คณะรัฐมนตรีพิจารณาการขออนุมัติงบลงทุนและกู้เงินเพื่อซื้อหุ้นบริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ตามสิทธิในสัญญาโครงการระบบรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ แล้วมีมติเห็นชอบ ดังนี้
(1) งบลงทุน (เพิ่มเติม) ประจำปี 2548 เพื่อให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ซื้อหุ้นของบริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ตามสิทธิในสัญญาโครงการระบบรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล จำนวนร้อยละ 25 ของทุนจดทะเบียนทั้งหมด เป็นจำนวนเงิน 2,450 ล้านบาท
(2) ให้ รฟม. กู้เงินจากสถาบันการเงินในประเทศเพื่อซื้อหุ้นของบริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ตามข้อ 1 โดยกระทรวงการคลังค้ำประกันดอกเบี้ยเงินกู้ และให้สำนักงบประมาณจัดสรรงบประมาณเพื่อชำระดอกเบี้ยและต้นเงินกู้ในระหว่างที่ รฟม. ยังไม่สามารถจ่ายคืนได้ และให้ รฟม. สามารถนำหุ้นดังกล่าวไปบริหารจัดการต่อไป
กระทรวงคมนาคมรายงานว่า การเข้าซื้อหุ้นของ รฟม. ดังกล่าวเป็นการสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลที่จะซื้อคืนสัมปทานการเดินรถของบริษัทฯ โดยในการซื้อหุ้นดังกล่าวจะมีผลกระทบ ดังนี้
1. ผลกระทบต่อนโยบายของรัฐบาล
(1) เป็นการดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาลไปสู่การซื้อคืนสัมปทานการเดินรถของ บริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) เพื่อให้เกิดการเชื่อมต่อการใช้บริการระบบขนส่งมวลชนและการบริการในลักษณะ Single Operation โดยการซื้อหุ้นในครั้งนี้ถือเป็นการดำเนินการเชิงยุทธศาสตร์ (Strategic move) ในการซื้อคืนสัมปทาน
(2) การซื้อหุ้นในช่วงเวลานี้จะทำให้ รฟม. สามารถที่จะมีส่วนร่วมในการกำกับดูแลและกำหนดนโยบายในการดำเนินการกิจการของบริษัทฯ ได้อย่างใกล้ชิดในฐานะผู้ถือหุ้น และมีสิทธิในการออกเสียงเพื่อลงมติต่าง ๆ รวมทั้งสามารถให้ข้อมูลและข้อเท็จจริงต่าง ๆ แก่ผู้ถือหุ้นอื่น ๆ เพื่อให้เกิดความเข้าใจในวัตถุประสงค์และนโยบายของรัฐบาลในการซื้อคืนกิจการ นอกจากนี้ยังสามารถผลักดันให้มีการเชื่อมต่อการใช้บริการระบบขนส่งมวลชนและการบริการในลักษณะ Single Operation รวมไปถึงการที่จะสามรถกำหนดให้มีระบบตั๋วร่วมและการควบคุมราคาค่าโดยสารให้ถูกเพื่อให้เกิดความสะดวก และเป็นการเพิ่มความสามารถในการเข้าถึงระบบขนส่งมวลชนแก่ประชาชนผู้ใช้บริการ ตามนโยบายรัฐบาลได้ง่ายยิ่งขึ้น อันจะเป็นผลดีแก่ประชาชนผู้ใช้บริการในอนาคต
2. ผลกระทบต่อการเงินและงบประมาณ
(1) รัฐ โดย รฟม. สามารถซื้อหุ้นของบริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ได้ในสัดส่วนที่มากและในราคาทุน ซึ่งเป็นราคาที่ต่ำกว่าราคาที่ซื้อขายที่ผ่านมา
(2) การซื้อหุ้นจะช่วยประหยัดงบประมาณรัฐบาลในการซื้อหุ้นส่วนที่เหลือของบริษัทฯ ได้ส่วนหนึ่ง หากราคาที่ตกลงซื้อขายหุ้นในส่วนที่เหลือนี้มีราคาสูงกว่าราคาพาร์
(3) ในการลงทุนโครงการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนส่วนต่อขยายของสายเฉลิมรัชมงคลและสายใหม่ ผลประโยชน์ที่เกิดจากการลงทุนส่วนหนึ่งจะเกิดแก่บริษัทฯ เนื่องจากส่วนต่อขยายฯ และสายใหม่จะช่วยส่งผู้โดยสารให้สายเฉลิมรัชมงคล ดังนั้น การที่รัฐถือหุ้นในบริษัทฯ จะทำให้ผลประโยชน์ที่เกิดแก่บริษัทฯ กลับคืนสู่ภาครัฐได้ส่วนหนึ่ง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 31 พฤษภาคม 2548--จบ--
(1) งบลงทุน (เพิ่มเติม) ประจำปี 2548 เพื่อให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ซื้อหุ้นของบริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ตามสิทธิในสัญญาโครงการระบบรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล จำนวนร้อยละ 25 ของทุนจดทะเบียนทั้งหมด เป็นจำนวนเงิน 2,450 ล้านบาท
(2) ให้ รฟม. กู้เงินจากสถาบันการเงินในประเทศเพื่อซื้อหุ้นของบริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ตามข้อ 1 โดยกระทรวงการคลังค้ำประกันดอกเบี้ยเงินกู้ และให้สำนักงบประมาณจัดสรรงบประมาณเพื่อชำระดอกเบี้ยและต้นเงินกู้ในระหว่างที่ รฟม. ยังไม่สามารถจ่ายคืนได้ และให้ รฟม. สามารถนำหุ้นดังกล่าวไปบริหารจัดการต่อไป
กระทรวงคมนาคมรายงานว่า การเข้าซื้อหุ้นของ รฟม. ดังกล่าวเป็นการสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลที่จะซื้อคืนสัมปทานการเดินรถของบริษัทฯ โดยในการซื้อหุ้นดังกล่าวจะมีผลกระทบ ดังนี้
1. ผลกระทบต่อนโยบายของรัฐบาล
(1) เป็นการดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาลไปสู่การซื้อคืนสัมปทานการเดินรถของ บริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) เพื่อให้เกิดการเชื่อมต่อการใช้บริการระบบขนส่งมวลชนและการบริการในลักษณะ Single Operation โดยการซื้อหุ้นในครั้งนี้ถือเป็นการดำเนินการเชิงยุทธศาสตร์ (Strategic move) ในการซื้อคืนสัมปทาน
(2) การซื้อหุ้นในช่วงเวลานี้จะทำให้ รฟม. สามารถที่จะมีส่วนร่วมในการกำกับดูแลและกำหนดนโยบายในการดำเนินการกิจการของบริษัทฯ ได้อย่างใกล้ชิดในฐานะผู้ถือหุ้น และมีสิทธิในการออกเสียงเพื่อลงมติต่าง ๆ รวมทั้งสามารถให้ข้อมูลและข้อเท็จจริงต่าง ๆ แก่ผู้ถือหุ้นอื่น ๆ เพื่อให้เกิดความเข้าใจในวัตถุประสงค์และนโยบายของรัฐบาลในการซื้อคืนกิจการ นอกจากนี้ยังสามารถผลักดันให้มีการเชื่อมต่อการใช้บริการระบบขนส่งมวลชนและการบริการในลักษณะ Single Operation รวมไปถึงการที่จะสามรถกำหนดให้มีระบบตั๋วร่วมและการควบคุมราคาค่าโดยสารให้ถูกเพื่อให้เกิดความสะดวก และเป็นการเพิ่มความสามารถในการเข้าถึงระบบขนส่งมวลชนแก่ประชาชนผู้ใช้บริการ ตามนโยบายรัฐบาลได้ง่ายยิ่งขึ้น อันจะเป็นผลดีแก่ประชาชนผู้ใช้บริการในอนาคต
2. ผลกระทบต่อการเงินและงบประมาณ
(1) รัฐ โดย รฟม. สามารถซื้อหุ้นของบริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ได้ในสัดส่วนที่มากและในราคาทุน ซึ่งเป็นราคาที่ต่ำกว่าราคาที่ซื้อขายที่ผ่านมา
(2) การซื้อหุ้นจะช่วยประหยัดงบประมาณรัฐบาลในการซื้อหุ้นส่วนที่เหลือของบริษัทฯ ได้ส่วนหนึ่ง หากราคาที่ตกลงซื้อขายหุ้นในส่วนที่เหลือนี้มีราคาสูงกว่าราคาพาร์
(3) ในการลงทุนโครงการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนส่วนต่อขยายของสายเฉลิมรัชมงคลและสายใหม่ ผลประโยชน์ที่เกิดจากการลงทุนส่วนหนึ่งจะเกิดแก่บริษัทฯ เนื่องจากส่วนต่อขยายฯ และสายใหม่จะช่วยส่งผู้โดยสารให้สายเฉลิมรัชมงคล ดังนั้น การที่รัฐถือหุ้นในบริษัทฯ จะทำให้ผลประโยชน์ที่เกิดแก่บริษัทฯ กลับคืนสู่ภาครัฐได้ส่วนหนึ่ง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 31 พฤษภาคม 2548--จบ--