คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงมหาดไทย โดยสำนักเลขาธิการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย สรุปสถานการณ์ภัยแล้งและการให้ความช่วยเหลือที่ได้ดำเนินการแล้ว จนถึงวันที่ 28 เมษายน 2549 ดังนี้
1. สถานการณ์ภัยแล้งปัจจุบัน (ข้อมูล ณ วันที่ 28 เมษายน 2549)
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้รับรายงานจากจังหวัดว่ายังคงมีสถานการณ์ภัยแล้ง (ระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน 2548 ถึงวันที่ 28 เมษายน 2549) ดังนี้
- พื้นที่ประสบภัย รวม 61 จังหวัด 447 อำเภอ 45 กิ่งอำเภอ 2,946 ตำบล 21,414 หมู่บ้าน มีราษฎรเดือดร้อน 2,187,697 ครัวเรือน 8,433,310 คน
พื้นที่การเกษตรที่ประสบความแห้งแล้ง (ภาพรวมทั้งประเทศ)
ประเภทพืช พื้นที่การเกษตร พื้นที่การเกษตรที่คาดว่าจะประสบความเสียหาย (ไร่)
ที่ประสบความ (ณ 7 เม.ย.2549) (ณ 28 เม.ย.2549) เปรียบเทียบ หมายเหตุ
เสียหายแล้ว (ไร่) (-ลด+เพิ่มขึ้น)
นาข้าว 958,407 ไร่ 2,111,254 663,472 -1,447,782 มีการเก็บเกี่ยว
พืชไร่ 259,049 ไร่ 600,667 303,103 -297,564 ข้าวนาปรังและ
พืชสวน 37,875 ไร่ 283,944 293,932 +9,988 มีฝนตกทำให้
รวม **1,255,331 ไร่ 2,995,865 ***1,260,507 -1,735,358 พื้นที่คาดว่า
มูลค่าความเสียหาย 168,158,831 บาท 354,482,640 บาท 157,440,077 บาท -197,042,563 บาท เสียหายลดลง
การให้ความช่วยเหลือของจังหวัด/อำเภอ/กิ่งอำเภอ
1) การจัดสรรน้ำเพื่อการเกษตร (1) ใช้รถบรรทุกน้ำ 97 คัน 2,420 เที่ยว (2) ปริมาณน้ำที่แจกจ่ายน้ำ 11,198,800 ลิตร (3) ใช้เครื่องสูบน้ำ 676 เครื่อง (4) สร้างทำนบ/ฝาย 13,400 แห่ง (5) ขุดลอกแหล่งน้ำ 440 แห่ง
2) การแจกจ่ายน้ำอุปโภค/บริโภค (1) ใช้รถบรรทุกน้ำ 1,245 คัน 50,222 เที่ยว (2) ปริมาณน้ำที่แจกจ่าย 613,203,730 ลิตร
3) งบประมาณดำเนินการใช้จ่ายไปแล้ว (1) งบฉุกเฉินทดรองราชการของจังหวัด (งบ 50 ล้านบาท) 423,458,401 บาท (2) งบฉุกเฉินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 32,208,412 บาท (3) งบประมาณอื่น ๆ เช่น งบจังหวัด CEO 9,297,929 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 464,964,742 บาท
2. สถานการณ์พายุไซโคลน “มาลา” ในอ่าวเบงกอล (ระหว่างวันที่ 28-30 เมษายน 2549)
2.1 สถานการณ์พายุไซโคลน “มาลา”
วันที่ 24 เมษายน 2549 ได้เกิดหย่อมความกดอากาศต่ำในบริเวณอ่าวเบงกอล และได้มีการพัฒนาความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางเพิ่มขึ้นจนกลายเป็นพายุไซโคลน “มาลา” โดยมีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 140 กิโลเมตรต่อชั่วโมง มีทิศทางการเคลื่อนตัวทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือด้วย ความเร็วประมาณ 18 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และเคลื่อนเข้าสู่ประเทศพม่าเมื่อเวลา 16.00 น. ของวันที่ 29 เมษายน 2549 และได้อ่อนกำลังลงเป็นดีเปรสชั่น และหย่อมความกดอากาศต่ำตามลำดับ โดยมีผลกระทบต่อประเทศไทย ทำให้มีฝนตกกระจายปกคลุมพื้นที่ภาคตะวันตกและภาคเหนือของประเทศตั้งแต่วันที่ 29 เมษายน-1 พฤษภาคม 2549 มีจังหวัดที่ได้รับผลกระทบ ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน เชียงราย ลำพูน ลำปาง ตาก นครสวรรค์ อุทัยธานี และกาญจนบุรี
2.2 การดำเนินการของกระทรวงมหาดไทย
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้แจ้งเตือนให้จังหวัดภาคเหนือและภาคกลางด้านตะวันตกของประเทศเฝ้าระวังติดตามสถานการณ์ตั้งแต่วันที่ 25 เมษายน 2549 เตรียมพร้อมป้องกันและแจ้งเตือนประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยให้ระมัดระวังอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากสภาพฝนตกหนักและลมกระโชกแรง ซึ่งอาจทำให้เกิดความเสียหายในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนผ่านทางวิทยุกระจายเสียงประจำท้องถิ่น เสียงตามสาย หอกระจายข่าวประจำหมู่บ้านและเครือข่ายวิทยุสมัครเล่นในพื้นที่ พร้อมกับจัดเจ้าหน้าที่เตรียมพร้อมรับสถานการณ์ตลอด 24 ชั่วโมง ตามแผนป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนที่กำหนด
2.3 ผลกระทบจากอิทธิพลพายุไซโคลน “มาลา”
จากการตรวจสอบข้อมูลปริมาณน้ำฝนที่ตกในรอบ 24 ชั่วโมง ระหว่างวันที่ 29 เมษายน — 1 พฤษภาคม 2549 จากกรมอุตุนิยมวิทยาและจังหวัดในพื้นที่เสี่ยงภัยมีปริมาณฝนตกกระจายในพื้นที่ ไม่มีฝนตกหนักมากแต่อย่างใด และไม่มีสถานการณ์น้ำป่าไหลหลากหรือการเกิดอุทกภัยขึ้นแต่อย่างใด
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 2 พฤษภาคม 2549--จบ--
1. สถานการณ์ภัยแล้งปัจจุบัน (ข้อมูล ณ วันที่ 28 เมษายน 2549)
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้รับรายงานจากจังหวัดว่ายังคงมีสถานการณ์ภัยแล้ง (ระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน 2548 ถึงวันที่ 28 เมษายน 2549) ดังนี้
- พื้นที่ประสบภัย รวม 61 จังหวัด 447 อำเภอ 45 กิ่งอำเภอ 2,946 ตำบล 21,414 หมู่บ้าน มีราษฎรเดือดร้อน 2,187,697 ครัวเรือน 8,433,310 คน
พื้นที่การเกษตรที่ประสบความแห้งแล้ง (ภาพรวมทั้งประเทศ)
ประเภทพืช พื้นที่การเกษตร พื้นที่การเกษตรที่คาดว่าจะประสบความเสียหาย (ไร่)
ที่ประสบความ (ณ 7 เม.ย.2549) (ณ 28 เม.ย.2549) เปรียบเทียบ หมายเหตุ
เสียหายแล้ว (ไร่) (-ลด+เพิ่มขึ้น)
นาข้าว 958,407 ไร่ 2,111,254 663,472 -1,447,782 มีการเก็บเกี่ยว
พืชไร่ 259,049 ไร่ 600,667 303,103 -297,564 ข้าวนาปรังและ
พืชสวน 37,875 ไร่ 283,944 293,932 +9,988 มีฝนตกทำให้
รวม **1,255,331 ไร่ 2,995,865 ***1,260,507 -1,735,358 พื้นที่คาดว่า
มูลค่าความเสียหาย 168,158,831 บาท 354,482,640 บาท 157,440,077 บาท -197,042,563 บาท เสียหายลดลง
การให้ความช่วยเหลือของจังหวัด/อำเภอ/กิ่งอำเภอ
1) การจัดสรรน้ำเพื่อการเกษตร (1) ใช้รถบรรทุกน้ำ 97 คัน 2,420 เที่ยว (2) ปริมาณน้ำที่แจกจ่ายน้ำ 11,198,800 ลิตร (3) ใช้เครื่องสูบน้ำ 676 เครื่อง (4) สร้างทำนบ/ฝาย 13,400 แห่ง (5) ขุดลอกแหล่งน้ำ 440 แห่ง
2) การแจกจ่ายน้ำอุปโภค/บริโภค (1) ใช้รถบรรทุกน้ำ 1,245 คัน 50,222 เที่ยว (2) ปริมาณน้ำที่แจกจ่าย 613,203,730 ลิตร
3) งบประมาณดำเนินการใช้จ่ายไปแล้ว (1) งบฉุกเฉินทดรองราชการของจังหวัด (งบ 50 ล้านบาท) 423,458,401 บาท (2) งบฉุกเฉินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 32,208,412 บาท (3) งบประมาณอื่น ๆ เช่น งบจังหวัด CEO 9,297,929 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 464,964,742 บาท
2. สถานการณ์พายุไซโคลน “มาลา” ในอ่าวเบงกอล (ระหว่างวันที่ 28-30 เมษายน 2549)
2.1 สถานการณ์พายุไซโคลน “มาลา”
วันที่ 24 เมษายน 2549 ได้เกิดหย่อมความกดอากาศต่ำในบริเวณอ่าวเบงกอล และได้มีการพัฒนาความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางเพิ่มขึ้นจนกลายเป็นพายุไซโคลน “มาลา” โดยมีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 140 กิโลเมตรต่อชั่วโมง มีทิศทางการเคลื่อนตัวทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือด้วย ความเร็วประมาณ 18 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และเคลื่อนเข้าสู่ประเทศพม่าเมื่อเวลา 16.00 น. ของวันที่ 29 เมษายน 2549 และได้อ่อนกำลังลงเป็นดีเปรสชั่น และหย่อมความกดอากาศต่ำตามลำดับ โดยมีผลกระทบต่อประเทศไทย ทำให้มีฝนตกกระจายปกคลุมพื้นที่ภาคตะวันตกและภาคเหนือของประเทศตั้งแต่วันที่ 29 เมษายน-1 พฤษภาคม 2549 มีจังหวัดที่ได้รับผลกระทบ ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน เชียงราย ลำพูน ลำปาง ตาก นครสวรรค์ อุทัยธานี และกาญจนบุรี
2.2 การดำเนินการของกระทรวงมหาดไทย
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้แจ้งเตือนให้จังหวัดภาคเหนือและภาคกลางด้านตะวันตกของประเทศเฝ้าระวังติดตามสถานการณ์ตั้งแต่วันที่ 25 เมษายน 2549 เตรียมพร้อมป้องกันและแจ้งเตือนประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยให้ระมัดระวังอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากสภาพฝนตกหนักและลมกระโชกแรง ซึ่งอาจทำให้เกิดความเสียหายในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนผ่านทางวิทยุกระจายเสียงประจำท้องถิ่น เสียงตามสาย หอกระจายข่าวประจำหมู่บ้านและเครือข่ายวิทยุสมัครเล่นในพื้นที่ พร้อมกับจัดเจ้าหน้าที่เตรียมพร้อมรับสถานการณ์ตลอด 24 ชั่วโมง ตามแผนป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนที่กำหนด
2.3 ผลกระทบจากอิทธิพลพายุไซโคลน “มาลา”
จากการตรวจสอบข้อมูลปริมาณน้ำฝนที่ตกในรอบ 24 ชั่วโมง ระหว่างวันที่ 29 เมษายน — 1 พฤษภาคม 2549 จากกรมอุตุนิยมวิทยาและจังหวัดในพื้นที่เสี่ยงภัยมีปริมาณฝนตกกระจายในพื้นที่ ไม่มีฝนตกหนักมากแต่อย่างใด และไม่มีสถานการณ์น้ำป่าไหลหลากหรือการเกิดอุทกภัยขึ้นแต่อย่างใด
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 2 พฤษภาคม 2549--จบ--