คณะรัฐมนตรีพิจารณาร่างพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ... ตามที่สำนักงาน ก.พ. เสนอแล้วมีมติอนุมัติตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 7 (ฝ่ายกฎหมายฯ) ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) เป็นประธานฯ ที่อนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. .... ที่สำนักงาน ก.พ. แก้ไขเพิ่มเติมแล้ว และส่งให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้แต่งตั้งคณะกรรมการกฤษฎีกาคณะพิเศษพิจารณา และให้รับความเห็นของคณะทำงานพิจารณาปรับปรุงร่างพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ... และข้อสังเกตของสำนักงาน ก.พ.ร. รวมทั้ง ข้อสังเกตของคณะรัฐมนตรีที่เห็นควรให้ร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ มีความสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลในการบริหารราชการแบบบูรณาการและลดขนาดกำลังคนภาครัฐ ไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาก่อนนำเสนอสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาต่อไป
ทั้งนี้ สำนักงาน ก.พ. ชี้แจงว่า โดยที่พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 มาตรา 18 วรรคห้า บัญญัติให้ดำเนินการปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนและกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน เพื่อกำหนดภารกิจของคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนและสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนให้เหมาะสม ประกอบกับพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535 ใช้บังคับมานาน เพื่อให้การบริหารทรัพยากรบุคคลภาครัฐสอดคล้องกับทิศทางการบริหารราชการแนวใหม่ จึงได้เสนอร่างพระราชบัญญัติระเบียบ ข้าราชการพลเรือน พ.ศ. .... มาเพื่อดำเนินการ
โดยร่างพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. .... มีสาระสำคัญ ดังนี้
1. กำหนดอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนและสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการ พลเรือน (ก.พ.) มิให้ซ้ำซ้อนกับอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ
2. จัดตั้งคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม (ก.พ.ค.) เป็นองค์กรคู่กับ ก.พ. ทำหน้าที่ตรวจสอบดูแลการบริหารทรัพยากรบุคคลของ ก.พ. อ.ก.พ. วิสามัญ อ.ก.พ. สามัญ ส่วนราชการและผู้บังคับบัญชาให้เป็นไปตามระบบคุณธรรม
3. เพิ่มประเภทข้าราชการพลเรือนวิสามัญ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความคล่องตัวในการสรรหาบุคคลที่ไม่เคยดำรงตำแหน่งข้าราชการพลเรือนมาทำหน้าที่เป็นผู้บริหารระดับสูง
4. ปรับปรุงระบบตำแหน่งและประเภทตำแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญให้เหมาะสมกับลักษณะงาน เพื่อจ่ายค่าตอบแทนที่เป็นธรรม
5. ให้มีกระบวนการสรรหาบุคคลในระบบเปิดเพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญและเพื่อแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งในบางกรณี
6. กระจายอำนาจการบริหารทรัพยากรบุคคลให้ส่วนราชการเจ้าสังกัดดำเนินการมากยิ่งขึ้น
7. ปรับปรุงระบบวินัย อุทธรณ์และร้องทุกข์ โดยเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการเรื่องวินัย กระจายอำนาจให้ อ.ก.พ. กระทรวง และปรับปรุงกระบวนการดำเนินการทางวินัยให้มีประสิทธิภาพ รวดเร็ว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 27 ธันวาคม 2548--จบ--
ทั้งนี้ สำนักงาน ก.พ. ชี้แจงว่า โดยที่พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 มาตรา 18 วรรคห้า บัญญัติให้ดำเนินการปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนและกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน เพื่อกำหนดภารกิจของคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนและสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนให้เหมาะสม ประกอบกับพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535 ใช้บังคับมานาน เพื่อให้การบริหารทรัพยากรบุคคลภาครัฐสอดคล้องกับทิศทางการบริหารราชการแนวใหม่ จึงได้เสนอร่างพระราชบัญญัติระเบียบ ข้าราชการพลเรือน พ.ศ. .... มาเพื่อดำเนินการ
โดยร่างพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. .... มีสาระสำคัญ ดังนี้
1. กำหนดอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนและสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการ พลเรือน (ก.พ.) มิให้ซ้ำซ้อนกับอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ
2. จัดตั้งคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม (ก.พ.ค.) เป็นองค์กรคู่กับ ก.พ. ทำหน้าที่ตรวจสอบดูแลการบริหารทรัพยากรบุคคลของ ก.พ. อ.ก.พ. วิสามัญ อ.ก.พ. สามัญ ส่วนราชการและผู้บังคับบัญชาให้เป็นไปตามระบบคุณธรรม
3. เพิ่มประเภทข้าราชการพลเรือนวิสามัญ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความคล่องตัวในการสรรหาบุคคลที่ไม่เคยดำรงตำแหน่งข้าราชการพลเรือนมาทำหน้าที่เป็นผู้บริหารระดับสูง
4. ปรับปรุงระบบตำแหน่งและประเภทตำแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญให้เหมาะสมกับลักษณะงาน เพื่อจ่ายค่าตอบแทนที่เป็นธรรม
5. ให้มีกระบวนการสรรหาบุคคลในระบบเปิดเพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญและเพื่อแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งในบางกรณี
6. กระจายอำนาจการบริหารทรัพยากรบุคคลให้ส่วนราชการเจ้าสังกัดดำเนินการมากยิ่งขึ้น
7. ปรับปรุงระบบวินัย อุทธรณ์และร้องทุกข์ โดยเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการเรื่องวินัย กระจายอำนาจให้ อ.ก.พ. กระทรวง และปรับปรุงกระบวนการดำเนินการทางวินัยให้มีประสิทธิภาพ รวดเร็ว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 27 ธันวาคม 2548--จบ--