คณะรัฐมนตรีพิจารณายุทธศาสตร์การพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง กลุ่มที่ 2 และจังหวัดนครสวรรค์ ตามที่รองนายกรัฐมนตรี (นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย) ในฐานะผู้รับผิดชอบเขตตรวจราชการที่ 2 เสนอดังนี้
1. เห็นชอบกรอบยุทธศาสตร์การพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง กลุ่มที่ 2 (นครสวรรค์ กำแพงเพชร อุทัยธานี พิจิตร) ตามที่เสนอ ดังนี้
(1) ภาพรวมและผลการพัฒนา ฐานเศรษฐกิจใหญ่เป็นลำดับสองของภาคเหนือหรือร้อยละ 25.6 มีมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวม 151,210 ล้านบาท อัตราการเจริญเติบโตอยู่ในระดับสูงกว่าภาคเหนือและประเทศฐานเศรษฐกิจของกลุ่มจังหวัดขึ้นกับการผลิตด้านกสิกรรมโดยเฉพาะผลผลิตข้าวและพืชไร่ ได้แก่ อ้อย มันสำปะหลัง การค้าพืชผล และอุตสาหกรรมการเกษตรได้แก่ โรงสีข้าว อุตสาหกรรมน้ำตาล ผงชูรส เบียร์ และแปรรูปมันสำปะหลัง โดยจังหวัดนครสวรรค์และกำแพงเพชร เป็นจังหวัดที่มีสัดส่วนมูลค่าทางเศรษฐกิจสูงสุด ร้อยละ 37.5 และ 37.2 ตามลำดับ
(2) ปัญหาและข้อจำกัดการพัฒนา ปัญหาที่สำคัญ คือ 1) ปัญหาความยากจนและการกระจายรายได้ มีผู้มาขึ้นทะเบียนสำรวจความยากจนเพื่อแก้ไขปัญหาสังคมและความยากจนเชิงบูรณาการ จำนวนทั้งสิ้น 592,188 ราย 2) ปัญหาคุณภาพการศึกษาและผลิตภาพแรงงานต่ำ คุณภาพการศึกษาของผู้เรียนในระดับมัธยมต้นและมัธยมปลายต่ำกว่าทุกกลุ่มในภาค และประเทศแรงงานที่เข้าสู่ระบบในช่วงที่ผ่านมา ร้อยละ 60 เป็นแรงงานที่มีการศึกษาระดับประถม 3) ปัญหาฐานเศรษฐกิจแคบ พึ่งพิงภาคเกษตรและอุตสาหกรรมแปรรูปเกษตรขั้นต้นน้ำเป็นหลัก การผลิตที่ขึ้นกับพืชเพียง 2-3 ชนิด และขาดการอุตสาหกรรมแปรรูปที่มีมูลค่าเพิ่มสูง 4) ปัญหาการจัดการทรัพยากรน้ำ พื้นที่ถือครองการเกษตร ร้อยละ 66 เป็นพื้นที่พึ่งพิงน้ำฝน มีพื้นที่กว่า 1 ล้านไร่มักประสบกับปัญหาภัยแล้งและน้ำท่วมเสมอ
(3) ศักยภาพ และโอกาสการพัฒนา เป็นฐานการผลิตสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมแปรรูปจาก พืชผลเกษตรที่สำคัญของภาคและประเทศ เป็นแหล่งการพัฒนาพลังงานทดแทนจากวัสดุทางการเกษตรกากน้ำตาล แกลบ (Bio Energy) และวัสดุภัณฑ์ที่ย่อยสลายง่ายจากมันสำปะหลัง (Bio Material) กลุ่มจังหวัดมีบทบาทเป็นประตูเชื่อมโยงกับภาคกลางตอนบน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยจังหวัดนครสวรรค์เป็นประตูเชื่อมกับภาคกลางตอนบน โดยทางหลวงสายเอเชีย และเชื่อมโยงสู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือผ่านทางหลวงสาย 225 (นครสวรรค์-ชัยภูมิ)
(4) ประเด็นท้าทาย
4.1 การสร้างโอกาส รายได้และความมั่นคงให้กับคนยากจน โดยเฉพาะเกษตรกรที่มีปัญหาที่ดินทำกินซึ่งรวมทั้งไร้ที่ดินทำกิน และไร้กรรมสิทธิ์ที่ดินประมาณ 1.78 แสนราย มีกรรมสิทธิ์ที่ดินเป็นของตนเองได้ และมีทักษะความรู้ เพื่อให้มีโอกาสประกอบอาชีพได้อย่างมั่นคง
4.2 การยกระดับความรู้ความสามารถทรัพยากรมนุษย์และผลิตภาพแรงงานให้ทัดเทียมภูมิภาคอื่น เพื่อเพิ่มศักยภาพและทักษะให้กับบุคลากรและกำลังแรงงาน
4.3 การขยายฐานเศรษฐกิจของกลุ่มให้หลากหลายและเข้มแข็งเพื่อลดความเสี่ยงและสร้างมูลค่าเพิ่มผลิตผลเกษตร โดยใช้ความรู้ เทคโนโลยี การศึกษาวิจัยสำหรับพัฒนาต่อยอดฐานเศรษฐกิจเดิม การแปรรูป สินค้าเกษตรสู่ผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าสูงตามกระแสแนวโน้มของตลาด พัฒนาภาคบริการการคมนาคมขนส่งให้มีประสิทธิภาพ เพื่อลดต้นทุนและพัฒนาการท่องเที่ยวให้เต็มศักยภาพในรูปแบบใหม่ ๆ ที่มีความโดดเด่น
4.4 การบริหารและจัดการทรัพยากรน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อการเพิ่มประสิทธิภาพ การผลิตภาคเกษตร อุตสาหกรรม และการขนส่งทางน้ำให้เกิดความคุ้มค่าต่อการใช้ทรัพยากรน้ำ
(5) ยุทธศาสตร์การพัฒนากลุ่มจังหวัด จึงมุ่งที่การแก้ปัญหาความรู้ของประชาชน ความ ยากจนและการกระจายรายได้ ควบคู่ไปกับการขยายฐานเศรษฐกิจให้มีความหลากหลาย โดยมียุทธศาสตร์ที่สำคัญคือ
5.1 ยกระดับความรู้ความสามารถของประชาชน ผู้ประกอบการและกำลังแรงงานเพิ่มศักยภาพในการประกอบอาชีพ เสริมสร้างโอกาสการมีงานทำ และการสร้างรายได้ให้กับคนยากจน ซึ่งมีแนวทางคือ 1) ยกระดับคุณภาพมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) สนับสนุนความร่วมมือระหว่างสถาบันเอกชนและสถาบันการศึกษาให้มีบทบาทในการพัฒนาและถ่ายทอดความรู้ในลักษณะวิสาหกิจศึกษา และร่วมพัฒนาผู้ประกอบการใหม่ 3) ส่งเสริมอุตสาหกรรมที่เชื่อมโยงกับการเกษตรชักจูงสนับสนุนโรงงานอุตสาหกรรมแปรรูปเกษตร การผลิตพลังงานชีวภาพให้มา ลงทุนในพื้นที่ 4) ปรับปรุงที่ดินของรัฐให้คนจนมีสิทธิสัญญาเช่าเพื่อทำเกษตร พร้อมทั้งจัดระบบบริการพื้นฐานสนับสนุนตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง 5) บูรณาการทุกภาคส่วนในการแก้ปัญหาความยากจน
5.2 ขยายฐานเศรษฐกิจให้หลากหลาย สร้างมูลค่าเพิ่มผลิตผลเกษตร ศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนาต่อยอดฐานเศรษฐกิจเดิม ส่งเสริมการเป็นศูนย์การผลิตและค้าข้าว (Rice Hub) และพัฒนาระบบ Logistic โดยนครสวรรค์ เป็นศูนย์กลาง ซึ่งมีแนวทาง คือ 1) พัฒนาการแปรรูปผลิตผลการเกษตรเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม และ 2) เพิ่มขีดความสามารถของสถาบันการศึกษา เพื่อเพิ่มองค์ความรู้ด้านการพัฒนาของท้องถิ่น 3) เน้นการเพิ่มผลิตภาพการผลิตและธุรกรรมการค้าข้าวเพื่อเพิ่มมูลค่าและใช้ทรัพยากรน้ำที่มีให้เกิดประโยชน์สูงสุด 4) พัฒนาระบบ Logistic โดยนครสวรรค์เป็นศูนย์กลาง เพื่อเพิ่มศักยภาพการเป็น Inter-junction Node เชื่อมโยงเหนือ-ใต้ และตะวันออกเฉียงเหนือ
5.3 พัฒนาและสร้างสินค้าการท่องเที่ยวที่มีอยู่หลากหลายและมีความโดดเด่นการเป็นมรดกโลกและมีความแตกต่างที่เป็นจุดแข็ง ซึ่งมีแนวทางคือ 1) ส่งเสริมพัฒนาด้านการบริหารจัดการท่องเที่ยวอย่างจริงจัง เพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวได้เต็มศักยภาพ 2) จัดทำแผนการพัฒนาและใช้ประโยชน์อย่างมีคุณค่าจากทรัพยากรการท่องเที่ยวที่เป็นมรดกโลกของพื้นที่ ทั้งอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร และเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง 3) พัฒนาแหล่งท่องเที่ยวใหม่และสิ่งอำนวยสำหรับการท่องเที่ยว ฟื้นฟูบึงบอระเพ็ด สร้างAquarium ปลาน้ำจืดให้เป็นแหล่งเรียนรู้ การท่องเที่ยวเพื่อเรียนรู้วิถีชีวิตชาวแพริมแม่น้ำ รวมทั้งพัฒนาที่พักที่สะอาด ปลอดภัย และสะท้อนถึงสถาปัตยกรรมและศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น 4) ส่งเสริมการพัฒนาสินค้า OTOP เพื่อการท่องเที่ยว 5) เปิดเส้นทางเชื่อมโยงการท่องเที่ยวด้านตะวันตกของกลุ่มจังหวัด ทางหลวง 333 อู่ทอง-บ้านไร่-ชุมตาบง
5.4 บูรณาการแก้ไขปัญหาน้ำทั้งระบบ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและลดความเสี่ยงจากอุทกภัยและภัยแล้ง โดยมีแนวทาง 1) พัฒนาแหล่งน้ำและบริหารจัดการน้ำอย่างเป็นระบบเชื่อมต่อกับการจัดการลุ่มน้ำหลักของภาคในกลุ่มจังหวัด ได้แก่ ลุ่มน้ำปิง ยม น่าน เจ้าพระยา และสะแกกรัง รวมทั้งแหล่งน้ำสำคัญในพื้นที่ เช่น บึงบอระเพ็ด คลองโพธิ์ บึงหล่ม และบึงสีไฟ 2) จัดระบบการบริหารจัดการน้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุด คำนึงถึงความคุ้มค่าในเชิงเศรษฐกิจ โดยสนับสนุนการใช้ GIS ร่วมกับการมีส่วนร่วมของประชาชน เพื่อลดความขัดแย้ง 3) เพิ่มสมรรถนะแหล่งกักเก็บน้ำ โดยการขุดลอกแหล่งเก็บกักน้ำเดิมที่ตื้นเขิน เพิ่มแหล่งเก็บกักน้ำใหม่โดยสร้างแก้มลิงในพื้นที่ที่เหมาะสม
2. เห็นชอบในหลักการแผนงานโครงการภายใต้ยุทธศาสตร์การพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคเหนือ ตอนล่างกลุ่มที่ 2 ตามที่เสนอ ดังนี้
(1) ยกระดับความรู้ความสามารถของประชาชน ผู้ประกอบการและกำลังแรงงาน เสริมสร้างโอกาสการมีงานทำ และการสร้างรายได้ให้กับคนยากจน ประกอบด้วย
1) โครงการขยายการจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขต จังหวัดนครสวรรค์ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการจัดการ เพื่อพัฒนาบุคลากรและสร้างองค์ความรู้ ตอบสนองต่อการพัฒนากลุ่มจังหวัด
2) โครงการ “รัฐเอื้อราษฎร์” ขยายการดำเนินงานให้ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายที่เป็นคนยากจน เพื่อสนองนโยบายของรัฐบาลในการแก้ปัญหาความยากจนของราษฎรในเรื่องที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัย
(2) ขยายฐานเศรษฐกิจของกลุ่มให้หลากหลาย สร้างมูลค่าเพิ่มผลิตผลเกษตร ส่งเสริม บทบาทการเป็นศูนย์การผลิตและค้าข้าว (Rice Hub) และการพัฒนาระบบ Logistic ประกอบด้วย
1) โครงการศูนย์วิจัยการแปรรูปอาหารและการตรวจสอบคุณภาพผลิตผลทางการเกษตร
2) โครงการพัฒนาศูนย์ส่งเสริมและผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวชุมชนเพื่อเป็นผู้ผลิตและดำเนินธุรกิจด้านเมล็ดพันธุ์ข้าวแบบครบวงจร
3) โครงการศึกษาแนวทางการลงทุนและส่งเสริมการผลิตพลังงานทดแทนแบบครบวงจร
4) โครงการปรับปรุงทางหลวงเชื่อมโยงกลุ่มจังหวัด ด้านตะวันตกอุทัยธานี-นครสวรรค์-กำแพงเพชร
5) โครงการส่งเสริมโครงข่ายทางเลี่ยงเมืองนครสวรรค์ 2 ช่วงให้ครบวงรอบ
6) โครงการพัฒนาทางหลวงเชื่อมต่อระหว่างจังหวัดกำแพงเพชรกับจังหวัดพิจิตร ขยายผิวจราจรทางหลวงหมายเลข 115
(3) พัฒนาและสร้างสินค้าการท่องเที่ยวที่มีอยู่หลากหลายและมีความโดดเด่นการเป็นมรดกโลกและมีความแตกต่างโดยใช้เป็นจุดแข็ง ซึ่งประกอบด้วย
1) โครงการจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาห้วยขาแข้งเพื่อการท่องเที่ยวและการเรียนรู้อย่างมีคุณค่า
2) โครงการปรับปรุงกิจกรรมที่มีความจำเป็นเร่งด่วน (ปรับปรุงเส้นทางเข้า ปรับปรุงเส้นทางเดินธรรมชาติ และทำแนวป้องกันอันตรายที่เกิดขึ้นกับสัตว์ป่า) สำหรับการพัฒนาบริเวณพื้นที่รองรับการท่องเที่ยวของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง
3) โครงการพัฒนาอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชรให้เป็นสถานที่ชมโบราณสถานในเวลา กลางคืน (Night Historical Park)
4) โครงการพัฒนาถนนเชื่อมต่อระหว่างจังหวัดกำแพงเพชรกับจังหวัดสุโขทัย เพื่อเชื่อมโยงการท่องเที่ยวระหว่างจังหวัดกำแพงเพชรและสุโขทัย
(4) บูรณาการการแก้ไขปัญหาน้ำทั้งระบบ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและลดความเสี่ยงจากอุทกภัยและภัยแล้ง ประกอบด้วย
1) โครงการสำรวจและสร้างฝายต้นน้ำแบบผสมผสาน (Check Dam)
2) โครงการศึกษาความเหมาะสมและผลกระทบสิ่งแวดล้อมการผันน้ำเข้าสู่ลุ่มน้ำสะแกกรังและลุ่มน้ำท่าจีน
3) โครงการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสำรวจออกแบบ “การสูบน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยา-เขื่อนวังล่มเกล้า”
4) โครงการปรับปรุงระบบส่งน้ำฝายวังยางในเขตจังหวัดกำแพงเพชร
5) โครงการศึกษาความเหมาะสมและออกแบบรายละเอียดโครงการพัฒนาแม่น้ำยมฝั่งซ้ายในเขตจังหวัดพิจิตร
6) โครงการศึกษาความเหมาะสมและออกแบบรายละเอียดโครงการพัฒนาแม่น้ำยมฝั่งขวาในเขตจังหวัดพิจิตร
7) โครงการขุดลอกบึงสีไฟ จังหวัดพิจิตร เพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้ประโยชน์ในฤดูแล้ง และอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรแหล่งน้ำให้เกิดความสมดุล
ทั้งนี้มอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำรายละเอียดโครงการขอรับการสนับสนุนงบประมาณต่อไป
3. เห็นชอบกรอบยุทธศาสตร์การพัฒนากลุ่มจังหวัดนครสวรรค์ ตามที่เสนอ ดังนี้
(1) ภาพรวมและผลการพัฒนา ฐานเศรษฐกิจใหญ่ โดยมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวม 56,800 บาท เป็นลำดับ 2 ของภาคเหนือ คิดเป็นร้อยละ 9.61 หรือร้อยละ 37.6 ของกลุ่มจังหวัด ณ สิ้นปี 2547 เศรษฐกิจหลักมาจากด้านอุตสาหกรรม การค้า และการเกษตร คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 23.0 (มูลค่า 11,310 ล้านบาท) ร้อยละ 20.3 (มูลค่า 9,981 ล้านบาท) และร้อยละ 19.7 (มูลค่า 3,566 ล้านบาท) ตามลำดับ มีรายได้จากการท่องเที่ยวเป็นลำดับ 1 ของกลุ่มจังหวัด ทำรายได้ให้กับจังหวัด 400.15 ล้านบาท ในด้านการศึกษาความรู้ความสามารถของนักเรียนในการศึกษาด้านภาษาไทย คณิตศาสตร์และภาษาอังกฤษต่ำ มีผู้มาขึ้นทะเบียนสำรวจความต้องการเพื่อแก้ไขปัญหาสังคมและความยากจนเชิงบูรณาการ 71,053 คน
(2) ปัญหาและข้อจำกัดการพัฒนา
2.1) ปัญหาความยากจนและการกระจายรายได้ ประชาชนส่วนใหญ่ทำการเกษตรโดยการ พึ่งพาธรรมชาติ มีคนยากจนมาขึ้นทะเบียนแก้ปัญหาสังคมและความยากจนที่ผ่านการกลั่นกรอง จำนวน 71,053 คน
2.2) ปัญหาภาวะน้ำท่วมและแล้งซ้ำซาก เนื่องจากการบริหารจัดการน้ำยังขาดประสิทธิผลที่ดี
2.3) ปัญหาอุทกภัยและการจราจรในเขตเศรษฐกิจของจังหวัด (เทศบาลนครนครสวรรค์) เนื่องจากสภาพพื้นที่ในเขตเทศบาลและเป็นที่ราบลุ่มต่ำและเป็นจุดมีแม่น้ำปิง แม่น้ำยม และแม่น้ำน่านไหลมาบรรจบกัน ก่อให้เกิดปัญหาน้ำท่วมซ้ำซาก การที่มีถนนสายหลักผ่าน ได้แก่ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 (สายเอเชีย) และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 117 (กรุงเทพฯ-พิษณุโลก) ซึ่งมีจำนวนปริมาณการจราจรของรถประมาณ 30,000-40,000 คันต่อวัน ก่อให้เกิดปัญหาการจราจรในเขตเมือง
2.4) สัดส่วนแรงงานในภาคเกษตรมีแนวโน้มลดลง เนื่องจากมีการอพยพเข้าไปเป็นแรงงานภาคบริการและอุตสาหกรรม
2.5) คุณภาพการศึกษาในทุกระดับของจังหวัดนครสวรรค์มีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง และอัตราการเรียนต่อในระดับมัธยมต้น มัธยมปลายทั้งสายสามัญและสายอาชีพที่ลดลง
2.6) เส้นทางถนนแคบไม่เพียงพอกับการรองรับปริมาณการจราจรที่เพิ่มขึ้นและเส้นทางคมนาคมเชื่อมโยงภายในระดับอำเภอส่วนใหญ่ชำรุดเสียหายและขาดการซ่อมบำรุง เพราะไม่สามารถรองรับน้ำหนักรถบรรทุกผลิตผลทางการเกษตร เช่น อ้อยและมันสำปะหลัง
2.7) ขาดการพัฒนาและฟื้นฟูแหล่งท่องเที่ยวที่มีอยู่ทำให้ไม่สามารถสร้างแรงดึงดูดแก่ นักท่องเที่ยว รวมถึงสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับการท่องเที่ยวยังไม่ได้มาตรฐาน ทำให้เป็นอุปสรรคในการส่งเสริมการท่องเที่ยวในพื้นที่
(3) ศักยภาพ และโอกาสการพัฒนา
3.1) การเป็นศูนย์กลางการคมนาคมขนส่งทางบกทั้งทางรถยนต์และรถไฟระหว่างภูมิภาค (เหนือ กลาง และอีสาน)
3.2) การเป็นฐานการผลิตและแปรรูปสินค้าเกษตรมูลค่าสูง มีโรงงานน้ำตาลที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สามารถผลิต Molasc เพื่อแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อื่นและมีการปลูกมันสำปะหลังในปริมาณมากพอที่จะลงทุนด้านการผลิตพลังงานทดแทนจากพืช และผลิตภัณฑ์ธรรมชาติอื่น ๆ
3.3) โอกาสในการสร้างรายได้จากการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น เนื่องจากจังหวัดมีทรัพยากรทั้งประเภทธรรมชาติ ศาสนสถาน/วัดที่เก่าแก่ โบราณสถาน และวัฒนธรรมประเพณี
3.4) โอกาสในการเป็นศูนย์กลางในการศึกษาในเขตภาคเหนือตอนล่าง จากการที่มีสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาทั้งของภาครัฐ และเอกชน 7 แห่ง สถานศึกษาด้านอาชีวศึกษา 3 แห่ง และสถาบันพัฒนาฝีมือ แรงงาน 1 แห่ง
3.5) มีศักยภาพที่จะใช้ที่ดินของรัฐในการสร้างโอกาสและความมั่นคงในอาชีพเกษตรให้กับคนยากจน ทั้งนี้ จังหวัดได้สำรวจที่ดินของ สปก. ที่ป่าไม้ ที่ราชพัสดุ ป่าเสื่อมสภาพที่มอบให้ สปก. และที่สาธารณประโยชน์ สามารถนำมาช่วยเหลือผู้เดือดร้อน จำนวน 1,549,301 ไร่
(4) ประเด็นท้าทาย
4.1) การสร้างโอกาส รายได้และความมั่นคงให้กับคนยากจน 71,053 คนให้หลุดพ้นจากระดับความยากจน
4.2) การบริหารและจัดการทรัพยากรน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ ควบคู่กับการสนับสนุนการปรับระบบเกษตรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต
4.3) พัฒนาระบบ Logistic เพื่อเป็นศูนย์กลางขนส่งสินค้าพืชผลเกษตรและการส่งออกแบบเบ็ดเสร็จ และเพิ่มศักยภาพการเป็น Gateway เชื่อมโยงเหนือ-ใต้ และตะวันออกเฉียงเหนือ
4.4) ยกระดับความรู้ ทักษะ ความสามารถของเกษตรกร แรงงานในระบบและที่จะเข้าสู่ระบบ (นักเรียน นักศึกษา) ให้สูงขึ้น ซึ่งจะเป็นการเพิ่มโอกาสและศักยภาพ และช่วยเพิ่มผลิตภาพแรงงานทั้งภาคเกษตรและอุตสาหกรรม
4.5) การรักษาการเติบโตทางเศรษฐกิจให้ขยายตัวในระดับสูงอย่างต่อเนื่องและให้เกิดความยั่งยืน
(5) ยุทธศาสตร์การพัฒนากลุ่มจังหวัด เน้นการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ สังคม และความยากจนของจังหวัดนครสวรรค์ ประกอบด้วย
5.1) แก้ไขปัญหาความยากจนพร้อมกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และคุณภาพชีวิต โดยมีแนวทาง ดังนี้ 1) แก้ไขปัญหาสังคมและความยากจนเชิงบูรณาการ 2) แก้ไขปัญหาสังคม และจริยธรรม 3) ยกคุณภาพมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน 4) เพิ่มองค์ความรู้และขีดความสามารถการให้บริการวิชาการของสถาบันการศึกษา และ 5) เพิ่มขีดความสามารถการให้บริการสาธารณสุข
5.2 การส่งเสริมบทบาทการเป็นศูนย์การผลิตและค้าข้าว (Rice Hub) ที่เน้นการเพิ่มผลิตภาพการผลิตและธุรกรรมการค้าข้าว โดยมีแนวทางดังนี้ 1) ส่งเสริมการพัฒนาพันธุ์ข้าวที่มีมูลค่าสูง ให้สามารถปลูกได้ในพื้นที่ของจังหวัด 2) สนับสนุนให้เกษตรกรปรับการผลิตโดยใช้พันธุ์ข้าวที่มีมูลค่าสูงและให้ผลตอบแทนดี แทนการปลูกข้าวพันธุ์ที่ให้ผลตอบแทนต่ำและให้ลดรอบการปลูก 3) พัฒนากระบวนการผลิตอย่างครบวงจร สนับสนุนการปลูกข้าวด้วยกระบวนการผลิตเกษตรที่ดีและเหมาะสม (GAP) 4) พัฒนาด้านการตลาด 5) การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าวแปรรูปเพื่อตอบสนองตลาดเฉพาะ
5.3 สร้างมูลค่าเพิ่มโดยการพัฒนาระบบ Logistic ที่มีประสิทธิภาพ รวมทั้งการพัฒนาห่วงโซ่การผลิตให้สนับสนุนการแปรรูปผลิตผลการเกษตรเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม โดยมีแนวทาง ดังนี้ 1) สนับสนุนการศึกษาเพื่อพัฒนาห่วงโซ่การผลิต (Value Chains) สินค้าเกษตรของกลุ่มที่มีศักยภาพ (Bio Plastic, Wood Composite และ Bio Energy) ให้มีความสมบูรณ์ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ 2) ส่งเสริมอุตสาหกรรมแปรรูปผลผลิตการเกษตร 3) ศึกษาเพื่อประเมินความเหมาะสมเบื้องต้น 4) พัฒนาระบบโครงข่ายคมนาคมทางถนนระหว่างจังหวัด รถไฟรางคู่ และการขนส่งทางน้ำ
5.4) บูรณาการการแก้ไขปัญหาน้ำทั้งระบบ และสอดรับกับกรอบการพัฒนาลุ่มน้ำหลักของประเทศ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและลดความเสี่ยงจากอุทกภัยและภัยแล้ง โดยมีแนวทางดังนี้ 1) บูรณาการการแก้ไขปัญหาน้ำทั้งระบบภายใต้กรอบการพัฒนาลุ่มน้ำหลัก 25 ลุ่มน้ำของประเทศ เชื่อมโยงแม่น้ำสาขาในพื้นที่จังหวัดและกลุ่มจังหวัด 2) จัดระบบการบริหารจัดการน้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุด คำนึงถึงความคุ้มค่าในเชิงเศรษฐกิจ และลดความเสี่ยงจากอุทกภัยและภัยแล้ง 2) เพิ่มสมรรถนะแหล่งกักเก็บน้ำ
5.5) พัฒนาการท่องเที่ยวให้เป็นรายได้สำคัญโดยใช้จุดแข็งแผ่นดินแห่งสายน้ำต้นกำเนิดแม่น้ำเจ้าพระยา แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และวัฒนธรรม รวมทั้งการเป็นประตูสู่ภาคเหนือเป็นจุดขายด้านการท่องเที่ยว ควบคู่ไปกับการจัดการทางการตลาดและประชาสัมพันธ์ สนับสนุนการพัฒนาด้านการท่องเที่ยว โดยมีแนวทางดังนี้ 1) ส่งเสริมให้ศูนย์ข้อมูลเพื่อการท่องเที่ยว 2) พัฒนาสินค้า OTOP เพื่อการท่องเที่ยว ส่งเสริมการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ OTOP 3) ศึกษาวิจัยศักยภาพการท่องเที่ยวทางธรรมชาติ เชิงนิเวศน์ ประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรม 4) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน 5) ส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยวภายในจังหวัดเป็นวงรอบการท่องเที่ยว 6) พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับการท่องเที่ยว
4. เห็นชอบในหลักการแผนงานโครงการภายใต้ยุทธศาสตร์การพัฒนา จังหวัดนครสวรรค์ ตามที่เสนอ ดังนี้
(4.1) แก้ไขปัญหาความยากจนและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และคุณภาพชีวิต ประกอบด้วย
1) แผนงานด้านการพัฒนาคุณภาพการศึกษา รับผิดชอบโดยกระทรวงศึกษาธิการประกอบด้วย โครงการพัฒนาศูนย์เทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน โครงการพัฒนาทักษะชีวิต โครงการยกระดับคุณภาพการศึกษาโรงเรียนขนาดเล็ก โครงการการจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (ไทยคม) โครงการพัฒนาห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ โครงการจัดตั้งศูนย์พัฒนากีฬาและนันทนาการชุมชน โครงการสร้างศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาข้าราชการ
2) โครงการจัดตั้งศูนย์พัฒนากีฬายกน้ำหนักระดับภูมิภาค รับผิดชอบโดยเทศบาลนครสวรรค์
3) โครงการก่อสร้าง มจร.มหาวิทยาลัยสงฆ์ในบริเวณอุทยานพระพุทธศาสนาจังหวัดนครสวรรค์ รับผิดชอบโดย สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม
(4.2) พัฒนาห่วงโซ่การผลิตเพื่อสนับสนุนการแปรรูปผลิตผลการเกษตรเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม และการลดต้นทุนเพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน ประกอบด้วย
1) โครงการปรับปรุงทางหลวงหมายเลข 1072 ตอนแยกทางหลวงหมายเลข 1 (หนองเบน)-ลาดยาว (รวมทางเลี่ยงเมืองลาดยาว) รับผิดชอบโดยกรมทางหลวง
2) โครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณวัดถือน้ำ รับผิดชอบโดย กรมทางหลวงชนบท
3) โครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำปิง ตำบลปากน้ำโพ รับผิดชอบโดยกรมทางหลวงชนบท
4) โครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำน่าน บริเวณวัดปากน้ำโพใต้ รับผิดชอบโดยกรมทางหลวงชนบท
5) โครงการก่อสร้างถนน ค.ส.ล. พร้อมท่อระบายน้ำและโคมไฟแนวถนนริมเขื่อนรับผิดชอบโดย เทศบาล นครนครสวรรค์
(4.3) ด้านการบูรณาการการแก้ไขปัญหาน้ำทั้งระบบ และสอดรับกับกรอบการพัฒนาลุ่มน้ำหลักของประเทศ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและลดความเสี่ยงจากอุทกภัยและภัยแล้ง ประกอบด้วย
1) โครงการขุดลอกบึงหล่ม รับผิดชอบโดย กรมชลประทาน
2) โครงการอ่างเก็บน้ำคลองโพธิ์พร้อมระบบส่งน้ำ (โครงการพัฒนาลุ่มน้ำสะแกรัง)รับผิดชอบโดย กรมชลประทาน
3) โครงการก่อสร้างเขื่อนเพื่อป้องกันน้ำท่วม รับผิดชอบโดย เทศบาลนครนครสวรรค์
4) โครงการขุดลอกบึงบอระเพ็ดเพื่อเพิ่มปริมาณเก็บกักน้ำ (แก้มลิง) เป็นโครงการย่อยของโครงการพัฒนาบึงบอระเพ็ด รับผิดชอบโดย องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครสวรรค์
5) โครงการขุดลอกคลองบางปรองเพื่อผันน้ำเข้าบึงบอระเพ็ด เป็นโครงการย่อยของโครงการพัฒนาบึงบอระเพ็ด รับผิดชอบโดย องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครสวรรค์
(4.4) ด้านการพัฒนาการท่องเที่ยวให้เป็นรายได้สำคัญโดยใช้จุดแข็งแผ่นดินแห่งสายน้ำต้นกำเนิดแม่น้ำเจ้าพระยา แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และวัฒนธรรม รวมทั้งการเป็นประตูสู่ภาคเหนือเป็นจุดขายด้านการท่องเที่ยว ประกอบด้วย
1) โครงการปรับปรุงภูมิทัศน์และแหล่งท่องเที่ยว (ทางขึ้นวัดคีรีวงศ์ และหอชมเมือง) รับผิดชอบโดย เทศบาลนครนครสวรรค์
2) โครงการพัฒนาบึงบอระเพ็ดด้านการท่องเที่ยว (โครงการย่อยในโครงการพัฒนาบึงบอระเพ็ด) โครงการนี้องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครสวรรค์ ขอกู้เงินระยะยาวจากรัฐบาลโดยปลอดดอกเบี้ย 5 ปี
ทั้งนี้ มอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำรายละเอียดโครงการขอรับการสนับสนุนงบประมาณต่อไป
5. มอบหมายให้กระทรวงคมนาคมเป็นเจ้าภาพ ร่วมกับ กลุ่มภาคเหนือตอนล่างและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พิจารณาโครงการพัฒนาศูนย์กลางลอจิสติกส์ต่อเนื่องหลายรูปแบบของกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนกลางเกี่ยวกับการดำเนินการวิเคราะห์ผลดีผลเสีย งบประมาณการดำเนินการ ปัญหาและอุปสรรค แล้วนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาภายใน 3 เดือน
ทั้งนี้โครงการพัฒนาศูนย์กลางลอจิสติกส์ต่อเนื่องหลายรูปแบบของกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้ (1) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนการขนส่งและลอจิสติกส์ของประเทศ (2) เพื่อลดการใช้พลังงานเชื้อเพลิง (3) เพื่อลดปริมาณรถบรรทุก การซ่อมแซมผิวจราจร และเพิ่มประสิทธิภาพระบบเครือข่ายคมนาคม (4) เพื่อจัดตั้งเป็นศูนย์รวมและกระจายสินค้าไปยังจุดต่าง ๆ (5) เพื่อเป็นศูนย์ส่งออกแบบเบ็ดเสร็จจังหวัดนครสวรรค์ โดยโครงการดังกล่าวจะประกอบด้วยโครงการต่างๆ ดังนี้ (1) โครงการศูนย์ขนส่งและลอจิสติกส์ต่อเนื่องหลายรูปแบบจังหวัดนครสวรรค์ (2) โครงการสร้างสถานีขนส่งสินค้าด้วยรถบรรทุกจังหวัดนครสวรรค์ (3) โครงการพัฒนาเลี่ยงเมืองจังหวัดนครสวรรค์ (4)โครงการขยายผิวถนนจราจรทางหลวงนครสวรรค์ — ชัยภูมิ (5) โครงการประหยัดพลังงานจากการเปลี่ยนการขนส่งสินค้าข้าวจากรถบรรทุกมาเป็นรถไฟ
จังหวัดนครสวรรค์มีพื้นที่ประมาณ 9,597,677 ตารางกิโลเมตร หรือ 5,998,548 ไร่ แบ่งเขตการ ปกครองเป็น 13 อำเภอ กับ 2 กิ่งอำเภอ ซึ่งมีทิศเหนือติดต่อกับจังหวัดพิจิตร และจังหวัดกำแพงเพชร ทิศใต้ติดต่อกับจังหวัดอุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี และลพบุรี ทิศตะวันออกติดต่อกับจังหวัดเพชรบูรณ์ และทิศตะวันตกติดต่อกับจังหวัดตากและอุทัยธานี หากพิจารณาที่ตั้งภูมิศาสตร์ของจังหวัดนครสวรรค์มีความได้เปรียบ เพราะมีพื้นที่เชื่อมโยงกับ 8 จังหวัด โดยรอบ และการขนส่งสินค้าใด ๆ จากภาคเหนือทั้งทางบกและทางน้ำจะต้องผ่านจังหวัดนครสวรรค์ นอกจากนั้น ในอนาคตหากจังหวัดนครสวรรค์มีการเชื่อมโยงการขนส่งจากบริเวณสิบสองปันนา ทางตอนใต้ของสาธารณรัฐประชาชนจีนมายังจังหวัดเชียงรายหรือจากท่าเรือดานัง ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวมายังจังหวัดมุกดาหาร ขอนแก่น เพื่อเชื่อมผ่านไปด้านทิศตะวันตกที่ชายแดนจังหวัดตาก ซึ่งเชื่อมโยงกับเมืองมะละเหม่งประเทศสหภาพพม่า หรือเพื่อเชื่อมต่อไปยังด่านชายแดนสะหวันนะเขตจังหวัดมุกดาหาร ด่านโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี ผ่านไปยังตลาดอินโดจีนก็สามารถใช้จังหวัดนครสวรรค์เป็นศูนย์กลางการขนถ่าย รวบรวม และการกระจายสินค้าได้
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 1 พฤศจิกายน 2548--จบ--
1. เห็นชอบกรอบยุทธศาสตร์การพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง กลุ่มที่ 2 (นครสวรรค์ กำแพงเพชร อุทัยธานี พิจิตร) ตามที่เสนอ ดังนี้
(1) ภาพรวมและผลการพัฒนา ฐานเศรษฐกิจใหญ่เป็นลำดับสองของภาคเหนือหรือร้อยละ 25.6 มีมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวม 151,210 ล้านบาท อัตราการเจริญเติบโตอยู่ในระดับสูงกว่าภาคเหนือและประเทศฐานเศรษฐกิจของกลุ่มจังหวัดขึ้นกับการผลิตด้านกสิกรรมโดยเฉพาะผลผลิตข้าวและพืชไร่ ได้แก่ อ้อย มันสำปะหลัง การค้าพืชผล และอุตสาหกรรมการเกษตรได้แก่ โรงสีข้าว อุตสาหกรรมน้ำตาล ผงชูรส เบียร์ และแปรรูปมันสำปะหลัง โดยจังหวัดนครสวรรค์และกำแพงเพชร เป็นจังหวัดที่มีสัดส่วนมูลค่าทางเศรษฐกิจสูงสุด ร้อยละ 37.5 และ 37.2 ตามลำดับ
(2) ปัญหาและข้อจำกัดการพัฒนา ปัญหาที่สำคัญ คือ 1) ปัญหาความยากจนและการกระจายรายได้ มีผู้มาขึ้นทะเบียนสำรวจความยากจนเพื่อแก้ไขปัญหาสังคมและความยากจนเชิงบูรณาการ จำนวนทั้งสิ้น 592,188 ราย 2) ปัญหาคุณภาพการศึกษาและผลิตภาพแรงงานต่ำ คุณภาพการศึกษาของผู้เรียนในระดับมัธยมต้นและมัธยมปลายต่ำกว่าทุกกลุ่มในภาค และประเทศแรงงานที่เข้าสู่ระบบในช่วงที่ผ่านมา ร้อยละ 60 เป็นแรงงานที่มีการศึกษาระดับประถม 3) ปัญหาฐานเศรษฐกิจแคบ พึ่งพิงภาคเกษตรและอุตสาหกรรมแปรรูปเกษตรขั้นต้นน้ำเป็นหลัก การผลิตที่ขึ้นกับพืชเพียง 2-3 ชนิด และขาดการอุตสาหกรรมแปรรูปที่มีมูลค่าเพิ่มสูง 4) ปัญหาการจัดการทรัพยากรน้ำ พื้นที่ถือครองการเกษตร ร้อยละ 66 เป็นพื้นที่พึ่งพิงน้ำฝน มีพื้นที่กว่า 1 ล้านไร่มักประสบกับปัญหาภัยแล้งและน้ำท่วมเสมอ
(3) ศักยภาพ และโอกาสการพัฒนา เป็นฐานการผลิตสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมแปรรูปจาก พืชผลเกษตรที่สำคัญของภาคและประเทศ เป็นแหล่งการพัฒนาพลังงานทดแทนจากวัสดุทางการเกษตรกากน้ำตาล แกลบ (Bio Energy) และวัสดุภัณฑ์ที่ย่อยสลายง่ายจากมันสำปะหลัง (Bio Material) กลุ่มจังหวัดมีบทบาทเป็นประตูเชื่อมโยงกับภาคกลางตอนบน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยจังหวัดนครสวรรค์เป็นประตูเชื่อมกับภาคกลางตอนบน โดยทางหลวงสายเอเชีย และเชื่อมโยงสู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือผ่านทางหลวงสาย 225 (นครสวรรค์-ชัยภูมิ)
(4) ประเด็นท้าทาย
4.1 การสร้างโอกาส รายได้และความมั่นคงให้กับคนยากจน โดยเฉพาะเกษตรกรที่มีปัญหาที่ดินทำกินซึ่งรวมทั้งไร้ที่ดินทำกิน และไร้กรรมสิทธิ์ที่ดินประมาณ 1.78 แสนราย มีกรรมสิทธิ์ที่ดินเป็นของตนเองได้ และมีทักษะความรู้ เพื่อให้มีโอกาสประกอบอาชีพได้อย่างมั่นคง
4.2 การยกระดับความรู้ความสามารถทรัพยากรมนุษย์และผลิตภาพแรงงานให้ทัดเทียมภูมิภาคอื่น เพื่อเพิ่มศักยภาพและทักษะให้กับบุคลากรและกำลังแรงงาน
4.3 การขยายฐานเศรษฐกิจของกลุ่มให้หลากหลายและเข้มแข็งเพื่อลดความเสี่ยงและสร้างมูลค่าเพิ่มผลิตผลเกษตร โดยใช้ความรู้ เทคโนโลยี การศึกษาวิจัยสำหรับพัฒนาต่อยอดฐานเศรษฐกิจเดิม การแปรรูป สินค้าเกษตรสู่ผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าสูงตามกระแสแนวโน้มของตลาด พัฒนาภาคบริการการคมนาคมขนส่งให้มีประสิทธิภาพ เพื่อลดต้นทุนและพัฒนาการท่องเที่ยวให้เต็มศักยภาพในรูปแบบใหม่ ๆ ที่มีความโดดเด่น
4.4 การบริหารและจัดการทรัพยากรน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อการเพิ่มประสิทธิภาพ การผลิตภาคเกษตร อุตสาหกรรม และการขนส่งทางน้ำให้เกิดความคุ้มค่าต่อการใช้ทรัพยากรน้ำ
(5) ยุทธศาสตร์การพัฒนากลุ่มจังหวัด จึงมุ่งที่การแก้ปัญหาความรู้ของประชาชน ความ ยากจนและการกระจายรายได้ ควบคู่ไปกับการขยายฐานเศรษฐกิจให้มีความหลากหลาย โดยมียุทธศาสตร์ที่สำคัญคือ
5.1 ยกระดับความรู้ความสามารถของประชาชน ผู้ประกอบการและกำลังแรงงานเพิ่มศักยภาพในการประกอบอาชีพ เสริมสร้างโอกาสการมีงานทำ และการสร้างรายได้ให้กับคนยากจน ซึ่งมีแนวทางคือ 1) ยกระดับคุณภาพมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) สนับสนุนความร่วมมือระหว่างสถาบันเอกชนและสถาบันการศึกษาให้มีบทบาทในการพัฒนาและถ่ายทอดความรู้ในลักษณะวิสาหกิจศึกษา และร่วมพัฒนาผู้ประกอบการใหม่ 3) ส่งเสริมอุตสาหกรรมที่เชื่อมโยงกับการเกษตรชักจูงสนับสนุนโรงงานอุตสาหกรรมแปรรูปเกษตร การผลิตพลังงานชีวภาพให้มา ลงทุนในพื้นที่ 4) ปรับปรุงที่ดินของรัฐให้คนจนมีสิทธิสัญญาเช่าเพื่อทำเกษตร พร้อมทั้งจัดระบบบริการพื้นฐานสนับสนุนตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง 5) บูรณาการทุกภาคส่วนในการแก้ปัญหาความยากจน
5.2 ขยายฐานเศรษฐกิจให้หลากหลาย สร้างมูลค่าเพิ่มผลิตผลเกษตร ศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนาต่อยอดฐานเศรษฐกิจเดิม ส่งเสริมการเป็นศูนย์การผลิตและค้าข้าว (Rice Hub) และพัฒนาระบบ Logistic โดยนครสวรรค์ เป็นศูนย์กลาง ซึ่งมีแนวทาง คือ 1) พัฒนาการแปรรูปผลิตผลการเกษตรเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม และ 2) เพิ่มขีดความสามารถของสถาบันการศึกษา เพื่อเพิ่มองค์ความรู้ด้านการพัฒนาของท้องถิ่น 3) เน้นการเพิ่มผลิตภาพการผลิตและธุรกรรมการค้าข้าวเพื่อเพิ่มมูลค่าและใช้ทรัพยากรน้ำที่มีให้เกิดประโยชน์สูงสุด 4) พัฒนาระบบ Logistic โดยนครสวรรค์เป็นศูนย์กลาง เพื่อเพิ่มศักยภาพการเป็น Inter-junction Node เชื่อมโยงเหนือ-ใต้ และตะวันออกเฉียงเหนือ
5.3 พัฒนาและสร้างสินค้าการท่องเที่ยวที่มีอยู่หลากหลายและมีความโดดเด่นการเป็นมรดกโลกและมีความแตกต่างที่เป็นจุดแข็ง ซึ่งมีแนวทางคือ 1) ส่งเสริมพัฒนาด้านการบริหารจัดการท่องเที่ยวอย่างจริงจัง เพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวได้เต็มศักยภาพ 2) จัดทำแผนการพัฒนาและใช้ประโยชน์อย่างมีคุณค่าจากทรัพยากรการท่องเที่ยวที่เป็นมรดกโลกของพื้นที่ ทั้งอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร และเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง 3) พัฒนาแหล่งท่องเที่ยวใหม่และสิ่งอำนวยสำหรับการท่องเที่ยว ฟื้นฟูบึงบอระเพ็ด สร้างAquarium ปลาน้ำจืดให้เป็นแหล่งเรียนรู้ การท่องเที่ยวเพื่อเรียนรู้วิถีชีวิตชาวแพริมแม่น้ำ รวมทั้งพัฒนาที่พักที่สะอาด ปลอดภัย และสะท้อนถึงสถาปัตยกรรมและศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น 4) ส่งเสริมการพัฒนาสินค้า OTOP เพื่อการท่องเที่ยว 5) เปิดเส้นทางเชื่อมโยงการท่องเที่ยวด้านตะวันตกของกลุ่มจังหวัด ทางหลวง 333 อู่ทอง-บ้านไร่-ชุมตาบง
5.4 บูรณาการแก้ไขปัญหาน้ำทั้งระบบ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและลดความเสี่ยงจากอุทกภัยและภัยแล้ง โดยมีแนวทาง 1) พัฒนาแหล่งน้ำและบริหารจัดการน้ำอย่างเป็นระบบเชื่อมต่อกับการจัดการลุ่มน้ำหลักของภาคในกลุ่มจังหวัด ได้แก่ ลุ่มน้ำปิง ยม น่าน เจ้าพระยา และสะแกกรัง รวมทั้งแหล่งน้ำสำคัญในพื้นที่ เช่น บึงบอระเพ็ด คลองโพธิ์ บึงหล่ม และบึงสีไฟ 2) จัดระบบการบริหารจัดการน้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุด คำนึงถึงความคุ้มค่าในเชิงเศรษฐกิจ โดยสนับสนุนการใช้ GIS ร่วมกับการมีส่วนร่วมของประชาชน เพื่อลดความขัดแย้ง 3) เพิ่มสมรรถนะแหล่งกักเก็บน้ำ โดยการขุดลอกแหล่งเก็บกักน้ำเดิมที่ตื้นเขิน เพิ่มแหล่งเก็บกักน้ำใหม่โดยสร้างแก้มลิงในพื้นที่ที่เหมาะสม
2. เห็นชอบในหลักการแผนงานโครงการภายใต้ยุทธศาสตร์การพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคเหนือ ตอนล่างกลุ่มที่ 2 ตามที่เสนอ ดังนี้
(1) ยกระดับความรู้ความสามารถของประชาชน ผู้ประกอบการและกำลังแรงงาน เสริมสร้างโอกาสการมีงานทำ และการสร้างรายได้ให้กับคนยากจน ประกอบด้วย
1) โครงการขยายการจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขต จังหวัดนครสวรรค์ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการจัดการ เพื่อพัฒนาบุคลากรและสร้างองค์ความรู้ ตอบสนองต่อการพัฒนากลุ่มจังหวัด
2) โครงการ “รัฐเอื้อราษฎร์” ขยายการดำเนินงานให้ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายที่เป็นคนยากจน เพื่อสนองนโยบายของรัฐบาลในการแก้ปัญหาความยากจนของราษฎรในเรื่องที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัย
(2) ขยายฐานเศรษฐกิจของกลุ่มให้หลากหลาย สร้างมูลค่าเพิ่มผลิตผลเกษตร ส่งเสริม บทบาทการเป็นศูนย์การผลิตและค้าข้าว (Rice Hub) และการพัฒนาระบบ Logistic ประกอบด้วย
1) โครงการศูนย์วิจัยการแปรรูปอาหารและการตรวจสอบคุณภาพผลิตผลทางการเกษตร
2) โครงการพัฒนาศูนย์ส่งเสริมและผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวชุมชนเพื่อเป็นผู้ผลิตและดำเนินธุรกิจด้านเมล็ดพันธุ์ข้าวแบบครบวงจร
3) โครงการศึกษาแนวทางการลงทุนและส่งเสริมการผลิตพลังงานทดแทนแบบครบวงจร
4) โครงการปรับปรุงทางหลวงเชื่อมโยงกลุ่มจังหวัด ด้านตะวันตกอุทัยธานี-นครสวรรค์-กำแพงเพชร
5) โครงการส่งเสริมโครงข่ายทางเลี่ยงเมืองนครสวรรค์ 2 ช่วงให้ครบวงรอบ
6) โครงการพัฒนาทางหลวงเชื่อมต่อระหว่างจังหวัดกำแพงเพชรกับจังหวัดพิจิตร ขยายผิวจราจรทางหลวงหมายเลข 115
(3) พัฒนาและสร้างสินค้าการท่องเที่ยวที่มีอยู่หลากหลายและมีความโดดเด่นการเป็นมรดกโลกและมีความแตกต่างโดยใช้เป็นจุดแข็ง ซึ่งประกอบด้วย
1) โครงการจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาห้วยขาแข้งเพื่อการท่องเที่ยวและการเรียนรู้อย่างมีคุณค่า
2) โครงการปรับปรุงกิจกรรมที่มีความจำเป็นเร่งด่วน (ปรับปรุงเส้นทางเข้า ปรับปรุงเส้นทางเดินธรรมชาติ และทำแนวป้องกันอันตรายที่เกิดขึ้นกับสัตว์ป่า) สำหรับการพัฒนาบริเวณพื้นที่รองรับการท่องเที่ยวของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง
3) โครงการพัฒนาอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชรให้เป็นสถานที่ชมโบราณสถานในเวลา กลางคืน (Night Historical Park)
4) โครงการพัฒนาถนนเชื่อมต่อระหว่างจังหวัดกำแพงเพชรกับจังหวัดสุโขทัย เพื่อเชื่อมโยงการท่องเที่ยวระหว่างจังหวัดกำแพงเพชรและสุโขทัย
(4) บูรณาการการแก้ไขปัญหาน้ำทั้งระบบ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและลดความเสี่ยงจากอุทกภัยและภัยแล้ง ประกอบด้วย
1) โครงการสำรวจและสร้างฝายต้นน้ำแบบผสมผสาน (Check Dam)
2) โครงการศึกษาความเหมาะสมและผลกระทบสิ่งแวดล้อมการผันน้ำเข้าสู่ลุ่มน้ำสะแกกรังและลุ่มน้ำท่าจีน
3) โครงการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสำรวจออกแบบ “การสูบน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยา-เขื่อนวังล่มเกล้า”
4) โครงการปรับปรุงระบบส่งน้ำฝายวังยางในเขตจังหวัดกำแพงเพชร
5) โครงการศึกษาความเหมาะสมและออกแบบรายละเอียดโครงการพัฒนาแม่น้ำยมฝั่งซ้ายในเขตจังหวัดพิจิตร
6) โครงการศึกษาความเหมาะสมและออกแบบรายละเอียดโครงการพัฒนาแม่น้ำยมฝั่งขวาในเขตจังหวัดพิจิตร
7) โครงการขุดลอกบึงสีไฟ จังหวัดพิจิตร เพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้ประโยชน์ในฤดูแล้ง และอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรแหล่งน้ำให้เกิดความสมดุล
ทั้งนี้มอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำรายละเอียดโครงการขอรับการสนับสนุนงบประมาณต่อไป
3. เห็นชอบกรอบยุทธศาสตร์การพัฒนากลุ่มจังหวัดนครสวรรค์ ตามที่เสนอ ดังนี้
(1) ภาพรวมและผลการพัฒนา ฐานเศรษฐกิจใหญ่ โดยมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวม 56,800 บาท เป็นลำดับ 2 ของภาคเหนือ คิดเป็นร้อยละ 9.61 หรือร้อยละ 37.6 ของกลุ่มจังหวัด ณ สิ้นปี 2547 เศรษฐกิจหลักมาจากด้านอุตสาหกรรม การค้า และการเกษตร คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 23.0 (มูลค่า 11,310 ล้านบาท) ร้อยละ 20.3 (มูลค่า 9,981 ล้านบาท) และร้อยละ 19.7 (มูลค่า 3,566 ล้านบาท) ตามลำดับ มีรายได้จากการท่องเที่ยวเป็นลำดับ 1 ของกลุ่มจังหวัด ทำรายได้ให้กับจังหวัด 400.15 ล้านบาท ในด้านการศึกษาความรู้ความสามารถของนักเรียนในการศึกษาด้านภาษาไทย คณิตศาสตร์และภาษาอังกฤษต่ำ มีผู้มาขึ้นทะเบียนสำรวจความต้องการเพื่อแก้ไขปัญหาสังคมและความยากจนเชิงบูรณาการ 71,053 คน
(2) ปัญหาและข้อจำกัดการพัฒนา
2.1) ปัญหาความยากจนและการกระจายรายได้ ประชาชนส่วนใหญ่ทำการเกษตรโดยการ พึ่งพาธรรมชาติ มีคนยากจนมาขึ้นทะเบียนแก้ปัญหาสังคมและความยากจนที่ผ่านการกลั่นกรอง จำนวน 71,053 คน
2.2) ปัญหาภาวะน้ำท่วมและแล้งซ้ำซาก เนื่องจากการบริหารจัดการน้ำยังขาดประสิทธิผลที่ดี
2.3) ปัญหาอุทกภัยและการจราจรในเขตเศรษฐกิจของจังหวัด (เทศบาลนครนครสวรรค์) เนื่องจากสภาพพื้นที่ในเขตเทศบาลและเป็นที่ราบลุ่มต่ำและเป็นจุดมีแม่น้ำปิง แม่น้ำยม และแม่น้ำน่านไหลมาบรรจบกัน ก่อให้เกิดปัญหาน้ำท่วมซ้ำซาก การที่มีถนนสายหลักผ่าน ได้แก่ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 (สายเอเชีย) และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 117 (กรุงเทพฯ-พิษณุโลก) ซึ่งมีจำนวนปริมาณการจราจรของรถประมาณ 30,000-40,000 คันต่อวัน ก่อให้เกิดปัญหาการจราจรในเขตเมือง
2.4) สัดส่วนแรงงานในภาคเกษตรมีแนวโน้มลดลง เนื่องจากมีการอพยพเข้าไปเป็นแรงงานภาคบริการและอุตสาหกรรม
2.5) คุณภาพการศึกษาในทุกระดับของจังหวัดนครสวรรค์มีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง และอัตราการเรียนต่อในระดับมัธยมต้น มัธยมปลายทั้งสายสามัญและสายอาชีพที่ลดลง
2.6) เส้นทางถนนแคบไม่เพียงพอกับการรองรับปริมาณการจราจรที่เพิ่มขึ้นและเส้นทางคมนาคมเชื่อมโยงภายในระดับอำเภอส่วนใหญ่ชำรุดเสียหายและขาดการซ่อมบำรุง เพราะไม่สามารถรองรับน้ำหนักรถบรรทุกผลิตผลทางการเกษตร เช่น อ้อยและมันสำปะหลัง
2.7) ขาดการพัฒนาและฟื้นฟูแหล่งท่องเที่ยวที่มีอยู่ทำให้ไม่สามารถสร้างแรงดึงดูดแก่ นักท่องเที่ยว รวมถึงสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับการท่องเที่ยวยังไม่ได้มาตรฐาน ทำให้เป็นอุปสรรคในการส่งเสริมการท่องเที่ยวในพื้นที่
(3) ศักยภาพ และโอกาสการพัฒนา
3.1) การเป็นศูนย์กลางการคมนาคมขนส่งทางบกทั้งทางรถยนต์และรถไฟระหว่างภูมิภาค (เหนือ กลาง และอีสาน)
3.2) การเป็นฐานการผลิตและแปรรูปสินค้าเกษตรมูลค่าสูง มีโรงงานน้ำตาลที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สามารถผลิต Molasc เพื่อแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อื่นและมีการปลูกมันสำปะหลังในปริมาณมากพอที่จะลงทุนด้านการผลิตพลังงานทดแทนจากพืช และผลิตภัณฑ์ธรรมชาติอื่น ๆ
3.3) โอกาสในการสร้างรายได้จากการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น เนื่องจากจังหวัดมีทรัพยากรทั้งประเภทธรรมชาติ ศาสนสถาน/วัดที่เก่าแก่ โบราณสถาน และวัฒนธรรมประเพณี
3.4) โอกาสในการเป็นศูนย์กลางในการศึกษาในเขตภาคเหนือตอนล่าง จากการที่มีสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาทั้งของภาครัฐ และเอกชน 7 แห่ง สถานศึกษาด้านอาชีวศึกษา 3 แห่ง และสถาบันพัฒนาฝีมือ แรงงาน 1 แห่ง
3.5) มีศักยภาพที่จะใช้ที่ดินของรัฐในการสร้างโอกาสและความมั่นคงในอาชีพเกษตรให้กับคนยากจน ทั้งนี้ จังหวัดได้สำรวจที่ดินของ สปก. ที่ป่าไม้ ที่ราชพัสดุ ป่าเสื่อมสภาพที่มอบให้ สปก. และที่สาธารณประโยชน์ สามารถนำมาช่วยเหลือผู้เดือดร้อน จำนวน 1,549,301 ไร่
(4) ประเด็นท้าทาย
4.1) การสร้างโอกาส รายได้และความมั่นคงให้กับคนยากจน 71,053 คนให้หลุดพ้นจากระดับความยากจน
4.2) การบริหารและจัดการทรัพยากรน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ ควบคู่กับการสนับสนุนการปรับระบบเกษตรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต
4.3) พัฒนาระบบ Logistic เพื่อเป็นศูนย์กลางขนส่งสินค้าพืชผลเกษตรและการส่งออกแบบเบ็ดเสร็จ และเพิ่มศักยภาพการเป็น Gateway เชื่อมโยงเหนือ-ใต้ และตะวันออกเฉียงเหนือ
4.4) ยกระดับความรู้ ทักษะ ความสามารถของเกษตรกร แรงงานในระบบและที่จะเข้าสู่ระบบ (นักเรียน นักศึกษา) ให้สูงขึ้น ซึ่งจะเป็นการเพิ่มโอกาสและศักยภาพ และช่วยเพิ่มผลิตภาพแรงงานทั้งภาคเกษตรและอุตสาหกรรม
4.5) การรักษาการเติบโตทางเศรษฐกิจให้ขยายตัวในระดับสูงอย่างต่อเนื่องและให้เกิดความยั่งยืน
(5) ยุทธศาสตร์การพัฒนากลุ่มจังหวัด เน้นการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ สังคม และความยากจนของจังหวัดนครสวรรค์ ประกอบด้วย
5.1) แก้ไขปัญหาความยากจนพร้อมกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และคุณภาพชีวิต โดยมีแนวทาง ดังนี้ 1) แก้ไขปัญหาสังคมและความยากจนเชิงบูรณาการ 2) แก้ไขปัญหาสังคม และจริยธรรม 3) ยกคุณภาพมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน 4) เพิ่มองค์ความรู้และขีดความสามารถการให้บริการวิชาการของสถาบันการศึกษา และ 5) เพิ่มขีดความสามารถการให้บริการสาธารณสุข
5.2 การส่งเสริมบทบาทการเป็นศูนย์การผลิตและค้าข้าว (Rice Hub) ที่เน้นการเพิ่มผลิตภาพการผลิตและธุรกรรมการค้าข้าว โดยมีแนวทางดังนี้ 1) ส่งเสริมการพัฒนาพันธุ์ข้าวที่มีมูลค่าสูง ให้สามารถปลูกได้ในพื้นที่ของจังหวัด 2) สนับสนุนให้เกษตรกรปรับการผลิตโดยใช้พันธุ์ข้าวที่มีมูลค่าสูงและให้ผลตอบแทนดี แทนการปลูกข้าวพันธุ์ที่ให้ผลตอบแทนต่ำและให้ลดรอบการปลูก 3) พัฒนากระบวนการผลิตอย่างครบวงจร สนับสนุนการปลูกข้าวด้วยกระบวนการผลิตเกษตรที่ดีและเหมาะสม (GAP) 4) พัฒนาด้านการตลาด 5) การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าวแปรรูปเพื่อตอบสนองตลาดเฉพาะ
5.3 สร้างมูลค่าเพิ่มโดยการพัฒนาระบบ Logistic ที่มีประสิทธิภาพ รวมทั้งการพัฒนาห่วงโซ่การผลิตให้สนับสนุนการแปรรูปผลิตผลการเกษตรเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม โดยมีแนวทาง ดังนี้ 1) สนับสนุนการศึกษาเพื่อพัฒนาห่วงโซ่การผลิต (Value Chains) สินค้าเกษตรของกลุ่มที่มีศักยภาพ (Bio Plastic, Wood Composite และ Bio Energy) ให้มีความสมบูรณ์ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ 2) ส่งเสริมอุตสาหกรรมแปรรูปผลผลิตการเกษตร 3) ศึกษาเพื่อประเมินความเหมาะสมเบื้องต้น 4) พัฒนาระบบโครงข่ายคมนาคมทางถนนระหว่างจังหวัด รถไฟรางคู่ และการขนส่งทางน้ำ
5.4) บูรณาการการแก้ไขปัญหาน้ำทั้งระบบ และสอดรับกับกรอบการพัฒนาลุ่มน้ำหลักของประเทศ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและลดความเสี่ยงจากอุทกภัยและภัยแล้ง โดยมีแนวทางดังนี้ 1) บูรณาการการแก้ไขปัญหาน้ำทั้งระบบภายใต้กรอบการพัฒนาลุ่มน้ำหลัก 25 ลุ่มน้ำของประเทศ เชื่อมโยงแม่น้ำสาขาในพื้นที่จังหวัดและกลุ่มจังหวัด 2) จัดระบบการบริหารจัดการน้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุด คำนึงถึงความคุ้มค่าในเชิงเศรษฐกิจ และลดความเสี่ยงจากอุทกภัยและภัยแล้ง 2) เพิ่มสมรรถนะแหล่งกักเก็บน้ำ
5.5) พัฒนาการท่องเที่ยวให้เป็นรายได้สำคัญโดยใช้จุดแข็งแผ่นดินแห่งสายน้ำต้นกำเนิดแม่น้ำเจ้าพระยา แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และวัฒนธรรม รวมทั้งการเป็นประตูสู่ภาคเหนือเป็นจุดขายด้านการท่องเที่ยว ควบคู่ไปกับการจัดการทางการตลาดและประชาสัมพันธ์ สนับสนุนการพัฒนาด้านการท่องเที่ยว โดยมีแนวทางดังนี้ 1) ส่งเสริมให้ศูนย์ข้อมูลเพื่อการท่องเที่ยว 2) พัฒนาสินค้า OTOP เพื่อการท่องเที่ยว ส่งเสริมการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ OTOP 3) ศึกษาวิจัยศักยภาพการท่องเที่ยวทางธรรมชาติ เชิงนิเวศน์ ประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรม 4) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน 5) ส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยวภายในจังหวัดเป็นวงรอบการท่องเที่ยว 6) พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับการท่องเที่ยว
4. เห็นชอบในหลักการแผนงานโครงการภายใต้ยุทธศาสตร์การพัฒนา จังหวัดนครสวรรค์ ตามที่เสนอ ดังนี้
(4.1) แก้ไขปัญหาความยากจนและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และคุณภาพชีวิต ประกอบด้วย
1) แผนงานด้านการพัฒนาคุณภาพการศึกษา รับผิดชอบโดยกระทรวงศึกษาธิการประกอบด้วย โครงการพัฒนาศูนย์เทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน โครงการพัฒนาทักษะชีวิต โครงการยกระดับคุณภาพการศึกษาโรงเรียนขนาดเล็ก โครงการการจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (ไทยคม) โครงการพัฒนาห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ โครงการจัดตั้งศูนย์พัฒนากีฬาและนันทนาการชุมชน โครงการสร้างศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาข้าราชการ
2) โครงการจัดตั้งศูนย์พัฒนากีฬายกน้ำหนักระดับภูมิภาค รับผิดชอบโดยเทศบาลนครสวรรค์
3) โครงการก่อสร้าง มจร.มหาวิทยาลัยสงฆ์ในบริเวณอุทยานพระพุทธศาสนาจังหวัดนครสวรรค์ รับผิดชอบโดย สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม
(4.2) พัฒนาห่วงโซ่การผลิตเพื่อสนับสนุนการแปรรูปผลิตผลการเกษตรเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม และการลดต้นทุนเพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน ประกอบด้วย
1) โครงการปรับปรุงทางหลวงหมายเลข 1072 ตอนแยกทางหลวงหมายเลข 1 (หนองเบน)-ลาดยาว (รวมทางเลี่ยงเมืองลาดยาว) รับผิดชอบโดยกรมทางหลวง
2) โครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณวัดถือน้ำ รับผิดชอบโดย กรมทางหลวงชนบท
3) โครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำปิง ตำบลปากน้ำโพ รับผิดชอบโดยกรมทางหลวงชนบท
4) โครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำน่าน บริเวณวัดปากน้ำโพใต้ รับผิดชอบโดยกรมทางหลวงชนบท
5) โครงการก่อสร้างถนน ค.ส.ล. พร้อมท่อระบายน้ำและโคมไฟแนวถนนริมเขื่อนรับผิดชอบโดย เทศบาล นครนครสวรรค์
(4.3) ด้านการบูรณาการการแก้ไขปัญหาน้ำทั้งระบบ และสอดรับกับกรอบการพัฒนาลุ่มน้ำหลักของประเทศ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและลดความเสี่ยงจากอุทกภัยและภัยแล้ง ประกอบด้วย
1) โครงการขุดลอกบึงหล่ม รับผิดชอบโดย กรมชลประทาน
2) โครงการอ่างเก็บน้ำคลองโพธิ์พร้อมระบบส่งน้ำ (โครงการพัฒนาลุ่มน้ำสะแกรัง)รับผิดชอบโดย กรมชลประทาน
3) โครงการก่อสร้างเขื่อนเพื่อป้องกันน้ำท่วม รับผิดชอบโดย เทศบาลนครนครสวรรค์
4) โครงการขุดลอกบึงบอระเพ็ดเพื่อเพิ่มปริมาณเก็บกักน้ำ (แก้มลิง) เป็นโครงการย่อยของโครงการพัฒนาบึงบอระเพ็ด รับผิดชอบโดย องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครสวรรค์
5) โครงการขุดลอกคลองบางปรองเพื่อผันน้ำเข้าบึงบอระเพ็ด เป็นโครงการย่อยของโครงการพัฒนาบึงบอระเพ็ด รับผิดชอบโดย องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครสวรรค์
(4.4) ด้านการพัฒนาการท่องเที่ยวให้เป็นรายได้สำคัญโดยใช้จุดแข็งแผ่นดินแห่งสายน้ำต้นกำเนิดแม่น้ำเจ้าพระยา แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และวัฒนธรรม รวมทั้งการเป็นประตูสู่ภาคเหนือเป็นจุดขายด้านการท่องเที่ยว ประกอบด้วย
1) โครงการปรับปรุงภูมิทัศน์และแหล่งท่องเที่ยว (ทางขึ้นวัดคีรีวงศ์ และหอชมเมือง) รับผิดชอบโดย เทศบาลนครนครสวรรค์
2) โครงการพัฒนาบึงบอระเพ็ดด้านการท่องเที่ยว (โครงการย่อยในโครงการพัฒนาบึงบอระเพ็ด) โครงการนี้องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครสวรรค์ ขอกู้เงินระยะยาวจากรัฐบาลโดยปลอดดอกเบี้ย 5 ปี
ทั้งนี้ มอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำรายละเอียดโครงการขอรับการสนับสนุนงบประมาณต่อไป
5. มอบหมายให้กระทรวงคมนาคมเป็นเจ้าภาพ ร่วมกับ กลุ่มภาคเหนือตอนล่างและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พิจารณาโครงการพัฒนาศูนย์กลางลอจิสติกส์ต่อเนื่องหลายรูปแบบของกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนกลางเกี่ยวกับการดำเนินการวิเคราะห์ผลดีผลเสีย งบประมาณการดำเนินการ ปัญหาและอุปสรรค แล้วนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาภายใน 3 เดือน
ทั้งนี้โครงการพัฒนาศูนย์กลางลอจิสติกส์ต่อเนื่องหลายรูปแบบของกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้ (1) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนการขนส่งและลอจิสติกส์ของประเทศ (2) เพื่อลดการใช้พลังงานเชื้อเพลิง (3) เพื่อลดปริมาณรถบรรทุก การซ่อมแซมผิวจราจร และเพิ่มประสิทธิภาพระบบเครือข่ายคมนาคม (4) เพื่อจัดตั้งเป็นศูนย์รวมและกระจายสินค้าไปยังจุดต่าง ๆ (5) เพื่อเป็นศูนย์ส่งออกแบบเบ็ดเสร็จจังหวัดนครสวรรค์ โดยโครงการดังกล่าวจะประกอบด้วยโครงการต่างๆ ดังนี้ (1) โครงการศูนย์ขนส่งและลอจิสติกส์ต่อเนื่องหลายรูปแบบจังหวัดนครสวรรค์ (2) โครงการสร้างสถานีขนส่งสินค้าด้วยรถบรรทุกจังหวัดนครสวรรค์ (3) โครงการพัฒนาเลี่ยงเมืองจังหวัดนครสวรรค์ (4)โครงการขยายผิวถนนจราจรทางหลวงนครสวรรค์ — ชัยภูมิ (5) โครงการประหยัดพลังงานจากการเปลี่ยนการขนส่งสินค้าข้าวจากรถบรรทุกมาเป็นรถไฟ
จังหวัดนครสวรรค์มีพื้นที่ประมาณ 9,597,677 ตารางกิโลเมตร หรือ 5,998,548 ไร่ แบ่งเขตการ ปกครองเป็น 13 อำเภอ กับ 2 กิ่งอำเภอ ซึ่งมีทิศเหนือติดต่อกับจังหวัดพิจิตร และจังหวัดกำแพงเพชร ทิศใต้ติดต่อกับจังหวัดอุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี และลพบุรี ทิศตะวันออกติดต่อกับจังหวัดเพชรบูรณ์ และทิศตะวันตกติดต่อกับจังหวัดตากและอุทัยธานี หากพิจารณาที่ตั้งภูมิศาสตร์ของจังหวัดนครสวรรค์มีความได้เปรียบ เพราะมีพื้นที่เชื่อมโยงกับ 8 จังหวัด โดยรอบ และการขนส่งสินค้าใด ๆ จากภาคเหนือทั้งทางบกและทางน้ำจะต้องผ่านจังหวัดนครสวรรค์ นอกจากนั้น ในอนาคตหากจังหวัดนครสวรรค์มีการเชื่อมโยงการขนส่งจากบริเวณสิบสองปันนา ทางตอนใต้ของสาธารณรัฐประชาชนจีนมายังจังหวัดเชียงรายหรือจากท่าเรือดานัง ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวมายังจังหวัดมุกดาหาร ขอนแก่น เพื่อเชื่อมผ่านไปด้านทิศตะวันตกที่ชายแดนจังหวัดตาก ซึ่งเชื่อมโยงกับเมืองมะละเหม่งประเทศสหภาพพม่า หรือเพื่อเชื่อมต่อไปยังด่านชายแดนสะหวันนะเขตจังหวัดมุกดาหาร ด่านโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี ผ่านไปยังตลาดอินโดจีนก็สามารถใช้จังหวัดนครสวรรค์เป็นศูนย์กลางการขนถ่าย รวบรวม และการกระจายสินค้าได้
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 1 พฤศจิกายน 2548--จบ--