คณะรัฐมนตรีอนุมัติการลงนามร่างพิธีสารแก้ไขบันทึกความเข้าใจอาเซียนว่าด้วยบริการขนส่งสินค้าทางอากาศ ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ โดยหากมีความจำเป็นต้องแก้ไขข้อความในร่างพิธีสารฯ ที่มิใช่สาระสำคัญและการแก้ไขนั้นเป็นประโยชน์ต่อประเทศไทย ก็ให้กระทรวงคมนาคมสามารถดำเนินการได้ โดยประสานงานกับกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศ และอนุมัติให้หัวหน้าคณะผู้แทนไทยในการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านการขนส่งอาเซียน หรืออธิบดีกรมการขนส่งทางอากาศ เป็นผู้ลงนามฝ่ายไทย และมอบหมายให้กระทรวงการต่างประเทศ
ออกหนังสือมอบอำนาจเต็ม (Full Powers) ให้แก่ผู้แทนไทยสำหรับการลงนามดังกล่าวด้วย
ทั้งนี้ หลักการและสาระสำคัญของพิธีสารฯ ดังกล่าวมีดังนี้
1. พิธีสารฯ จะแก้ไขความในข้อ 2 (ว่าด้วยน้ำหนักบรรทุก) และ 3 (ว่าด้วยจุดในเส้นทางบิน) ของบันทึกความเข้าใจอาเซียนว่าด้วยบริการขนส่งทางอากาศ พ.ศ. 2545 และจะเป็นส่วนหนึ่งของบันทึกความเข้าใจ ฯ ดังกล่าว พิธีสารฯ นี้จะมีผลบังคับใช้เมื่อภาคีผู้ทำความตกลงทุกฝ่ายยื่นหนังสือทางการทูตต่อเลขาธิการอาเซียน
2. สายการบินที่กำหนดของภาคีผู้ทำความตกลงแต่ละฝ่ายจะได้รับอนุญาตให้ดำเนินบริการขนส่งเฉพาะสินค้า ได้เพิ่มขึ้นจาก 100 ตันต่อสัปดาห์ เป็นได้ถึง 250 ตันต่อสัปดาห์ ในแต่ละทิศทางโดยไม่มีข้อจำกัดด้านความถี่และแบบอากาศยานจากอาณาเขตของตนไปยังอาณาเขตของภาคีผู้ทำความตกลงอื่นแต่ละฝ่าย และกลับกัน
3. สายการบินที่กำหนดของภาคีผู้ทำความตกลงแต่ละฝ่ายจะได้รับอนุญาตให้ใช้สิทธิรับขนทางจราจรเสรีภาพที่สามและสี่ในการดำเนินบริการที่ตกลงระหว่างจุดต่างๆ ที่ระบุเพิ่มขึ้น ดังนี้
บรูไนดารุสซาลาม : บันดาร์เสรี เบกาวัน
กัมพูชา : พนมเปญ
อินโดนีเซีย : บาตัม บาลิกปาปัน เบียก มากัสสาร์ มานาโด ปาเลมบัง ปอนเตียนาก
สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว: เวียงจันทร์ หลวงพระบาง ปากเซ
มาเลเซีย : กัมลาลัมเปอร์
พม่า : ย่างกุ้ง มัณฑะเลย์
ฟิลิปปินส์ : จุดต่างๆ ในฟิลิปปินส์
สิงคโปร์ : สิงคโปร์
ไทย : กรุงเทพ ฯ เชียงใหม่ หาดใหญ่ ขอนแก่น ภูเก็ต อู่ตะเภา อุบลราชธานี
เวียดนาม : ฮานอย ดานัง โฮจิมินห์ซิตี้ จูไล
(ตัวหนา คือ จุดที่เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับบันทึกความเข้าใจฉบับปัจจุบัน)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 22 สิงหาคม 2549--จบ--
ออกหนังสือมอบอำนาจเต็ม (Full Powers) ให้แก่ผู้แทนไทยสำหรับการลงนามดังกล่าวด้วย
ทั้งนี้ หลักการและสาระสำคัญของพิธีสารฯ ดังกล่าวมีดังนี้
1. พิธีสารฯ จะแก้ไขความในข้อ 2 (ว่าด้วยน้ำหนักบรรทุก) และ 3 (ว่าด้วยจุดในเส้นทางบิน) ของบันทึกความเข้าใจอาเซียนว่าด้วยบริการขนส่งทางอากาศ พ.ศ. 2545 และจะเป็นส่วนหนึ่งของบันทึกความเข้าใจ ฯ ดังกล่าว พิธีสารฯ นี้จะมีผลบังคับใช้เมื่อภาคีผู้ทำความตกลงทุกฝ่ายยื่นหนังสือทางการทูตต่อเลขาธิการอาเซียน
2. สายการบินที่กำหนดของภาคีผู้ทำความตกลงแต่ละฝ่ายจะได้รับอนุญาตให้ดำเนินบริการขนส่งเฉพาะสินค้า ได้เพิ่มขึ้นจาก 100 ตันต่อสัปดาห์ เป็นได้ถึง 250 ตันต่อสัปดาห์ ในแต่ละทิศทางโดยไม่มีข้อจำกัดด้านความถี่และแบบอากาศยานจากอาณาเขตของตนไปยังอาณาเขตของภาคีผู้ทำความตกลงอื่นแต่ละฝ่าย และกลับกัน
3. สายการบินที่กำหนดของภาคีผู้ทำความตกลงแต่ละฝ่ายจะได้รับอนุญาตให้ใช้สิทธิรับขนทางจราจรเสรีภาพที่สามและสี่ในการดำเนินบริการที่ตกลงระหว่างจุดต่างๆ ที่ระบุเพิ่มขึ้น ดังนี้
บรูไนดารุสซาลาม : บันดาร์เสรี เบกาวัน
กัมพูชา : พนมเปญ
อินโดนีเซีย : บาตัม บาลิกปาปัน เบียก มากัสสาร์ มานาโด ปาเลมบัง ปอนเตียนาก
สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว: เวียงจันทร์ หลวงพระบาง ปากเซ
มาเลเซีย : กัมลาลัมเปอร์
พม่า : ย่างกุ้ง มัณฑะเลย์
ฟิลิปปินส์ : จุดต่างๆ ในฟิลิปปินส์
สิงคโปร์ : สิงคโปร์
ไทย : กรุงเทพ ฯ เชียงใหม่ หาดใหญ่ ขอนแก่น ภูเก็ต อู่ตะเภา อุบลราชธานี
เวียดนาม : ฮานอย ดานัง โฮจิมินห์ซิตี้ จูไล
(ตัวหนา คือ จุดที่เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับบันทึกความเข้าใจฉบับปัจจุบัน)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 22 สิงหาคม 2549--จบ--