คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานสถานการณ์โรคไข้เลือดออกปี 2548 สัปดาห์ที่ 18 (ข้อมูล ณ
วันที่ 7 พฤษภาคม 2548) ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอดังนี้
ตามที่มีรายงานโรคเร่งด่วนสถานการณ์โรคไข้เลือดออก ของสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค
แจ้งว่า ณ วันที่ 7 พฤษภาคม 2548 มีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกสะสมตั้งแต่ต้นปีรวม 7,215 ราย คิดเป็นอัตรา
ป่วย 11.44 ต่อประชากรแสนคน มีผู้ป่วยตาย 12 รายที่กรุงเทพมหานครและจังหวัดตราด 2 ราย จังหวัด
หนองคาย จังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดเพชรบูรณ์ จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดระยอง จังหวัดนครศรีธรรมราช
จังหวัดชัยภูมิ และจังหวัดสระบุรี จังหวัดละ 1 ราย คิดเป็นอัตราป่วยตาย ร้อยละ 0.17 และเมื่อเทียบกับ
ปี 2547 ณ ช่วงเวลาเดียวกัน ซึ่งมีจำนวนผู้ป่วย 5,205 ราย มีผู้ป่วยตาย 4 ราย อัตราป่วย 8.29
ต่อประชากรแสนคน อัตราป่วยตายร้อยละ 0.09 คิดเป็นจำนวนป่วยเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 38. 61 นั้น เมื่อประเมิน
สถานการณ์โรคไข้เลือดออกที่มีการระบาดในประเทศ และในระดับนานาชาติ ตั้งแต่ปี 2545 ถึงปี 2548
สรุปได้ว่า หากไม่มีมาตรการป้องกันและควบคุมโรคที่เหมาะสมทันเวลา อาจทำให้เกิดการระบาดใหญ่ของโรค
ไข้เลือดออกในช่วงฤดูฝน ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม ถึงเดือนกันยายน ศกนี้ ประมาณค่าความสูญเสียทางเศรษฐกิจ
ต่อการป่วยและตายในการระบาดระดับปานกลางไม่ต่ำกว่าปีละ 1 พันล้านบาท และ 3 พันล้านบาทหากมีการ
ระบาดใหญ่ ทั้งนี้ยังไม่รวมค่าความเสียหายทางจิตใจ ความสูญเสียด้านทรัพยากรมนุษย์ และศักยภาพด้านการ
ท่องเที่ยวของประเทศ
อย่างไรก็ตามหากได้ดำเนินการมาตรการควบคุมและป้องกันโรคอย่างเต็มที่ กระทรวงสาธารณสุข
คาดการณ์ว่าจะสามารถหยุดยั้งการระบาดของโรคไข้เลือดออกได้ โดยมีอัตราป่วยตลอดปี 2548 ไม่เกินจำนวน
35,000 ราย หรือคิดเป็นอัตราป่วยไม่เกิน 50 ต่อแสนประชากร และอัตราป่วยตายไม่เกินร้อยละ 0.15
สามารถลดความสูญเสียทางเศรษฐกิจจากการป่วยและตายด้วยโรคไข้เลือดออกได้ไม่น้อยกว่าปีละ 500 ล้านบาท
มาตรการเร่งด่วน 6 ด้านในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก มีดังนี้
ประเภทงาน เป้าหมาย หน่วยงานที่รับผิดชอบ ระยะเวลาดำเนินการ งบประมาณ(บาท)
การเฝ้าระวังโรค ให้รายงานโรคภายใน 24 ชม. สำนักระบาดวิทยา 30 วัน งบปกติ
การป้องกันโรค - ลดปริมาณลูกน้ำยุงลาย สำนักงาน 45 วัน 30,000,000
- ให้มีมุ้งลวดในโรงเรียนอนุบาล สาธารณสุขจังหวัด
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
การควบคุมโรคระบาด พ่นยาฉีดยุงภายใน 24 ชม.หลังได้รับรายงาน สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดองค์การ ตลอดปี 50,000,000
รัศมี 100 เมตรพ่นซ้ำใน 7 วัน ปกครองส่วนท้องถิ่น
การวินิจฉัยรักษา ตรวจทราบผลน้ำเหลือง และ/หรือไวรัสภายใน 6 ชม. โรงพยาบาลศูนย์ 45 วัน 50,000,000
โรงพยาบาลทั่วไป
กรมควบคุมโรค
การพัฒนาวัคซีน มีวัคซีนใช้การได้แห่งแรกในโลก หรือภายใน 4 ปี ม.มหิดล 4 ปี 15,000,000
กรมควบคุมโรค
การรณรงค์ประชาสัมพันธ์ - สายด่วนไข้เลือดออก 02-5903333 กระทรวงศึกษาธิการ 45 วัน งบปกติ
- โรงเรียนปลอดลูกน้ำยุงลาย กรมควบคุมโรค
- รณรงค์พร้อมกันทั่วประเทศ
รวมงบประมาณ 145,000,000
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 17 พฤษภาคม 2548--จบ--
วันที่ 7 พฤษภาคม 2548) ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอดังนี้
ตามที่มีรายงานโรคเร่งด่วนสถานการณ์โรคไข้เลือดออก ของสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค
แจ้งว่า ณ วันที่ 7 พฤษภาคม 2548 มีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกสะสมตั้งแต่ต้นปีรวม 7,215 ราย คิดเป็นอัตรา
ป่วย 11.44 ต่อประชากรแสนคน มีผู้ป่วยตาย 12 รายที่กรุงเทพมหานครและจังหวัดตราด 2 ราย จังหวัด
หนองคาย จังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดเพชรบูรณ์ จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดระยอง จังหวัดนครศรีธรรมราช
จังหวัดชัยภูมิ และจังหวัดสระบุรี จังหวัดละ 1 ราย คิดเป็นอัตราป่วยตาย ร้อยละ 0.17 และเมื่อเทียบกับ
ปี 2547 ณ ช่วงเวลาเดียวกัน ซึ่งมีจำนวนผู้ป่วย 5,205 ราย มีผู้ป่วยตาย 4 ราย อัตราป่วย 8.29
ต่อประชากรแสนคน อัตราป่วยตายร้อยละ 0.09 คิดเป็นจำนวนป่วยเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 38. 61 นั้น เมื่อประเมิน
สถานการณ์โรคไข้เลือดออกที่มีการระบาดในประเทศ และในระดับนานาชาติ ตั้งแต่ปี 2545 ถึงปี 2548
สรุปได้ว่า หากไม่มีมาตรการป้องกันและควบคุมโรคที่เหมาะสมทันเวลา อาจทำให้เกิดการระบาดใหญ่ของโรค
ไข้เลือดออกในช่วงฤดูฝน ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม ถึงเดือนกันยายน ศกนี้ ประมาณค่าความสูญเสียทางเศรษฐกิจ
ต่อการป่วยและตายในการระบาดระดับปานกลางไม่ต่ำกว่าปีละ 1 พันล้านบาท และ 3 พันล้านบาทหากมีการ
ระบาดใหญ่ ทั้งนี้ยังไม่รวมค่าความเสียหายทางจิตใจ ความสูญเสียด้านทรัพยากรมนุษย์ และศักยภาพด้านการ
ท่องเที่ยวของประเทศ
อย่างไรก็ตามหากได้ดำเนินการมาตรการควบคุมและป้องกันโรคอย่างเต็มที่ กระทรวงสาธารณสุข
คาดการณ์ว่าจะสามารถหยุดยั้งการระบาดของโรคไข้เลือดออกได้ โดยมีอัตราป่วยตลอดปี 2548 ไม่เกินจำนวน
35,000 ราย หรือคิดเป็นอัตราป่วยไม่เกิน 50 ต่อแสนประชากร และอัตราป่วยตายไม่เกินร้อยละ 0.15
สามารถลดความสูญเสียทางเศรษฐกิจจากการป่วยและตายด้วยโรคไข้เลือดออกได้ไม่น้อยกว่าปีละ 500 ล้านบาท
มาตรการเร่งด่วน 6 ด้านในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก มีดังนี้
ประเภทงาน เป้าหมาย หน่วยงานที่รับผิดชอบ ระยะเวลาดำเนินการ งบประมาณ(บาท)
การเฝ้าระวังโรค ให้รายงานโรคภายใน 24 ชม. สำนักระบาดวิทยา 30 วัน งบปกติ
การป้องกันโรค - ลดปริมาณลูกน้ำยุงลาย สำนักงาน 45 วัน 30,000,000
- ให้มีมุ้งลวดในโรงเรียนอนุบาล สาธารณสุขจังหวัด
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
การควบคุมโรคระบาด พ่นยาฉีดยุงภายใน 24 ชม.หลังได้รับรายงาน สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดองค์การ ตลอดปี 50,000,000
รัศมี 100 เมตรพ่นซ้ำใน 7 วัน ปกครองส่วนท้องถิ่น
การวินิจฉัยรักษา ตรวจทราบผลน้ำเหลือง และ/หรือไวรัสภายใน 6 ชม. โรงพยาบาลศูนย์ 45 วัน 50,000,000
โรงพยาบาลทั่วไป
กรมควบคุมโรค
การพัฒนาวัคซีน มีวัคซีนใช้การได้แห่งแรกในโลก หรือภายใน 4 ปี ม.มหิดล 4 ปี 15,000,000
กรมควบคุมโรค
การรณรงค์ประชาสัมพันธ์ - สายด่วนไข้เลือดออก 02-5903333 กระทรวงศึกษาธิการ 45 วัน งบปกติ
- โรงเรียนปลอดลูกน้ำยุงลาย กรมควบคุมโรค
- รณรงค์พร้อมกันทั่วประเทศ
รวมงบประมาณ 145,000,000
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 17 พฤษภาคม 2548--จบ--