาะปลูกในบริเวณนั้น การ “แกล้งดิน” ตามแนวพระราชดำริสามารถทำให้พื้นดินที่เปล่าประโยชน์และไม่สามารถทำอะไรได้กลับฟื้นคืนสภาพที่สามารถทำการเพาะปลูกได้อีกครั้งหนึ่ง
จากโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ “แกล้งดิน” กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีพิจารณาเห็นว่า ด้วยพระปรีชาสามารถของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทางด้านนวัตกรรมและพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงมีต่อพสกนิกรไทย ซึ่งจะเห็นได้จากพระราชกรณียกิจเกี่ยวกับโครงการนี้ ดังนี้
1. วันที่ 24 สิงหาคม 2535 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสเกี่ยวกับพื้นที่ในจังหวัดนราธิวาสเป็นพื้นดินมีคุณภาพต่ำ สมควรที่จะมีการปรับปรุงพัฒนา โดยให้หน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องมาดำเนินการศึกษาและพัฒนาพื้นที่พรุร่วมกันแบบผสมผสานและนำผลสำเร็จของโครงการไปเป็นแบบอย่างในการที่จะพัฒนาพื้นที่ดินพรุในโอกาสต่อไป
2. วันที่ 16 กันยายน 2547 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระราชดำริ “ โครงการแกล้งดิน” โดยให้ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ดำเนินการศึกษา ทดลอง เพื่อปรับปรุงดินเปรี้ยวให้สามารถใช้ประโยชน์ทางการเกษตรได้
3. วันที่ 5 ตุลาคม 2535 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรการดำเนินโครงการของศูนย์พิกุลทองฯ และทรงมีพระราชดำรัสแสดงถึงความเป็นนวัตกรรมของ “โครงการแกล้งดิน” ที่ไม่มีใครทำมาก่อน และพระราชทานพระราชดำริให้ทำเป็นตำรา คือ “คู่มือปรับปรุงดินเปรี้ยวจัดเพื่อการเกษตร” สำหรับที่จะใช้พัฒนาที่ดินเปรี้ยวอื่น ๆ ต่อไป
เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและเพื่อให้ประชาชนได้รับรู้ถึงแนวพระราชดำริในด้านการพัฒนา และพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงมีต่อพสกนิกรชาวไทยมาอย่างต่อเนื่องตลอด 60 ปี กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจึงเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาดังกล่าว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 20 มิถุนายน 2549--จบ--
1. เทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็น “พระบิดาแห่งนวัตกรรมไทย” จากโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ “แกล้งดิน” ในเขตจังหวัดนราธิวาส
2. ให้วันที่ 5 ตุลาคม ของทุกปี เป็น “วันนวัตกรรมแห่งชาติ”
ทั้งนี้ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชี้แจงว่า กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นหน่วยงานที่ได้รับมอบหมายจากรัฐบาลให้มีพันธกิจด้านการส่งเสริมและสนับสนุน เพื่อสร้างความสามารถด้านนวัตกรรมของประเทศ โดยได้ดำเนินงานทั้งด้านการยกระดับนวัตกรรม การส่งเสริมให้เกิดวัฒนธรรมนวัตกรรม การสร้างความใฝ่รู้ด้านนวัตกรรม ตลอดจนการสร้างองค์กรและระบบนวัตกรรม ทั้งในภาครัฐและภาคเอกชน ซึ่งกิจกรรมต่าง ๆ เหล่านี้จะนำไปสู่การสร้างระบบนิเวศนวัตกรรมแห่งชาติของประเทศ
เนื่องในศุภวาระที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติครบ 60 ปี กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีขอเสนอโครงการเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็น “พระบิดาแห่งนวัตกรรมไทย” จากโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ “แกล้งดิน” ในเขตจังหวัดนราธิวาส ซึ่งโครงการดังกล่าวเป็นวิธีการแก้ไขพื้นที่ที่มีสภาพเป็นดินเปรี้ยวจัด ทำการเพาะปลูกไม่ได้ เนื่องจากมีกรดกำมะถันอันเป็นสาเหตุของดินเปรี้ยวอยู่เป็นอันมาก การแก้ไขดินเปรี้ยวตามแนวพระราชดำริก็คือการใช้กรรมวิธี “แกล้งดิน” คือ การทำดินให้เปรี้ยวด้วยการทำให้ดินแห้งและเปียกสลับกันเพื่อเร่งปฏิกิริยาทางเคมีของดินให้มีความเป็นกรดจัดมากขึ้นจนถึงที่สุด จากนั้นจึงมีการทดลองปรับปรุงดินเปรี้ยวโดยวิธีการต่าง ๆ กัน เช่น โดยการควบคุมระบบน้ำใต้ดินเพื่อป้องกันการเกิดกรดกำมะถัน การใช้วัสดุปูนผสมประมาณ 1 — 4 ตันต่อไร่ การใช้น้ำชะล้างจนถึงการเลือกใช้พืชที่จะเพาะปลูกในบริเวณนั้น การ “แกล้งดิน” ตามแนวพระราชดำริสามารถทำให้พื้นดินที่เปล่าประโยชน์และไม่สามารถทำอะไรได้กลับฟื้นคืนสภาพที่สามารถทำการเพาะปลูกได้อีกครั้งหนึ่ง
จากโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ “แกล้งดิน” กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีพิจารณาเห็นว่า ด้วยพระปรีชาสามารถของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทางด้านนวัตกรรมและพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงมีต่อพสกนิกรไทย ซึ่งจะเห็นได้จากพระราชกรณียกิจเกี่ยวกับโครงการนี้ ดังนี้
1. วันที่ 24 สิงหาคม 2535 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสเกี่ยวกับพื้นที่ในจังหวัดนราธิวาสเป็นพื้นดินมีคุณภาพต่ำ สมควรที่จะมีการปรับปรุงพัฒนา โดยให้หน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องมาดำเนินการศึกษาและพัฒนาพื้นที่พรุร่วมกันแบบผสมผสานและนำผลสำเร็จของโครงการไปเป็นแบบอย่างในการที่จะพัฒนาพื้นที่ดินพรุในโอกาสต่อไป
2. วันที่ 16 กันยายน 2547 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระราชดำริ “ โครงการแกล้งดิน” โดยให้ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ดำเนินการศึกษา ทดลอง เพื่อปรับปรุงดินเปรี้ยวให้สามารถใช้ประโยชน์ทางการเกษตรได้
3. วันที่ 5 ตุลาคม 2535 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรการดำเนินโครงการของศูนย์พิกุลทองฯ และทรงมีพระราชดำรัสแสดงถึงความเป็นนวัตกรรมของ “โครงการแกล้งดิน” ที่ไม่มีใครทำมาก่อน และพระราชทานพระราชดำริให้ทำเป็นตำรา คือ “คู่มือปรับปรุงดินเปรี้ยวจัดเพื่อการเกษตร” สำหรับที่จะใช้พัฒนาที่ดินเปรี้ยวอื่น ๆ ต่อไป
เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและเพื่อให้ประชาชนได้รับรู้ถึงแนวพระราชดำริในด้านการพัฒนา และพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงมีต่อพสกนิกรชาวไทยมาอย่างต่อเนื่องตลอด 60 ปี กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจึงเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาดังกล่าว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 20 มิถุนายน 2549--จบ--