สรุปสถานการณ์ภัยธรรมชาติในช่วงฤดูฝน ครั้งที่ 14

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday October 14, 2009 16:41 —มติคณะรัฐมนตรี

คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สรุปสถานการณ์ภัยธรรมชาติในช่วงฤดูฝน ครั้งที่ 14 ณ วันที่ 12 ตุลาคม 2552 ประกอบด้วย สถานการณ์อุทกภัย ผลกระทบด้านการเกษตร การให้ความช่วยเหลือ และสถานการณ์น้ำ สรุปได้ดังนี้

สถานการณ์อุทกภัย

อิทธิพลของพายุ “กิสนา” ที่เคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ 29 กันยายน 2552 เป็นต้นมา ประกอบกับมีร่องความกดอากาศต่ำพาดผ่านภาคกลางตอนล่าง ภาคตะวันออก และภาคใต้ตอนบนเกือบตลอดช่วงวันที่ 5-8 ตุลาคม 2552 ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่งในหลายพื้นที่

ปัจจุบันมีสถานการณ์อุทกภัย จำนวน 10 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดศรีสะเกษ อุบลราชธานี ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุโขทัย พิษณุโลก พิจิตร อ่างทอง และจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

หากไม่มีฝนตกลงมาเพิ่มคาดว่าสถานการณ์จะเข้าสู่ภาวะปกติภายใน 1 สัปดาห์

สถานการณ์น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา

สถานการณ์น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา ปัจจุบัน(12 ตุลาคม 2552) ที่จังหวัดนครสวรรค์มีปริมาณน้ำไหลผ่าน 1,778 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที(วานนี้ 1,897 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที) มีปริมาณน้ำไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยา 1,578 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที(วานนี้ 1,731 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที) และที่เขื่อนพระรามหกมีปริมาณน้ำไหลผ่าน 215 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที(วานนี้ 207 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที) ส่วนที่กรุงเทพฯและปริมณฑลมีปริมาณน้ำไหลผ่านในเกณฑ์ประมาณ 1,716 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที (วานนี้ 1,783 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที) ระดับน้ำที่จังหวัดนครสวรรค์ลดลงอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ระดับน้ำท้ายเขื่อนเจ้าพระยาลงมาลดลงตามไปด้วย

เพื่อให้การระบายน้ำในพื้นที่ตอนบนเร็วขึ้น จึงได้พร่องน้ำในระบบชลประทานตอนล่าง เพื่อรับน้ำเหนือให้ไหลลงสู่ทะเลผ่านคลองระบายต่างๆ ทั้งฝั่งตะวันออกและฝั่งตะวันตก เพื่อให้มีพื้นที่รองรับน้ำเหนือที่ยังไหลหลากลงมาอีก สำหรับสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ลุ่มต่ำริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เนื่องจากในช่วงวันที่ 8-9 ตุลาคม 2552 เป็นช่วงน้ำทะเลหนุนสูง ทำให้ระดับในแม่น้ำเจ้าพระยายกตัวสูงขึ้น ส่งผลให้เกิดอุทกภัยในพื้นที่ลุ่มต่ำริมแม่น้ำบางแห่ง ซึ่งเป็นพื้นที่ที่อยู่นอกคันกั้นน้ำ และในช่วงวันที่ 19-20 ตุลาคม 2552 จะเป็นช่วงน้ำทะเลหนุนสูงอีกครั้ง ซึ่งกรมชลประทานจะได้แจ้งเตือนประชาชนที่อยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาทราบเพื่อเตรียมรับสถานการณ์ต่อไป

พื้นที่ประสบอุทกภัยจากพายุ “กิสนา”

ช่วงภัยวันที่ 29 กันยายน — 9 ตุลาคม 2552 ข้อมูล ณ วันที่ 12 ตุลาคม 2552 ดังนี้

ด้านพืช 28 จังหวัด เกษตรกรประสบภัย 95,818 ราย พื้นที่คาดว่าจะเสียหาย 1,049,314 ไร่ แบ่งเป็น ข้าว 820,316 ไร่ พืชไร่ 210,676 ไร่ และพืชสวน 18,322 ไร่ คิดเป็น 21 % ของพื้นที่เพาะปลูกทั้งหมด (4,956,474 ไร่)

ด้านประมง 16 จังหวัด เกษตรกรประสบภัย 11,398 ราย พื้นที่คาดว่าจะเสียหาย แบ่งเป็น บ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ 12,647 บ่อ คิดเป็นพื้นที่ 12,158 ไร่ กระชังเลี้ยงสัตว์น้ำ 100 กระชัง คิดเป็นพื้นที่ 800 ตารางเมตร

ด้านปศุสัตว์ 8 จังหวัด เกษตรกรประสบภัย 8,424 ราย สัตว์ได้รับผลกระทบ 87,860 ตัว แบ่งเป็น โค-กระบือ 15,823 ตัว สุกร-แพะ-แกะ 7,207 ตัว และสัตว์ปีก 64,830 ตัว

การช่วยเหลือเบื้องต้น

1. สนับสนุนเครื่องสูบน้ำและเครื่องผลักดันน้ำเพื่อช่วยเหลือไปแล้ว ดังนี้

  • เครื่องสูบน้ำ 19 จังหวัด จำนวน 208 เครื่อง ได้แก่ จังหวัดลำปาง (8) มหาสารคาม(1) ร้อยเอ็ด(1) ชัยภูมิ(9) นครราชสีมา (8) นนทบุรี(4) ปทุมธานี (8) พระนครศรีอยุธยา(17) สมุทรสาคร(5) สมุทรปราการ(4) ชัยนาท (12) ราชบุรี (1) สุพรรณบุรี (61) ลพบุรี (41) อ่างทอง(16) นครปฐม (2) อุทัยธานี (6) กาญจนบุรี (1) และระนอง(3)
  • เครื่องผลักดันน้ำ 4 จังหวัด จำนวน 47 เครื่อง ได้แก่ จังหวัดนครราชสีมา(19) กรุงเทพมหานคร(3) สุพรรณบุรี (15) และนครปฐม (10)

2. สนับสนุนพืชอาหารสัตว์ 142.06 ตัน แร่ธาตุและเวชภัณฑ์ 100 ชุด และดูแลสุขภาพสัตว์ 4,884 ตัว

พื้นที่ประสบภัยฝนทิ้งช่วง (ช่วงวันที่ 20 พฤษภาคม — 27 สิงหาคม2552)

พื้นที่ประสบภัยด้านการเกษตร 12 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดนครสวรรค์ เพชรบูรณ์ พะเยา พิจิตร พิษณุโลก แพร่ ลำปาง อุตรดิตถ์ ชัยนาท สระบุรี จันทบุรี และสุพรรณบุรี

เกษตรกรได้รับผลกระทบ 45,753 ราย พื้นที่คาดว่าจะเสียหาย 794,108 ไร่ แยกเป็น ข้าว 556,942 ไร่ พืชไร่ 233,697 ไร่ และพืชสวน 3,469 ไร่ (ข้อมูล ณ 9 ตุลาคม 2552)

การช่วยเหลือ สำนักฝนหลวงและการบินเกษตร ได้ตั้งศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวง จำนวน 7 ศูนย์ (7 หน่วยปฏิบัติการ และ 3 ฐานเติมสาร) ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ พิษณุโลก ลพบุรี ขอนแก่น นครราชสีมา อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และสุราษฎร์ธานี และฐานเติมสารฝนหลวง ได้แก่ จังหวัดตาก กาญจนบุรี นครสวรรค์ ขึ้นปฏิบัติการในรอบสัปดาห์ (ช่วงวันที่ 2 — 8 ตุลาคม 2552) จำนวน 145 เที่ยวบิน ปริมาณน้ำฝนวัดได้ 0.1 -85.0 มม. มีฝนตกในพื้นที่ 41 จังหวัด

สถานการณ์น้ำ

1. สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่

สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั่วประเทศ (12 ตุลาคม 2552) มีปริมาตรน้ำในอ่างฯ ทั้งหมด 53,705 ล้านลบ.ม. หรือคิดเป็นร้อยละ 77 ของความจุอ่างฯ ทั้งหมด น้อยกว่าปี 2551 (54,748 ล้าน ลบ.ม.) จำนวน 1,043 ล้านลบ.ม. ปริมาตรน้ำใช้การได้ 30,349 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 36 ของความจุอ่างฯ ปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯช่วงวันที่ 5 — 11 ตุลาคม 2552 รวม 2,559 ล้าน ลบ.ม.สามารถรับน้ำได้อีก 15,850 ล้านลบ.ม.

อ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพล จังหวัดตาก และอ่างเก็บน้ำเขื่อนสิริกิติ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ มีปริมาตรน้ำในอ่างฯ ทั้งหมด 8,706 และ 5,922 ล้านลบ.ม.ตามลำดับ หรือคิดเป็นร้อยละ 65 และ 62 ของความจุอ่างฯทั้งหมด ตามลำดับโดยมีปริมาตรน้ำทั้งสองอ่างฯ รวมกัน จำนวน 14,628 ล้านลบ.ม. สามารถรับน้ำได้อีก 8,344 ล้านลบ.ม.

อ่างเก็บน้ำเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จังหวัดลพบุรี มีปริมาตรน้ำในอ่างฯ 951 ล้าน ลบ.ม. หรือคิดเป็นร้อยละ 99 ของความจุอ่างฯทั้งหมด สามารถรับน้ำได้อีก 9 ล้าน ลบ.ม.

อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่อยู่ในเกณฑ์น้ำน้อยกว่าร้อยละ 30 ของความจุอ่างฯ จำนวน 1 อ่างฯ ดังนี้

อ่างเก็บน้ำ      ปริมาตรน้ำในอ่างฯ        ปริมาตรน้ำใช้การได้     ปริมาตรน้ำไหลลงอ่างฯ      ปริมาณน้ำระบาย    ปริมาณน้ำ
              ปริมาตร   %ความจุ       ปริมาตร   %ความจุ     วันนี้       เมื่อวานนี้      วันนี้    เมื่อวาน    รับได้อีก
แม่กวง             52       20           38       14    0.89          0.57     0.02      0.03       211

อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่อยู่ในเกณฑ์น้ำมากกว่าร้อยละ 80 ของความจุอ่างฯ จำนวน 11 อ่างฯ ดังนี้

อ่างเก็บน้ำ      ปริมาตรน้ำในอ่างฯ        ปริมาตรน้ำใช้การได้     ปริมาตรน้ำไหลลงอ่างฯ      ปริมาณน้ำระบาย      ปริมาณน้ำ
              ปริมาตร   %ความจุ       ปริมาตร   %ความจุ     วันนี้       เมื่อวานนี้      วันนี้    เมื่อวาน      รับได้อีก
จุฬาภรณ์           152       93          108       66    0.87          0.81     0.54      0.58          12
ลำปาว          1,301       91        1,216       85    5.43          3.50     5.43      5.80         129
สิรินธร          1,812       92          981       50    5.48          5.23    10.04      9.81         154
ป่าสักชลสิทธิ์        951       99          948       99   51.02         41.85    34.11     13.23           9
ศรีนครินทร์      15,732       89        5,467       31   28.96         36.30    21.21     15.94       2,013
วชิราลงกรณ์      7,940       90        4,928       56   22.83         32.15    25.49     20.20         920
หนองปลาไหล       159       97          146       89    3.43          2.22     0.93      0.38           5
ประแสร์           266      107          246       99    5.35          1.35     3.36      3.32           0
แก่งกระจาน        577       81          510       72    5.35          6.63     2.96      2.96         133
ปราณบุรี           287       83          227       65    5.55          2.25     1.90      1.90          60
รัชชประภา       5,213       92        3,861       68   16.42         18.62    15.99     12.95         426

2. สภาพน้ำท่า

เขื่อนเจ้าพระยา สถานี C.13 ที่อำเภอสรรพยา จังหวัดชัยนาท ปัจจุบันปริมาณน้ำไหลผ่าน 1,578 ลบ.ม.ต่อวินาที

แม่น้ำสะแกกรัง สถานี Ct.2A ที่หน้าศาลากลาง อำเภอเมือง จังหวัดอุทัยธานี ปัจจุบันปริมาณน้ำไหลผ่าน 48 ลบ.ม.ต่อวินาที อยู่ในเกณฑ์น้ำปกติ แนวโน้มลดลง

รับน้ำเข้าระบบส่งน้ำทุ่งฝั่งตะวันออก มีปริมาณน้ำไหลผ่าน 200 ลบ.ม.ต่อวินาที และทุ่งฝั่งตะวันตก มีปริมาณน้ำไหลผ่าน 213 ลบ.ม.ต่อวินาที

สถานีบางไทร สถานี C.29 อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีปริมาณน้ำไหลผ่าน 1,716 ลบ.ม.ต่อวินาที

จังหวัดอ่างทอง มีปริมาณน้ำไหลผ่าน 1,485 ลบ.ม.ต่อวินาที จังหวัดอยุธยา คลองบางหลวง มีปริมาณน้ำไหลผ่าน 551 ลบ.ม.ต่อวินาที จังหวัดอยุธยา คลองบางบาล มีปริมาณน้ำไหลผ่าน 122 ลบ.ม.ต่อวินาที จังหวัดอยุธยา อำเภอพระนครศรีอยุธยา มีปริมาณน้ำไหลผ่าน 1,059 ลบ.ม.ต่อวินาที

ทุ่งเจ้าพระยาฝั่งตะวันออกตอนล่าง รวมสูบและระบายทั้งหมด 25.63 ล้าน ลบ.ม. ทุ่งเจ้าพระยาฝั่งตะวันตกตอนล่าง รวมสูบและระบายทั้งหมด 7.83 ล้าน ลบ.ม.

เขื่อนพระรามหก มีปริมาณน้ำไหลผ่าน 215 ลบ.ม.ต่อวินาที

--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 13 ตุลาคม 2552 --จบ--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ