ร่างพระราชบัญญัติกองทุนการออมแห่งชาติ พ.ศ. ....

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday October 21, 2009 15:34 —มติคณะรัฐมนตรี

คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติกองทุนการออมแห่งชาติ พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานด้านนิติบัญญัติพิจารณา ก่อนเสนอสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาต่อไป

ข้อเท็จจริง

กระทรวงการคลังเสนอว่า

1. ประเทศไทยประสบปัญหาการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรที่เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งจะนำมาซึ่งภาระเลี้ยงดูผู้สูงอายุและหากไม่ดำเนินการใด ๆ รายได้ภาษีของรัฐบาลที่ได้จากวัยทำงานจะไม่พอเลี้ยงดูผู้สูงอายุ อันจะนำมาซึ่งปัญหาทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างรุนแรง

2. ปัจจุบันเครื่องมือการออมระยะยาวเพื่อการชราภาพแม้จะมีอยู่หลายกองทุน แต่ครอบคลุมแรงงานที่มีนายจ้างเพียงร้อยละ 30 ของผู้มีงานทำทั้งประเทศ ซึ่งยังมีแรงงานอีกร้อยละ 70 ของผู้มีงานทำ ที่ยังไม่สามารถเข้าถึงระบบกองทุนต่างๆ และไม่ได้รับการคุ้มครองใดๆ จึงได้ทำการศึกษาวิเคราะห์แนวทางการสร้างเครื่องมือการออมเพื่อการชราภาพที่เหมาะสม โดยการศึกษาวิจัย ลงพื้นที่สำรวจความเป็นไปได้และความต้องการของแรงงาน และจัดสัมมนารับฟังความคิดเห็นจากผู้แทน องค์กรการเงินชุมชน ผู้แทนแรงงานตามกลุ่มอาชีพในหลายจังหวัด รวมทั้งจัดประชุมกลุ่มย่อยเพื่อรับฟังความคิดเห็นระหว่างตัวแทนภาครัฐ นักวิชาการ และตัวแทนกองทุนประกันสังคม เพื่อให้ได้ข้อสรุปของโครงการกองทุนการออมแห่งชาติในรูปแบบของกองทุน โดยไม่ซ้ำซ้อนกับกองทุนที่มีอยู่แล้ว

3. กระทรวงการคลังจึงได้จัดทำข้อเสนอกองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) เสนอคณะอนุกรรมการผลักดันระบบ การออมเพื่อวัยสูงอายุแห่งชาติ ซึ่งมีปลัดกระทรวงการคลังเป็นประธาน และเสนอต่อคณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2552 โดยที่ประชุมมีมติรับทราบและให้กระทรวงการคลังนำความเห็นของคณะกรรมการไปประกอบการดำเนินการต่อไป

4. การจัดตั้ง กอช. นี้ จะสามารถครอบคลุมแรงงานที่ยังไม่มีระบบการคุ้มครองเพื่อการชราภาพใดๆ ประมาณ 24 ล้านคน ได้อย่างทั่วถึง และสมาชิกของ กอช. จะได้รับรายได้หลังเกษียณไปตลอดอายุขัย โดยกรณีออมขั้นต่ำตั้งแต่อายุ 20 ปี จนครบอายุ 60 ปี จะได้รับบำนาญเดือนละ 1,710 บาท (รวมเบี้ยยังชีพเป็นเงิน 2,210 บาท) และหากออมเพิ่มขึ้นจะได้รับบำนาญเพิ่มขึ้นด้วย รวมทั้งเงินกองทุนจะเพิ่มขึ้นด้วยและนำมาซึ่งแหล่งเงินทุนระยะยาวที่มั่นคงเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจของประเทศ สร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจได้อย่างยั่งยืนและเป็นการลดการกู้ยืมจากต่างประเทศที่อาจจะกระทบต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจได้อีกด้วย อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมการพัฒนาตลาดทุน ตามที่กระทรวงการคลังได้จัดทำแผนพัฒนาตลาดทุนไทย ระยะ 5 ปี (ปี 2552-2556) รวมทั้งการลดความผันผวนของการเคลื่อนย้ายเงินลงทุน นอกจากนี้ ยังมีผลต่อการพัฒนาตราสารรูปแบบใหม่ ๆ ในตลาดตามอุปสงค์ที่เพิ่มขึ้น นำมาซึ่งการพัฒนาคุณภาพและความหลากหลายของสินค้าและบริการ และการลดต้นทุนทางการเงิน (Cost of fund) ให้ผู้ระดมทุน

5. ผลกระทบของการจัดตั้ง กอช. จะทำให้รัฐบาลมีภาระจากการจ่ายเงินสมทบในกองทุนปีแรก ดังนี้

             จำนวนผู้เข้า กอช.        การจ่ายเงินสมทบของรัฐ (ล้านบาท)       ร้อยละ/GDP
             ร้อยละ 100                    22,955                          0.27
             ร้อยละ 50                     11,477                          0.14
             ร้อยละ 30                      6,887                          0.08

โดยในระยะยาวจะมีทิศทางลดลงอย่างต่อเนื่องตามโครงสร้างประชากร ซึ่งวัยแรงงานจะมีแนวโน้มลดลง ทั้งนี้ การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างแรงงานจากระบบลูกจ้าง นายจ้าง เป็นระบบไม่มีนายจ้าง จะต้องไม่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ

6. จึงมีความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องมีการจัดตั้ง กอช.ขึ้น เพื่อให้ครอบคลุมแรงงานที่ยังไม่ได้รับความคุ้มครองใด ๆ และเพื่อเป็นเครื่องมือสำหรับเก็บออมตั้งแต่วัยทำงานเพื่อเลี้ยงดูตนเองในอนาคต สามารถนำไปสู่การบริหารเงินออมให้ เกิดผลประโยชน์เพิ่มพูนกับผู้ออม และเกิดประโยชน์กับเศรษฐกิจของประเทศได้ รวมทั้งเป็นระบบการออมที่มีความเหมาะสม และสอดคล้องกับวิถีการดำเนินชีวิตของผู้ออม

สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติ

ร่างพระราชบัญญัติกองทุนการออมแห่งชาติ พ.ศ. .... มีสาระสำคัญในประเด็นต่าง ๆ ดังนี้

          ประเด็น                                    สาระสำคัญ
          1. การจัดตั้งกองทุน                           - กำหนดให้มีการจัดตั้ง “กองทุนการออมแห่งชาติ” เรียกโดยย่อว่า

“กอช.” เพื่อส่งเสริมการออมทรัพย์และเป็นหลักประกันการจ่ายบำเหน็จ

บำนาญและให้ประโยชน์ตอบแทนแก่สมาชิก (ร่างมาตรา 6)

          2. คุณสมบัติสมาชิก กอช.                       2.1 เป็นบุคคลสัญชาติไทย มีอายุไม่เกิน 60 ปีบริบูรณ์ และไม่เป็นสมาชิกที่

ได้รับความคุ้มครองและหลักประกันทางสังคมตามกฎหมายอื่นที่มีนายจ้าง

หรือรัฐบาลจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนหรืออยู่ในระบบบำเหน็จบำนาญภาครัฐ

2.2 ให้สมาชิกสิ้นสภาพเมื่ออายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ (ร่างมาตรา 26 และ

ร่างมาตรา 32)

          3. การจ่ายเงินสะสมและสมทบเข้ากองทุน           3.1 ให้สมาชิกจ่ายเงินสะสมเข้ากองทุน และให้รัฐบาลจ่ายเงินสมทบตามที่

กำหนดในกฎกระทรวง

3.2 กรณีสมาชิกทุพพลภาพซึ่งไม่ต้องการจ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนให้รัฐบาล

จ่ายเงินสมทบกึ่งหนึ่งของอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง

3.3 กรณีสมาชิกมีเหตุจำเป็นไม่สามารถจ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนได้ ให้

สมาชิกนั้นยังคงเป็นสมาชิกต่อไป และรัฐไม่ต้องจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุน

สำหรับสมาชิกรายนั้น (ร่างมาตรา 31)

3.4 กระทรวงการคลังได้กำหนดแนวทางการจ่ายเงินสะสมและสมทบเข้ากอง

ทุน ดังนี้

3.4.1 ผู้ออม จ่ายสะสมขั้นต่ำเดือนละ 100 บาท และจ่ายสะสมเพิ่ม

ตามความสมัครใจได้อีกเดือนละ 100-1,000 บาท

3.4.2 รัฐบาล จ่ายสมทบตามอายุของผู้ออม คือ

(1) ผู้ออมอายุต่ำกว่า 20 ปี รัฐไม่จ่ายสมทบ

(2) ผู้ออมอายุ 20-30 ปี รัฐจ่ายสมทบเดือนละ 50 บาท

(3) ผู้ออมอายุมากกว่า30-50 ปี รัฐจ่ายสมทบเดือนละ80 บาท

(4) ผู้ออมอายุมากกว่า50-60 ปีรัฐจ่ายสมทบเดือนละ100 บาท

          4. คณะกรรมการกองทุน                        - คณะกรรมการกองทุนประกอบด้วย กรรมการโดยตำแหน่ง 6 คน กรรมการ

ผู้ทรงคุณวุฒิด้านกฎหมาย ด้านบัญชีและด้านการเงิน ด้านละ 1 คน รวม3 คน

ผู้แทนสมาชิกจำนวน 5 คน โดยมีปลัดกระทรวงการคลังเป็นประธานและ

เลขาธิการคณะกรรมการกองทุนการออมแห่งชาติเป็นกรรมการและ

เลขานุการ (ร่างมาตรา 12 และ 19)

          5. สำนักงานกองทุน                           - กำหนดให้กองทุนมีสำนักงานใหญ่ ณ สถานที่ที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดใน

ราชกิจจานุเบกษาและจะจัดตั้งสาขาหรือตัวแทนขึ้น ณ ที่อื่นใดได้ตามความ

จำเป็น (ร่างมาตรา 8)

          6. การจ่ายเงินให้สมาชิก กอช.                  6.1 กรณีสมาชิกสิ้นสภาพเพราะอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ มีสิทธิได้รับบำนาญ

จากเงินสะสม เงินสมทบและผลประโยชน์จากเงินสะสม เงินสมทบไปตลอด

อายุขัย (ร่างมาตรา 33)

6.2 กรณีสมาชิกถึงแก่ความตายและมิได้มีหนังสือกำหนดบุคคลผู้พึงได้รับเงิน

จากกองทุน ให้จ่ายบำเหน็จจากกองทุนแก่บุคคลดังต่อไปนี้

6.2.1 บุตรได้รับ 2 ส่วน ถ้าผู้ตายมีบุตร 3 คนขึ้นไปให้ได้รับ 3 ส่วน

6.2.2 คู่สมรสได้รับ 1 ส่วน

6.2.3 บิดามารดาได้รับ 1 ส่วน กรณีผู้ตายไม่มีบุคคลตาม 6.2.1-

6.2.3 ให้เงินดังกล่าวตกเป็นของกองทุน (ร่างมาตรา 34)

6.3 กรณีสมาชิกทุพพลภาพก่อนอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จ

จากกองทุน เว้นแต่จะแสดงความจำนงขอรับเงินตามข้อ 6.1

(ร่างมาตรา 35)

6.4 กรณีสมาชิกอายุครบ 50 ปีบริบูรณ์และมีเหตุจำเป็น มีสิทธิขอรับเงินจาก

กองทุนอัตราไม่เกินร้อยละ 40 ของเงินสะสมและผลประโยชน์ของเงินสะสม

ตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการประกาศกำหนด (ร่างมาตรา 38)

          7. การคงเงินไว้ในกองทุน                      - กรณีสมาชิกรายใดได้รับความคุ้มครองและหลักประกันทางสังคมกรณีชราภาพ

ตามกฎหมายอื่นก่อนสิ้นสมาชิกภาพ ให้คงการเป็นสมาชิกต่อไป โดยไม่ต้อง

จ่ายเงินสะสมเข้ากองทุน และรัฐไม่ต้องจ่ายเงินสมทบ (ร่างมาตรา 37)

          8. การชดเชยเงินให้แก่กองทุน                   - กรณีกองทุนได้รับความเสียหายจากการลงทุน หรือได้รับประโยชน์น้อยกว่า

อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 12 เดือน โดยเฉลี่ยของธนาคารพาณิชย์แห่ง

ใหญ่ 5 แห่ง ธนาคารออมสินและธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การ

เกษตร ให้รัฐบาลจัดสรรเงินงบประมาณประจำปี ชดเชยให้แก่กองทุน

(ร่างมาตรา 39)

          9. สิทธิเรียกร้องเงินจากกองทุน                  - เงินกองทุนสมาชิกไม่อาจนำไปใช้เป็นหลักประกันเพื่อการชำระหนี้หรือไม่

อาจโอนกันได้และไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี(ร่างมาตรา 40)

          10. การบริหารจัดการกองทุน                    - คณะกรรมการกองทุนจะเป็นผู้บริหารกองทุน และจะมอบหมายให้บริษัท

จัดการลงทุนบางรายที่ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนส่วน

บุคคลตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ร่วมบริหารตามความ

เหมาะสมก็ได้ (ร่างมาตรา 42)

          11. ผู้รับฝากทรัพย์สิน                          - ให้ผู้รับฝากทรัพย์สินที่ได้รับใบอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลัก

ทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ทำหน้าที่ดูแลและเก็บรักษาทรัพย์สินอื่นของกองทุน

(ร่างมาตรา 57)

--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 20 ตุลาคม 2552 --จบ--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ