คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติรายงานผลการดำเนินการตามมติการประชุมนายกรัฐมนตรีกับภาคเอกชนกลุ่ม 5 จังหวัดภาคเหนือตอนล่าง กลุ่มที่ 1(ตาก พิษณุโลก เพชรบูรณ์ สุโขทัย อุตรดิตถ์) ซึ่งครบกำหนดที่จะต้องรายงานความก้าวหน้าต่อคณะรัฐมนตรี โดยมีมติทั้งสิ้น 10 เรื่อง และจากการติดตามผลการดำเนินงานจนถึงเดือนกรกฎาคม 2549 พบว่า ผลการดำเนินการสามารถจำแนกได้เป็น 3 ประเภท ดังนี้
1. เรื่องที่ดำเนินการแล้วเสร็จ มีจำนวน 1 เรื่อง คือ การใช้แรงงานต่างด้าว พบว่าในปัจจุบันได้ใช้แนวทางเดียวกันทั้งประเทศไม่มีพื้นที่ใดเป็นกรณีพิเศษ กล่าวคือ มติ ครม. อนุญาตให้แรงาน พม่า ลาว กัมพูชา หลบหนีเข้าเมืองอยู่ในราชอาณาจักรไทยได้ชั่วคราว โดยให้ทำงานเป็นกรรมกรและผู้รับใช้ในบ้านเท่านั้น และให้จัดตั้งศูนย์ประสานงานข้อมูลและทะเบียนประวัติแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองในรูปแบบบริการแบบเบ็ดเสร็จ (One Stop Service) ใน 4 จังหวัด คือ จังหวัดตาก เชียงราย ระนอง และกาญจนบุรี โดยเริ่มทดลองดำเนินการที่อำเภอแม่สอด จังหวัดตากก่อนเป็นแห่งแรก เพื่อไม่ให้คนต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองทะลักเข้ามาในเขตพื้นที่ชั้นใน
2. เรื่องที่อยู่ระหว่างดำเนินการ จำนวน 9 เรื่อง แยกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้
2.1 การส่งเสริมการท่องเที่ยวของกลุ่มจังหวัดให้มีลักษณะ Historical Marketing (H-Marketing) และเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ จำนวน 2 เรื่อง
(1) ขยายตลาดการท่องเที่ยวมายังกลุ่มจังหวัดให้มากขึ้น กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม ได้แต่งตั้ง คณะกรรมการดำเนินงานและคณะทำงานจัดทำรายละเอียดแผนแม่บทอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ศรีสัชนาลัย และกำแพงเพชร เพื่อจัดทำรายละเอียดแผนแม่บทฯ ให้มีความชัดเจนทั้งด้านยุทธศาสตร์ กลยุทธ์งบประมาณและระยะเวลา ภายใต้แนวคิด “กลุ่มคลัสเตอร์มรดกโลก”
(2) พัฒนาบุคลากรด้านการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยรามคำแหงอยู่ระหว่างจัดทำรายละเอียดโครงการให้ชัดเจน เพื่อทำความตกลงกับสำนักงบประมาณในการขอรับการจัดสรรงบประมาณปี 2549 วงเงิน 120 ล้านบาท และขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2550 วงเงิน 480 ล้านบาท เพื่อดำเนินโครงการยกฐานะมหาวิทยาลัยรามคำแหง สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ วิทยาเขตสุโขทัย
2.2 การพัฒนาโครงข่ายการคมนาคมขนส่งและโลจิสติกส์ จำนวน 4 เรื่อง
(1) การเป็นศูนย์กลางบริการและโลจิสติกส์สี่แยกอินโดจีน : การเชื่อมโยงแนวเส้นทางเศรษฐกิจ East-West Economic Corridor และ North-South Economic Corridor กรมทางหลวงกำลังศึกษาความเหมาะสม ด้านเศรษฐกิจ วิศวกรรมและผลกระทบสิ่งแวดล้อมของแนวเส้นทางแม่สอด-ตาก และช่วงพิษณุโลก-เพชรบูรณ์ และดำเนินการก่อสร้างแนวเส้นทางช่วง ตาก — สุโขทัย-พิษณุโลก และอุตรดิตถ์-พิษณุโลก-นครสวรรค์ เป็น 4 ช่องจราจร สำหรับช่วงระหว่างเด่นชัย-อุตรดิตถ์อยู่ระหว่างขั้นตอนการดำเนินงาน
(2) ส่งเสริมการขนส่งและเปลี่ยนถ่ายสินค้าระบบ Multi-modal Shift การรถไฟแห่งประเทศไทยอยู่ระหว่างพิจารณาความเหมาะสมในการก่อสร้างย่านกองเก็บตู้สินค้า (Container Yard : CY) และในส่วนของการจัดหาอุปกรณ์การขนถ่ายตู้ ณ สถานีรถไฟศิลาอาสน์ จังหวัดอุตรดิตถ์ ได้เชิญชวนผู้ประกอบการให้เป็นผู้ลงทุนและจัดหาอุปกรณ์ยกขนตู้สินค้าเอง เนื่องจากผู้ประกอบการเป็นผู้มีความชำนาญ และเป็นการลดภาระการลงทุนของภาครัฐ
(3) การดำเนินการศูนย์กระจายสินค้า (Distribution Center) ณ จังหวัดพิษณุโลก กรมการขนส่งทางบก กระทรวงคมนาคมได้จัดทำโครงการศึกษาความเหมาะสมในการดำเนินการจัดตั้งสถานีขนส่งสินค้าในเมืองหลักและจังหวัดชายแดน เพื่อศึกษาและคัดเลือกจังหวัดที่เหมาะสมในการดำเนินการจัดตั้งสถานีขนส่งสินค้าในจังหวัดเมืองหลักในส่วนภูมิภาค ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างขอรับการจัดสรรงบประมาณประจำปี พ.ศ. 2550 วงเงิน 21,318,900 บาท
(4) การก่อสร้างศูนย์อุบัติภัยและอุปกรณ์ทางการแพทย์ฉุกเฉิน กระทรวงสาธารณสุขได้บรรจุไว้ในโครงการพัฒนาระบบบริการ Excellence Service Center และ Regional Referral Hospital แห่งชาติ ในศูนย์ความเป็นเลิศด้านอุบัติเหตุ เป็น 1 ใน 34 ศูนย์ทั่วประเทศ ในแผนลงทุนเสริมสร้างโครงสร้างสาธารณสุขแห่งชาติ (พ.ศ. 2549-2552) ตามโครงการลงทุนขนาดใหญ่ภาครัฐด้านสาธารณสุข โดยมีแผนงบประมาณที่เป็นงบลงทุนจำนวน 169 ล้านบาท ในระยะเวลา 3 ปี แบ่งเป็น ปี 2550 วงเงิน 135 ล้านบาท ปี 2551 วงเงิน 15 ล้านบาท และปี 2552 วงเงิน 19 ล้านบาท ซึ่งมหาวิทยาลัยนเรศวรจะได้จัดทำรายละเอียดโครงการเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณต่อไป
2.3 การส่งเสริมการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยวกับประเทศเพื่อนบ้าน จำนวน 3 เรื่อง
(1) การพัฒนาภายใต้กรอบความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้าน ให้รวมเรื่องที่เกี่ยวข้องกับข้อตกลงและความร่วมมือในกรอบอนุภูมิภาค ได้แก่ IMT-GT JDS ACMECS GMS และ BIMSTEC คณะกรรมการ กพบ. ได้มีมติเห็นชอบให้ กพบ. เป็นกลไกหลักในการพิจารณากำหนดการดำเนินงานให้ความช่วยเหลือพัฒนาเส้นทางคมนาคมขนส่งเชื่อมโยงประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะเรื่องการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานถนน
(2) การจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมบริเวณชายแดน 2 ประเทศ (แม่สอด-เมียวดี) การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยได้ว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาดำเนินโครงการศึกษาความเหมาะสมเพื่อจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษ/นิคมอุตสาหกรรมในเมาะละแหม่ง ผะอัน เมียวดี และมู่ด่อง ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างปรับเพิ่มรายละเอียด สิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ที่นักลงทุนไทยต้องการจากทางการพม่า คาดว่าจะเสร็จสมบูรณ์ในสิ้นเดือนสิงหาคม 2549
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 29 สิงหาคม 2549--จบ--
1. เรื่องที่ดำเนินการแล้วเสร็จ มีจำนวน 1 เรื่อง คือ การใช้แรงงานต่างด้าว พบว่าในปัจจุบันได้ใช้แนวทางเดียวกันทั้งประเทศไม่มีพื้นที่ใดเป็นกรณีพิเศษ กล่าวคือ มติ ครม. อนุญาตให้แรงาน พม่า ลาว กัมพูชา หลบหนีเข้าเมืองอยู่ในราชอาณาจักรไทยได้ชั่วคราว โดยให้ทำงานเป็นกรรมกรและผู้รับใช้ในบ้านเท่านั้น และให้จัดตั้งศูนย์ประสานงานข้อมูลและทะเบียนประวัติแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองในรูปแบบบริการแบบเบ็ดเสร็จ (One Stop Service) ใน 4 จังหวัด คือ จังหวัดตาก เชียงราย ระนอง และกาญจนบุรี โดยเริ่มทดลองดำเนินการที่อำเภอแม่สอด จังหวัดตากก่อนเป็นแห่งแรก เพื่อไม่ให้คนต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองทะลักเข้ามาในเขตพื้นที่ชั้นใน
2. เรื่องที่อยู่ระหว่างดำเนินการ จำนวน 9 เรื่อง แยกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้
2.1 การส่งเสริมการท่องเที่ยวของกลุ่มจังหวัดให้มีลักษณะ Historical Marketing (H-Marketing) และเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ จำนวน 2 เรื่อง
(1) ขยายตลาดการท่องเที่ยวมายังกลุ่มจังหวัดให้มากขึ้น กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม ได้แต่งตั้ง คณะกรรมการดำเนินงานและคณะทำงานจัดทำรายละเอียดแผนแม่บทอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ศรีสัชนาลัย และกำแพงเพชร เพื่อจัดทำรายละเอียดแผนแม่บทฯ ให้มีความชัดเจนทั้งด้านยุทธศาสตร์ กลยุทธ์งบประมาณและระยะเวลา ภายใต้แนวคิด “กลุ่มคลัสเตอร์มรดกโลก”
(2) พัฒนาบุคลากรด้านการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยรามคำแหงอยู่ระหว่างจัดทำรายละเอียดโครงการให้ชัดเจน เพื่อทำความตกลงกับสำนักงบประมาณในการขอรับการจัดสรรงบประมาณปี 2549 วงเงิน 120 ล้านบาท และขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2550 วงเงิน 480 ล้านบาท เพื่อดำเนินโครงการยกฐานะมหาวิทยาลัยรามคำแหง สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ วิทยาเขตสุโขทัย
2.2 การพัฒนาโครงข่ายการคมนาคมขนส่งและโลจิสติกส์ จำนวน 4 เรื่อง
(1) การเป็นศูนย์กลางบริการและโลจิสติกส์สี่แยกอินโดจีน : การเชื่อมโยงแนวเส้นทางเศรษฐกิจ East-West Economic Corridor และ North-South Economic Corridor กรมทางหลวงกำลังศึกษาความเหมาะสม ด้านเศรษฐกิจ วิศวกรรมและผลกระทบสิ่งแวดล้อมของแนวเส้นทางแม่สอด-ตาก และช่วงพิษณุโลก-เพชรบูรณ์ และดำเนินการก่อสร้างแนวเส้นทางช่วง ตาก — สุโขทัย-พิษณุโลก และอุตรดิตถ์-พิษณุโลก-นครสวรรค์ เป็น 4 ช่องจราจร สำหรับช่วงระหว่างเด่นชัย-อุตรดิตถ์อยู่ระหว่างขั้นตอนการดำเนินงาน
(2) ส่งเสริมการขนส่งและเปลี่ยนถ่ายสินค้าระบบ Multi-modal Shift การรถไฟแห่งประเทศไทยอยู่ระหว่างพิจารณาความเหมาะสมในการก่อสร้างย่านกองเก็บตู้สินค้า (Container Yard : CY) และในส่วนของการจัดหาอุปกรณ์การขนถ่ายตู้ ณ สถานีรถไฟศิลาอาสน์ จังหวัดอุตรดิตถ์ ได้เชิญชวนผู้ประกอบการให้เป็นผู้ลงทุนและจัดหาอุปกรณ์ยกขนตู้สินค้าเอง เนื่องจากผู้ประกอบการเป็นผู้มีความชำนาญ และเป็นการลดภาระการลงทุนของภาครัฐ
(3) การดำเนินการศูนย์กระจายสินค้า (Distribution Center) ณ จังหวัดพิษณุโลก กรมการขนส่งทางบก กระทรวงคมนาคมได้จัดทำโครงการศึกษาความเหมาะสมในการดำเนินการจัดตั้งสถานีขนส่งสินค้าในเมืองหลักและจังหวัดชายแดน เพื่อศึกษาและคัดเลือกจังหวัดที่เหมาะสมในการดำเนินการจัดตั้งสถานีขนส่งสินค้าในจังหวัดเมืองหลักในส่วนภูมิภาค ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างขอรับการจัดสรรงบประมาณประจำปี พ.ศ. 2550 วงเงิน 21,318,900 บาท
(4) การก่อสร้างศูนย์อุบัติภัยและอุปกรณ์ทางการแพทย์ฉุกเฉิน กระทรวงสาธารณสุขได้บรรจุไว้ในโครงการพัฒนาระบบบริการ Excellence Service Center และ Regional Referral Hospital แห่งชาติ ในศูนย์ความเป็นเลิศด้านอุบัติเหตุ เป็น 1 ใน 34 ศูนย์ทั่วประเทศ ในแผนลงทุนเสริมสร้างโครงสร้างสาธารณสุขแห่งชาติ (พ.ศ. 2549-2552) ตามโครงการลงทุนขนาดใหญ่ภาครัฐด้านสาธารณสุข โดยมีแผนงบประมาณที่เป็นงบลงทุนจำนวน 169 ล้านบาท ในระยะเวลา 3 ปี แบ่งเป็น ปี 2550 วงเงิน 135 ล้านบาท ปี 2551 วงเงิน 15 ล้านบาท และปี 2552 วงเงิน 19 ล้านบาท ซึ่งมหาวิทยาลัยนเรศวรจะได้จัดทำรายละเอียดโครงการเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณต่อไป
2.3 การส่งเสริมการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยวกับประเทศเพื่อนบ้าน จำนวน 3 เรื่อง
(1) การพัฒนาภายใต้กรอบความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้าน ให้รวมเรื่องที่เกี่ยวข้องกับข้อตกลงและความร่วมมือในกรอบอนุภูมิภาค ได้แก่ IMT-GT JDS ACMECS GMS และ BIMSTEC คณะกรรมการ กพบ. ได้มีมติเห็นชอบให้ กพบ. เป็นกลไกหลักในการพิจารณากำหนดการดำเนินงานให้ความช่วยเหลือพัฒนาเส้นทางคมนาคมขนส่งเชื่อมโยงประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะเรื่องการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานถนน
(2) การจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมบริเวณชายแดน 2 ประเทศ (แม่สอด-เมียวดี) การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยได้ว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาดำเนินโครงการศึกษาความเหมาะสมเพื่อจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษ/นิคมอุตสาหกรรมในเมาะละแหม่ง ผะอัน เมียวดี และมู่ด่อง ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างปรับเพิ่มรายละเอียด สิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ที่นักลงทุนไทยต้องการจากทางการพม่า คาดว่าจะเสร็จสมบูรณ์ในสิ้นเดือนสิงหาคม 2549
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 29 สิงหาคม 2549--จบ--