แท็ก
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
คณะรัฐมนตรี
คณะรัฐมนตรีรับทราบความก้าวหน้าและเห็นชอบในหลักการของร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2550-2554) ตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ และเห็นชอบให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติจัดประชุมประจำปี 2549 ในเดือนมิถุนายน 2549 เพื่อเสนอร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 ให้สาธารณชนได้ระดมความคิดเห็นในเวทีระดับชาติ และใช้ประโยชน์สำหรับการปรับปรุงร่างแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 ให้สมบูรณ์ ก่อนเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบต่อไป
ความก้าวหน้าการจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2550-2554) สรุปได้ดังนี้
1. หลักการจัดทำ
(1) แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 เป็นแผนยุทธศาสตร์ที่วางทิศทางการปรับตัวเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงในระยะ 10-15 ปีข้างหน้า พร้อมทั้งให้ความสำคัญต่อการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ที่มีความสำคัญสูงให้เกิดผลทางปฏิบัติในระยะ 5 ปีของแผน
(2) ยังคงอัญเชิญ “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” มาเป็นหลักปฏิบัติในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลาง และยึดกระบวนทรรศน์การพัฒนาแบบบูรณาการเป็นองค์รวมที่มี “คนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา” ต่อเนื่องจากแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9
(3) ยึดหลักการมีส่วนร่วมของประชาชนจากทุกภาคส่วนในสังคม ทั้งในการร่วมคิด ร่วมวางแผนและร่วมพัฒนาตามบทบาทและความรับผิดชอบของแต่ละภาคี รวมทั้งเป็นเครือข่ายร่วมผลักดันการขับเคลื่อนกระบวนการพัฒนา และร่วมติดตามผลอย่างต่อเนื่อง
2. สถานการณ์การพัฒนาและทิศทางการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลง
(1) ผลการพัฒนาประเทศ ตลอดระยะเวลาของการพัฒนาประเทศภายใต้แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 1-9 ประเทศไทยได้ยกระดับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศดีขึ้น คนไทยมีรายได้เพิ่มขึ้นและมีชีวิตความเป็นอยู่ที่สะดวกสบายมากขึ้น อย่างไรก็ตามการมุ่งขยายตัวทางเศรษฐกิจบนพื้นฐานของการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างสิ้นเปลือง นำมาซึ่งการลดทอนทุนทางทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง และเกิดปัญหาที่ไม่พึงประสงค์ทางสังคม เป็นปัญหาเชิงโครงสร้างที่ขาดสมดุลและไม่ยั่งยืน ทั้งด้านเศรษฐกิจที่ยังคงพึ่งพิงปัจจัยภายนอกในสัดส่วนที่สูง ขณะที่เศรษฐกิจในประเทศยังไม่เข้มแข็งมากพอที่จะเป็นภูมิคุ้มกันได้มากนัก อีกทั้งคนส่วนใหญ่ยังไม่ได้รับประโยชน์จากการพัฒนาอย่างทั่วถึงและเป็นธรรมเช่นเดียวกันกับสังคมไทยที่ภูมิคุ้มกันเริ่มลดลง และกำลังเผชิญกับปัญหาสังคมที่มีความรุนแรง ซับซ้อน และเป็นปัญหาในรูปแบบใหม่ ๆ มากขึ้น นอกจากนี้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมซึ่งเคยเป็นรากฐานที่มั่นคงของการพัฒนาและการดำรงชีวิตของชุมชนและสังคมก็ได้รับผลกระทบจากการถูกใช้อย่างสิ้นเปลืองสะท้อนความไม่สมดุลของการพัฒนาที่จะนำไปสู่ความยั่งยืนในอนาคต
(2) ทิศทางการปรับตัวของประเทศ ในระยะต่อไป ประเทศไทยยังต้องเผชิญกับบริบทการเปลี่ยนแปลงในหลายด้านที่สำคัญ และจะมีผลกระทบทั้งที่เป็นโอกาสและข้อจำกัดต่อการพัฒนาประเทศเป็นอย่างมาก ที่สำคัญคือ การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจและการเงินของโลก และการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีอย่างก้าวกระโดด จะผลักดันให้ประเทศต่าง ๆ ต้องขับเคลื่อนประเทศด้วยการพัฒนาบนฐานความรู้ และการบริหารเศรษฐกิจส่วนร่วมอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่เสื่อมโทรมลงมาก และภาวะโลกร้อนจะเป็นภัยคุกคามต่อความหลากหลายทางชีวภาพ เช่นเดียวกันกับมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมจะเป็นเงื่อนไขสำคัญในการแข่งขันในตลาดโลกและส่งผลต่อคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน นอกจากนั้นแนวโน้มการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภค จะส่งผลต่อการปรับตัวของประเทศไทยทั้งในด้านการผลิตสินค้าและบริการเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้สูงอายุ และพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป ในขณะเดียวกันก็ต้องสร้าภูมิคุ้มกันให้สังคมไทยจากการเลื่อนไหลของวัฒนธรรมและค่านิยมอย่างไร้พรมแดนด้วย ดังนั้น การเตรียมความพร้อมและรู้จักนำจุดแข็งและศักยภาพที่มีอยู่มาปรับใช้ให้เป็นประโยชน์ ก็จะเป็นภูมิคุ้มกัน และรองรับผลกระทบที่จะเกิดขึ้นได้อย่างรู้เท่าทัน
3. กรอบแนวคิดและทิศทางการพัฒนาประเทศ
(3.1) กรอบแนวคิด
3.1.1 การอัญเชิญปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์สู่การปฏิบัติในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 เป็นการปรับเปลี่ยนกระบวนทรรศน์การพัฒนาประเทศ ให้ดำเนินไปในทางสายกลาง ยึดหลักการพึ่งตนเองก่อนไปพึ่งคนอื่น สร้างความแข็งแกร่งของโครงสร้างระบบภายในประเทศที่คำนึงถึงความเป็นธรรม ไม่เบียดเบียนผู้อื่นและประโยชน์ส่วนรวม ควบคู่ไปกับการปรับตัวเข้าสู่โลกาภิวัตน์อย่างรู้เท่าทันและพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงได้อย่างมั่นคงและมีศักดิ์ศรี โดยดำเนินการอยู่บนพื้นฐานความพอประมาณอย่างมีเหตุผล ด้วยการอาศัยความรอบรู้ รอบคอบและระมัดระวังในการนำวิชาการต่าง ๆ มาใช้ในการวางแผนและดำเนินการทุกขั้นตอน ขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างให้คนในชาติทุกระดับมีสำนึกในคุณธรรม จริยธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต มีสติปัญญาและความรอบรู้ที่ เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความวิริยะอุตสาหะและความรอบคอบ อันจะเป็นภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในระดับครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศชาติ นำไปสู่การดำเนินวิถีการพัฒนาที่สมดุลและสร้างความสุขอย่างมั่นคงและยั่งยืน
3.1.2 กระบวนทรรศน์การพัฒนาแบบบูรณาการเป็นองค์รวมที่มี “คนเป็นศูนย์กลาง” ก็คือกระบวนทรรรศน์การพัฒนาสู่ความพอเพียง กล่าวคือเป็น “การพัฒนาที่เอาคนเป็นตัวตั้ง โดยคำนึงถึงทุกมิติของคุณค่าความเป็นคน และการอยู่ร่วมกันด้วยสันติระหว่างคนกับคน และระหว่างคนกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม” อันเป็นการพัฒนาเชื่อมโยงคนเข้ากับองค์ประกอบของวิถีชีวิตทั้งหมดทุกมิติอย่างบูรณาการ คือ ตัวคนและจิตใจ วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และความเป็นสังคมในชุมชนท้องถิ่น ซึ่งต่างก็มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมและความหลากหลายทางธรรมชาติแตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่ กระบวนทรรศน์การพัฒนาดังกล่าวนี้จะก่อให้เกิดการกระจายอำนาจและศักดิ์ศรีให้แก่ทุกกลุ่มชนในสังคม สร้างความอยู่ดีมีสุขให้แก่คนส่วนใหญ่ในชาติ นำไปสู่การพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืนในที่สุด
3.2 เป้าประสงค์หลัก
การพัฒนาประเทศในระยะ 10-15 ปีข้างหน้า จึงมุ่งสู่ “สังคมที่มีความสุขอย่างยั่งยืน (Green and Happiness Society) โดยยึดหลัก “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” ในกระบวนการพัฒนาแบบบูรณาการเป็นองค์รวมที่มี “คนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา” ให้ตั้งอยู่บนพื้นฐานความพอประมาณอย่างมีเหตุผล มุ่งสร้างปัญญา ความรอบรู้ ควบคู่คุณธรรม จริยธรรม ให้เกิดภูมิคุ้มกันที่ดีในตัวที่พร้อมรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างเท่าทัน โดยมีเป้าประสงค์การพัฒนาที่สำคัญ ดังนี้ (2.1) พัฒนาคุณภาพคนในชาติให้มีความรอบรู้คู่คุณธรรม พร้อมรับการเปลี่ยนแปลง (2.2) เสริมสร้างความเท่าเทียมและความเข้มแข็งของสังคม (2.3) ปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจให้แข็งแกร่ง มั่นคงและเป็นธรรม (2.4) พัฒนาระบบบริหารจัดการประเทศให้เกิดธรรมาภิบาลในทุกระดับ
3.3 ทิศทางการพัฒนาประเทศสู่ความยั่งยืน
การพัฒนาประเทศให้บรรลุเป้าประสงค์ดังกล่าวและสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน ภายใต้กระแสโลภาภิวัตน์ที่เปลี่ยนแปลงรวดเร็วและซับซ้อนมากขึ้น จำเป็นต้องหันกลับมาให้ความสำคัญกับการพึ่งตนเองและสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีของประเทศ ให้พร้อมรับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้อย่างรู้เท่าทัน โดยการบริหารจัดการทุนต่าง ๆ ที่มีอยู่ของประเทศเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ขณะเดียวกันใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการประเทศสู่สังคมที่มีความสุขอย่างยั่งยืน ได้แก่ การบริหารจัดการทุนประเทศเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน และการบริหาร จัดการประเทศสู่ความยั่งยืน
4. การบริหารจัดการทุนประเทศเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
ภายใต้เป้าประสงค์และทิศทางการพัฒนาประเทศดังกล่าว ได้กำหนดแนวทางบริหารจัดการทุนของประเทศและระบบบริหารจัดการประเทศ เพื่อมุ่งสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ดังนี้
(1) ทุนทางสังคม หมายถึง การรวมตัว ร่วมคิด ร่วมทำ บนฐานของความไว้เนื้อเชื่อใจสายใยความผูกพันและวัฒนธรรมที่ดีงามของสังคม โดยผ่านระบบความสัมพันธ์ในองค์ประกอบหลัก ได้แก่ คน สถาบัน วัฒนธรรม และองค์ความรู้ ซึ่งจะเกิดเป็นพลังในชุมชนและสังคม
(2) ทุนทางเศรษฐกิจ หมายถึง สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นในรูปของสินทรัพย์ทั้งที่มีตัวตนและที่ไม่สามารถจับต้องได้เป็นปัจจัยสำคัญที่สามารถใช้ในการสร้างกิจกรรมทางเศรษฐกิจให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจ และเป็นเครื่องมือแสดงสิทธิเรียกร้องและภาระผูกพันระหว่างภาคเศรษฐกิจหรือบุคคล ทั้งยังเป็นปัจจัยพื้นฐานที่จำเป็นในการดำรงชีวิตของประชาชนทุกระดับ
(3) ทุนทางทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หมายถึง สิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติทั้งที่ใช้แล้วหมดไปหรือมีปริมาณไม่หมดสิ้น อันให้ประโยชน์โดยตรงในรูปของปัจจัยการผลิตสินค้าและบริการ เพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์ และการให้ประโยชน์ทางอ้อมในรูปของสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อสุขภาพอนามัยและคุณภาพชีวิต รวมทั้งการดำเนินชีวิตอย่างเป็นปกติสุขของมนุษย์ ตลอดจนสิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้นและควรค่าแก่ความภาคภูมิใจไปจนถึงชนรุ่นต่อ ๆ ไป
(4) การบริหารจัดการประเทศสู่ความยั่งยืน ให้ความสำคัญกับการปรับโครงสร้างกลไก ปรับกระบวนทรรศน์การบริหารจัดการบนหลักการประชาธิปไตยและธรรมาภิบาล เพื่อสร้างความเป็นธรรมและกระจายผลประโยชน์สู่ภาคส่วนต่าง ๆ ในสังคมอย่างทั่วถึง
5. การดำเนินการขั้นต่อไป
(1) การบูรณาการและจัดลำดับความสำคัญของยุทธศาสตร์
ปัจจุบันสำนักงานฯ อยู่ระหว่างการบูรณาการและจัดลำดับความสำคัญของยุทธศาสตร์ที่จะขับเคลื่อนสู่การปฏิบัติในระยะ 5 ปีของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 โดยวิเคราะห์สภาวะแวดล้อมพร้อมทั้งบูรณาการความเชื่อมโยงระหว่างแนวทางการบริหารจัดการทุนทางสังคม ทุนทางเศรษฐกิจและทุนทางทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตลอดทั้งแนวทางการบริหารจัดการประเทศ ให้เป็นยุทธศาสตร์การพัฒนาที่มีความสำคัญสูงและควรเร่งขับเคลื่อนให้เกิดผลทางปฏิบัติ
(2) การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์สู่การปฏิบัติ
เมื่อมีการจัดลำดับความสำคัญของยุทธศาสตร์แล้ว จะได้มีการจัดทำรายละเอียดขอบทุกยุทธศาสตร์ดังกล่าวเพื่อขับเคลื่อนสู่การปฏิบัติในระยะ 5 ปีของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 โดยกำหนดวัตถุประสงค์ เป้าหมาย แนวทางการพัฒนาและบทบาทภาคีการพัฒนาที่ชัดเจน รวมตลอดทั้งกระบวนการ กลไก และกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้หน่วยงานและภาคีการพัฒนาสามารถนำไปจัดทำแผนปฏิบัติต่อได้
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 9 พฤษภาคม 2549--จบ--
ความก้าวหน้าการจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2550-2554) สรุปได้ดังนี้
1. หลักการจัดทำ
(1) แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 เป็นแผนยุทธศาสตร์ที่วางทิศทางการปรับตัวเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงในระยะ 10-15 ปีข้างหน้า พร้อมทั้งให้ความสำคัญต่อการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ที่มีความสำคัญสูงให้เกิดผลทางปฏิบัติในระยะ 5 ปีของแผน
(2) ยังคงอัญเชิญ “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” มาเป็นหลักปฏิบัติในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลาง และยึดกระบวนทรรศน์การพัฒนาแบบบูรณาการเป็นองค์รวมที่มี “คนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา” ต่อเนื่องจากแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9
(3) ยึดหลักการมีส่วนร่วมของประชาชนจากทุกภาคส่วนในสังคม ทั้งในการร่วมคิด ร่วมวางแผนและร่วมพัฒนาตามบทบาทและความรับผิดชอบของแต่ละภาคี รวมทั้งเป็นเครือข่ายร่วมผลักดันการขับเคลื่อนกระบวนการพัฒนา และร่วมติดตามผลอย่างต่อเนื่อง
2. สถานการณ์การพัฒนาและทิศทางการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลง
(1) ผลการพัฒนาประเทศ ตลอดระยะเวลาของการพัฒนาประเทศภายใต้แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 1-9 ประเทศไทยได้ยกระดับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศดีขึ้น คนไทยมีรายได้เพิ่มขึ้นและมีชีวิตความเป็นอยู่ที่สะดวกสบายมากขึ้น อย่างไรก็ตามการมุ่งขยายตัวทางเศรษฐกิจบนพื้นฐานของการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างสิ้นเปลือง นำมาซึ่งการลดทอนทุนทางทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง และเกิดปัญหาที่ไม่พึงประสงค์ทางสังคม เป็นปัญหาเชิงโครงสร้างที่ขาดสมดุลและไม่ยั่งยืน ทั้งด้านเศรษฐกิจที่ยังคงพึ่งพิงปัจจัยภายนอกในสัดส่วนที่สูง ขณะที่เศรษฐกิจในประเทศยังไม่เข้มแข็งมากพอที่จะเป็นภูมิคุ้มกันได้มากนัก อีกทั้งคนส่วนใหญ่ยังไม่ได้รับประโยชน์จากการพัฒนาอย่างทั่วถึงและเป็นธรรมเช่นเดียวกันกับสังคมไทยที่ภูมิคุ้มกันเริ่มลดลง และกำลังเผชิญกับปัญหาสังคมที่มีความรุนแรง ซับซ้อน และเป็นปัญหาในรูปแบบใหม่ ๆ มากขึ้น นอกจากนี้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมซึ่งเคยเป็นรากฐานที่มั่นคงของการพัฒนาและการดำรงชีวิตของชุมชนและสังคมก็ได้รับผลกระทบจากการถูกใช้อย่างสิ้นเปลืองสะท้อนความไม่สมดุลของการพัฒนาที่จะนำไปสู่ความยั่งยืนในอนาคต
(2) ทิศทางการปรับตัวของประเทศ ในระยะต่อไป ประเทศไทยยังต้องเผชิญกับบริบทการเปลี่ยนแปลงในหลายด้านที่สำคัญ และจะมีผลกระทบทั้งที่เป็นโอกาสและข้อจำกัดต่อการพัฒนาประเทศเป็นอย่างมาก ที่สำคัญคือ การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจและการเงินของโลก และการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีอย่างก้าวกระโดด จะผลักดันให้ประเทศต่าง ๆ ต้องขับเคลื่อนประเทศด้วยการพัฒนาบนฐานความรู้ และการบริหารเศรษฐกิจส่วนร่วมอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่เสื่อมโทรมลงมาก และภาวะโลกร้อนจะเป็นภัยคุกคามต่อความหลากหลายทางชีวภาพ เช่นเดียวกันกับมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมจะเป็นเงื่อนไขสำคัญในการแข่งขันในตลาดโลกและส่งผลต่อคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน นอกจากนั้นแนวโน้มการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภค จะส่งผลต่อการปรับตัวของประเทศไทยทั้งในด้านการผลิตสินค้าและบริการเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้สูงอายุ และพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป ในขณะเดียวกันก็ต้องสร้าภูมิคุ้มกันให้สังคมไทยจากการเลื่อนไหลของวัฒนธรรมและค่านิยมอย่างไร้พรมแดนด้วย ดังนั้น การเตรียมความพร้อมและรู้จักนำจุดแข็งและศักยภาพที่มีอยู่มาปรับใช้ให้เป็นประโยชน์ ก็จะเป็นภูมิคุ้มกัน และรองรับผลกระทบที่จะเกิดขึ้นได้อย่างรู้เท่าทัน
3. กรอบแนวคิดและทิศทางการพัฒนาประเทศ
(3.1) กรอบแนวคิด
3.1.1 การอัญเชิญปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์สู่การปฏิบัติในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 เป็นการปรับเปลี่ยนกระบวนทรรศน์การพัฒนาประเทศ ให้ดำเนินไปในทางสายกลาง ยึดหลักการพึ่งตนเองก่อนไปพึ่งคนอื่น สร้างความแข็งแกร่งของโครงสร้างระบบภายในประเทศที่คำนึงถึงความเป็นธรรม ไม่เบียดเบียนผู้อื่นและประโยชน์ส่วนรวม ควบคู่ไปกับการปรับตัวเข้าสู่โลกาภิวัตน์อย่างรู้เท่าทันและพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงได้อย่างมั่นคงและมีศักดิ์ศรี โดยดำเนินการอยู่บนพื้นฐานความพอประมาณอย่างมีเหตุผล ด้วยการอาศัยความรอบรู้ รอบคอบและระมัดระวังในการนำวิชาการต่าง ๆ มาใช้ในการวางแผนและดำเนินการทุกขั้นตอน ขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างให้คนในชาติทุกระดับมีสำนึกในคุณธรรม จริยธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต มีสติปัญญาและความรอบรู้ที่ เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความวิริยะอุตสาหะและความรอบคอบ อันจะเป็นภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในระดับครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศชาติ นำไปสู่การดำเนินวิถีการพัฒนาที่สมดุลและสร้างความสุขอย่างมั่นคงและยั่งยืน
3.1.2 กระบวนทรรศน์การพัฒนาแบบบูรณาการเป็นองค์รวมที่มี “คนเป็นศูนย์กลาง” ก็คือกระบวนทรรรศน์การพัฒนาสู่ความพอเพียง กล่าวคือเป็น “การพัฒนาที่เอาคนเป็นตัวตั้ง โดยคำนึงถึงทุกมิติของคุณค่าความเป็นคน และการอยู่ร่วมกันด้วยสันติระหว่างคนกับคน และระหว่างคนกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม” อันเป็นการพัฒนาเชื่อมโยงคนเข้ากับองค์ประกอบของวิถีชีวิตทั้งหมดทุกมิติอย่างบูรณาการ คือ ตัวคนและจิตใจ วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และความเป็นสังคมในชุมชนท้องถิ่น ซึ่งต่างก็มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมและความหลากหลายทางธรรมชาติแตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่ กระบวนทรรศน์การพัฒนาดังกล่าวนี้จะก่อให้เกิดการกระจายอำนาจและศักดิ์ศรีให้แก่ทุกกลุ่มชนในสังคม สร้างความอยู่ดีมีสุขให้แก่คนส่วนใหญ่ในชาติ นำไปสู่การพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืนในที่สุด
3.2 เป้าประสงค์หลัก
การพัฒนาประเทศในระยะ 10-15 ปีข้างหน้า จึงมุ่งสู่ “สังคมที่มีความสุขอย่างยั่งยืน (Green and Happiness Society) โดยยึดหลัก “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” ในกระบวนการพัฒนาแบบบูรณาการเป็นองค์รวมที่มี “คนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา” ให้ตั้งอยู่บนพื้นฐานความพอประมาณอย่างมีเหตุผล มุ่งสร้างปัญญา ความรอบรู้ ควบคู่คุณธรรม จริยธรรม ให้เกิดภูมิคุ้มกันที่ดีในตัวที่พร้อมรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างเท่าทัน โดยมีเป้าประสงค์การพัฒนาที่สำคัญ ดังนี้ (2.1) พัฒนาคุณภาพคนในชาติให้มีความรอบรู้คู่คุณธรรม พร้อมรับการเปลี่ยนแปลง (2.2) เสริมสร้างความเท่าเทียมและความเข้มแข็งของสังคม (2.3) ปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจให้แข็งแกร่ง มั่นคงและเป็นธรรม (2.4) พัฒนาระบบบริหารจัดการประเทศให้เกิดธรรมาภิบาลในทุกระดับ
3.3 ทิศทางการพัฒนาประเทศสู่ความยั่งยืน
การพัฒนาประเทศให้บรรลุเป้าประสงค์ดังกล่าวและสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน ภายใต้กระแสโลภาภิวัตน์ที่เปลี่ยนแปลงรวดเร็วและซับซ้อนมากขึ้น จำเป็นต้องหันกลับมาให้ความสำคัญกับการพึ่งตนเองและสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีของประเทศ ให้พร้อมรับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้อย่างรู้เท่าทัน โดยการบริหารจัดการทุนต่าง ๆ ที่มีอยู่ของประเทศเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ขณะเดียวกันใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการประเทศสู่สังคมที่มีความสุขอย่างยั่งยืน ได้แก่ การบริหารจัดการทุนประเทศเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน และการบริหาร จัดการประเทศสู่ความยั่งยืน
4. การบริหารจัดการทุนประเทศเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
ภายใต้เป้าประสงค์และทิศทางการพัฒนาประเทศดังกล่าว ได้กำหนดแนวทางบริหารจัดการทุนของประเทศและระบบบริหารจัดการประเทศ เพื่อมุ่งสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ดังนี้
(1) ทุนทางสังคม หมายถึง การรวมตัว ร่วมคิด ร่วมทำ บนฐานของความไว้เนื้อเชื่อใจสายใยความผูกพันและวัฒนธรรมที่ดีงามของสังคม โดยผ่านระบบความสัมพันธ์ในองค์ประกอบหลัก ได้แก่ คน สถาบัน วัฒนธรรม และองค์ความรู้ ซึ่งจะเกิดเป็นพลังในชุมชนและสังคม
(2) ทุนทางเศรษฐกิจ หมายถึง สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นในรูปของสินทรัพย์ทั้งที่มีตัวตนและที่ไม่สามารถจับต้องได้เป็นปัจจัยสำคัญที่สามารถใช้ในการสร้างกิจกรรมทางเศรษฐกิจให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจ และเป็นเครื่องมือแสดงสิทธิเรียกร้องและภาระผูกพันระหว่างภาคเศรษฐกิจหรือบุคคล ทั้งยังเป็นปัจจัยพื้นฐานที่จำเป็นในการดำรงชีวิตของประชาชนทุกระดับ
(3) ทุนทางทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หมายถึง สิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติทั้งที่ใช้แล้วหมดไปหรือมีปริมาณไม่หมดสิ้น อันให้ประโยชน์โดยตรงในรูปของปัจจัยการผลิตสินค้าและบริการ เพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์ และการให้ประโยชน์ทางอ้อมในรูปของสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อสุขภาพอนามัยและคุณภาพชีวิต รวมทั้งการดำเนินชีวิตอย่างเป็นปกติสุขของมนุษย์ ตลอดจนสิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้นและควรค่าแก่ความภาคภูมิใจไปจนถึงชนรุ่นต่อ ๆ ไป
(4) การบริหารจัดการประเทศสู่ความยั่งยืน ให้ความสำคัญกับการปรับโครงสร้างกลไก ปรับกระบวนทรรศน์การบริหารจัดการบนหลักการประชาธิปไตยและธรรมาภิบาล เพื่อสร้างความเป็นธรรมและกระจายผลประโยชน์สู่ภาคส่วนต่าง ๆ ในสังคมอย่างทั่วถึง
5. การดำเนินการขั้นต่อไป
(1) การบูรณาการและจัดลำดับความสำคัญของยุทธศาสตร์
ปัจจุบันสำนักงานฯ อยู่ระหว่างการบูรณาการและจัดลำดับความสำคัญของยุทธศาสตร์ที่จะขับเคลื่อนสู่การปฏิบัติในระยะ 5 ปีของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 โดยวิเคราะห์สภาวะแวดล้อมพร้อมทั้งบูรณาการความเชื่อมโยงระหว่างแนวทางการบริหารจัดการทุนทางสังคม ทุนทางเศรษฐกิจและทุนทางทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตลอดทั้งแนวทางการบริหารจัดการประเทศ ให้เป็นยุทธศาสตร์การพัฒนาที่มีความสำคัญสูงและควรเร่งขับเคลื่อนให้เกิดผลทางปฏิบัติ
(2) การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์สู่การปฏิบัติ
เมื่อมีการจัดลำดับความสำคัญของยุทธศาสตร์แล้ว จะได้มีการจัดทำรายละเอียดขอบทุกยุทธศาสตร์ดังกล่าวเพื่อขับเคลื่อนสู่การปฏิบัติในระยะ 5 ปีของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 โดยกำหนดวัตถุประสงค์ เป้าหมาย แนวทางการพัฒนาและบทบาทภาคีการพัฒนาที่ชัดเจน รวมตลอดทั้งกระบวนการ กลไก และกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้หน่วยงานและภาคีการพัฒนาสามารถนำไปจัดทำแผนปฏิบัติต่อได้
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 9 พฤษภาคม 2549--จบ--